Gojek – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 06 Sep 2024 10:57:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไปต่อไม่ไหว ‘Gojek’ ประกาศยุติบริการใน ‘เวียดนาม’ ขอกลับไปโฟกัสที่ตลาดบ้านเกิด https://positioningmag.com/1489043 Fri, 06 Sep 2024 09:07:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1489043 หากพูดถึงชื่อ Gojek เชื่อว่าลูกค้าบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยน่าจะยังพอจำกันได้ เพราะเพิ่งถอนตัวออกจากไทยไปได้ไม่นาน และล่าสุด บริษัทก็ถอนตัวออกจากประเทศ เวียดนาม หลังจากไม่สามารถฟาดฟันกับตลาดที่แข่งขันดุเดือดได้

Gojek สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นรายแรกของอินโดนีเซีย ดูเหมือนจะไปไม่ค่อยรุ่งกับการรุกต่างประเทศสักเท่าไหร่ เพราะล่าสุด บริษัทแม่ได้ตัดสินใจที่จะ ยุติการให้บริการทั้งหมดในตลาดเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นบริการเรียกรถ  หรือส่งอาหาร ภายในวันที่ 16 ก.ย. นี้ เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง ปิดฉากการให้บริการนาน 6 ปี 

ที่ผ่านมา Gojek มีส่วนแบ่งในตลาดเวียดนามเพียง 3% เท่านั้น ขณะที่คู่แข่งอย่าง Grab สามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ถึง 47% ตามด้วย Shopee Food ที่มีส่วนแบ่งตลาด 45% ดังนั้น การถอนตัวออกจากเวียดนามนี้ จะช่วยให้ GoTo Group เจ้าของแพลตฟอร์ม Gojek ไปโฟกัสในประเทศหลักที่ยังสามารถสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งก็คือ ตลาดอินโดนีเซีย และสิงคโปร์ 2 ประเทศที่บริษัทยังทำตลาดอยู่

อย่างไรก็ตาม อ้างอิงจากไตรมาส 2 รายได้ของ Gojek ในเวียดนามคิดเป็นสัดส่วน ไม่ถึง 1% ของผลประกอบการ ดังนั้น การถอนตัวออกจากตลาดเวียดนามจึง ไม่ส่งผลกับภาพรวมบริษัท ซึ่งหลักจากที่ Gojek ประกาศถอนตัว หุ้นของ GoTo Group เจ้าของแพลตฟอร์ม Gojek พุ่งขึ้น +1.92% แตะ 53 รูเปียห์ แม้ว่าหุ้นของ GoTo จะพุ่งขึ้น แต่ก็ถือว่ายังคงต่ำกว่าราคา IPO ที่ระดับ 338 รูเปียห์ เป็นอย่างมาก ปัจจุบัน GoTo มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 62.47 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 

สำหรับแพลตฟอร์ม Gojek ได้เข้าไปเปิดตลาดเวียดนามภายในชื่อ Go-Viet ในปี 2018 ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ชื่อ Gojek ในปี 2020 และการถอนตัวออกจากตลาดเวียดนาม ถือเป็น ประเทศที่ 2 ที่ Gojek ถอนตัว โดยประเทศแรกที่ Gojek ยุติการให้บริการก็คือ ประเทศไทย ในปี 2021 โดยขายให้กับ AirAsia Super Apps ซึ่งปัจจุบัน ได้ยุติบริการไปแล้วเช่นกัน

ปัจจุบัน ตลาดบริการเรียกรถโดยสารของเวียดนามคาดว่าจะมีมูลค่า 880 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024 และคาดว่าจะสามารถเติบโตเป็น 2,160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2029

Source

]]>
1489043
airasia food มาแล้ว! ฟรีค่าส่ง 6 กม.แรก ประเดิม 4 พื้นที่ในกทม. https://positioningmag.com/1347297 Tue, 17 Aug 2021 07:45:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347297 หลังจากที่ Gojek ส่งไม้ต่อให้ airasia super app ล่าสุดได้ฤกษ์คลอด airasia food (แอร์เอเชียฟู้ด) อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ประเดิม 4 พื้นที่ในกทม. ได้แก่ ดินแดง จตุจักร ลาดพร้าว และห้วยขวาง

“แอร์เอเชีย ดิจิทัล” หน่วยธุรกิจด้านดิจิทัลภายใต้กลุ่มแอร์เอเชีย เปิดตัวบริการล่าสุด airasia food (แอร์เอเชียฟู้ด) ในประเทศไทยเพื่อยกระดับ airasia super app (แอร์เอเชีย ซูเปอร์แอพ) ให้เป็นซูเปอร์แอพชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน

โดยบริการ airasia food พร้อมให้บริการสำหรับลูกค้าในกรุงเทพฯ 4 พื้นที่ ได้แก่ ดินแดง จตุจักร ลาดพร้าว และห้วยขวาง และจะขยายพื้นที่ให้บริการอีก 4 เขตเร็วๆ นี้ คือ พญาไท ราชเทวี ปทุมวัน และวัฒนา จัดส่งฟรีสำหรับทุกออเดอร์ภายใน 6 กิโลเมตรแรก เปิดให้บริการตั้งแต่ 6.30 น. ถึง 19.00 น. ของทุกวัน พร้อมตั้งเป้าขยายสู่พื้นที่อื่นๆ อาทิ เชียงใหม่ และภูเก็ตในอนาคตอันใกล้

ในการเปิดตัวในประเทศไทย airasia food มอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทั้งแจกฟรี ส่งฟรี และอื่นๆ ได้แก่

  • แคมเปญฟรี 30,000 มื้อเป็นเวลา 30 วัน วันละ 1,000 มื้อ โดยร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำ อาทิ แมคโดนัลด์ แฟลช คอฟฟี่ และคาเฟ่ อเมซอน เพื่อจัดเมนูยอดนิยมมามอบให้ฟรีวันละ 1 เมนู หมุนเวียนมาให้ลูกค้าได้สั่ง เพียงใส่โค้ด FREEMEALS จะได้รับเมนูประจำวันฟรีทุกวัน (จำกัดออเดอร์ต่อวัน / 1 ครั้งต่อผู้ใช้ตลอดแคมเปญ) ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม – 16 กันยายน 2564

  • จัดส่งฟรีสำหรับทุกออเดอร์ภายใน 6 กิโลเมตรแรก ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม – 30 กันยายน 2564

  • ส่วนลด 80 บาทสำหรับผู้ใช้ใหม่เมื่อสั่งขั้นต่ำ 100 บาท เพียงใส่โค้ด HELLO80 ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม – 30 กันยายน 2564

  • มอบ BigPoint จำนวน 2,000 แต้มสำหรับสมาชิก 20,000 รายแรกที่ได้ลงทะเบียนใช้งานครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม – 16 กันยายน 2564

อแมนดา วู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอร์เอเชีย ซูเปอร์แอพ กล่าวว่า

“วิกฤตโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเราไปอย่างถาวร จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ และการซื้อกลับบ้านกลายเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมการบริโภคของคนจำนวนมาก แอร์เอเชียจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอบริการซึ่งสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบนิวนอร์มอลแก่คนกรุงเทพฯ และช่วยสนับสนุนคนไทย ทั้งร้านอาหารและคอมมูนิตี้ต่างๆ ไปในเวลาเดียวกัน ความตั้งใจของพวกเราคือพัฒนา airasia super app ให้กลายเป็นไลฟสไตล์แอพพลิเคชันแบบครบวงจรสำหรับทุกคนและทุกความต้องการ”

ก่อนที่จะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ได้ทดลองระบบกับพนักงาน Allstars ในไทยเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ในช่วงนั้นได้มอบอาหารฟรี และสิทธิประโยชน์อื่นๆ มากมายแก่ Allstars เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วม และช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย

ปัจจุบัน airasia super app มีบริการด้านการท่องเที่ยว บริการส่งอาหาร หรือโลจิสติกส์ กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดตัวบริการส่งของ บริการส่งของกินของใช้ บริการเรียกรถโดยสาร และบริการความสวยความงามเร็วๆ นี้

วรุฒ วุฒิพงศาธร กรรมการผู้จัดการใหญ่ แอร์เอเชีย ซูเปอร์แอพ กล่าวว่า

“ด้วยการผนึกความรู้ที่ได้จากความสำเร็จของซูเปอร์แอพในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ความเชี่ยวชาญของทีมเทเลพอร์ต ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจด้านโลจิสติกส์ของเรา ความแข็งแกร่งของทีมแอร์เอเชียในเรื่องของธุรกิจท่องเที่ยว และความเข้าใจในตลาดของทีมงาน Gojek ประเทศไทย เราเชื่อว่า airasia food จะสามารถนำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจลูกค้าที่สุดและกลายเป็นทางเลือกที่ผู้คนในกรุงเทพฯ นิยมใช้อย่างแน่นอน”

airasia super app มียอดดาวน์โหลดกว่า 50 ล้านครั้ง และยอดผู้ใช้ทั้งสิ้นกว่า 75 ล้านราย การขยายบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ในประเทศไทยจึงทำให้ airasia super app ยกระดับความสำเร็จไปอีกขั้นในการเป็นแอพพลิเคชันแบบครบวงจรสำหรับคนไทย

สำหรับ airasia Digital (เดิมชื่อ RedBeat Ventures) เป็นหน่วยงานด้านดิจิทัลของกลุ่มแอร์เอเชีย โดย airasia Digital จะใช้จุดเด่นของกลุ่มธุรกิจเพื่อต่อยอดเเละสร้างระบบนิเวศที่เชื่อมต่อกับลูกค้าของเราในชีวิตประจำวัน เปลี่ยนโฉมแบรนด์แอร์เอเชียให้เป็นบริษัทดิจิทัลที่เต็มรูปแบบ ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์

airasia Digital ได้ผสานความร่วมมือ และมุ่งเน้นพัฒนาด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมความเชี่ยวชาญในการสร้างธุรกิจ โซลูชั่นเทคโนโลยีที่ดีที่สุด โปรแกรมการพัฒนาความสามารถและข้อมูลเชิงลึกขนาดใหญ่ สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ที่จะเติบโตในอาเซียน ประกอบด้วย 3 ธุรกิจหลัก ๆ ได้แก่

1) airasia super app

แพลตฟอร์มเดียวที่จะครบทุกข้อเสนอการเดินทาง ไลฟ์สไตล์ และสิ่งใหม่ๆ ที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน และการเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาล เพื่อมอบข้อเสนอที่สอดรับกับลูกค้าทุกๆกลุ่ม เช่น เที่ยวบิน (AirAsia และสายการบินอื่น ๆ) โรงแรม SNAP (แพ็คเกจเที่ยวบินและโรงแรม) ), ไม่จำกัด, แอร์เอเชียฟาร์ม, แอร์เอเชียฟู้ด, แอร์เอเชียเฟรช, แอร์เอเชียบิวตี้, ร้านแอร์เอเชีย, สุขภาพของแอร์เอเชีย, สถาบันแอร์เอเชีย (Redbeat Academy), IKHLAS, BIG Rewards และ airasia Media Group (เนื้อหาและโฆษณา)

2) Logistics

Teleport – การดำเนินการด้านโลจิสติกส์ข้ามพรมแดนที่ครอบคลุมการขนส่งสินค้า การจัดส่ง และอีคอมเมิร์ซ ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคที่ใช้เทคโนโลยีที่มีความสามารถในการเปิดใช้งานการจัดส่งแบบ door-to-door ข้ามพรมแดนตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้จุดเด่นจากเครือข่ายที่กว้างขวางครอบคลุมของแอร์เอเชียและพันธมิตร

3) ฟินเทค

BigPay: Asean Challenger Bank – บริษัท Fintech ที่เน้นโซลูชั่นการชำระเงิน การโอนเงิน การกู้ยืม และอีกไม่นานจะพัฒนาเป็นธนาคารเสมือนจริง BigPay ตั้งเป้าที่จะทำให้บริการทางการเงินเป็นประชาธิปไตยทั่วอาเซียน โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่คุ้มค่า เช่น กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หลายสกุลเงิน บริการโอนเงิน เป็นต้น

]]>
1347297
‘แอร์เอเชีย’ ปิดดีล ‘โกเจ็กไทย’ เดินหน้าปั้น ‘ซูเปอร์แอป’ เต็มตัว https://positioningmag.com/1341096 Wed, 07 Jul 2021 07:56:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341096 ช่วงเดือนกันยายนปี 2020 มีข่าวว่าสายการบินราคาประหยัดอย่าง ‘แอร์เอเชีย’ (AirAsia) พยามยามที่จะสร้าง ‘ซูเปอร์แอป’ ของตัวเองเพื่อจะแข่งขันกับ ‘โกเจ็ก’ (Gojek) และ ‘แกร็บ’ (Grab) โดยจะให้บริการทั้งส่งอาหาร, ของสด, บริการอีคอมเมิร์ซ และเพย์เมนต์ ล่าสุด แอร์เอเชียก็ปิดดีลกับ ‘โกเจ็กไทย’ เพื่อเดินหน้าปั้นซูเปอร์แอปตามที่ตั้งเป้าไว้

อ่าน >>> ‘AirAsia’ เบรกเรื่องบิน หันมาปั้น ‘ซูเปอร์แอป’ ท้าชน ‘Grab’ ‘Gojek’ และ ‘Wechat’

มีรายงานจาก Nikkei Asia ระบุว่า สายการบินราคาประหยัด ‘แอร์เอเชีย’ กำลังพูดคุยในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อซื้อกิจการ ‘โกเจ็ก’ ในประเทศไทย โดยแหล่งข่าวในรัฐบาลมาเลเซีย เปิดเผยว่า หน่วยงานที่กำกับของมาเลเซีย ได้อนุมัติให้แอร์เอเชียซื้อกิจการได้แล้ว โดยคาดว่าจะมีการประกาศการทำสัญญาระหว่างกันเร็ว ๆ นี้

ล่าสุด ‘แอร์เอเชีย ดิจิทัล’ หน่วยธุรกิจด้านดิจิทัลภายใต้กลุ่มแอร์เอเชียก็ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าการเข้าซื้อกิจการของโกเจ็กในประเทศไทยเสร็จสิ้นแล้ว โดยข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปตามแผนการเดินหน้าขยายการเติบโตของ airasia super app ให้ครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน

ขณะเดียวกันก็ทำให้โกเจ็กสามารถเพิ่มการลงทุนในการดำเนินงานได้โดยเฉพาะในตลาด เวียดนาม และ สิงคโปร์ โดยโกเจ็กจะเข้าถือหุ้นบางส่วนในแพลตฟอร์ม airasia super app ซึ่งมีมูลค่าประเมินทางตลาดอยู่ที่ประมาณ 1พันล้านเหรียญสหรัฐ

โทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มแอร์เอเชีย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดหลักของ airasia super app ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการเสริมศักยภาพและสร้างระบบนิเวศธุรกิจของโกเจ็กให้ดีขึ้น โดยเฉพาะสำหรับพนักงานรับส่งของ ร้านค้า และลูกค้าด้วยสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่มีมากขึ้น เช่น อาหาร ของชำ สินค้าเกี่ยวกับความงาม และการจัดส่งพัสดุด่วน ควบคู่ไปกับบริการเรียกรถรับ-ส่ง โดยตั้งเป้าขยายสู่ตลาดใหม่ในประเทศ อาทิ เชียงใหม่และภูเก็ตในอนาคตอันใกล้

“การประกาศในวันนี้คือ การเริ่มต้นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระยะยาวอย่างยิ่งใหญ่กับ Gojek ของกลุ่มแอร์เอเชีย ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมสั่นสะเทือนอย่างแน่นอน ด้วยการผนึกกำลังและสานต่อธุรกิจที่มั่นคงของโกเจ็กในประเทศไทย เชื่อว่าเราจะสามารถขับเคลื่อนความมุ่งมั่นของเราในพื้นที่นี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ”

อ่าน >>> เหล้าเก่าในขวดใหม่? รื้อเหตุผล ทำไม ‘Get’ ถึงต้องเป็น ‘Gojek’

ปัจจุบัน กลุ่มดิจิทัลของแอร์เอเชียประกอบด้วยบริษัทดิจิทัลหลัก 3 ส่วน ได้แก่ airasia super app’ แพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์สำหรับการท่องเที่ยว อีคอมเมิร์ซ บริการทางการเงิน บริการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์พืชผลทางการเกษตรที่ขนส่งตรงจากฟาร์มผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพและการศึกษา

‘Teleport’ บริษัทร่วมทุนด้านการขนส่งและลอจิสติกส์ พร้อมส่งสินค้าภายใน 24 ชั่วโมงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครอบคลุม 77 เมืองใน 5 ประเทศ และธุรกิจฟินเทค BigPay’ ที่กำลังเป็นผู้ให้บริการด้านธุรกรรมธนาคารแบบเสมือน (Virtual Bank) รายแรกในภูมิภาค มีผู้ใช้บริการ 1.3 ล้านราย

ทั้งนี้ แอป Gojek จะยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ สำหรับผู้ใช้เพื่อรับบริการในกรุงเทพฯ จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 จนกระทั่งรวมกับ airasia super app ในขณะที่พนักงานรับส่งของทุกคน และร้านค้า จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานกับ airasia super app เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างต่อเนื่องต่อไป

Source

]]>
1341096
‘Shopee’ รุกธุรกิจ ‘เเบงก์’ เข้าซื้อธนาคาร Bank BKE ในอินโดนีเซีย ปรับเป็น Digital Banking  https://positioningmag.com/1320256 Fri, 19 Feb 2021 10:22:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320256 มูฟใหม่ของบรรดาบริษัทเทคโนโลยี ขยับเข้าหาธุรกิจเเบงก์ล่าสุด ‘Shopee’  อีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ในเครือ Sea Group เข้าซื้อกิจการธนาคารท้องถิ่นในอินโดนีเซียอย่าง Kesejahteraan Ekonomi หรือ Bank BKE วางเป้าหมายเปลี่ยนให้เป็นธนาคารดิจิทัล

หลังมีกระเเสข่าวมาตั้งเเต่ต้นปี ตอนนี้ก็ได้รับการยืนยันจากหน่วยงานกำกับดูแลบริการทางการเงินของอินโดนีเซีย (OJK) เป็นที่เรียบร้อย

Bank BKE เป็นธนาคารท้องถิ่นที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1992 มีเป้าหมายหลักในการสนับสนุนด้านสวัสดิการของข้าราชการ

รายงานระบุว่า Shopee มีแผนจะปรับปรุงให้ Bank BKE เป็นธนาคารดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีบริหารทางการเงินที่ทันสมัยเชื่อมต่อกับอีคอมเมิร์ซ

โดยหน่วยงานกำกับฯ จะเร่งจัดทำข้อบังคับเเละเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ ธนาคารดิจิทัลใหม่ ซึ่งคาดว่าจะออกมาได้ในช่วงกลางปี ​​2021 เเละ Bank BKE อาจจะต้องเตรียมเงินทุนไว้ราว 3 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 6.4 พันล้านบาท)

สำหรับดีลนี้ Sea Group จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารธนาคารเต็มรูปแบบ หลังเข้าซื้อกิจการจากผู้ถือหุ้นเดิมอย่าง PT Danadipa Artha Indonesia และ PT Koin Investama Nusantara ผ่านทางบริษัทในเครือของ Turbo Cash Hongkong

การเข้าซื้อกิจการ Bank BKE ในครั้งนี้ เป็นความเคลื่อนไหวใหม่ของ Sea Group ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต้องการคว้าส่วนแบ่งในธุรกิจ Digital Banking ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

คาดว่าจะเป็นการเเข่งขันกับซูเปอร์เเอปฯ อย่าง Gojek ที่เข้าถือหุ้น 22% ใน Jago ธนาคารดิจิทัลรายใหญ่ของอินโดนีเซีย

บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ กำลังรุกเข้าซื้อธุรกิจธนาคารในอาเซียนมากขึ้น ท่ามกลางการดิ้นรนของเเบงก์ดั้งเดิมที่พยายามจะเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Digital Banking 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงปลายเดือน ธ.. 2020 ที่ผ่านมา Sea Group เพิ่งได้รับการจดทะเบียนอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัล (Digital Banking Licenses) จากธนาคารกลางของสิงคโปร์ เพื่อให้สามารถเปิดบริการด้านการเงินได้อย่างเต็มที่ พร้อมกับอีก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Grab-Singtel , Ant Group และ และ Greenland Financial Holdings ของจีน

 

ที่มา : Reuters , techinasia 

 

 

]]>
1320256
ลือหึ่ง ‘Grab’ และ ‘Gojek’ เตรียมควบรวมกิจการ https://positioningmag.com/1308949 Thu, 03 Dec 2020 11:11:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308949 มีข่าวลือว่า 2 สตาร์ทอัพที่มีค่าที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง ‘Grab’ และ ‘Gojek’ เจ้าของแพลตฟอร์ม ‘Ride-Hailing’ ที่ชาวไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดีอาจจะ ‘ควบรวมกิจการ’ โดยมี ‘SoftBank Group Corp.’ เป็นนักลงทุนรายใหญ่

Grab และ Gojek ทั้งคู่ต่างเป็นคู่แข่งที่ต่อสู้กันอย่างดุเดือดในตลาด Ride-Hailing ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยต่างคนก็ต่างผลาญเงินลงทุนจากนักลงทุนเพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้มาใช้แพลตฟอร์มของตัวเอง ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ ‘SoftBank’ ต้องพยายามทำให้ทั่ง 2 ควบรวมกิจการกันเพื่อลดการผลาญเงินลงทุนและสร้าง Tech Company ที่ทรงพลังที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ก่อนที่จะไม่ได้อะไรเลย

ซึ่งถ้าเกิดการควบรวมจริง ‘Anthony Tan’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Grab จะกลายเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหน่วยงานที่รวมกัน ในขณะที่ผู้บริหาร Gojek จะดำเนินธุรกิจในอินโดนีเซียภายใต้แบรนด์ Gojek เหมือนเดิม โดยทั้งสองแบรนด์อาจใช้ชื่อแบรนด์ของตัวเองทำตลาดเองทำงานแยกกันอีกนาน แต่ในท้ายที่สุดการรวมกันนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็น ‘บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์’

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของ Grab, Gojek และ SoftBank ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น ขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวอาจจะล่มเนื่องจากต้องได้รับการอนุมัติตามกฎข้อบังคับ และรัฐบาลเองก็อาจมีข้อกังวลเกี่ยวกับการ ‘ผูกขาด’ หากทั้ง 2 บริษัทเกิดควบรวมกันขึ้นมาจริง ๆ

คงต้องรอดูกันยาว ๆ ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะหาก 2 รายใหญ่จับมือกัน รายเล็ก ๆ ในไทยอาจจะยิ่งอยู่ยากขึ้นไม่น้อย

Source

]]>
1308949
Update ’14 ตัวเลือก’ บนสังเวียน ‘Food Delivery’ ที่ไม่ได้มีแค่รายใหญ่ให้เรียกใช้เวลาหิว https://positioningmag.com/1298224 Tue, 22 Sep 2020 12:49:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298224 หากย้อนไปเมื่อปี 2012 ตลาด ‘ฟู้ด เดลิเวอรี่’ บ้านเรายังมีแค่ Food Panda จากนั้นในปี 2018 ก็มี Grab และ Uber ที่ตามมา แต่แล้วอูเบอร์ก็ขายกิจการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปให้กับคู่แข่งอย่าง Grab ทำให้ผู้เล่นหลักในตอนนั้นแทบจะมีแค่ Grab อย่างไรก็ตาม จากการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้มีผู้เล่นหน้าใหม่ทยอยตบเท้าเข้ามาเพียบ เพื่อหวังชิงเค้กมูลค่า 35,000 ล้านบาทก้อนนี้ โดยเฉพาะในปี 2020 นี้ที่เปรียบเสมือน ‘ปีทอง’ ของตลาด เพราะมาตรการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้น ดังนั้น Positioning จะพาไปรู้จักแพลตฟอร์มที่ให้บริการส่งอาหารในไทยกันว่ามีใครกันบ้าง

Grab Food

ถือเป็นผู้เล่นเบอร์ต้น ๆ ของตลาดเลยทีเดียวสำหรับ Grab ที่ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ตั้งแต่ปี 2018 โดยค่าจัดส่งเริ่มต้นที่ 10 บาท พร้อมให้บริการใน 35 เมือง 33 จังหวัด ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดกว่า 14 ล้านดาวน์โหลด มีพาร์ตเนอร์ผู้ขับกว่า 100,000 ราย มีร้านอาหารในระบบกว่า 80,000 ร้าน แค่ช่วง COVID-19 ที่ผ่านมามีผู้ใช้แกร็บฟู้ดรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และยอดออเดอร์เติบโตถึง 30% เลยทีเดียว ซึ่งในปีนี้ทาง Grab ก็จัดหนักออกแคมเปญ “Free Your Hunger เลิกกินตามใคร กดสั่งตามใจ” แคมเปญใหญ่สุดของปีนี้ โดยได้ เต๋อ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ผู้กำกับชื่อดัง มาช่วยสร้างหนังสั้นที่แสดงโดย BNK48 ปัจจุบันโกยยอดวิวไปกว่า 10 ล้านวิวเลยทีเดียว

LINE MAN

จากแพลตฟอร์ม Chat ที่มีจุดแข็งเป็นผู้ใช้งาน LINE กว่า 46 ล้านราย ดังนั้น LINE จึงต้องการต่อยอดจำนวนผู้ใช้อันมหาศาลด้วยการผุด ‘LINE MAN’ ที่ให้บริการเรียกแท็กซี่, สั่งซื้ออาหาร, ซื้อของใช้ในบ้าน หรือแม้แต่เรียกมารับพัสดุ โดยมีพาร์ตเนอร์อย่าง ‘Lalamove’ ที่ช่วยขนส่งสินค้า ซึ่งในส่วนของบริการส่งอาหาร LINE MAN ให้บริการใน 13 จังหวัด ครอบคลุมร้านอาหาร 200,000 ร้าน โดยมีค่าจัดส่งเริ่มต้นที่ 10 บาทเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ทาง LINE MAN เพิ่งได้เงินลงทุนจากบริษัท BRV Capital Management (BRV) ถึง 3,300 ล้านบาท เพื่อใช้ในการควบรวมกิจการ ‘Wongnai’ สตาร์ทอัพสัญชาติไทยเจ้าของแพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหารและข้อมูลด้านไลฟ์สไตล์ ที่มีฐานข้อมูลร้านอาหารกว่า 400,000 ร้านทั่วไทย และมีผู้ใช้กว่า 10 ล้านรายต่อเดือน ส่งผลให้ LINE MAN มีข้อมูลทั้งร้านค้าและผู้ใช้ในมือมากมายเลยทีเดียว พร้อมเตรียมขยายพื้นที่ให้บริการเป็น 20 จังหวัดในสิ้นปีนี้

Gojek

Gojek หรือชื่อเดิม ‘GET’ น้องใหม่ในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เพิ่งให้บริการไปเมื่อปี 2019 แต่สามารถโกยยอดดาวน์โหลดได้ถึง 13 ล้านครั้ง ส่งอาหารกว่า 20 ล้านออเดอร์ มีพาร์ตเนอร์ผู้ขับกว่า 50,000 ราย และพาร์ตเนอร์ร้านอาหารกว่า 30,000 ร้าน แม้จะรีแบรนด์ใหม่ (เพื่อใช้ชื่อเดิม) ก็เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่าจะรุกตลาดให้หนักขึ้น โดยไม่ใช่แค่อัดโปรโมชันมอบส่วนลดสูงสุด 2,500 บาท และมีแฟลชดีลทุกวัน แต่ยังระบุว่าเตรียมขยายพื้นที่ให้บริการไปต่างจังหวัดเร็ว ๆ นี้ จากปัจจุบันที่ให้บริการแค่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอีกด้วย ส่วนค่าบริการเริ่มต้นที่ 10 บาทเหมือนเจ้าใหญ่รายอื่น ๆ

Food Panda

ทำตลาดในไทยมาตั้งแต่ปี 2012 สำหรับ Food Panda บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่สัญชาติเยอรมนีที่ปัจจุบันให้บริการครอบคลุมถึง 72 จังหวัด และจะครบ 77 จังหวัดในสิ้นปีนี้ ส่วนร้านค้าพาร์ตเนอร์มีราว 20,000 ร้าน พาร์ตเนอร์ผู้ขับในปัจจุบันมีกว่า 90,000 ราย ขณะที่ค่าบริการสูงสุดไม่เกิน 40 บาท และล่าสุดมีบริการใหม่ ‘แพนด้า มาร์ท’ ขายสินค้าอุปโภคบริโภค มี 7 แห่ง สิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 30 สาขา

Skootar

สตาร์ทอัพสัญชาติไทยแท้ที่เริ่มต้นมาจากการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้เชื่อมโยงระหว่าง SME บริษัท ห้างร้าน กับเครือข่ายแมสเซ็นเจอร์ ที่ให้บริการรับส่งเอกสาร เก็บเช็ค วางบิล หรือส่งของอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก่อนจะขยายมาสู่บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ โดยปัจจุบันมีพาร์ตเนอร์คนขับอยู่ประมาณ 8,000 คนทั่วกรุงเทพฯ โดยเริ่มต้นที่ราคา 45 บาท ฟังดูอาจจะรู้สึกว่าราคาสูงกว่าเจ้าอื่น แต่ Skootar ไม่ได้มีการเก็บค่าคอมมิชชันจากร้านอาหาร พูดง่าย ๆ ลูกค้าจ่ายเท่าไหร่ร้านได้เท่านั้น

Hungry Hub

น้องใหม่ที่ถือกำเนิดในช่วง COVID-19 ที่ออกมาเพราะต้องการช่วยเหลือร้านอาหาร โดยมีคอนเซ็ปต์เป็นเเพลตฟอร์มรวมเเหล่งบุฟเฟต์ ดังนั้น ในแต่ละมื้อที่สั่งจะไม่ใช่ชุดยิบย่อย แต่เป็นชุดใหญ่ไฟกะพริบแบบ ‘Set Menu’ กินกันจุก ๆ สำหรับ 2-4 คน โดยราคาเริ่มต้นที่ 399 บาท Net และในส่วนของค่าส่งนั้น ‘ฟรี’ ในระยะทางไม่เกิน 3 กิโลเมตรแรก (กิโลเมตรต่อไปเพิ่มแค่ 10 บาท/กม.) โดยทาง Hungry Hub จะเก็บค่าคอมมิชชันที่ 10.7% เท่านั้น และไม่ต้องห่วงว่าเป็นน้องใหม่แล้วผู้ขับจะไม่ได้คุณภาพ เพราะเป็นพาร์ตเนอร์กับ Lalamove ที่ LINE MAN เลือกใช้

Fresh!

เเอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่น้องใหม่ที่มีทีมปั้นเป็นคนไทยทั้งหมด ซึ่งตอนนี้เริ่มทยอยรับสมัครร้านค้าเเละไรเดอร์ทั่วประเทศเเล้วในช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ชูจุดเด่น ‘ไม่เก็บค่า GP’ จากร้านค้า โดยมีค่าส่งเริ่มต้นที่ 10 บาท และหากสั่งออเดอร์เกิน 100 บาท มีโปรโมชันส่งฟรี

Robinhood

Robinhood แพลตฟอร์มน้องใหม่ภายใต้บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (Purple Ventures) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) โดยมีเงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายละเอียดในฝั่งของผู้บริโภคว่าภายในแอปฯ มีร้านค้าให้เลือกมากน้อยแค่ไหน และค่าส่งจะเริ่มเท่าไหร่ แต่ทางแอปฯ ได้ประกาศว่าไม่มีค่าธรรมเนียม GP ที่จะเก็บกับร้านอาหาร แปลว่าร้านสามารถใช้บริการฟรี และมีการเคลียร์เงินเข้าบัญชีภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อให้ร้านอาหารมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจ ส่วนการส่งอาหารใช้ความร่วมมือกับ Skootar  

Eatable

เเพลตฟอร์มทางฝั่ง KBank ที่วางตัวเป็นแพลตฟอร์มตัวช่วยจัดการร้านอาหาร ไม่ต้องโหลดแอปฯ ไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถจัดการระบบหลังบ้านแบบเรียลไทม์ผ่านทางออนไลน์ ส่วนลูกค้าสามารถเลือกอาหาร สั่ง จ่ายแบบไร้การสัมผัส และที่เเถมมาก็คือ ฟังก์ชันฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่กำลังจะเปิดตัวเเบบเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมพัฒนาต่อยอดให้นักท่องเที่ยวจีนสั่งอาหารในไทยได้ปลายปีนี้

กังนัมแซ่บ เดลิเวอรี่

มาถึงฝั่งที่เรียกได้ว่า ‘บ้านขั้นสุด’ ของตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่กันบ้าง โดยไม่ต้องสั่งผ่านแอปฯ ใด ๆ ทั้งสิ้น อย่าง กังนัมแซ่บ เดลิเวอรี่ ถือเป็นอีกหนึ่งบริการซื้ออาหารจากร้านต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ ภายใต้สโลแกนว่าสั่งได้ทุกร้าน สั่งได้ทุกอย่างตลอด 24 ชั่วโมง จะมีหรือไม่มีในเมนูก็สั่งได้ โดยรูปแบบการสั่งซื้อคือ โทรมาสั่งอาหาร จากนั้นจะประเมินราคาค่าบริการให้ลูกค้าก่อน โดยคิดจากระยะทางของร้านอาหารที่สั่งกับจุดหมายปลายทางที่ต้องไปส่ง โดยเริ่มต้นที่ 60 บาท บวกกับจำนวนสินค้าที่สั่ง 20 บาทต่อชิ้นต่อร้าน เรียกได้ว่าไม่ต้องเข้าแอปฯ อยากได้ร้านไหนบอกพิกัดเดี๋ยวจัดให้ถึงที่

OrderMaNow

สำหรับ OrderMaNow ก็คล้าย ๆ กับกังนัมแซ่บ โดยสามารถรับออเดอร์ทุกทาง Facebook, IG, LINE, Twitter แตะลิงก์เดียวสั่งออเดอร์ในร้านได้ทันที ไม่ต้องลงเเอปฯ ไม่ต้อง Login

นอกจากนี้ยังมีผู้เล่นท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดอีกเพียบ ได้แก่ Om Ordering เเพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่จากจังหวัด เชียงใหม่ ที่สามารถสั่งได้ทั้งสินค้า อาหาร และบริการ Street Food Delivery สตาร์ทอัพไซส์เล็กที่ขอปักธงเมืองรอง โดยเน้นร้านอาหารดังประจำถิ่น เริ่มให้บริการส่งอาหารในพื้นที่กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และท่าเรือ-ท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และ FoodMan Delivery อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่เน้นลุยเมืองรอง โดยเริ่มต้นจากแถวภาคเหนือก่อน โดยปัจจุบันให้บริการใน 7 จังหวัด ได้แก่ น่าน, เชียงราย, ลำปาง, อุตรดิตถ์, ตาก, ระยอง และสระบุรี

จากจำนวนผู้เล่นที่เพิ่มขึ้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมคนเริ่มเปลี่ยนไป โดยเฉพาะช่วงที่มี COVID-19 ระบาด แต่จะเลือกใช้ใครก็ลองดูตามความต้องการได้เลย แต่จะเริ่มเห็นว่าผู้เล่นรายใหญ่เริ่มขยายบริการเข้าสู่ตลาดต่างจังหวัดเเล้ว จากนี้ ผู้เล่นท้องถิ่น อาจต้องทำการบ้านให้หนักขึ้น เพราะถ้าต้องสู้เรื่องราคาและโปรโมชันคงไม่ไหวเเน่นอน

]]>
1298224
เหล้าเก่าในขวดใหม่? รื้อเหตุผล ทำไม ‘Get’ ถึงต้องเป็น ‘Gojek’ https://positioningmag.com/1297514 Thu, 17 Sep 2020 08:59:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297514 เข้ามารุกตลาดไทยด้วยชื่อ ‘GET’ ไปเมื่อต้นปี 2019 ในที่สุดก็ถึงเวลากลับมาใช้ชื่อเดิม หรือ ‘Gojek’ ซึ่งหลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นรายแรกของอินโดนีเซีย แต่ทำไมถึงไม่ใช่ชื่อ Gojek ตั้งแต่แรก และทำไมถึงมารีแบรนด์เอาตอนนี้ รวมถึงเป้าหมายต่อจากนี้ คุณภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย จะมาอธิบายให้ฟังกัน

ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย

รู้จัก Gojek

อย่างที่รู้ว่า Gojek เป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นของอินโดนีเซีย แต่จุดเริ่มนั้นไม่ได้เริ่มจากการเป็นแอปพลิเคชัน แต่เริ่มจากเป็น Call Center เรียกวินมอเตอร์ไซค์ในปี 2010 และเริ่มทำแอปฯ Gojek ในปี 2015 พร้อมกับขยายบริการไปสู่ บริการส่งอาหาร ส่งสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงใช้ซื้อสินค้าตามร้านค้าต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถดูหนังหรือใช้บริการทางการเงินได้อีกด้วย ซึ่งรวม ๆ แล้ว ปัจจุบัน Gojek มีบริการให้ใช้งานกว่า 20 บริการ จากเดิมที่ใช้แค่เรียกรถมอเตอร์ไซค์และรถแท็กซี่ พูดง่าย ๆ ว่าเป็น ‘ซูเปอร์แอปฯ’ แบบที่ใคร ๆ ก็อยากเป็น

หลังจากที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดจนมียอดการดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 190 ล้านครั้ง มีพาร์ตเนอร์คนขับมากกว่า 2 ล้านคน และมีการใช้งานกว่า 100 ล้านครั้ง/เดือน แน่นอนว่าการเติบโตดังกล่าวสามารถดึงดูดเงินจากนักลงทุนได้มากมายไม่ว่าจะเป็น Google กับ Facebook จากฝั่งอเมริกา และ Tencent จากจีน และยังไม่รวมอื่น ๆ อีกเพียบ จนในที่สุดปี 2019 Gojek ก็ได้ขยับตัวออกจากแค่อินโดนีเซีย โดยขยายธุรกิจมายังเวียดนามในชื่อ ‘Go-Viet’ ส่วนไทยใช้ชื่อ ‘Get’ และสิงคโปร์ใช้ชื่อ Gojek เหมือนเดิม

ทำไมต้องเป็น ‘Get’ ก่อน

จะมีใครเข้าใจถึงปัญหาและรู้ถึงพฤติกรรมคนในประเทศได้ดีเท่าคนในประเทศเองจริงไหม? ดังนั้น หลักการบริหารของ Gojek คือ จะเลือกให้คนในประเทศนั้น ๆ บริหารเอง เพื่อทำให้บริการเหมาะสมกับพฤติกรรมของคนในประเทศนั้น รวมถึงเป็นการ ‘ทดลอง’ ตลาดก่อนว่าสามารถไปได้ดีแค่ไหน ซึ่งไทยเองก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพ เพราะในช่วงเวลาปีครึ่ง Get ได้ส่งอาหารกว่า 20 ล้านออเดอร์ มีพาร์ตเนอร์ผู้ขับกว่า 5 หมื่นราย และพาร์ตเนอร์ร้านอาหารกว่า 3 หมื่นร้าน

และในที่สุดก็ถึงเวลาที่ Get จะรีแบรนด์กลับไปเป็น Gojek เหมือนเดิม และไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้น Go-Viet ของเวียดนามก็รีแบรนด์กลับเป็น Gojek ด้วยเช่นกันเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่า พร้อมแล้วที่ Gojek จะลุยตลาดโลกอย่างเต็มตัว พร้อมกับตั้งเป้าที่จะ บาลานซ์สัดส่วนรายได้ จากตลาดอินโดนีเซียและต่างประเทศให้ได้ 50-50 ซึ่งปัจจุบันตลาดไทยและเวียดนามถือเป็นตลาดนอกประเทศที่ใหญ่ที่สุด

“ประโยชน์ของความเป็น Global คือ ทุกฟีเจอร์และเทคโนโลยีจะเป็นระดับโลก ดังนั้นในทุกประเทศจะได้ใช้งานแอปที่มีคุณภาพเหมือนกัน แต่การบริหารยังต้องเป็น Local เพื่อให้เข้าใจตลาดอยู่”

ย้ำเป็นแบรนด์ไทย เเม้ใช้ชื่อ Gojek ก็ตาม

แม้จะเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Gojek แต่บริษัทยังย้ำว่าเป็นของ ‘ไทย’ แน่นอน และการรีแบรนด์ในครั้งนี้ที่ต้องหันไปใช้ ‘สีเขียว’ ที่แทบจะเหมือนกับคู่เเข่งในตลาด จากที่เคยใช้ สีเขียวสะท้อนแสง ซึ่งแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน แต่ทาง คุณภิญญา ก็มั่นใจว่าผู้บริโภคจะไม่สับสน เพราะเชื่อว่าชื่อ Gojek เป็นที่รู้จักอยู่เเล้ว และมั่นใจว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน ในการที่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกครั้ง เพราะแค่ระยะเวลา 15 วัน ยอดดาวน์โหลดแอปฯ Gojek ก็ทะยานไปหลัก แสนครั้ง เรียบร้อย จากเดิมที่ Get มีผู้ดาวน์โหลด 3 ล้านครั้ง

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รีแบรนด์ไป ทาง Gojek เองก็ได้ทุ่มงบการตลาดมหาศาล แม้จะไม่สามารถเปิดเผยเป็นตัวเลขได้ แต่สามารถรับรู้ได้ผ่านแคมเปญการตลาดใหม่ ๆ อาทิ มอบคูปองส่วนลดมูลค่าสูงสุดถึง 2,500 บาทให้กับผู้ใช้งานใหม่ พร้อมดีลส่วนลดค่าอาหารสุดคุ้ม ลดสูงสุดถึง 50%, คูปองส่วนลดมูลค่า 12 บาทในส่วนของบริการเรียกรถจักรยานยนต์จำนวน 5 ครั้ง และแจกฟรีโดนัท Krispy Kreme แก่ผู้ใช้บริการ 10,000 ราย วันที่ 17 กันยายน ตั้งแต่ช่วงเที่ยงวันไปจนถึง 6 โมงเย็น

33% ของผู้บริโภคไทยต้องการความหลากหลาย 27% ชอบโปรโมชัน 13% ต้องการความเร็วในการจัดส่ง และ 10% ต้องการความง่ายในการใช้งาน ดังนั้น เรายังคงลงทุนในไทยต่อเนื่อง ทั้งโปรโมชัน การเพิ่มพาร์ตเนอร์ร้านอาหารและพาร์ตเนอร์ผู้ขับ”

วางเป้าโต 10 เท่า พร้อมก้าวเป็น Super Apps

หลังจากรีแบรนด์เป็น Gojek ส่งผลให้ชื่อของบริการต่าง ๆ ก็ต้องเปลี่ยนตาม ได้แก่ ‘GoFood’ บริการส่งอาหาร ‘GoRide’ บริการเรียกรถจักรยานยนต์ ‘GoSend’ บริการรับส่งพัสดุ และ ‘GoPay’ บริการอีวอลเล็ต และได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่อีก 2 ฟีเจอร์ ได้แก่ GoFood Pickup บริการสั่งอาหารล่วงหน้า แล้วไปเองที่ร้าน โดยสาเหตุที่ออกฟีเจอร์นี้ก็เพราะพบว่าผู้ใช้งานในเมืองกว่า 55% เข้าถึงบริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน ในขณะที่กว่า 75% นิยมการไปซื้ออาหารที่ร้านค้า ซึ่งปัจจุบันมีร้านอาหารกว่า 500 แห่งในกรุงเทพฯ เข้าร่วม

และอีกฟีเจอร์ที่เป็นเหมือน ‘ก้าวต่อไป’ ที่ทำให้ Gojek เข้าใกล้คำว่าซูเปอร์แอปก็คือฟีเจอร์ ‘แชท’ โดยผู้ใช้สามารถพูดคุยกับเพื่อนรวมถึงแชร์ข้อมูลร้านอาหารที่ชื่นชอบร่วมกันได้ หรือจะสร้าง Wishlist สำหรับบันทึกร้านอาหาร หรือเมนูที่ชื่นชอบเอาไว้สำหรับการสั่งอาหารในครั้งต่อไป โดยคุณภิญญาอธิบายว่า เมื่อมีแชทให้ใช้สื่อสาร ผู้บริโภคก็ไม่ต้องออกจากแอปไปคุยเรื่องอาหารกันอีกต่อไป แถมยังช่วยให้อยู่ในแอปฯ นานขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูว่าจะมีฟีเจอร์อะไรใหม่ ๆ เข้ามาอีก เพราะหากพิจารณาจากบริษัทเเม่ที่มีฟีเจอร์กว่า 20 รายการ Gojek ในไทยก็ถือว่ายังห่างไกล

ทั้งนี้ เป้าหมายหลังจากที่รีแบรนด์เป็น Gojek ก็คือ เติบโตให้ได้ 10 เท่า ในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นรายได้, ผู้ใช้งาน, จำนวนผู้ขับ, จำนวนร้านอาหาร โดยใช้จุดแข็งก็คือ ‘เทคโนโลยี’ และ ‘Passion’ ที่กระหายความสำเร็จซึ่งเปรียบเหมือนวัฒนธรรมขององค์กร และเร็ว ๆ นี้ Gojek ได้เตรียมที่จะขยายตลาดสู่พื้นที่ต่างจังหวัด จากที่ให้บริการเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงเตรียมผุด ‘คลาวด์ คิทเช่น’ ไว้อัดกับคู่แข่งแน่นอน

]]>
1297514
‘AirAsia’ เบรกเรื่องบิน หันมาปั้น ‘ซูเปอร์แอป’ ท้าชน ‘Grab’ ‘Gojek’ และ ‘Wechat’ https://positioningmag.com/1294932 Tue, 01 Sep 2020 07:27:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294932 AirAsia ผู้ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำรายใหญ่ที่สุดของอาเซียน ที่โดนพิษของ COVID-19 จนต้องปลดพนักงานกว่า 30% แถมยังจะมีการปรับลดเงินเดือนพนักงานที่เหลืออยู่ลงระหว่าง 15-75% อีกด้วย ดังนั้น ดูเหมือนว่าธุรกิจสายการบินจะยังต้องรอเวลา ส่งผลให้ Tony Fernandes ผู้ก่อตั้ง AirAsia จึงมีแนวคิดที่จะทำ ‘ซูเปอร์แอป’

Tony Fernandes ผู้ก่อตั้ง AirAsia ระบุว่า ในฐานะหัวหน้าสายการบินเขาได้มองหาวิธีใหม่ ๆ ในการสร้างรายได้ โดยมีแนวคิดที่จะสร้าง ‘ซูเปอร์แอป’ ตัวต่อไปของภูมิภาค โดยต้องการที่จะแข่งขันกับ Grab, GoJek และ WeChat ด้วยแอปแบบครบวงจรสำหรับการจัดส่งอาหาร การช้อปปิ้ง การชำระเงิน ความบันเทิงและการเดินทาง

“ความตกต่ำเป็นพรที่แฝงอยู่ในบางแง่มุม เนื่องจากทำให้เรามุ่งเน้นไปที่เรื่องอื่นนอกจากสายการบินนี้มากขึ้น ซึ่งเราได้รับโอกาสและเวลาในการมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจดิจิทัลของเรา ดังนั้น เราต้องใช้เวลาช่วงที่การเดินทางที่ลดลงเพราะ COVID-19 ในการปรับปรุงแอป AirAsia และแพลตฟอร์มการชำระเงิน BigPay ของบริษัท”

(Photo by Ezra Acayan/Getty Images)

ทั้งนี้ AirAsia มี ฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ ซึ่งมีผู้ใช้มากกว่า 60 ล้านคนเป็นจุดเริ่มต้น

“แอร์เอเชียเป็นบริษัทดิจิทัลมาโดยตลอดเราเป็นหนึ่งในสายการบินแรก ๆ ที่ขายตั๋วออนไลน์ เรารู้ดีว่าซูเปอร์แอปดูเหมือนเป็นเป้าหมายที่ไกลเกินเอื้อม แต่ Grab และ GoJek ก็เริ่มต้นจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในฐานะแอปอาหารหรือการรับส่งคน”

อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่แหวกแนวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก แต่เมื่อปีที่แล้ว AirAsia ได้เปิดตัวค่ายเพลงของตัวเองชื่อ RedRecords ร่วมกับ Universal Music จุดมุ่งหมายคือการค้นหาดาราจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะดึงดูดผู้ชมชาวตะวันตก รวมถึงช่วยให้ Air Asia มีส่วนร่วมกับผู้ชมที่อายุน้อยและให้เนื้อหามากมายสำหรับแอป

Source

]]>
1294932
GET เตรียมรีแบรนด์สู่จักรวาล Gojek ภายในเดือนส.ค. ใช้ความเป็นโกลบอลสู้ศึกเดลิเวอรี่ https://positioningmag.com/1286416 Fri, 03 Jul 2020 06:00:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286416 GET แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ ได้ประกาศว่าจะทำการรวมแอปพลิเคชัน และแบรนด์ GET เข้าภายใต้ Gojek และจะดำเนินงานในนาม Gojek เป็นก้าวสำคัญของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจระยะยาวของบริษัท

การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์จากนี้ GET จะเปิดตัวแอปพลิเคชัน Gojek ในประเทศไทย โดยที่แอปพลิเคชัน Gojek ได้รับการพัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีระดับโลก และเปิดให้สามารถใช้บริการได้ทั้งในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ทั้งนี้แบรนด์ GoViet ในประเทศเวียดนามจะได้รับการอัพเกรดเป็นแบรนด์ Gojek เช่นกัน

ในประเทศไทย GET ได้รับการตอบรับอย่างดี ได้เปิดตัวเมื่อปีที่ผ่านมา จนถึงเดือนมิถุนายน 2563 GET ได้ให้บริการไปแล้วกว่า 20 ล้านออเดอร์

ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย กล่าวว่า

“เราตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ที่แสดงให้เห็นว่าไทยยังคงเป็นประเทศยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจของ Gojek นับตั้งแต่การเปิดตัว GET ในปี 2562 เราประสบความสำเร็จในการก่อตั้ง และพัฒนาหนึ่งในแพลตฟอร์มออนดีมานด์ชั้นนำของประเทศ ผ่าน 4 บริการ ทีมบริหารชุดเดิมของไทยที่ได้พัฒนาและก่อตั้ง GET จะยังคงนำทีมบริหาร และดำเนินธุรกิจของ Gojek ในประเทศไทยต่อไป โดยขณะนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำจุดแข็งและศักยภาพของ Gojek มาขับเคลื่อนให้เราสามารถขยายธุรกิจและคงจุดยืนในฐานะบริษัทชั้นนำต่อไป”

Gojek เป็นกลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยีชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผู้บุกเบิกคอนเซ็ปต์ “ซูเปอร์แอป” รวมถึงโมเดลอีโค่ซิสเต็มที่ช่วยเชื่อมโยงผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเข้ากับพาร์ตเนอร์คนขับที่อยู่ในระบบกว่า 2 ล้านคน และพาร์ตเนอร์ร้านอาหาร GoFood อีกกว่า 500,000 ราย ในกว่า 200 เมืองทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

GET ก่อตั้งขึ้นด้วยพันธกิจเดียวกับ Gojek ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับชีวิตของผู้ใช้บริการ โดย GET ได้เชื่อมผู้ใช้บริการในกรุงเทพฯ เข้ากับพาร์ตเนอร์คนขับมากกว่า 50,000 คน และร้านอาหารอีกกว่า 30,000 แห่ง ที่กว่า 80% เป็นกลุ่มวิสาหกิจรายย่อยขนาดย่อม

แอนดรูว์ ลี ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ (Group Head of International) ของ Gojek กล่าวว่า

“GET ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในระยะเวลาอันสั้น และเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเป็นบันไดนำเราไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ขึ้น การรวมแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของเราเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในระยะยาว เพื่อให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้แก่ผู้ใช้งานทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต่อไป การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและทุ่มเทของ Gojek ต่อธุรกิจเราในตลาดต่างประเทศ ผ่านการเปิดตัวแบรนด์ของเราสู่ฐานผู้ใช้งานที่กว้างขึ้น เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับคนทั่วทั้งภูมิภาค”

ผู้ใช้บริการยังสามารถใช้บริการเดิม ทั้งบริการส่งอาหาร บริการเรียกรถจักรยานยนต์ บริการรับ-ส่งพัสดุ และบริการอีวอลเล็ต ผู้ใช้งาน GET ในปัจจุบัน รวมทั้งคนขับและร้านพาร์ตเนอร์ต่างๆ ยังคงสามารถใช้งานแอปพลิเคชัน GET ได้ตามปกติ

]]>
1286416
สิงคโปร์ ทุ่มงบพิเศษ 1.7 พันล้านบาท ช่วย “คนขับรถแท็กซี่-รถรับจ้าง” จากไวรัสโคโรนา https://positioningmag.com/1264603 Sat, 15 Feb 2020 16:05:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264603 รัฐบาลสิงคโปร์ จัดงบพิเศษกว่า 77 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1,726 พันล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือคนขับรถเเท็กซี่เเละผู้ให้บริการรถเช่าเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ Covid-19

สำหรับเงินช่วยเหลือดังกล่าว ทางกระทรวงคมนาคมและกรมขนส่งทางบกได้ให้เงินสนับสนุนราว 45 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่ส่วนที่เหลือจะมาจากบริษัทเอกชนผู้ให้บริการรถยนต์เช่าส่วนบุคคลและรถยนต์แท็กซี่

โดยทางการเห็นว่า พนักงานขับรถเหล่านี้กำลังต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ที่ส่งผลต่อรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการครองชีพ เนื่องจากจำนวนเที่ยวในการให้บริการผู้โดยสารลดลงอย่างมาก

นอกจากนี้ รัฐบาลมีแผนจะให้เงินอุดหนุนพิเศษเพิ่มอีก 20 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อคันต่อวัน ให้รถแท็กซี่เเละรถยนต์รับจ้างส่วนบุคคล เป็นเวลานาน 3 เดือน โดยคาดว่าจะมีพนักงานขับรถได้รับความช่วยเหลือราว 40,000 ราย

โดยมาตรการนี้ เหล่าคนขับรถแท็กซี่จะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษผ่านทางบริษัทผู้ให้บริการรถแท็กซี่ของพวกเขา ซึ่งมีผลเเล้วตั้งเเต่วันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา

ขณะที่เหล่าผู้ขับรถเช่าส่วนบุคคลให้ Grab เเละ Gojek บริษัทจะให้รายละเอียดการสมัครและการเบิกจ่ายให้กับผู้ขับขี่ได้ภายในสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ บริษัทที่มีส่วนร่วมในแพ็กเกจเงินช่วยเหลือนี้ ได้แก่ ผู้ให้บริการรถแท็กซี่ Comfort, CityCab, SMRT Taxis, Trans-Cab, Premier Taxis, Prime เเละ HDT Taxi  รวมถึง Grab เเละ Gojek

Ang Hin Kee สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ปรึกษาของสมาคมแท็กซี่และรถเช่าเอกชนแห่งชาติ กล่าวว่า ตอนนี้เหล่าคนขับมีข้อกังวล 3 เรื่องหลัก ได้เเก่ เรื่องค่าใช้จ่าย ความปลอดภัยจากการเเพร่ระบาดของไวรัส เเละอยากมั่นใจว่าจะมีผู้โดยสารเพียงพอ อีกประเด็นสำคัญคือ เราจะทำอย่างไรให้ธุรกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ดำเนินต่อไปได้ ให้นักท่องเที่ยวยังมาเที่ยว ส่วนประชาชนก็ต้องมีความมั่นใจที่จะออกไปนอกบ้าน

“มาตรการความช่วยเหลือนี้ จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับคนขับรถหลายคน อย่างน้อยก็ช่วยจัดการค่าใช้จ่ายทางธุรกิจของพวกเขา การเเจกจ่ายหน้ากากและการตรวจวัดอุณหภูมิ ก็จะช่วยรับประกันความปลอดภัยของคนขับด้วยเช่นกัน”

ด้าน Justin Lim ผู้ขับรถเช่าส่วนบุคคล บอกว่าธุรกิจของเขาได้รับผลกระทบอย่างมาก หลังรัฐบาลสิงคโปร์ประกาศยกระดับเตือนภัยโรคระบาด (DORSCON) เป็นสีส้มเมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา

“อย่างน้อยเเพ็กเกจความช่วยเหลือที่ออกมา ก็จะทำให้คนขับรถมีความกดดันเรื่องค่าใช้จ่ายน้อยลง ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า”

คนขับรถแท็กซี่ อีกคนนามว่า Raymond Ong บอกว่า รายได้ของเขา “ตกฮวบ” และกังวลว่าจะเพียงพอต่อ
การดูเเลครอบครัวต่อไปหรือไม่ “เเม้ว่าเงินเพิ่ม 20 ดอลลาร์สิงคโปร์อาจไม่มากนัก เเต่ก็น่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายการเช่ารถของเราได้”

 

ที่มา : CNA/ S$77 million package to help taxi, private-hire drivers affected by COVID-19 outbreak

 

 

]]>
1264603