foodpanda – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 05 Jul 2024 13:12:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองอนาคตธุรกิจ Food Delivery ทั้งไทยและต่างประเทศ บนการแข่งขันที่ยังดุเดือด แม้จะเหลือผู้เล่นน้อยราย https://positioningmag.com/1480493 Thu, 04 Jul 2024 05:42:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1480493 ธุรกิจ Food Delivery ทั้งในไทยและต่างประเทศกำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้ง แม้ว่าจะเหลือผู้เล่นน้อยรายแล้วก็ตาม ซึ่งต่างกับอดีต แต่ผู้เล่นที่เหลืออยู่ต่างต้องแข่งขันเพื่อกินส่วนแบ่งตลาด หรือหารายได้ใหม่ๆ เนื่องจากแรงกดดันทั้งจากนักลงทุนหรือแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีคู่แข่งก็ตาม

อุตสาหกรรมส่งอาหาร (Food Delivery) ทั่วโลกหรือแม้แต่ในประเทศไทยได้เดินทางมาถึงจุดสำคัญอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปิดกิจการของผู้เล่นบางราย การควบรวมกิจการ การเพิ่มรายได้ด้วยธุรกิจส่วนอื่นๆ หรือแม้แต่การขยายไปยังประเทศอื่นๆ

Positioning พาไปวิเคราะห์ถึงทิศทางของอุตสาหกรรม Food Delivery ในประเทศไทยหรือเทรนด์อุตสาหกรรมทั่วโลกว่าจะเป็นยังไงต่อไป

ดูภาพรวมของอุตสาหกรรมก่อน

ก่อนอื่นต้องยกข้อมูลของ Statista ที่มองว่าตลาด Food Delivery ทั่วโลกในปี 2024 นั้นมีขนาดของรายได้ใหญ่ถึง 1.22 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่ารายได้จากปี 2024 ถึง 2029 จะเติบโตราวๆ 9.49% ต่อปี โดยตลาดที่ใหญ่สุดในโลกยังเป็นประเทศจีน

ทางด้าน Momentum Works ที่ได้ออกบทวิเคราะห์เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาชี้ว่าในปี 2023 ผู้เล่นในตลาดบริการส่งอาหารมีผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Grab ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 47% และ LINE MAN ครองส่วนแบ่งทางการตลาด 36%

ขณะเดียวกันผู้เล่นรายรองลงมาอย่าง foodpanda ครองส่วนแบ่งทางการตลาด 8% และ Shopee Food ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 6% ที่เหลืออีก 3% เป็นของ Robinhood เท่านั้น ก่อนที่จะปิดตัวลง

นอกจากนี้ขนาดตลาดของธุรกิจ Food Delivery ในไทยของ Momentum Works เมื่อใช้ตัวเลขยอดขายสินค้าออนไลน์รวมในแพลตฟอร์ม (GMV) ของไทยนั้นปี 2022 มีขนาด 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ และปี 2023 เติบโตเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

ถ้าหากมองออกมาในหลายๆ ประเทศในอาเซียนแล้วนั้น ตลาดของธุรกิจ Food Delivery กลับกลายเป็นว่าเวียดนามนั้นมีอัตราการเติบโตมากที่สุด แต่สำหรับ ไทย สิงคโปร์ นั้นธุรกิจดังกล่าวเติบโตช้าลงเรื่อยๆ

Robinhood เป็นอีกผู้เล่นที่ต้องปิดตัวลงไปในอุตสาหกรรม Food Delivery ที่แข่งขันรุนแรง – ภาพจากบริษัท

ธุรกิจใหม่ๆ เพื่อหารายได้เพิ่มเติม สร้างความได้เปรียบ

ผู้ให้บริการ Food Delivery หลายรายเริ่มมองลู่ทางหารายได้ใหม่ๆ นอกจากธุรกิจส่งอาหารเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในไทย หรือต่างประเทศ

ถ้าหากมองกรณีของผู้ให้บริการ Food Delivery ในทวีปยุโรปหลายรายเองก็ขยายธุรกิจออกไปไม่ว่าจะเป็นการรับส่งอาหารสด เนื่องจากเป็นตลาดที่มีความใกล้เคียงกัน ใช้พนักงานส่งสินค้าเหมือนกัน และต้นทุนในการบริหารงานแทบจะไม่แตกต่างกันนัก

การโฆษณาภายในตัวแอปฯ หรือแม้แต่บนพาหนะที่ไว้ขนส่งอาหาร ซึ่งผู้เล่นทั้งในไทย อาเซียน หรือแม้แต่ผู้เล่นในธุรกิจนี้ทั่วโลกต่างงัดการหารายได้ในส่วนนี้แทบทั้งสิ้น

หรือแม้แต่การเข้าสู่โลก FinTech ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการทางการเงินแบบง่ายๆ อย่าง Wallet ไว้จ่ายเงิน การขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นประกัน การให้บริการด้านสินเชื่อ จนถึงด้านการลงทุน หรือแม้แต่การเข้าสู่ธุรกิจ Buy Now Pay Later อย่างเช่นในกรณีของ GoTo (หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อเดิมอย่าง Gojek) ก็ลงมาเล่นในตลาดนี้เหมือนกัน

ไม่เว้นแม้แต่ผู้เล่น Food Delivery บางรายอย่าง Deliveroo ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในทวีปยุโรป ที่เริ่มรุกเข้ามาในตลาด E-commerce มากขึ้น โดยบริษัทมองถึงขนาดตลาดดังกลล่าวใหญ่มากถึง 700,000 ล้านปอนด์ และเริ่มนำสินค้าหลากหลายประเภท ตั้งแต่ ดอกไม้ เครื่องสำอาง ไปจนถึงสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง

การหารายได้ทางใหม่ๆ ยังถือเป็นการสร้างป้อมปราการให้กับธุรกิจของตัวเอง เนื่องจากปัจจุบันบริษัทเทคโนโลยีที่ไม่ได้ทำธุรกิจ Food Delivery ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเทคฯ อย่าง TikTok หรือแม้แต่ Shopee รวมถึงผู้เล่นรายใหม่ๆ ที่อาจรุกเข้ามาในธุรกิจดังกล่าว ส่งผลต่อบริษัทได้ในระยะยาว

บริการส่งอาหารทั่วโลก ในแต่ละประเทศนั้นแต่ละบริษัทต่างมีคู่แข่งรายสำคัญอยู่ – ข้อมูลจาก Presentation ของ Delivery Hero

เมื่อแอปฯ ล้มหายตายจาก หรือขายกิจการนั้นถือเป็นเรื่องปกติ

ในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นการเกิดใหม่ของแพลตฟอร์มส่ง Food Delivery ลดลงบ้างแล้ว เนื่องจากผู้เล่นหน้าเก่าสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดได้ และตัวเลขสัดส่วนในการครองตลาดนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีในบางประเทศในอาเซียนที่มีผู้เล่นหลายราย เช่น เวียดนาม ที่ตลาดดังกล่าวยังมีศักยภาพเติบโตได้อีกมาก

ที่ไทยเองนั้นตลาด Food Delivery เริ่มทรงตัวมากขึ้น เนื่องจากผู้เล่นทั้ง Grab และ LINE MAN เองครองตลาดส่วนใหญ่ไว้ได้ ขณะเดียวกันในส่วนของ Foodpanda และ Grab นั้นบริษัทตั้งเป้าที่จะทำกำไรให้ได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ดีในบางตลาดนั้นกลับมีการซื้อและขายกิจการ อย่างเช่นกรณีของ ไต้หวัน ที่ Delivery Hero ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Foodpanda ประกาศขายธุรกิจให้กับ Uber ทำให้ผู้เล่นจากสหรัฐอเมริกาแทบจะครองตลาด Food Delivery แทบทั้งหมดในไต้หวัน

เทรนด์ในการซื้อกิจการหรือควบรวมกิจการธุรกิจ Food Delivery นั้นยังคงไม่หมดไป แต่เทรนด์ดังกล่าวนั้นจะไปอยู่ในประเทศที่ตลาดดังกล่าวยังคงเติบโต และมีผู้เล่นจำนวนมาก เช่น อินเดีย หลายประเทศในตะวันออกกลาง เป็นต้น หรือแม้แต่ Foodpanda พิจารณาการขายกิจการธุรกิจในอาเซียน ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวยังสร้างความกังวลให้กับหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศสิงคโปร์ด้วย

อีกเทรนด์ที่น่าสนใจคือผู้เล่นในประเทศจีนอย่าง Meituan ที่มีข่าวลือว่าอาจมีการขยายกิจการออกมานอกประเทศจีนนั้นจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา บริษัทมีข่าวลือว่าเป็นผู้เล่นอีกรายที่สนใจซื้อกิจการของ Foodpanda

นอกจากธุรกิจ Food Delivery นั้นจะมีการควบรวมกิจการ ซื้อกิจการคู่แข่งแล้ว ธุรกิจเหล่านี้ยังสนใจที่จะซื้อการควบรวมกิจการแนวดิ่ง (Vertical Integration) เช่น กรณีในไทย LINE MAN ลงทุนในกิจการของ FoodStory และ Rabbit Line Pay เพื่อที่จะเพิ่มศักยภาพของธุรกิจในอนาคต

ต้องมาลุ้นกันว่าธุรกิจส่งอาหารจากประเทศจีนอย่าง Meituan เองนั้นจะมีการรุกตลาดนอกประเทศจีนหรือไม่ – ภาพจาก Shutterstock

เส้นทางสู่กำไรที่ยังต้องพิสูจน์ตัวเอง (หรือตั้งคำถาม)

อย่างที่เราทราบกันดีว่า ผู้เล่น Food Delivery หลายรายเองทั่วโลกยังประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากอุปสรรคสำคัญคือเรื่องของค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายของเหล่า Rider ไปจนถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับระบบไอทีต่างๆ ซึ่งจุดคุ้มทุนของแต่ละบริษัทนั้นมีความแตกต่างกันไป

บทความของ Financial Times ได้คำนวณตัวเลขของผู้เล่น Food Delivery ในยุโรปและสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่เข้า IPO บริษัทเหล่านี้ขาดทุนรวมกันแล้วมากกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันอันดุเดือดของธุรกิจนี้

ขณะเดียวกันหลายบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ อย่างเช่น Sea​ บริษัทแม่ของ Shopee Food รวมถึงผู้เล่นในตลาด Food Delivery อย่าง Uber Grab Deliveroo Doordash รวมถึง Delivery Hero ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Foodpanda เป็นต้น ต่างโดนเหล่านักลงทุนบีบให้บริษัทต่างทำกำไรให้ได้ไวที่สุด ซึ่งแตกต่างกับในอดีตที่เน้นการขยายธุรกิจกินส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด

สิ่งที่นักลงทุนต้องการไม่ใช่แค่กำไรเท่านั้น แต่ยังต้องเลิกเผาเงินสด หรือเลิกยึดครองตลาดที่นักลงทุนมองว่าไม่สามารถทำกำไรต่อไป

การบีบของนักลงทุนนั้นยังทำให้แผนธุรกิจของผู้เล่น Food Delivery หลายรายเริ่มเปลี่ยนจากการหารายได้ที่เน้นการส่งอาหาร การรับส่งลูกค้า ซึ่งรายได้ 2 ส่วนนี้นั้นมากกว่า 50% ของรายได้รวม เริ่มทำให้หลายผู้เล่นต้องปรับตัวให้คล้ายกับซุปเปอร์แอปฯ (Super App) มากขึ้น

คำถามคือในระยะยาวแล้ว การที่แอปเหล่านี้ปรับตัวคล้ายกับ Super App จะสามารถแข่งกับผู้เล่นดั้งเดิม เช่น  การเข้าไปยังธุรกิจ E-commerce หรือแม้แต่ FinTech นั้นแต่ละบริษัทสามารถสร้างจุดแข็งหรือแม้แต่ความได้เปรียบจากผู้เล่นเดิมในธุรกิจเหล่านี้ได้อย่างไร

ไม่เพียงเท่านี้บริษัทเหล่านี้ยังโดนจับตามองจากหน่วยงานกำกับดูแลถึงเรื่องของการแข่งขันด้านธุรกิจ เนื่องจากหลายประเทศ ผู้เล่นในธุรกิจเหล่านี้กำลังเหลือน้อยราย และยังรวมถึงเรื่องของการดูแลสวัสดิภาพของเหล่า Rider รับส่งอาหาร (หรือแม้แต่ Rider คนขับ) โดยเฉพาะในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่เรื่องดังกล่าวกลายเป็นประเด็นใหญ่

ในอนาคตอันใกล้นี้เรากำลังเห็นผู้เล่นในอุตสาหกรรม Food Delivery ต่างเหลือผู้เล่นน้อยรายลงเรื่อยๆ ซึ่งในบางประเทศการต่อสู้ระหว่างผู้เล่นในธุรกิจนี้เหลือไม่เกิน 3-4 รายแล้ว ภายใต้การแข่งขันที่ยังคงดุเดือดทั้งคู่แข่งทางตรง หรือแม้แต่คู่แข่งทางอ้อม

]]>
1480493
สิงคโปร์เตรียมสอบสวนดีล Grab และ Delivery Hero แม้จะล่มไปแล้วก็ตาม กังวลผูกขาดการแข่งขันธุรกิจส่งอาหาร https://positioningmag.com/1468607 Mon, 01 Apr 2024 14:13:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468607 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของสิงคโปร์ เตรียมสอบสวนดีล Grab และ Delivery Hero แม้ดีลดังกล่าวนั้นจะล่มไปแล้วก็ตาม โดยให้เหตุผลถึงความกังวลผูกขาดการแข่งขันธุรกิจส่งอาหาร เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดรวมกันมากถึง 91%

หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของสิงคโปร์ (CCCS) ได้เตรียมที่จะสอบสวนกรณีที่ Grab นั้นสนใจที่จะซื้อกิจการของ Delivery Hero ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่าอาจทำให้การแข่งขันในธุรกิจส่งอาหารของประเทศนั้นเกิดการผูกขาดได้ แม้ว่าดีลดังกล่าวจะล่มลงไปก็ตาม

CCCS ยังได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า “ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น CCCS มีเหตุผลให้สงสัยว่าธุรกรรมที่เป็นไปได้ดังกล่าวนั้นอาจส่งผลให้การแข่งขันในตลาดลดลงอย่างมากสำหรับการจัดหาบริการสั่งอาหารออนไลน์และจัดส่งอาหารในสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้เล่นรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ผู้เล่นรายใหม่มีอุปสรรคในการเข้าตลาดดังกล่าวสูง”

การสอบสวนดีลดังกล่าวนั้นเนื่องจากมีความเป็นไปได้จะละเมิดมาตรา 54 ของพระราชบัญญัติการแข่งขันปี 2024 ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งห้ามควบรวมกิจการที่ส่งผลหรืออาจคาดว่าจะส่งผลให้การแข่งขันในประเทศลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ดีลดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ในช่วงปลายไตรมาส 3 ของปี 2023 ที่ผ่านมาซึ่งมีสื่อในประเทศเยอรมันรายงานข่าวว่า Delivery Hero ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ foodpanda ได้กำลังเจรจาในการขายกิจการให้กับ Grab ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 1,000 ล้านยูโรในช่วงเวลานั้น

ในช่วงเวลาของการเจรจาซื้อกิจการ CCCS ได้ออกมาตรการคุ้มครองในช่วงที่มีข่าวของทั้ง 2 ฝ่ายอาจซื้อกิจการกันช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการห้ามไม่ให้ควบรวมบริการสั่งอาหารหรือส่งอาหารในสิงคโปร์ หรือแม้แต่การห้ามไม่ให้สร้างผลกระทบที่สำคัญต่อความอยู่รอดของกิจการ foodpanda ในสิงคโปร์ ซึ่งอาจกระทบกับการแข่งขัน

แต่ในท้ายที่สุดดีลดังกล่าวได้ล่มลง โดย Niklas Östberg ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Delivery Hero ได้แถลงการณ์ยุติเจรจาซื้อขายธุรกิจในทวีปเอเชีย และมองว่าตลาดภูมิภาคนี้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 2023 และบริษัทยังเชื่อว่าภูมิภาคนี้จะยังเป็นตลาดที่สร้างการเติบโตและกำไรได้อย่างแข็งแกร่ง

และหลังจากดีลดังกล่าวล่มลง ทาง CCCS ก็ได้ยุติมาตรการคุ้มครองดังกล่าว ก่อนที่จะมีข่าวในการเตรียมสอบสวนดีล Grab และ Delivery Hero ในครั้งนี้ตามมา

ข้อมูลจาก Momentum Works ได้ชี้ว่า Grab และ foodpanda ได้ครองตลาดบริการส่งอาหารมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐรวมกันถึง 91% ซึ่งถ้าหากมีการควบรวมกิจการกันจริงหลายฝ่ายคาดว่าหน่วยงานกำกับดูแลของสิงคโปร์รายนี้อาจต้องออกมาขวางดีลดังกล่าวไว้ 

ที่มา – Reuters, The Strait Times

]]>
1468607
ดีลล่ม! บริษัทแม่ Foodpanda แจ้งดีลขายกิจการใน SEA ที่ยืดเยื้อมาหลายเดือนสรุป “ตกลงกันไม่ได้” https://positioningmag.com/1463649 Thu, 22 Feb 2024 06:46:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463649 ย้อนไปเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน “Delivery Hero” บริษัทแม่ของ “Foodpanda” ยืนยันว่าบริษัทอยู่ระหว่างเจรจาขายกิจการในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่จริง แต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2024 บริษัทออกแถลงการณ์แจ้งว่าดีลซื้อขายกิจการที่คุยกันมาตลอดหลายเดือนนั้นไม่สามารถตกลงกันได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังเปิดกว้างต่อการเจรจาควบรวมกิจการกับผู้สนใจรายอื่นต่อไป

Delivery Hero บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านฟู้ดเดลิเวอรีจากเยอรมนี ออกแถลงการณ์ประกาศว่าบริษัทตกลง “สิ้นสุดการเจรจา” กับบริษัทที่สนใจซื้อกิจการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายหนึ่งแล้ว โดยไม่ได้เปิดเผยชื่อบริษัทดังกล่าว

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนกันยายนปีก่อน Delivery Hero ตกเป็นข่าวว่ากำลังขายกิจการ Foodpanda ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย กัมพูชา เมียนมา และลาว ในช่วงเวลาเดียวกัน บริษัทมีการประกาศเลย์ออฟพนักงานเพื่อ ‘จัดโครงสร้างบริษัท’ และ ‘ให้เกิดความคล่องตัวขึ้น’ สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทน่าจะกำลังลดการลงทุนในตลาดแถบนี้

ในแถลงการณ์ที่ออกมาล่าสุด Delivery Hero ระบุว่า บริษัทที่กำลังพูดคุยซื้อกิจการไม่ตกลงตามเงื่อนไข

“การตัดสินใจที่จะสิ้นสุดการเจรจาหลังจากพูดคุยกันมานานหลายเดือนนั้นเกิดขึ้นหลังจากเราได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว” Niklas Östberg ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Delivery Hero กล่าว

แถลงการณ์ครั้งนี้บริษัทก็ยังคงไม่แจ้งอย่างชัดเจนว่าผู้ซื้อที่สนใจคือใคร อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกันยายนที่มีข่าวครั้งแรกนั้น หนังสือพิมพ์ธุรกิจในเยอรมนี Wirtschaftswoche ให้ชื่อว่าผู้ที่สนใจซื้ออยู่คือ Grab คู่แข่งสำคัญในตลาดนี้

เมื่อสัปดาห์ก่อนที่จะประกาศล่มดีล Östberg เพิ่งจะให้ข่าวกับ CNBC ว่า เขาพอใจถ้าจะต้องเก็บแบรนด์ Foodpanda ไว้ต่อไป ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องรีบขาย เป็นการตอบโต้หลังมีข่าวลือมาก่อนหน้านี้แล้วว่าการเจรจาตกลงซื้อขายหน่วยธุรกิจของบริษัทใน SEA น่าจะไม่เกิดขึ้นจริง จนทำให้ราคาหุ้นของ Delivery Hero ตกลง

Östberg ยังกล่าวในแถลงการณ์ยุติเจรจาซื้อขายครั้งนี้ด้วยว่า “ความแข็งแกร่งของธุรกิจของเราในเอเชียแปซิฟิกนั้นชัดเจนขึ้นมาเมื่อไตรมาสที่แล้ว หลังจากตลาดภูมิภาคนี้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 2023 เราเชื่อว่าภูมิภาคนี้จะยังเป็นตลาดที่สร้างการเติบโตและกำไรได้อย่างแข็งแกร่ง”

อย่างไรก็ตาม กิจการของ Delivery Hero ในเอเชียซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทนั้นเริ่มจะทรงตัวหลังจากมาตรการเกี่ยวกับโควิด-19 เริ่มผ่อนคลายลงเมื่อปีก่อน

ในแถลงการณ์ชุดเดียวกัน Delivery Hero กล่าวว่า บริษัทยัง “เปิดกว้าง” ให้กับดีลควบรวมกิจการ (M&A) ยังคงรับพิจารณาดีลทดแทนอื่นๆ ที่มีศักยภาพเพียงพอ โดยจะต้องเป็นดีลที่สร้างคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้น และต้องเป็นดีลที่มีความแน่นอนในการปิดดีลได้จริง

เมื่อเดือนมกราคม 2024 บริษัท Delivery Hero เพิ่งจะขายหุ้นเป็นสัดส่วน 4.5% ของบริษัทให้กับคู่แข่ง Deliveroo บริษัทฟู้ดเดลิเวอรีชื่อดังจากอังกฤษที่ขยายตลาดไปแล้วหลายประเทศ โดยมีบริการในตลาดเอเชียแปซิฟิกที่สิงคโปร์และฮ่องกง

Source

]]>
1463649
foodpanda เปิดลายแทงเมนูอาหารนานาชาติยอดฮิต ส่งแคมเปญ Taste of The World มัดใจลูกค้าทั้งไทย-เทศ https://positioningmag.com/1453229 Fri, 24 Nov 2023 12:45:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453229

ประเทศไทยขึ้นชื่อว่ามีจุดเด่นที่หลากหลาย ทั้งการท่องเที่ยว วัฒนธรรม ที่สำคัญก็หนีไม่พ้นเรื่อง
“อาหารการกิน” ที่มองไปทางไหนก็ละลานตาไปหมด แถมยังอร่อยถูกปาก จึงเป็นส่วนที่มัดใจชาวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย แต่เอกลักษณ์สำคัญของประเทศไทย ยังมีเรื่องความหลากหลายของวัฒนธรรมอีกด้วย

เนื่องจากความเป็น “สังคมพหุวัฒนธรรม” ที่โอบรับวัฒนธรรมที่แตกต่างไม่ว่าจะเป็นศาสนา ศิลปะ ความบันเทิง การแต่งกาย รวมไปถึงอาหารจากหลากหลายประเทศ จนกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอาหารจากชาติต่าง ๆ ให้เลือกมากที่สุดก็ว่าได้ จึงได้เห็นอาหารนานาชาติอยู่ทั่วทุกมุมในประเทศนั่นเอง ทำให้คนไทยก็ได้ลิ้มรสอาหารจากต่างบ้านต่างเมืองโดยไม่ต้องบินไป หรือคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศ ก็ได้ทานอาหารเสมือนอยู่บ้านเกิดเมืองนอนให้หายคิดถึง อีกทั้งการหาร้านอาหารก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถึงแม้จะรถติด หรือระยะทางไกลแค่ไหน ก็สามารถอิ่มอร่อยได้ เพราะตอนนี้มีบริการ Food Delivery ที่เป็นเหมือนตัวช่วยคนสำคัญในการกิน

foodpanda แพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร และของกินของใช้ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ให้บริการในประเทศไทยมามากกว่า 11 ปี จึงได้เห็นอินไซต์ของผู้บริโภค และภาพรวมของตลาดเป็นอย่างดี foodpanda จึงนำจุดแข็งนี้ มาสร้างสรรค์แคมเปญพิเศษ “Taste of The World” เพื่อฉลองเทศกาลแห่งความสุข สร้างความสนุกสนานตั้งแต่ปลายปีนี้ไปจนถึงต้นปีหน้า เพื่อให้ถูกใจลูกค้าทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และนักท่องเที่ยว

ทั้งนี้ foodpanda ยังได้รวบรวมเมนูอาหารยอดฮิตที่ขายดีที่สุด จากอาหารแต่ละชาติ แน่นอนว่าต้องเป็นเมนูโปรดของคนไทยหลายคน มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

  • อาหารเกาหลี : เมนู “ไก่ทอดซอสเกาหลี” ไก่ทอดสัมผัสกรอบอร่อย คลุกเคล้ากับซอสรสกลมกล่อมได้อารมณ์แบบไม่ต้องบินไปถึงกรุงโซล
  • อาหารญี่ปุ่น : เมนู “ทาโกะยากิ” ขนมครกลูกทรงกลมจากญี่ปุ่น กรอบนอกนุ่มในสอดไส้ปลาหมึกยักษ์ หรือ “ทาโกะ” โรยด้วยปลาแห้งเพิ่มความหอม ราดซอสรสอุมามิ
  • อาหารเวียดนาม : เมนู “แหนมเนือง” สัมผัสรสชาติเวียดนามด้วย หมูย่างและสารพัดเครื่องเคียง ห่อด้วยแป้งราดน้ำจิ้มรสเด็ด ทานคู่ผักสด ทั้งอร่อยและดีต่อสุขภาพ
  • อาหารจีน : เมนู “หม่าล่า” อร่อยไม่ตกเทรนด์กับเมนูหม่าล่าหลากหลายทั้งปิ้งย่างและชาบู ลิ้มรสเผ็ดชาจากพริกฮวาเจียว เหมือนเยือนต้นกำเนิดมณฑลเสฉวน ประเทศจีน
  • อาหารไทย : เมนู “ข้าวผัด” อาหารจานเดียวหาทานง่าย กับรสชาติที่หลายคนคุ้นเคย ข้าวสวยหอม ๆ ตามเอกลักษณ์เฉพาะของอาหารไทยผัดกับซอสปรุงรส และเครื่องปรุงนานาชนิดเพื่อให้ได้รสชาติที่หอมอร่อย ใคร ๆ ก็ทานได้
  • อาหารอินเดีย : เมนู “แกงไก่เนยและแป้งนานกระเทียม” แกงไก่รสชาติเข้มข้น หอมเครื่องเทศ เอกลักษณ์ความอร่อยจากประเทศอินเดีย เข้ากันสุด ๆ เมื่อกินคู่กับแป้งนานกระเทียมร้อน ๆ
  • อาหารอิตาเลียน : เมนู “พิซซ่า” ที่คนไทยคุ้นเคย เลือกได้ทั้งแป้งบางกรอบหรือหนานุ่ม พร้อมหน้าพิซซ่าหลากหลายจนคนอิตาลีต้องร้องอุทานเดลิซิโอโซ่
  • อาหารเยอรมัน : เมนู “ชนิทเซิลหมู” เมนูฮิตคนเมืองเบียร์ หมูที่ถูกนำมาทุบเป็นแผ่นบาง ๆ ชุบเกล็ดขนมปังทอดกรอบในน้ำมัน เสิร์ฟคู่กับเลม่อน สลัดมันฝรั่ง หรือเฟรนช์ฟรายก็เข้ากันดี

นี่เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น เพราะยังมีอาหารอีกหลายสัญชาติให้เลือกสรรผ่าน foodpanda ทั้งอาหารเม็กซิกัน, อาหารสเปน, อาหารเลบานีส และอาหารกรีก เป็นต้น

ศิริภา จึงสวัสดิ์ CEO foodpanda ประเทศไทย เล่าว่า “แคมเปญ Taste of The World มีเป้าหมายในการสร้างความคึกคักให้ธุรกิจ Food Delivery ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เพราะถือเป็นช่วง Festive Season ที่คนไทยจะมีปาร์ตี้ในวันต่าง ๆ ตั้งแต่ฮัลโลวีน ลอยกระทง คริสต์มาส จนถึงช่วงปีใหม่ แน่นอนว่าต้องมีการสั่งอาหารที่หลากหลายมา เพื่อใช้เวลาแห่งความสุขร่วมกัน นอกจากนี้เรายังมีเป้าหมายในการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่ม Expat หรือกลุ่มชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน เพราะเป็นสัดส่วนลูกค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี”

อีกหนึ่งความพิเศษของแคมเปญ Taste of The World โดยที่ foodpanda ได้จัดเต็มความคุ้มค่าแก่ลูกค้ามากมาย ดังนี้

  • ส่วนลดสูงสุด 60% จากร้านดังไม่ว่าจะเป็น Sukishi, GUGU Chicken, Royal Pizza, Krispy Kreme รวมถึง Taco Bell เป็นต้น ตั้งแต่วันนี้ ถึงเดือนสิ้นเดือนมกราคม 2024
  • Flash Sales เริ่มต้นเพียง 99 บาท มีที่ร้านดังเข้าร่วมอย่าง Five Star, Black Canyon, Pizza Hut, MK Restaurant, Yayoi Restaurant (รอกดในช่วง “มื้อกลางวัน” 10.00-13.00 น. และ “มื้อเย็น” 17.00-20.00 น.) ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่วันนี้ – สิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้เท่านั้น

ใครที่กำลังมองหาอาหารนานาชาติเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ อย่าลืมกดสั่ง foodpanda รับรองว่า เหมือนนั่งทานอยู่ที่ประเทศต้นตำรับเลยทีเดียว

ติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมของ foodpanda ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/FoodpandaThailand เว็บไซต์ foodpanda.co.th และอินสตาแกรม https://www.instagram.com/foodpandathailand/

 

]]>
1453229
Bloomberg รายงาน Meituan บริการส่งอาหารรายใหญ่ของจีน สนใจซื้อกิจการ Foodpanda ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ https://positioningmag.com/1452370 Fri, 17 Nov 2023 17:54:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452370 สำนักข่าว Bloomberg ได้รายงานถึง Meituan บริการส่งอาหารรายใหญ่ของจีน สนใจซื้อกิจการ Foodpanda ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่บริษัทแม่อย่าง Delivery Hero ได้หาลู่ทางในการขายกิจการตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Meituan บริการส่งอาหารรายใหญ่ของจีน ได้สนใจซื้อกิจการของ Foodpanda บริการส่งอาหารรายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่บริษัทแม่อย่าง Delivery Hero ได้หาลู่ทางในการขายกิจการ

แหล่งข่าวของสื่อรายดังกล่าวได้กล่าวว่า บริการส่งอาหารรายใหญ่ของจีนรายดังกล่าวได้พูดคุยกับ Delivery Hero เกี่ยวกับการซื้อกิจการของ Foodpanda ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอื่น ๆ ต่อแต่อย่างใด

Niklas Oestberg ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Delivery Hero ได้กล่าวว่า ธุรกิจในทวีปเอเชียถือเป็นส่วนกำไรที่มากที่สุดของบริษัท แต่ในส่วนของการเติบโตนั้นกลับชะลอตัวลง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนั้น ในไตรมาสที่ผ่านมาธุรกิจในทวีปเอเชียมียอดขายสินค้ารวม (GMV) ลดลง 6.2% อยู่ที่ 6,390 ล้านยูโร

โดย Delivery Hero นั้นมีแผนที่จะทำให้ธุรกิจของบริษัทกลับมาอยู่ในเส้นทางของการทำกำไรให้ได้ ซึ่งการขายธุรกิจที่บริษัทไม่ได้โฟกัสต่อไปถือเป็นแผนการของบริษัทด้วย

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา Delivery Hero ได้ประกาศว่าบริษัทกำลังพิจารณาขายธุรกิจของ Foodpanda ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว โดยสื่อในประเทศเยอรมันคาดว่า Grab ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญอาจทุ่มเงินมากถึง 1,000 ล้านยูโร ในการซื้อกิจการ

อย่างไรก็ดีมีความกังวลว่าถ้าหาก Grab ได้กิจการของของ Foodpanda ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ อาจทำให้หน่วยงานกำกับดูแลนั้นไม่ให้ดีลนี้ผ่านได้

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานั้นมีข่าวลือว่า Foodpanda นั้นจะขายกิจการให้กับคู่แข่งรายอื่นมาแล้ว รวมถึงประเทศไทยด้วย

อย่างไรก็ดียังต้องรอดูว่าท้ายที่สุดแล้ว Delivery Hero จะขายกิจการ Foodpanda ให้กับผู้เล่นรายใด

โดยถ้าหาก Meituan ได้กิจการของ Foodpanda ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไป อาจไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจมากนัก เนื่องจากบริการส่งอาหารรายใหญ่ของจีนรายนี้ในอดีตเคยเป็นบริษัทลูกของ Tencent ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่รายเดืยวกับ Delivery Hero นั่นก็คือ Prosus และ Nasper ซึ่งเป็นกิจการลงทุนจากประเทศแอฟริกาใต้นั่นเอง

]]>
1452370
foodpanda x airasia Superapp ผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ เรียกรถผ่านแอปชมพู สั่งอาหารผ่านแอปแดงได้แล้ว! https://positioningmag.com/1447725 Thu, 12 Oct 2023 06:45:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447725

ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่เป็นหนึ่งในตลาดดาวรุ่งที่มีการเติบโตหลายเท่าตัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนไป บริการนี้เข้ามาตอบโจทย์ความสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งในช่วงวิกฤต COVID-19 ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งทำให้ตลาดเติบโตอย่างหนัก เพราะหลายคนไม่สามารถออกจากบ้านได้ ในช่วง 1-2 ปีมานี้ จึงได้เห็นผู้ประกอบการต่างทำตลาดอย่างหนัก ทั้งสร้างแบรนด์ อัดโปรโมชั่น มีการแข่งขันอย่างดุเดือด

ถ้าช่วงที่ผ่านมาการแข่งขันดุเดือดแล้ว แต่ตอนนี้ตลาดก็ยังเดือดได้อีก เมื่อ 2 ผู้เล่นยักษ์ใหญ่ได้ประกาศผนึกกำลังกัน ระหว่าง foodpanda แพลตฟอร์มจัดส่งอาหารและของกินของใช้ ที่ให้บริการใน 11 ตลาดทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จับมือ airasia Superapp (ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนชื่อเป็น airasia MOVE) แพลตฟอร์มซูเปอร์แอปด้านการเดินทาง และการท่องเที่ยวชั้นนำของอาเซียน

การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการเสริมจุดแข็งซึ่งกันและกันของทั้ง 2 แพลตฟอร์ม เป็นการไขว้บริการของทั้งคู่ ผู้ใช้งาน airasia Superapp สามารถเข้าถึงบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ของ foodpanda ได้ สั่งอาหารได้ทุกที่ทุกเวลา ส่วนลูกค้าของ foodpanda ก็สามารถใช้บริการเรียกรถจาก airasia ride เป็นหนึ่งในบริการของ airasia Superapp เป็นการสัมผัสประสบการณ์ใหม่นอกเหนือจากบริการจัดส่งอาหาร และของกินของใช้

เรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มประสบการณ์ใหม่ที่คุ้มค่า และสะดวกสบายยิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้งานทั้งสองแพลตฟอร์มในประเทศไทย และเป็นการขยายฐานลูกค้าของทั้ง 2 แพลตฟอร์มให้มากขึ้นด้วย

ศิริภา จึงสวัสดิ์ CEO foodpanda ประเทศไทย กล่าวว่า

“foodpanda ในฐานะผู้ให้บริการจัดส่งอาหารและของกินของใช้ และได้ให้บริการในประเทศไทยมากว่า 11 ปี วันนี้เรายินดีมากที่ได้พันธมิตรอย่าง airasia Superapp ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการเดินทางและการท่องเที่ยวชั้นนำของภูมิภาค มาช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ foodpanda เติมเต็มบริการให้ครบครันมากยิ่งขึ้น เรามี 2 เป้าหมายหลักจากการร่วมเป็นพันธมิตรครั้งนี้ เรื่องแรกคือมอบประสบการณ์การบริการที่ครบครันและไร้รอยต่อให้กับลูกค้าปัจจุบันของทั้ง airasia Superapp และ foodpanda เรื่องที่สองคือการขยายฐานลูกค้าใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้เกิด Ecosystem ทางธุรกิจที่สมบูรณ์และยั่งยืนมากขึ้น โดยความร่วมมือนี้ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ได้เริ่มต้นที่มาเลเซียในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา”

ทางด้าน เบนจี ลิม หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์พันธมิตรทางธุรกิจและพัฒนาตลาดต่างประเทศ airasia Superapp กล่าวว่า“เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่รายใหญ่ในไทยอย่าง foodpanda ภายใต้ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับทั้งสองแอปฯ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานของแต่ละแอปฯ สามารถรับบริการใหม่ๆ เพิ่มเติม เพื่อตอบสนองความต้องการได้หลากหลายและสะดวกสบายมากขึ้น ผู้ใช้งานของ foodpanda สามารถเข้าถึงบริการเรียกรถยนต์รับส่งผ่านแอปพลิเคชั่นได้ทันที จึงสามารถเดินทางในกรุงเทพฯ ได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นในราคาที่คุ้มค่าทุกการเดินทาง

นอกจากนี้ลูกค้าของทั้ง 2 แพลตฟอร์มยังได้รับสิทธิประโยชน์ที่พิเศษยิ่งกว่าเมื่อผู้ใช้งาน foodpanda ใช้บริการเรียกรถยนต์รับส่งจาก airaisa ride ทุกๆ 15 บาท จะได้รับ 1 คะแนน airasia points ผ่านแอปฯ และสามารถนำมาใช้แทนเงินสดสำหรับใช้จ่ายซื้อสินค้าบน airasia Superapp อาทิ ค่าตั๋วเครื่องบินทั้งสายการบินแอร์เอเชีย และสายการบินอื่นๆ ค่าห้องพักโรงแรม และแลกดีลข้อเสนอด้านไลฟ์สไตล์กับพันธมิตรสุดพิเศษ

ลูกค้าของทั้ง 2 แพลตฟอร์มยังสามารถใช้งานแอปฯ ประจำของตนเองได้ตามปกติ จะมีเมนูสั่งอาหารเพิ่มเข้าไปอยู่หน้าแอปฯ airasia Superapp สามารถสั่งอาหารโดยบริการจาก foodpanda ได้ ส่วนลูกค้าของ foodpanda ก็จะมีเมนูเรียกรถอยู่หน้าแอปฯ ก็ได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่จาก airaisa ride แล้ว เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความร่วมมือ ลูกค้าทั้ง airasia Superapp และ foodpanda สามารถเพลิดเพลินไปกับส่วนลดต่าง ๆ ได้แล้ววันนี้

  • สำหรับลูกค้าใหม่ foodpanda ที่สั่งอาหารจาก foodpanda บน airasia Superapp รับส่วนลดทันที 30% (สูงสุด 80 บาท) เมื่อมียอดสั่งซื้อ 150 บาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าส่ง) เพียงใส่โค้ด (*เงื่อนไขเป็นไปตามบริษัทกำหนด)
    • “AAFPNC80” ตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2566
    • “AAFPNC81” ตั้งแต่วันที่ 1 -30 พฤศจิกายน 2566
    • “AAFPNC82” ตั้งแต่วันที่ 1 -31 ธันวาคม 2566
  • และลูกค้าที่ใช้แอปฯ foodpanda ก็สามารถเรียกรถ airasia ride บน foodpanda ได้เช่นกัน เพียงใส่โค้ด “FPAA40” รับส่วนลด 40 บาท สำหรับค่าโดยสารขั้นต่ำ 150 บาท ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2566 (*เงื่อนไขเป็นไปตามบริษัทกำหนด)

ติดตามรายละเอียดบริการของ foodpanda เพิ่มเติมได้ที่ App Store and Google Play หรือติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมของ foodpanda ได้ที่

เฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/FoodpandaThailand

เว็บไซต์ foodpanda.co.th และอินสตาแกรม https://www.instagram.com/foodpandathailand/

ติดตามข่าวสารล่าสุดจาก airasia Superapp (ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนชื่อเป็น airasia MOVE) ทาง @airasiasuperapp บน Instagram/TikTok/Twitter หรือ @airasia บน WeChat/Weibo สำหรับข่าวสารเกี่ยวกับแอร์เอเชีย รีวอร์ด  ติดตามได้ที่ @airasiarewards บน Instagram และ “airasia rewards” บน Facebook และ LinkedIn เพื่อประสบการณ์ที่ราบรื่นและดียิ่งขึ้น ดาวน์โหลด airasia Super App ของคุณจาก  Apple App Store, Google Play  Store หรือ Huawei AppGallery

]]>
1447725
บริษัทแม่ foodpanda กำลังเจรจาขายกิจการในทวีปเอเชีย คาด Grab อาจควักเงิน 1,000 ล้านยูโรซื้อกิจการ https://positioningmag.com/1444969 Thu, 21 Sep 2023 02:24:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444969 Delivery Hero บริษัทแม่ของ foodpanda กำลังเจรจาขายกิจการในทวีปเอเชีย คาด Grab อาจควักเงิน 1,000 ล้านยูโรซื้อกิจการ

สื่อธุรกิจหลายแห่งได้รายงานข่าวว่า Delivery Hero บริษัทแม่ของ foodpanda บริการส่งอาหารรายใหญ่ ได้ยืนยันว่ากำลังอยู่ในการเจรจาขายกิจการในทวีปเอเชีย และผู้ที่สนใจซื้อกิจการคือ Grab ซึ่งเป็นคู่แข่ง คาดว่าจะใช้เงินราวๆ 1,000 ล้านยูโร หรือราวๆ 38,500 ล้านบาท ซึ่งข่าวดังกล่าวอ้างอิงมาจาก The Wirtschaftswoche สื่อธุรกิจในเยอรมัน

ปัจจุบันแผนธุรกิจของ Delivery Hero คือมุ่งเน้นไปที่การทำกำไรในขณะที่ยังคงรักษาการเติบโตไว้ เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนในบริษัทเริ่มลดลงเนื่องจากการขาดทุนของบริษัท

บริษัทแม่ของ foodpanda ได้ชี้ว่าบริษ้ทได้บรรลุผลกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย หรือ EBITDA ในผลประกอบการช่วงหกเดือนแรกของปี แม้ว่าจะไม่ได้ระบุเป็นจำนวนก็ตาม หลังจากที่บริษัทได้มรผลขาดทุน 323 ล้านยูโรในปี 2022 ที่ผ่านมา

foodpanda มีบริการในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย ลาว กัมพูชา ซึ่งธุรกิจในทวีปเอเชียนั้นทำรายได้เป็นสัดส่วนมีนัยสำคัญของบริษัทอย่างมาก โดยก่อนหน้านี้ CEO ของ Delivery Hero ได้กล่าวว่าบริษัทได้ลดโมเมนตัมของธุรกิจในเอเชียลง หลังจากลงทุนอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา

โดย Delivery Hero ได้เปิดเผยต่อตลาดหุ้นในเยอรมันโดยยืนยันว่ามีการเจรจากับหลายฝ่ายเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขายธุรกิจ foodpanda บางตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การพูดคุยเจรจา ยังอยู่ในระยะเบื้องต้น

ที่มา – Reuters, The Strait Times

Note: อัพเดต 16:11 เพิ่มเติมแถลงการณ์ของบริษัทว่ามีการเจรจาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ดังกล่าว

]]>
1444969
‘Grab’ เริ่มทดลองฟีเจอร์ “ทานที่ร้าน” รับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น https://positioningmag.com/1439735 Thu, 03 Aug 2023 08:16:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439735 เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่ไม่ได้ร้านแรงเหมือนช่วง 3 ปีที่แล้ว บริการ ฟู้ดเดลิเวอรี่ เลยไม่ได้เติบโตอย่างร้อนแรงเหมือนช่วงที่คนออกจากบ้านไปทานอาหารที่ร้านไม่ได้ ดังนั้น แกร็บ (Grab) และ ฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) เลยเพิ่มบริการ ทานที่ร้าน ในรูปแบบการซื้อคูปองผ่านแพลตฟอร์ม

Grab กำลังทดสอบฟีเจอร์ การรับประทานที่ร้าน ในสิงคโปร์ ไทย และอินโดนีเซีย รวมทั้งหมด 15 เมือง โดยให้ผู้ใช้ซื้อเป็น คูปอง หรือ บัตรกำนัล สำหรับรับประทานที่ร้านล่วงหน้า โดยจะมี ส่วนลดสูงสุดถึง 50% ซึ่ง Grab มีแผนจะเปิดตัวฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ในอีก 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

Tay Chuen Jein หัวหน้าฝ่ายจัดส่งของ Grab ในสิงคโปร์ กล่าวว่า ฟีเจอร์บริการนั่งทานในร้านของ GrabFood “ทำให้การรับประทานอาหารนอกบ้านมีราคาที่ย่อมเยามากขึ้น” เนื่องจากแพลตฟอร์มได้เสนอส่วนลดให้กับลูกค้า สำหรับ Grab เองก็จะได้ค่า คอมมิชชั่น จากการขายคูปองทานอาหารแต่ละครั้ง

โดย Jonathan Woo นักวิเคราะห์อาวุโสของ Phillip Securities Research กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้านเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมองหาข้อเสนอเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในทุกที่ที่ทำได้ และแทบไม่มีความรู้สึกใดที่ดีไปกว่าการได้รับประทานอาหารดี ๆ ในราคาประหยัด

อย่างไรก็ตาม Grab ไม่ใช่ผู้เล่นรายแรกในตลาดที่ทำ แต่ Foodpanda ถือเป็นรายแรก โดยเปิดฟีเจอร์การรับประทานในร้านในปี 2021 โดยปัจจุบัน Foodpanda มีบริการทานที่ร้าน ในสิงคโปร์ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ฮ่องกง ปากีสถาน และบังกลาเทศ มีร้านอาหารที่ร่วมกับแพลตฟอร์มกว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศเหล่านี้ และมีส่วนลดในการรับประทานอาหารตั้งแต่ 15% ถึง 25%

Jakob Sebastian Angele ซีอีโอประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Foodpanda กล่าวว่า บริษัทมองเห็น ศักยภาพมหาศาลในการรับประทานที่ร้าน อย่างไรก็ตาม รายได้จากบริการฟู้ดเดลิเวอรี่จัดส่งอาหารยังคงเป็นธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของ Foodpanda รองลงมาคือ การจัดส่งของชำ

ทั้งนี้ จากรายงานโดย Benchmark ที่เผยแพร่เมื่อเดือนเมษายนระบุว่า การจัดส่งอาหารมีการเติบโตอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยมีการเติบโตถึง 50% ต่อปี แต่ในปัจจุบัน บริการส่งอาหารยังมีการเติบโตอยู่แต่ไม่สูงเหมือนช่วง 3 ปีก่อน เนื่องจากผู้บริโภคกลับมาใช้กิจวัตรประจำวันตามปกติและออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านบ่อยขึ้น

“ด้วยสิ่งจูงใจที่ลดลง เนื่องจากแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาเงินสด อาจส่งผลให้ผู้บริโภคสั่งอาหารน้อยลง และร้านค้ามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปเน้นการดึงดูดลูกค้าหน้าร้านมากขึ้น ซึ่งอาจชะลอการเติบโตของปริมาณการสั่งซื้ออาหารเดลิเวอรี่ในระยะสั้น”

Source

]]>
1439735
รายงานชี้ ตลาด Food Delivery ในอาเซียนโตเหลือ 5% ในปีที่ผ่านมา อาจทำให้ธุรกิจนี้อยู่ยากขึ้น https://positioningmag.com/1415760 Tue, 17 Jan 2023 17:53:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415760 รายงานเกี่ยวกับธุรกิจ Food Delivery ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นในปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตของ GMV เพียงแค่ 5% เท่านั้น หลังจากที่มีการเติบโตทบต้นเป็นตัวเลข 2 หลักมาโดยแทบตลอด ซึ่งอาจทำให้ผู้เล่นในตลาดนี้อาจทำธุรกิจได้ยากมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันมาร์จิ้นในการทำธุรกิจดังกล่าวก็ไม่ได้สูงมากนัก

Momentum Works บริษัทที่ปรึกษาจากสิงคโปร์ ได้ออกรายงานเกี่ยวกับธุรกิจ Food Delivery ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยชี้ว่าอัตราการเติบโตของยอดขายทั้งหมด (GMV) เหลือเพียงแค่ 5% จากปี 2021 มายังปี 2022 ทำให้มูลค่าตลาดของ Food Delivery นั้นอยู่ที่ 16,300 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับข้อมูลมูลค่าตลาดของ Food Delivery ในอาเซียน ทาง Momentum Works ได้รวบรวมตัวเลขจากผู้เล่นรายสำคัญๆ ในตลาดไม่ว่าจะเป็น Grab และ Foodpanda ที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในละแวกนี้ GoTo ของอินโดนีเซีย LINE MAN Wongnai และ Robinhood ของไทย รวมถึงผู้เล่นรายอื่นๆ ในอาเซียน

ตัวเลขการเติบโตของ GMV ที่ลดลงในปี 2022 อาจทำให้ตลาด Food Delivery ในอาเซียนนั้นอาจทำธุรกิจได้ยากมากขึ้น

รายงานของ Momentum Works  ชี้ว่าตลาดธุรกิจ Food Delivery ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนก็คืออินโดนีเซีย มี GMV ขนาดใหญ่ถึง 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือประเทศไทย มีขนาด 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยสิงคโปร์ที่มีขนาด 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง 3 ตลาดดังกล่าวนี้ GMV กลับลดลง จากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์กลับเข้าไปทานอาหารในร้าน ภัยน้ำท่วมในหลายพื้นที่ หรือแม้แต่การยกเลิกมาตรการสนับสนุนของรัฐบาล

แต่สำหรับตลาดอย่างมาเลเซียและฟิลิปปินส์เองก็มีขนาด GMV ที่กำลังเติบโตอย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามารุกของผู้เล่นรายสำคัญอย่าง Shopee Food

ในประเทศไทยนั้นในปี 2022 ที่ผ่านมาผู้เล่นอันดับ 1 ที่ครองตลาด Food Delivery ได้แก่ Grab มีส่วนแบ่งตลาดมากถึง 54% รองลงมาคือ LINE MAN ที่ 24% และ Foodpanda 16% ขณะที่ Robinhood นั้นมีส่วนแบ่งตลาด 6% และ ShopeeFood มีส่วนแบ่งแค่ 3% เท่านั้น

ขณะที่มองภาพใหญ่ในอาเซียนนั้น Grab ยังคงครอง GMV มากที่สุดในอาเซียนที่ 54% ขณะที่ Foodpanda อยู่ที่ 19% และ GoTo ที่ 12% ขณะที่ LINE MAN และ ShopeeFood นั้นกลับมี GMV รวมเท่ากันในอาเซียนที่ 6%

อย่างไรก็ดีในปี 2022 ที่ผ่านมานั้นมีข่าวลือที่ว่า Delivery Hero บริษัทแม่ของ Foodpanda อาจถอนตัวออกจากบางประเทศในอาเซียน และสำหรับในประเทศไทยนั้นก็มีข่าวลือว่า LINE MAN Wongnai เองอาจซื้อกิจการคู่แข่งรายนี้ด้วยซ้ำ

โดยเทรนด์ธุรกิจ Food Delivery ที่ Momentum Works มองในปี 2023 นี้ได้แก่การกลับมาทานอาหารในร้าน เรื่องของ Cloud Kitchen หรือการส่งสินค้าสด ระบบ POS สำหรับร้านค้าที่มีหลากหลายมากเกินไปจนน่ารำคาญ อาจทำให้มีผู้เล่นด้าน POS เข้ามา

นอกจากนี้ในรายงานดังกล่าวยังมีเรื่องของมาร์จิ้นธุรกิจ Food Delivery นั้นไม่ได้สูงอย่างที่คิด โดยได้ยกตัวอย่างของ Meituan ซึ่งเป็นบริการในประเทศจีนมาและบริษัทได้มาร์จิ้นเพียงแค่ 6% เท่านั้น ท้ายที่สุดแล้วบริษัทจะต้องลดรวมถึงตัดต้นทุนลงมาเพื่อที่จะทำให้ธุรกิจนั้นสามารถอยู่รอดได้

Note: อัพเดต 18/01/2023 แก้ไขคำและข้อมูลที่ผิด

]]>
1415760
มาร์เก็ตแคปบริษัทแม่ ‘Foodpanda’ หล่นวูบ 75% หลังหุ้นถูกเทขายจนราคาต่ำกว่าเปิด IPO https://positioningmag.com/1385158 Fri, 13 May 2022 02:30:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1385158 หุ้นของ Delivery Hero บริษัทแม่ของแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีอย่าง Foodpanda ได้ลดลงต่ำกว่าราคาเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2560 หลังจากการมีการเทขายอย่างไม่หยุดในปีนี้ จนมูลค่าบริษัทหายไปเกือบ 3 ใน 4

หุ้น Delivery Hero ร่วงมากถึง -2.7% สู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 24.96 ยูโร ซึ่งถือว่าร่วงลงต่ำกว่าราคา IPO ที่ 25.50 ยูโร ครั้งแรกในรอบ 5 ปี และยังเป็น หุ้นที่แย่สุดในดัชนี Stoxx 600 ในปีนี้ โดยปัจจุบันมาร์เก็ตแคปของ Delivery Hero หายไปถึง 1.81 หมื่นล้านยูโร หรือราว 6.6 แสนล้านบาท หายไปถึง 75% เหลืออยู่เพียง 6.58 พันล้านยูโรหรือราว 2.4 แสนล้านบาท

สำหรับปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนแห่ขายหุ้นเป็นเพราะข้อสงสัยในความสามารถของบริษัท ว่าจะสามารถทำกำไรท่ามกลางต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นได้อย่างไร และไม่ใช่แค่ Delivery Hero แต่บริษัทคู่แข่งในยุโรปก็ประสบปัญหาเช่นกัน อาทิ Just Eat Takeaway.com NV ลดลง 62% และ Deliveroo Plc ลดลง 59%

ในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมส่งอาหารมีอัตราการเติบโตพุ่งสูงขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่เมื่อหลายประเทศคลายล็อกดาวน์ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติอีกครั้ง ประกอบการแข่งขันที่รุนแรง รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อกำลังกดดันงบประมาณที่ตึงตัวอยู่แล้วยิ่งทำให้บริษัทไม่สามารถทำกำไรได้

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังกระทบกระเป๋าสตางค์ของผู้บริโภคอีกด้วย ส่งผลให้ยอดขายที่ลดลง ยิ่งเหมือนเติมเชื้อไฟให้การแข่งขันในตลาดเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด โดยเฉพาะในยุโรปที่มีสตาร์ทอัพหน้าใหม่อย่าง Getir และ Gorillas

“ภาวะเงินเฟ้อได้ก่อตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และนั่นทำให้ตลาดยิ่งแย่เข้าไปอีก โดยจากข้อมูลของ Barclays Plc พบว่าในสหราชอาณาจักรช่วงเดือนเมษายน การใช้จ่ายผ่านบัตรของผู้บริโภคสำหรับการซื้อสินค้าชะลอตัวลง” Sarah Simon นักวิเคราะห์ของ Berenberg กล่าว

ไม่ใช่แค่ปัจจัยภายนอก แต่เพราะ Delivery Hero ไม่สามารถทำให้นักลงทุนมั่นใจในตัวธุรกิจได้ ถึงแม้ว่าบริษัทจะย้ำความเชื่อมั่นว่าธุรกิจกำลังจะถึงจุดคุ้มทุน และจะสามารถทำกำไรได้เป็นครั้งแรกในปีหน้า แต่กลับกัน บริษัทได้ออกมาบอกว่าจะไม่เปิดเผยตัวเลขคำสั่งซื้อ เนื่องจากจะเน้นที่ความสามารถในการทำกำไรมากกว่าปริมาณแทน

ย้อนไปช่วงปลายปี 2564 Delivery Hero ได้ลดขนาดการดำเนินงานของ Foodpanda ในเยอรมนี และขายกิจการในญี่ปุ่น เนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นและการขาดแคลนแรงงาน พร้อมโยกเงินทุนไปใช้สำหรับทดลองนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ นวัตกรรมหุ่นยนต์, การทดลองการทำครัวแบบใหม่ ๆ รวมถึงการทำแพ็กเกจจิ้งแบบยั่งยืน

ปัจจุบัน Delivery Hero ได้ให้บริการในกว่า 50 ประเทศ สำหรับประเทศไทย Foodpanda ทำตลาดตั้งแต่ปี 2012 ปัจจุบัน มีร้านอาหารที่แอคทีฟบนแพลตฟอร์มมากกว่า 140,000 กว่าแห่งทั่ว 77 จังหวัด เเละมีจำนวนไรเดอร์มากกว่าเเสนราย

Source

]]>
1385158