Lufthansa – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 29 Oct 2023 12:20:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คุยกับทีมผู้บริหารหญิง “ลุฟท์ฮันซ่า” กับมุมมองอุตสาหกรรมการบิน และการนำเครื่องบิน Airbus รุ่น A380 มาให้บริการในไทยอีกครั้ง https://positioningmag.com/1449604 Sat, 28 Oct 2023 09:27:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449604 คุยกับทีมผู้บริหารหญิงของกลุ่มสายการบินลุฟท์ฮันซ่า โดยล่าสุดสายการบินได้นำเครื่องบิน Airbus A380 นำกลับมาบินในเส้นทางกรุงเทพ-มิวนิก นอกจากนี้ยังได้พูดคุยในเรื่องของภาพรวมอุตสาหกรรมสายการบิน หรือแม้แต่ความท้าทายของลุฟท์ฮันซ่าหลังจากนี้

Positioning ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหารหญิงของกลุ่มสายการบินลุฟท์ฮันซ่า ได้แก่ เอลิเซ่ เบกเกอร์ รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซาบริน่า วินเทอร์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก รวมถึง อันลี โด ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ประเด็นที่ 3 ผู้บริหารได้เล่าให้ฟังนั้นไม่ว่าจะเป็นภาพรวมอุตสาหกรรมการบิน ความท้าทายของลุฟท์ฮันซ่า หรือแม้แต่การนำเครื่องบินรุ่นยักษ์อย่าง Airbus รุ่น A380 เข้ามาให้บริการในประเทศไทย

ลุฟท์ฮันซ่ากับประเทศไทย

สำหรับกลุ่มสายการบินใหญ่สุดจากเยอรมัน มีเส้นทางการบิน 200 เส้นทางทั่วยุโรป 300 เส้นทางนอกยุโรป มีเครื่องบินให้บริการมากกว่า 700 ลำ มีผู้โดยสารมากกว่า 100 ล้านคนต่อปี รายได้ของสายการบิน 32,800 ล้านยูโร รายได้สายการบินอันดับ 4 ของโลก

กลุ่มสายการบินลุฟท์ฮันซ่ามีเส้นทางบินมายังประเทศไทยเป็นระยะเวลายาวนานถึง 64 ปีแล้ว ปัจจุบันมีเส้นทางการบิน กรุงเทพ-ซูริก กรุงเทพ-เวียนนา กรุงเทพ-มิวนิก นอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินช่วง Seasonal ฤดูหนาว มีภูเก็ต-ซูริค ผ่านสายการบินลูกด้วย

ปัจจุบันกลุ่มสายการบินลุฟท์ฮันซ่าโฟกัสเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มประสบการณ์การเดินทางของลูกค้า เช่น การลงทุนเพิ่มในชั้นโดยสาร มีการจัดที่นั่งให้เหมาะกับลูกค้า หรือแม้แต่ที่นั่งแบบ Economy ปรับเป็นที่นอนได้ การมีหลายฮับการบิน รวมถึงการปรับธุรกิจไปเป็นกลุ่มสายการบิน

กลับมาใช้ A380 บินจากกรุงเทพ-มิวนิก

กลุ่มผู้บริหารหญิงของกลุ่มสายการบินลุฟท์ฮันซ่า ได้กล่าวว่า ไทยถือเป็น 1 ใน 4 ฮับการบินที่ลุฟท์ฮันซ่านำเครื่องบิน Airbus รุ่น A380 กลับมาบินอีกครั้ง โดยทีมผู้บริหารได้กล่าวเสริมว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเติบโตของการบินอย่างมาก เมื่อเทียบกับเอเชียเหนือ

ทีมผู้บริหารหญิงยังกล่าวว่า ประเทศไทยเองถือเป็นฮับที่เชื่อมต่อของกลุ่มสายการบินด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสารจากฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย นอกจากนี้ยังมองถึงการเติบโตของชนชั้นกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากหลายประเทศที่สัดส่วนกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ไม่เพียงแค่นั้น ประเทศยังเป็นประเทศที่เป็นฮับไม่ใช่แค่การท่องเที่ยว แต่ยังเป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางด้านธุรกิจจึงเป็นโอกาสที่ทำให้สายการบินนำเครื่องบินลำยักษ์กลับมาให้บริการอีกครั้ง

เหตุผลที่กลุ่มสายการบินลุฟท์ฮันซ่าเลือกปลายทางเป็นสนามบินมิวนิก ทีมผู้บริหารหญิงได้ให้เหตุผลเพราะว่าเป็นสนามบินระดับ 5 ดาวของยุโรป และเชื่อมกับหลายเมืองในทวีปยุโรป รวมถึงใช้เวลาเชื่อมเที่ยวบินแค่ 30 นาทีเท่านั้น

ขณะเดียวกันการนำเครื่องบิน Airbus A380 นำกลับมาบินอีกครั้ง ยังทำให้กลุ่มสายการบินมีชั้นโดยสารให้บริการทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น First Class จนไปถึงชั้น Economy ซึ่งมีที่นั่งรวม 509 ที่นั่ง และเริ่มบิน 29 ตุลาคม โดยมีเที่ยวบินทุกวัน

Airbus A380 ที่สายการบินเตรียมนำกลับมาใช้งานในเที่ยวบินกรุงเทพ-มิวนิก (ภาพจาก Lufthansa)

ความท้าทายของสายการบิน

ทีมผู้บริหารหญิงของสายการบินได้กล่าวถึงความท้าทายของสายการบินคือ ปัญหาของ Supply Chain ซึ่งกลุ่มสายการบินฯ เจอปัญหาดังกล่าวเหมือนกัน ปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการให้การบริการ ปัญหาอีกเรื่องคือการดึงเจ้าหน้าที่กลับมาทำงานอีกครั้ง หลายปัญหาในปัจจุบันถือว่าดีขึ้นมาก

ขณะเดียวกันปัญหาในการนำเครื่องบินแต่จอดไว้กลับมาใช้งานนั้น ทีมผู้บริหารหญิงกล่าวว่าใช้เวลาในการนำเครื่องบินกลับมาใช้งานอีกครั้งแต่ละลำใช้ระยะเวลาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการนำเครื่องบินไปจอดทิ้งไว้ หรือแม้แต่การตรวจสอบของเครื่องบินที่ใช้เวลาไม่เท่ากัน

นอกจากนี้กลุ่มสายการบินลุฟท์ฮันซ่ายังมีแผนทื่จะเปลี่ยนเครื่องบิน ซึ่งแผนดังกล่าวอยู่ในงบลงทุน 2,500 ล้านยูโร ทีมผู้บริหารหญิงของกลุ่มสายการบินได้กล่าวว่า การเผาผลาญเชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับเครื่องบินรุ่นเก่า

ไม่เพียงเท่านี้กลุ่มสายการบินเปลี่ยนน้ำมันที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม (SAF) แต่ทั่วโลกผลิตได้แค่ 0.1% เท่านั้น ซึ่งสายการบินกำลังทำงานร่วมกับหลายภาคส่วน เพื่อที่จะผลิตน้ำมันชนิดดังกล่าวให้ได้มากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันผู้บริหารของกลุ่มสายการบินลุฟท์ฮันซ่า ได้กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มสายการบินยังไม่มีแผนที่จะยกเลิกการใช้เครื่องบินหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น Boeing รุ่น 747 หรือแม้แต่ Airbus รุ่น A380 โดยจะใช้งานไปก่อน อย่างไรก็ดีขึ้นอยู่กับ Supply Chain และผู้ผลิตเครื่องบิน ซึ่งปัจจุบันทุกๆ 10 วัน สายการบินต้องตรวจรับเครื่องบินลำใหม่

สำหรับปัญหาค่าตั๋วที่มีราคาเพิ่มขึ้น ผู้บริหารหญิงของกลุ่มสายการบินลุฟท์ฮันซ่า กล่าวว่าเนื่องจากเพราะคนต้องการบินเยอะ ขณะเดียวกันปัญหาที่พบคือเครื่องบินไม่พอ และยังมีปัญหาราคาน้ำมันเครื่องบินที่แพงขึ้น รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อด้วย

โดยทีมผู้บริหารได้กล่าวถึงความมั่นใจกับลูกค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่ามีความต้องการเดินทางสูงมาก ซึ่งส่งผลทำให้สายการบินมีความมั่นใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศไทย ในการนำเครื่องบินรุ่นดังกล่าวกลับมาบินในเส้นทางดังกล่าวอีกครั้ง

]]>
1449604
“การบิน” เริ่มฟื้น! ยอดจองตั๋ว Lufthansa เข้าสหรัฐฯ-ยุโรปโต 300% คนแห่เที่ยวฤดูร้อน https://positioningmag.com/1333005 Wed, 19 May 2021 12:12:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333005 ข่าวดีของวงการธุรกิจการบิน “Lufthansa” สายการบินใหญ่จากเยอรมนีเปิดข้อมูลยอดจองตั๋วข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกสู่สหรัฐฯ กลับมาโต 300% หลังทั้งสองพื้นที่ฉีดวัคซีนให้ประชากรไปแล้วจำนวนมาก คาดเกิดจากดีมานด์ท่องเที่ยวต่างประเทศช่วงฤดูร้อน

Lufthansa แถลงเมื่อวันอังคารที่ 18 พ.ค. 2021 ว่า ดีมานด์การจองเที่ยวบินไปสหรัฐฯ และภายในยุโรปทะยานสูงขึ้น หลังจากระเบียบการท่องเที่ยวของเยอรมนีเริ่มผ่อนคลาย และจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเริ่มลดลง

ดีมานด์เที่ยวบินของ Lufthansa ไปนิวยอร์ก ไมอามี และลอสแอนเจลิส เติบโตขึ้นถึง 300% ทำให้บริษัทเตรียมเพิ่มเที่ยวบินตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้ และจะเริ่มกลับไปบริการเที่ยวบินสู่ออร์แลนโดและแอตแลนตา

รวมถึงเที่ยวบินไปยังเมืองท่องเที่ยวตากอากาศช่วงหน้าร้อนในยุโรป เช่น กรีซ อิตาลี สเปน โปรตุเกส ก็มียอดจองเพิ่มขึ้น 3 เท่าเช่นกัน ทำให้บริษัทจะใช้สายการบิน Eurowings ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำในเครือ รุกตลาดเพิ่มเที่ยวบินอีก 500 ไฟลต์ไปยัง ปัลมาเดมายอร์กา, อิบิซา และกรีซ และพร้อมที่จะขยายเที่ยวบินเพิ่มอีกหากเห็นดีมานด์ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง

“เพราะการเดินทางทางอากาศข้ามระหว่างสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เริ่มเห็นสัญญาณความสำคัญตามเศรษฐกิจระดับโลก เราจึงจำเป็นต้องมีภาพที่ชัดเจนว่า การบินระหว่างสหรัฐฯ กับยุโรปจะกลับมาอย่างไรด้วยปริมาณเที่ยวบินที่มากขึ้น” แฮร์รี่ โฮเมสเตอร์ หนึ่งในคณะกรรมการบริษัทกล่าว

นิวยอร์ก จุดหมายท่องเที่ยวฤดูร้อนยอดนิยมของคนเยอรมัน หลังจากวิกฤตโรคระบาดเริ่มคลี่คลาย

จำนวนผู้ติดเชื้อที่ลดลงและจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วที่เพิ่มขึ้น น่าจะทำให้การเดินทางสองฝั่งแอตแลนติกยิ่งเพิ่มมากขึ้น โฮเมสเตอร์จึงร้องขอให้รัฐบาลเยอรมนีเริ่มวางแผนให้ชัดเจนในการกระตุ้นการเดินทาง

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเยอรมันกำลังพิจารณายกเลิกการกักตัวให้กับชาวเยอรมันที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ หากบุคคลนั้นได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว

ส่วนการทำ “วัคซีนพาสปอร์ต” แบบดิจิทัลสำหรับทั้งสหภาพยุโรปยังไม่เสร็จสิ้น และคาดว่าจะออกมาได้อย่างเร็วที่สุดคือช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ หลังจากนั้น การเดินทางท่องเที่ยวภายในยุโรปเองน่าจะคล่องตัวมากขึ้น (อ่านเพิ่มเติม : EU เสนอใช้ ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ กระตุ้นท่องเที่ยวเเบบปลอดภัยทั่วยุโรป ลุ้นเปิดตัวภายใน 3 เดือนนี้)

ขณะที่การเดินทางเข้าเยอรมนีของนักท่องเที่ยวจากนอกสหภาพยุโรปจะเป็นอย่างไร ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน

สำหรับสายการบิน Lufthansa ได้รับงบปประมาณจากรัฐบาลเยอรมนี 9 พันล้านยูโร (ประมาณ 3.45 แสนล้านบาท) เมื่อปีก่อน ทำให้บริษัทยังพยุงตัวอยู่ได้ท่ามกลางวิกฤต

Source

]]>
1333005
ธุรกิจการบินฟื้นยาก Lufthansa เตรียมปลดพนักงาน 29,000 คน ภายในสิ้นปีนี้ https://positioningmag.com/1309304 Sun, 06 Dec 2020 11:21:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309304 สายการบินใหญ่ที่สุดของเยอรมนีอย่าง “Lufthansa” (ลุฟท์ฮันซ่า) ฝ่ามรสุม COVID-19 เตรียมปลดพนักงานกว่า 29,000 คนภายในปีนี้ สะท้อนความยากลำบากของอุตสาหกรรมการบินที่ไม่มีทางจะฟื้นตัวง่ายๆ

หนังสือพิมพ์ Bild am Sonntag รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวว่า สายการบินมีเเผนจะปลดพนักงานครั้งใหญ่ 29,000 คน ภายในสิ้นปี 2020 นี้ เเละจะปลดพนักงานในเยอรมนีอีกกว่า 10,000 คน ในปี 2021

แผนดังกล่าวจะทำให้บริษัทมีพนักงานเหลือราว 1.09 แสนคน จากเดิมในปี 2019 มีพนักงานอยู่ราว 1.39 แสนคน

การตัดสินใจลนต้นทุนครั้งนี้ มีขึ้นหลังมีการประเมินว่า การเดินทางทางอากาศจะยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเท่าช่วงก่อนการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เเละจะกระทบยาวไปจนถึงปี 2025

สายการบิน Lufthansa และบริษัทในเครือ เช่น Eurowings, Swiss, Austrian และ Brussels Airlines ได้ทยอยลดตารางเที่ยวบินและลดจำนวนพนักงานลง พร้อมกับการเตรียมขายธุรกิจ Catering บริการจัดเลี้ยงอย่าง LSG ที่มีพนักงานกว่า 7,500 คนออกไปด้วย โดยสายการบินยังใช้เงินสนับสนุน 3,000 ล้านยูโรที่รัฐบาลเยอรมนีช่วยเหลือในวิกฤต COVID-19 หมดไปแล้ว

Carsten Spohr ซีอีโอของ Lufthansa เปิดเผยเมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า บริษัทให้คำมั่นกับสหภาพแรงงานว่าจะพยายามไม่ลดค่าใช้จ่ายที่ซับซ้อนกว่าเดิม เพื่อเเลกกับการลดโบนัส และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 

ทั้งนี้ การประกาศปรับโครงสร้างพนักงานครั้งนี้ คาดว่าจะมีการเปิดเผยรายละเอียดอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 .นี้

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1309304
รัฐบาลเยอรมนีบรรลุข้อตกลงทุ่ม 3.1 แสนล้าน ชุบชีวิต “ลุฟท์ฮันซ่า” สายการบินแห่งชาติ https://positioningmag.com/1280580 Tue, 26 May 2020 04:07:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280580 เยอรมนีมอบสายหล่อเลี้ยงชีวิตแก่ลุฟท์ฮันซ่า สายการบินแห่งชาติ ด้วยการอนุมัติเงินช่วยเหลือ 9,000 ล้านยูโร (310,000 ล้านบาท) แลกกับสิทธิ์วีโต้ในกรณีที่ต้องเผชิญกับการยื่นซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตรเข้ามา

ถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือบริษัทเยอรมนีครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตไวรัส COVID-19 แพร่ระบาด จะได้เห็นรัฐบาลเข้าถือหุ้นของสายการบินลุฟท์ฮันซ่า 20% และอาจเพิ่มเป็น 25% กับอีก 1 หุ้น ในกรณึที่มีความพยายามเข้ามาเทกโอเวอร์ และในเรื่องการลดการจ้างงานหลายพันอัตรา

รัฐบาลจะซื้อหุ้นใหม่ในราคา 2.56 ยูโร/หุ้น รวมเป็นเงิน 300 ล้านยูโร แต่ข้อตกลงดังกล่าวจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น และคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เสียก่อน

ลุฟท์ฮันซ่า ติดหล่มอยู่ในการเจรจากับรัฐบาลเยอรมนีมานานหลายสัปดาห์ เกี่ยวกับเงินช่วยเหลือที่จำเป็นสำหรับความอยู่รอดท่ามกลางแนวโน้มอุปสงค์ด้านการเดินทางดำดิ่งเป็นเวลานาน โดยประเด็นสำคัญที่พูดคุยกันคือ สายการบินแห่งนี้จะยอมให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมมากน้อยแค่ไหน เพื่อแลกกับการสนับสนุนทางการเงิน

รัฐบาลกลางของเยอรมนีใช้เวลานานหลายทศวรรษในการปล่อยหุ้นที่ถือครองในบริษัทต่างๆ แต่พวกเขาก็ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในอดีตกิจการต่างๆ ที่ผูกขาดโดยรัฐ อาทิ ดอยช์ โพสต์ (บริษัทไปรษณีย์) และ ดอยช์ เทเลคอม (ธุรกิจโทรคมนาคม) นอกจากนี้แล้วเบอร์ลินยังคงถือครองหุ้น 15% ในธนาคารคอมเมิร์ซแบงก์ด้วย ซึ่งเข้าถือครองระหว่างวิกฤตการเงินโลก

นอกจากลุฟท์ฮันซ่าแล้ว สายการบินอื่นๆ อย่าง แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม ซึ่งเป็นสายการบินสัญชาติฝรั่งเศส กับ เนเธอร์แลนด์, อเมริกัน แอร์ไลน์ส, ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ส และ เดลตา แอร์ไลน์ส 3 สายการบินสัญชาติสหรัฐฯ ก็ต้องการเงินช่วยเหลือจากภาครัฐเช่นกัน หลังวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางทั่วโลก

กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ลุฟท์ฮันซ่าเคยเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งและมีกำไร เช่นเดียวกับมีแนวโน้มการดำเนินงานที่ดี แต่สายการบินแห่งนี้ต้องดิ่งเข้าสู่ปัญหาสืบเนื่องจากโรคระบาดใหญ่

ลุฟท์ฮันซ่าเปิดเผยว่า เงื่อนไขของการรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ยังรวมถึงการงดจ่ายเงินปันผล และลดค่าตอบแทนสำหรับฝ่ายบริหาร นอกจากนี้ รัฐบาลจะส่งเจ้าหน้าที่ 2 รายเข้าร่วมคณกรรมการดูแลบริษัท ซึ่งหนึ่งในนั้นจะเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบ

อย่างไรก็ตาม เยอรมนีจัดตั้งเงินทุน 100,000 ล้านยูโร สำหรับเข้าถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เผยว่า มีแผนจะขายหุ้นลุฟท์ฮันซ่าออกไปในช่วงปลายปี 2023 เมื่อบริษัทแห่งนี้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง

Source

]]>
1280580