Lawson – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 07 May 2024 04:58:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ร้านสะดวกซื้อ’ ในญี่ปุ่นเริ่มเปิด-ปิดเป็นเวลามากขึ้น เหตุ ‘ขาดแคลนแรงงาน’ ทำให้เปิดบริการ 24 ชม. ไม่ได้ https://positioningmag.com/1472227 Tue, 07 May 2024 02:33:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472227 การเปิดร้านตลอด 24 ชั่วโมง ถือเป็นอีกเสน่ห์ของร้านสะดวกซื้อ แต่เพราะปัญหาขาดแคลนแรงงานของญี่ปุ่น เนื่องจากประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมานาน ส่งผลให้เชนร้านสะดวกซื้อรายใหญ่หลายราย ไม่สามารถให้บริการ 24 ชั่วโมงได้อีกต่อไป

จากการสํารวจผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ 7 รายของญี่ปุ่นโดย Kyodo News ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา อาทิ 7-Eleven และ Lawson พบว่า ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ร้านสะดวกซื้อประมาณ 6,400 แห่ง จาก 55,000 แห่ง ในประเทศ หรือคิดเป็นประมาณ 12% ไม่ได้เปิดตลอด 24 ชั่วโมง

โดยผู้นําตลาดอย่าง 7-Eleven ได้ยกเลิกการให้บริการ 24 ชั่วโมงในกว่า 200 สาขา นับตั้งแต่ปี 2020 ในขณะที่ Lawson ได้ใช้มาตรการที่คล้ายกันในร้านค้าอีกประมาณ 100 สาขา โดยสาเหตุที่บริษัทไม่สามารถเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงได้ เป็นผลมาจากการ ขาดแคลนแรงงาน และความต้องการ การใช้บริการช่วงกลางดึกลดลง

ทั้งนี้ สัดส่วนของสาขาที่ไม่เปิด 24 ชั่วโมง ของเชน Top 3 ร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่น ได้แก่ 7-Eleven, Lawson และ FamilyMart จะอยู่ที่ 8-10% ของสาขาทั้งหมด แต่ผู้ให้บริการรายย่อยอื่น ๆ มีเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่ามาก อาทิ Seicomart เครือร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในฮอกไกโด มีอัตราร้านค้าที่ลดเวลาทําการสูงสุดที่ 87% รองลงมาคือ Poplar ซึ่งมีสํานักงานใหญ่ในฮิโรชิมาอยู่ที่ 79%

“เรากําลังดําเนินมาตรการโดยคํานึงถึงยอดขายและความยั่งยืน” เจ้าหน้าที่ของ Ministop กล่าว ซึ่งอนุญาตให้ร้านค้า 22% เปิดให้บริการในเวลาที่สั้นลง

ด้วยปัญหาดังกล่าว ทำให้เชนร้านสะดวกซื้อรายใหญ่อย่าง 7-Eleven เปิด ร้านสะดวกซื้อ ไร้พนักงาน ซึ่งก็ต้องรอดูว่าจะแก้ปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน เพราะลูกค้าไม่เพียงแต่แวะซื้อของทั่วไปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริการทางการเงิน การจัดส่งพัสดุ และสิ่งอํานวยความสะดวกอื่น ๆ ด้วย

นับตั้งแต่ 7-Eleven เปิดร้านสะดวกซื้อแห่งแรกของประเทศใน Koto Ward ของโตเกียวในเดือนพฤษภาคม 1974 ร้านค้าดังกล่าวที่มีการดําเนินงานตลอด 24 ชั่วโมง และแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเริ่มอิ่มตัว และเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับการทํางานหนักเกินไป ประกอบกับวิกฤตแรงงานที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้เริ่มเกิดคำถามถึงการให้บริการ 24 ชั่วโมงของร้านสะดวกซื้อ

Source

]]>
1472227
7-Eleven ญี่ปุ่น ปรับทิศบุกตลาด ‘เดลิเวอรี่’ ส่งเร็วถึงบ้านให้ได้ 20,000 สาขาทั่วประเทศ https://positioningmag.com/1348295 Tue, 24 Aug 2021 09:33:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348295 เมื่อยอดขายโดยรวมของตลาดร้านสะดวกซื้อ โตไม่เร็วเท่าอีคอมเมิร์ซ ต้องยกเครื่องครั้งใหญ่ รับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ล่าสุด 7-Eleven ญี่ปุ่น ปรับทิศจับทางเดลิเวอรี่ ตั้งเป้าส่งเร็วใน 30 นาที กระจาย 20,000 สาขาทั่วประเทศ สู้ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon

กลยุทธ์ใหม่นี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความตกต่ำของตลาดร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น จากการสำรวจของ Nikkei Asia พบว่าในช่วงวิกฤตโควิด ยอดขายของทั้งอุตสาหกรรมลดลงราว 6.1% มาอยู่ที่ประมาณ 11.8 ล้านล้านเยน ในปี 2020 นับเป็นการลดลงครั้งแรกตั้งแต่ปี 1981

สวนทางกับการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ’ ในญี่ปุ่น ที่เติบโตขึ้นถึง 22% มาอยู่ที่ประมาณ 12.2 ล้านล้านเยน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ‘stay-at-home consumption’ การบริโภคที่อยู่บ้านที่เพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นยอดขายโดยรวมของฝั่งอีคอมเมิร์ซ ให้แซงหน้าร้านสะดวกซื้อได้เป็นครั้งแรก ในช่วงปีที่ผ่านมา

Seven & i บริษัทเเม่ของ 7-Eleven ในญี่ปุ่น คาดว่า บริการเดลิเวอรี่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของบริษัทได้ โดยปัจจุบันได้เริ่มเปิดให้บริการจัดส่งจากร้านค้าไปเเล้ว ประมาณ 550 แห่งในพื้นที่เมืองโตเกียว ฮอกไกโด และฮิโรชิมะ ก่อนที่จะขยายไปสู่ 20,000 สาขาทั่วประเทศ ภายในปีงบประมาณ 2026

ร้านค้าไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่สำหรับจัดเก็บสินค้าคงคลังด้วย” Ryuichi Isaka ประธานของ Seven & i กล่าวกับ Nikkei Asia 

พร้อมระบุข้อได้เปรียบอีกว่า “บริการ (เดลิเวอรี่) นี้ สามารถขยายได้ในเวลาอันสั้น โดยไม่ต้องลงทุนมากนัก”

ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ 7-Eleven ญี่ปุ่น ที่มีอาหารและสินค้าประจำวันต่างๆ กว่า 3,000 รายการ ซึ่งการซื้อทุกครั้งเเนะนำว่าควรมีมูลค่ามากกว่า 1,000 เยน (ราว 300บาท) โดยมีค่าธรรมเนียมจัดส่งเพิ่มเติม 330 เยน (ราว 99 บาท) ซึ่งบริการนี้จะเปิดทำการจนถึงเวลา 23.00 . ในทุกวัน

คาดว่าแต่ละร้านจะมีรัศมีการจัดส่งประมาณ 500 เมตร แต่อาจขยายได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเเต่ละพื้นที่

สำหรับการจัดส่งนั้น Seven & i ได้ร่วมมือกับบริษัทโลจิสติกส์ในท้องถิ่นประมาณ 10 แห่ง พร้อมพัฒนาแพลตฟอร์มด้วยการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านเส้นทางและการประสานงานระหว่างคนขับ

ปัจจุบัน เเม้บริการนี้ยังไม่ฮอตฮิตมากนัก แต่ละสาขามีการจัดส่งไม่กี่ครั้งต่อวัน เเต่ทางบริษัทหวังว่า จะเพิ่มการใช้งานเป็น 15 ครั้งต่อวันหรือมากกว่านั้น ผ่านการขยายบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และใช้กลยุทธ์ตลาดต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น

ด้านคู่เเข่งธุรกิจร้านสะดวกซื้ออีกเจ้าอย่าง Lawson ก็ได้เริ่มให้บริการผ่านเดลิเวอรี่เช่นกัน เเละขยายได้เร็วกว่า 7-Eleven โดยขณะนี้ มีร้านที่พร้อมส่งเดลิเวอรี่กว่า 2,000 แห่ง ใน 32 จังหวัด ผ่านการจับมือกับ ‘Uber Eats’ โดย Lawson วางแผนจะเพิ่มจำนวนร้านค้าเป็น 3,000 แห่งภายในปีงบประมาณ 2022

ทั้งนี้ ยอดการใช้จ่ายเเบบเดลิเวอรี่ของลูกค้า 7-Eleven ในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 14.50 ดอลลาร์ (ราว 478 บาท) ต่อบิล เพิ่มขึ้นถึง 1.7 เท่า จากของยอดขายหน้าร้าน เนื่องจากคนอยู่บ้านกันมากขึ้นในช่วงโรคระบาด

 

 

ที่มา : Nikkei Asia 

]]>
1348295
ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “อิ่มตัว” 7-Eleven ญี่ปุ่น พลิกเกมรุก “บริการส่งเร็วถึงบ้าน” ท้าเเข่ง Amazon https://positioningmag.com/1296561 Fri, 11 Sep 2020 08:35:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296561 ยุคนี้ค้าปลีกต้องขยับมาเดลิเวอรี่ยักษ์ใหญ่ร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นอย่าง 7-Eleven รุกหนักบริการส่งถึงบ้านเน้นรวดเร็วส่งถึงใน 30 นาที ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปช่วง COVID-19 เเข่งกับอีคอมเมิร์ซใหญ่อย่าง Amazon และ Rakuten ที่ครองตลาดอยู่

ช่วงที่ผ่านมา คนไทยอาจจะคุ้นกับบริการสั่งสินค้าจากร้าน 7-Eleven มาส่งถึงหน้าบ้านกันแล้ว เเต่ในญี่ปุ่นเพิ่งจะนำร่องให้บริการอย่างจริงจัง โดยในสิ้นปีนี้ 7-Eleven จะทดลองเปิดให้บริการนี้กับ 100 สาขาในกรุงโตเกียว ก่อนจะขยายไปให้ได้ 1,000 สาขา ภายในปี 2021

7-Eleven ญี่ปุ่นจะชูจุดเด่นด้วยสินค้าที่หลากหลาย เเละตั้งเป้าจะจัดส่งเร็วที่สุดใน 30 นาทีเพื่อท้าทายคู่เเข่งสำคัญอย่าง Amazon Japan

บริการจัดส่งถึงบ้าน ได้รับความนิยมขึ้นอย่างมากในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 โดย 7-Eleven เเละเครือข่ายร้านสะดวกซื้อต่างๆมองว่าเป็นหนทางใหม่ที่จะพาธุรกิจเติบโตต่อไปได้ ในสังคมที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก

ปัจจุบัน 7-Eleven มีสาขากว่า 50,000 ร้านค้าในญี่ปุ่น กำลังเผชิญความท้าทายจากยอดขายที่ลดลง ซึ่งสร้างความกังวลให้กับผู้ที่อยู่ในตลาดมูลค่า 12 ล้านล้านเยน (ราว 3.5 ล้านล้านบาท) ไม่น้อย

ท่ามกลางจุดอิ่มตัวของธุรกิจร้านสะดวกซื้อ เทรนด์การซื้อของออนไลน์กำลังก้าวเข้ามาครองใจชาวญี่ปุ่น โดยมีเจ้าใหญ่อีคอมเมิร์ซอย่าง Amazon และ Rakuten เป็นผู้ครองตลาด ทำให้ร้านสะดวกซื้อดั้งเดิมอย่าง 7-Eleven จึงต้องปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับเทคโนโลยีออนไลน์ เพื่อสู้กับคู่เเข่งในตลาดอีคอมเมิร์ซ

สำหรับบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านของ 7-Eleven จะเน้นไปที่การนำเสนอสินค้ากว่า 3,000 รายการ ทั้งอาหารและของใช้ประจำวันที่วางขายในสาขา ให้สามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ได้ เบื้องต้นจะดำเนินการส่งให้ได้ในช่วง 2 ชั่วโมง อนาคตจะส่งให้เร็วที่สุดใน 30 นาที ซึ่งจะจัดส่งโดยบริษัทโลจิสติกส์ของ Seino Holdings

ปกติการสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะส่งเร็วที่สุดในวันถัดไป และจะสิ้นสุดในเวลา 21.00 . นี่จึงเป็นโอกาสของ 7-Eleven จะสร้างความได้เปรียบกว่าอีคอมเมิร์ซเจ้าอื่น ด้วยการจัดส่งที่รวดเร็วกว่า ใกล้บ้านกว่า และรับคำสั่งซื้อจนถึงช่วงดึกได้

โดย 7-Eleven ได้เริ่มทดสอบบริการใหม่ดังกล่าวกับสาขา 39 แห่งในโตเกียว เปิดรับคำสั่งซื้อทางออนไลน์ในช่วงเวลา 09.00-22.00 . สำหรับการจัดส่งไปยังสถานที่ในรัศมี 500 เมตรจากร้านค้า เบื้องต้นจะคิดค่าธรรมเนียมการจัดส่งระหว่าง 110-550 เยน ตามช่วงเวลาของวัน เเละจะส่งฟรีสำหรับการสั่งซื้อตั้งแต่ 3,000 เยนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขอื่นๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 7-Eleven ก็ยังคงมีความท้าทายเรื่องการขาดเเคลนเเรงงานอย่างหนักด้วย

ด้านบรรดาร้านสะดวกซื้ออื่น ๆ ในญี่ปุ่นอย่าง Lawson ก็ได้เริ่มจัดส่งอาหารถึงบ้านโดยใช้บริการ Uber Eats เเล้ว

ที่ผ่านมา Seven & i Holdings ซึ่งเป็นบริษัท แม่ของ 7-Eleven มีความพยายามจะเปิดคำสั่งซื้อทางออนไลน์ที่ให้ลูกค้าสามารถไปรับของได้ที่สาขา เเต่บริการดังกล่าวไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนกระทั่งเกิดวิกฤต COVID-19 ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อของกินของใช้ จากร้านสะดวกซื้อทางออนไลน์มากขึ้นในชีวิตประจำวัน

 

ที่มา : Nikkei Asian Review

 

]]>
1296561
เร่งศึก “ร้านสะดวกซื้อ” ในญี่ปุ่น Itochu Corp จ่อซื้อหุ้น 100% ฮุบ “แฟมิลี่มาร์ท” https://positioningmag.com/1287317 Fri, 10 Jul 2020 10:03:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287317 บริษัทเทรดดิ้งชั้นนำของญี่ปุ่นอย่าง Itochu Corp ทุ่มลงทุนในธุรกิจค้าปลีก เสนอการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (tender offer) มูลค่ากว่า 580,000 ล้านเยน เพื่อซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของแฟมิลี่มาร์ท” (FamilyMart) เชนร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ที่มีสาขากว่า 16,000 แห่งทั่วประเทศ 

Itochu มีเเผนการที่จะเข้าซื้อหุ้นทั้งหมด 100% ของแฟมิลี่มาร์ท จากปัจจุบันที่ถือหุ้นอยู่ 50.1% ด้วยงบประมาณ 580,000 ล้านเยน (ราว 168,000 ล้านบาท) หากทำสำเร็จตามที่คาดไว้ จะทำให้ Itochu เข้าถือหุ้นของแฟมิลี่มาร์ท สัดส่วนถึง 94.7% โดยการทำ tender offer จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 .. จนถึง 24 ..นี้

อุตสาหกรรมค้าปลีกของญี่ปุ่นมีการเเข่งขันที่ดุเดือด การเข้าถือหุ้นทั้งหมดในแฟมิลี่มาร์ท” ครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ Itochu สามารถตัดสินใจในการบริหารงานต่างๆ ของร้านสะดวกซื้อรายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่นได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเพิ่มศักยภาพในการทำกำไร ด้วยการนำความเชี่ยวชาญด้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงเครือข่ายจัดซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศของ Itochu มาใช้ประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น

นอกจากนี้ การเข้าครอบครองแฟมิลี่มาร์ท ยังเป็นการขยายธุรกิจของ Itochu จากธุรกิจพลังงานและการทำเหมือง สู่ธุรกิจค้าปลีกอีกด้วย

Photo : Shutterstock

เเผนต่อไปหาก Itochu เป็นเจ้าของแฟมิลี่มาร์ทเเบบ 100% เเล้ว บริษัทมีแผนจะขายหุ้นราว 5% มูลค่า 57,000 ล้านเยนให้กับธนาคาร Norinchukin หรือสหกรณ์การเกษตรของญี่ปุ่น เพื่อจะนำสินค้าเกษตรไปจำหน่ายตามสาขา 16,000 แห่งของแฟมิลี่มาร์ทในญี่ปุ่น

ปกติเเล้วแฟมิลี่มาร์ทมีลูกค้าวันละกว่า 10 ล้านคนในญี่ปุ่น แต่ผลกระทบจาก COVID-19 ที่ทำให้มีมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ในไตรมาสแรกถึงเดือนพ.. แฟมิลี่มาร์ทมีกำไรสุทธิลดลงถึง 71.5% ขณะที่ยอดขายลดลง 15.9% อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณปัจจุบัน บริษัทคาดว่ากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้น 37.8% เป็น 60,000 ล้านเยน จากรายได้ 460,000 ล้านเยน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวลดลง 11% จากปีก่อน

ที่ผ่านมา ธุรกิจค้าปลีกเเละร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น มีการเเข่งขันกันอย่างดุเดือด จากคู่เเข่งสำคัญอย่าง Seven-Eleven เเละ Lawson โดยยอดขายเฉลี่ยต่อวันของสาขา Seven-Eleven อยู่ที่ 656,000 เยน ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดเดือนมี.. 2020 และ Lawson อยู่ที่ 535,000 เยนต่อวัน ส่วนร้านแฟมิลี่มาร์ทอยู่ที่ 528,000 เยนต่อวัน

ขณะที่ในปีงบประมาณปัจจุบัน คาดว่าตัวเลขดังกล่าวของแฟมิลี่มาร์ท จะลดลงไปอีกเหลือ 521,000 เยน สะท้อนถึงจุดอ่อนด้านผลิตภัณฑ์

จุดเด่นของ Seven-Eleven ในญี่ปุ่นคือพัฒนาสินค้าของตัวเองจนได้รับความนิยม ส่วน Lawson มีชื่อเสียงด้านขนมหวาน ขณะที่แฟมิลี่มาร์ทพยายามที่จะพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ในร้านสะดวกซื้อ อย่างเช่น แอปฯ ชำระเงิน

แฟมิลี่มาร์ท มีสาขานอกญี่ปุ่น 8,032 แห่ง สำหรับประเทศไทย หลังบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ได้เข้าซื้อหุ้นแฟมิลี่มาร์ท ทั้งหมด 100% ทาง CRC ประกาศว่าจะเดินหน้าพัฒนาโมเดลใหม่ โดยล่าสุดได้ประกาศเปิดรับสมัครแฟรนไชส์เพิ่มสาขา ด้วยเงื่อนไขการันตีรายได้ขั้นต่ำ 3 หมื่นบาทต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี ภายใต้เงื่อนไขสัญญาแฟรนไชส์อายุ 6 ปี

 

ที่มา : Nikkei Asian Review , Reuters

 

]]>
1287317