Douyin – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 22 Nov 2023 05:46:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รายได้ของ ByteDance ครึ่งปีแรกอยู่ที่ 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แซงหน้าคู่แข่งอย่าง Tencent ไปแล้ว https://positioningmag.com/1452743 Wed, 22 Nov 2023 03:49:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452743 ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ได้รายงานรายได้ในไตรมาส 2 ของปี 2023 ให้กับนักลงทุนในวงจำกัด โดยล่าสุดบริษัทมีรายได้ถึง 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวแซงหน้าคู่แข่งอย่าง Tencent ไปแล้ว และรายได้ดังกล่าวยังตามหลัง Meta อยู่ไม่มาก

The Information รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า ByteDance บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีน ได้รายงานผลประกอบการในไตรมาส 2 ของปี 2023 ซึ่งมีรายได้รวมถึง 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตมากถึง 40% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายได้ของ ByteDance เติบโตก็คือรายได้จากโฆษณา รวมถึงรายได้จากธุรกิจ E-commerce โดยรายได้ในประเทศจีนยังคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 80% ของรายได้รวม ในส่วนที่เหลืออีก 20% เป็นรายได้จากนอกประเทศจีน

โดยรายได้ของ ByteDance ในช่วงครึ่งปีแรกนั้นใกล้เคียงกับ Meta ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมอย่าง Facebook และ Instagram ซึ่งมีรายได้รวมที่ 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว

ตัวเลขรายได้ในไตรมาส 2 ดังกล่าวของ ByteDance ยังแซงยักษ์ใหญ่ที่เป็นคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Tencent ไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถแซงรายได้ของ Alibaba ไปได้

อย่างไรก็ดีบริษัทได้รายงานถึงรายได้ในประเทศจีนให้กับนักลงทุนมาแล้วในปี 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งรายได้ในประเทศจีนของบริษัทนั้นเติบโตช้าลง ทำให้บริษัทเริ่มรุกธุรกิจนอกประเทศจีนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผนการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ดีความท้าทายของ ByteDance คือการเข้ามาควบคุมแพลตฟอร์มจากรัฐบาลหลายๆ ประเทศที่เข้มงวดมากขึ้น หรือแม้แต่การแบน TikTok ที่ล่าสุดประเทศอย่างเนปาล ได้ประกาศแบนแพลตฟอร์มดังกล่าว ตามหลังอินเดีย โดยให้เหตุผลถึงเนื้อหาเป็นอันตรายต่อความสามัคคีในสังคม 

]]>
1452743
รายได้ของ ByteDance ในจีนปี 2022 เติบโตเหลือแค่ 25% แล้ว คาดบริษัทโฟกัสธุรกิจจากต่างแดนเพิ่มในปีนี้ https://positioningmag.com/1441154 Wed, 16 Aug 2023 04:15:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441154 ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok และ Douyin พบกับปัญหาใหม่ก็คือรายได้ในประเทศจีนเริ่มชะลอตัวลง ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมารายได้รวมเติบโตเหลือแค่ 25% เท่านั้น ส่งผลทำให้บริษัทต้องเร่งหารายได้จากต่างแดนมาเพิ่มเติม

The Information รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok รวมถึง Douyin ที่ให้บริการในประเทศจีนนั้นกำลังประสบปัญหารายได้ชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2022 ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันบริษัทก็ได้โฟกัสธุรกิจนอกประเทศจีนเพื่อที่จะหารายได้ทดแทนในส่วนของแดนมังกรที่เริ่มมีความไม่แน่นอนเพิ่มสูงขึ้น

รายได้จากในประเทศจีนของ ByteDance ในปี 2022 ที่สื่อรายดังกล่าวรายงานอยู่ที่ราวๆ 69,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตเพียงแค่ 25% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าลดลงอย่างมาก โดยในปี 2021 นั้นรายได้บริษัทเติบโต 68% ขณะที่ในปี 2020 เติบโตมากถึง 105% และ 150% ในปี 2019

การชะลอตัวของรายได้ในประเทศจีนในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ในปี 2023 นี้บริษัทต้องโฟกัสที่แพลตฟอร์มนอกประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็น TikTok หรือแม้แต่บริการอื่นๆ ที่บริษัทได้เปิดตัวในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นตลาดในสหรัฐอเมริกาที่แม้ว่าบริษัทจะเจอความเสี่ยงในเรื่องปัญหาด้านความมั่นคงก็ตาม

นอกจากนี้ยังรวมถึงตลาดในอาเซียนที่ ByteDance มองเป็นเป้าหมายสำคัญของบริษัท โดยเฉพาะการผลักดัน TikTok Shop เนื่องจากการเติบโตทางด้านการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในประเทศอินโดนีเซียนั้น GMV ของ TikTok Shop ในไตรมาส 1 ของปี 2023 นี้ทำยอดได้เกิน 2,500 ล้านเหรียญแล้ว

และยังรวมถึงบริการสตรีมมิ่งเพลง TikTok Music ที่บริษัทได้เปิดตัวในอินโดนีเซีย บราซิล เพื่อที่จะหาลูกค้าและรายได้เพิ่มเติม

ในปี 2022 ที่ผ่านมารายได้รวมของ ByteDance อยู่ที่ 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 38% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยรายได้ในประเทศจีนยังถือว่าเป็นสัดส่วนสำคัญถึง 80% ของรายได้รวมบริษัท แต่สัดส่วนรายได้จากธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทเติบโตมากถึง 2 เท่าในปีที่ผ่านมา

ขณะที่ตัวเลขผู้ใช้งานต่อวันในปี 2022 ที่ผ่านมา Douyin มีผู้ใช้งานต่อวันมากถึง 850 ล้านราย ทางด้านของ TikTok ล่าสุดอยู่ที่ 840 ล้านราย ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเริ่มสูสีกันมากขึ้น จึงเป็นคำตอบว่าทำไมบริษัทเริ่มหันมาโฟกัสกับรายได้นอกประเทศจีน รวมถึงตลาดในสหรัฐอเมริกา แม้จะมีความเสี่ยงก็ตาม

]]>
1441154
‘โซเชียลจีน’ เดินหน้าลบ ‘บัญชี-คอมเมนต์’ ที่บูลลี่เหล่านักกีฬาโอลิมปิก https://positioningmag.com/1373680 Fri, 11 Feb 2022 05:40:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373680 กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ถือเป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 24 จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน กำหนดจัดระหว่างวันที่ 4 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยตลอดการแข่งขันก็มีการพูดถึงดราม่ารวมถึงการโจมตีเหล่านักกีฬา ทำให้ Weibo หรือ Twitter ของจีน และ Douyin หรือ TikTok ได้เดินหน้าแบนบัญชีและลบคอมเมนต์ที่บูลลี่เหล่านักกีฬา

เว่ยป๋อ (Weibo) ได้เปิดเผยว่าแพลตฟอร์มได้สั่งแบนบัญชีมากกว่า 2,000 บัญชี และลบโพสต์อย่างน้อย 71,000 โพสต์ ที่มีเนื้อหาโจมตีเหล่านักกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว รวมถึงบัญชีและโพสต์ที่ปล่อยข่าวลือผิด ๆ เกี่ยวกับการแข่งขัน เช่นเดียวกับเช่นเดียวกับแพลตฟอร์ม โต๋วอิน (Douyin) ที่ลบวิดีโอและข้อความกว่า 6,780 รายการ และแบนบัญชีไปกว่า 331 บัญชี

“ผู้ใช้โซเชียลมีเดียบางคนกำลังสร้างปัญหา โจมตีนักกีฬาด้วยการดูถูกและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ” แพลตฟอร์มเว่ยป๋อระบุ

แม้ว่าทางแพลตฟอร์มจะไม่ได้ระบุว่านักกีฬาคนใดตกเป็นเป้าหมาย แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากรายงานการละเมิดทางโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ จูอี้ (Zhu Yi) นักสเก็ตลีลา ชาวจีนที่เกิดในสหรัฐฯ ซึ่งล้มลงระหว่างการแข่งขันประเภทเดี่ยวหญิงถึง 2 รายการเมื่อต้นสัปดาห์นี้ โดยชาวเน็ตจีนต่างแสดงความคิดเห็นโจมตีเธออย่างโหดร้าย

โดยหลังจากที่จูอี้สะดุดล้มในงานแรกของเธอเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แฮชแท็กใน Weibo ที่มีข้อความว่า ‘จูอี้ล้ม’ ก็มีผู้เข้าถึงกว่า 200 ล้านครั้งภายในไม่กี่ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ถูกเซ็นเซอร์อย่างรวดเร็ว

“อย่าโจมตีนักกีฬาเพราะความผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ คำพูดในด้านลบจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับนักกีฬามากขึ้นเท่านั้น”

ไม่ใช่เพราะเรื่องการบูลลี่นักกีฬาโอลิมปิก แต่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หน่วยงานของจีนได้สั่งให้เหล่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เซ็นเซอร์เนื้อหาบนโซเชียลที่ละเมิด “คุณค่าแบบสังคมนิยม” เพื่อยกระดับความเข้มงวดในการควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดการ สร้างกระแสข่าวแบบผิด ๆ หรือ โพสต์ข้อความที่หยาบคาย และเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว แพลตฟอร์มเนื้อหาออนไลน์ของจีน 14 แห่ง รวมถึง Weibo และ Douyin ต่างได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเพื่อบังคับใช้มาตรการคุณค่าแบบสังคมนิยมในโลกไซเบอร์ของประเทศ

Source

]]>
1373680
‘ByteDance’ เข้าซื้อสตูดิโอ ‘Moonton’ เจ้าของเกมฮิต ‘Mobile Legends’ ท้าชน ‘Tencent’ https://positioningmag.com/1324699 Tue, 23 Mar 2021 13:39:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324699 ByteDance ได้เข้าซื้อ Moonton สตูดิโอเกมมือถือรายใหญ่ที่ย้ำถึงความทะเยอทะยานในอุตสาหกรรมเกม และหมายถึงการ ‘ต่อกร’ กับ ‘Tencent’ เทคคอมปานียักษ์ใหญ่ของจีน

ByteDance เป็นที่รู้จักในฐานะเจ้าของ ‘TikTok’ หรือ ‘Douyin’ ในประเทศจีน ได้ซื้อสตูดิโอเกม ‘Moonton’ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการเกมแนว MOBA ผ่านกลุ่มธุรกิจวิดีโอเกมที่ชื่อว่า ‘Nuverse’ ที่ ByteDance ก่อตั้งขึ้นในปี 2019 โดยมีข่าวลือว่า มูลค่าการซื้อขายดังกล่าวสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์

Moonton เป็นพันธมิตรที่สมบูรณ์แบบในการช่วยขยายกลยุทธ์การเล่นเกมของเราในตลาดต่างประเทศ” ByteDance กล่าว

“นี่เป็นข้อตกลงที่ยิ่งใหญ่ในอุตสาหกรรมเกมระดับโลกไม่ใช่เฉพาะในประเทศจีน และเชื่อว่า ByteDance ยังคงมองหาสตูดิโออื่น ๆ อยู่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสงครามอันยาวนานระหว่าง Tencent และ ByteDance” Serkan Toto ซีอีโอของที่ปรึกษา Kantan Games กล่าว

(Photo by Emmanuel Wong/Getty Images)

Tencent ถือเป็นผู้นำระดับโลกในเกมมือถือ โดยอยู่เบื้องหลังเกมชั้นนำบางเกม ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Tencent ได้เข้าซื้อกิจการและการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในบริษัทขนาดเล็กรวมถึงการพัฒนาเกมของตัวเอง สิ่งนี้ทำให้ Tencent มีผลงานเกมมากมายที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังช่วยให้ Tencent ขยายไปสู่ระดับสากลซึ่งเป็นความสำเร็จที่ ByteDance หวังว่าจะประสบความสำเร็จ

ขณะที่ Moonton มีชื่อเสียงในเกม ‘Mobile Legends’ เกมแนว MOBA ซึ่งเป็นเกมที่ใช้ทีมต่อสู้กันในสนามประลองเสมือนจริง ขณะที่ Tencent เองก็มีเกมแนว MOBA ที่ได้รับความนิยมหลายเกม อาทิ Honor of Kings และ League of Legends ที่พัฒนาโดย Riot Games

ทั้งนี้ Bytedance กำลังใช้แนวทางระดับโลกในธุรกิจวิดีโอเกมตั้งแต่วันแรก บริษัทวิเคราะห์เกม Niko Partners วิเคราะห์ว่า เนื่องจาก ByteDance บริษัทสามารถใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อโปรโมตเกมและดึงดูดผู้ใช้ ปัจจุบัน Douyin มีผู้ใช้งาน 600 ล้านคนต่อวัน และ TikTok มีผู้ใช้งาน 700 ล้านคนต่อเดือน

“Bytedance สามารถใช้ประโยชน์จาก TikTok / Douyin เพื่อโปรโมต Mobile Legends ในตลาดต่าง ๆ เช่นจีนและสหรัฐอเมริกาซึ่ง Tencent’s Honor of Kings และ Riots ‘League of Legends: Wild Rift ซึ่งเป็นเกมมือถือที่โดดเด่น” Niko Partners กล่าว

อย่างไรก็ตาม ByteDance ไม่อาจพึ่งพาการเข้าซื้อกิจการเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเล่นเกม

“ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับ Bytedance คือการสร้างเกมที่พัฒนาขึ้นเอง ซึ่งสามารถทำงานได้ในระยะยาว ด้วยเหตุนี้จึงมีการลงนามในข้อตกลงการเผยแพร่เพื่อเผยแพร่เกมตาม IP ยอดนิยมและซื้อบริษัทพัฒนาเกมที่มีความสำเร็จที่พิสูจน์แล้ว” Niko Partners กล่าวเสริม

Source

]]>
1324699
TikTok มีระบบชำระเงินของตัวเองแล้ว! บริษัทแม่ ByteDance เปิดตัว Douyin Pay ในจีน https://positioningmag.com/1315273 Wed, 20 Jan 2021 05:48:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315273 ByteDance บริษัทแม่ของแอปฯ TikTok เปิดตัวระบบ e-Payment ใหม่ในชื่อ Douyin Pay ต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในแอปฯ Douyin แอปฯ ต้นฉบับของ TikTok ทั่วโลก

Douyin Pay จะมาเป็นช่องทางเสริมระบบชำระเงินที่มีอยู่แล้ว และยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ Douyin ให้ดียิ่งขึ้น” บริษัท ByteDance ส่งแถลงการณ์รายงานผ่านสำนักข่าว Reuters ถึงการเปิดตัวระบบ e-Payment ของบริษัท

ปัจจุบัน ผู้ใช้งานแอปฯ Douyin (โถ่วอิน) ในจีนมีกว่า 600 ล้านคนต่อวัน การชำระเงินซื้อสินค้าผ่านแอปฯ ที่ผ่านมาสามารถใช้บริการ Alipay ของ Ant Group หรือ WeChat Pay ของ Tencent โดยผู้ใช้มักจะชำระเงินเพื่อซื้อของขวัญเสมือนจริงให้กับไอดอลที่กำลังไลฟ์สด หรือซื้อสินค้าที่ขายอยู่บนแพลตฟอร์ม

สำหรับเบื้องหลังการพัฒนา Douyin Pay นั้น ByteDance ใช้วิธีควบรวมกิจการบริษัท Wuhan Hezhong Yibao Technology Co เมื่อปีก่อน โดยบริษัทนี้มีใบอนุญาตระบบชำระเงินจากธนาคารกลางของจีนมาตั้งแต่ปี 2014 ทำให้บริษัท ByteDance ปรับผลิตภัณฑ์มาใช้กับแอปฯ ของตนเองได้ทันที

บรรยากาศใน TikTok ไทยที่บูมสุดขีดเมื่อเดือนเมษายนปี 2563

จากฐานผู้ใช้แอปฯ 600 ล้านคน ในประเทศที่มีประชากร 1,393 ล้านคน ผู้ใช้เหล่านี้น่าจะเป็นสปริงบอร์ดอย่างดีในการที่ Douyin Pay จะเข้าฟาดฟันในตลาด e-Payment จีน ซึ่งปัจจุบันมีผู้เล่นรายใหญ่สองราย คือ Alipay กับ WeChat Pay โดยระบบ Alipay ยังเป็นเบอร์ 1 ด้วยมาร์เก็ตแชร์ 55.39% ส่วนผู้เล่นรายอื่นๆ ที่พยายามทำตลาด ได้แก่ JD Pay, Baidu Wallet และ Meituan Pay

จังหวะการเปิดตัวของ Douyin Pay นั้นน่าสนใจมาก เพราะเลือกเปิดตัวในช่วงที่ทางการจีนกำลังตรวจสอบบริษัท Ant Group เจ้าของ Alipay อย่างเข้มงวด จึงเป็นไปได้ว่าช่วงนี้จะเป็นช่วงที่บริษัทอื่นๆ เตรียมเข้ามาชิงตลาด

แอปฯ Douyin นั้นนับได้ว่าเป็น “ต้นฉบับ” ของแอปฯ TikTok ที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศ และเป็นเหมือนภาพอนาคตให้เห็นว่า TikTok จะก้าวไปในทิศทางใดและสามารถต่อยอดไปทำอะไรได้บ้าง โดย Douyin มีระบบอี-คอมเมิร์ซภายในแอปฯ ของตัวเองตั้งแต่ปี 2017 และปัจจุบันมีผู้ซื้อของบนแอปฯ หลายร้อยล้านคนต่อวัน

ส่วน TikTok ไทยนั้นได้อานิสงส์เติบโตแรงเมื่อปี 2563 จากการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติในไตรมาส 2 ทำให้ช่วงปลายปี TikTok ไทยมีโอกาสขยับเปิดบริการ TikTok for Business ให้ธุรกิจระดับ SMEs สามารถซื้อการลงโฆษณาภายในแอปฯ ด้วยตนเองได้ ต้องจับตามองต่อไปว่า TikTok ไทยจะรับต้นแบบจาก Douyin มาใช้และเปิดการขายอีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบบนแอปฯ บ้างหรือเปล่า

Source

]]>
1315273
ส่องการแข่งขัน ‘อีคอมเมิร์ซจีน’ เมื่อเจ้าตลาดกำลังโดนท้าทายจาก ‘แพลตฟอร์มไลฟ์สด’ https://positioningmag.com/1298451 Wed, 23 Sep 2020 12:12:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298451 แม้ความร้อนแรงของชาวจีนในการช้อปปิ้งออนไลน์ลดลงในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ยังคงเผชิญกับความท้าทายมากมายจากการพยายามกระตุ้นการบริโภคที่บ้าน ที่ผ่านมารัฐบาลจีนพยายามผลักดันการบริโภคภายในประเทศ เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการเติบโตของประเทศแทนที่จะพึ่งพาการส่งออก แต่การเเข่งขันของอีคอมเมิร์ซจีนไม่ได้ทวีความรุนเเรงลงตามเศรษฐกิจเลยเเม้เเต่น้อย

เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ในปีนี้ได้เร่งการเติบโตการช้อปปิ้งออนไลน์ในจีน โดยส่วนแบ่งของอีคอมเมิร์ซเมื่อเทียบกับยอดค้าปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 5 เป็น 1 ใน 4 ในปีนี้ และจากการเติบโตดังกล่าว ส่งผลให้ผู้นำตลาดอย่าง ‘Alibaba’ และ ‘JD.com’ กลับต้องเผชิญกับความท้าทายจาก ‘Kuaishou’ แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นและไลฟ์สตรีมมิ่งที่มียอดสั่งซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มแตะ 500 ล้านหยวนในเดือนสิงหาคม และอ้างว่าอยู่ในอันดับ 4 ตามหลังแพลตฟอร์ม Taobao และ Tmall ของ Alibaba, JD และ Pinduoduo

ส่วน Douyin หรือ TikTok เวอร์ชันภาษาจีนก็ถือเป็นแอปวิดีโอสั้นและไลฟ์สตรีมมิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ได้เปิดเผยว่า ครีเอเตอร์กว่า 22 ล้านคนสร้างรายได้มากกว่า 41,700 ล้านหยวน บนแพลตฟอร์มในจีนในปีที่ผ่านมา และในเดือนสิงหาคม Douyin อ้างว่ามีผู้ใช้งาน 600 ล้านคนต่อวัน

นอกจากนี้ ผู้คนจำนวนมากยังใช้ WeChat สำหรับการช้อปปิ้งผ่านโปรแกรมมินิในแอปฯ ซึ่งมีผู้ใช้งานมากกว่า 400 ล้านคนต่อวัน บริษัทกล่าวว่าปริมาณสินค้าที่ซื้อผ่านโปรแกรมขนาดเล็กเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคมจากปีที่แล้ว ขณะที่ในปีที่ผ่านมา มีปริมาณธุรกรรมผ่าน WeChat สูงถึง 800,000 ล้านหยวน

“ผู้ขายที่พึ่งพาการขายทางออนไลน์อย่างเดียว มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกบังคับให้ออกจากตลาด โดยเฉพาะผู้ขายสินค้าที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ใช้วิธีการแบบ Omni Channel โดยเน้นที่การสร้างความภักดีของผู้บริโภคจะมีความยั่งยืนมากขึ้นในระยะยาว” Imogen Page-Jarrett นักวิเคราะห์การวิจัยของ The Economist Intelligence Unit (EIU) กล่าว

อย่างไรก็ตาม เพราะความไม่แน่นอนเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตและการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่จีนต้องเผชิญ โดย EIU คาดการณ์ว่าตลาดงานในปีนี้จะแย่ที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 และยอดค้าปลีกโดยรวมจะหดตัว 4.7% โดยในเดือนมกราคมถึงสิงหาคมยอดค้าปลีกลดลง 8.6% จากปีที่แล้วเหลือ 23.8 ล้านล้านหยวน

แม้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายอดค้าปลีกในจีนสามารถเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งการเติบโตเชิงบวกครั้งแรกในปี 2020 ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่กำไรส่วนใหญ่มาจากรถยนต์ซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้น 11.8% หากไม่รวมหมวดหมู่นี้ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัว 0.6%

“ด้วยความเครียดจากการว่างงาน ดังนั้นการฟื้นตัวของการบริโภคโดยรวมในไตรมาส 4 จะเติบโตมากนัก”

อย่างไรก็ตาม ฐานข้อมูล Wind Information พบว่ายอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการทางออนไลน์เพิ่มขึ้น 13.3% ในเดือนสิงหาคม แต่เติบโตช้ากว่าเดือนกรกฎาคมที่เติบโต 18.8% และลดลงจาก 19% ในเดือนมิถุนายน

“การสูญเสียงานการลดรายได้และการใช้ประโยชน์ที่สูงขึ้นอาจทำให้เกิดจุดอ่อนใหม่ในอุปสงค์ภายในประเทศ”

Source

]]>
1298451