Mega Bangna – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Feb 2024 05:22:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะแผน ‘เมกา บางนา’ จะเพิ่มทราฟฟิกอย่างไรหลังทำ New High และมี ‘ห้างฯ ใหม่’ มาท้าชน https://positioningmag.com/1461615 Tue, 06 Feb 2024 04:25:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461615 นับตั้งแต่เปิดตัวไปครั้งแรกในช่วงเดือนพฤษภาคม 2555 ปัจจุบัน เมกา บางนา (Mega Bangna) ก็ให้บริการมา 11 ปีเต็ม โดยมีจำนวนลูกค้ามากกว่า 550 ล้านคน แม้ว่าโควิดจะทำให้เมกา บางนาสะดุดไปบ้าง แต่ในปีที่ผ่านมา ทางศูนย์ฯ ก็สามารถเพิ่มจำนวนทราฟฟิกสู่ระดับ New High ได้ คำถามคือ ไม่ใช่แค่รักษาระดับทราฟฟิก แต่จะดันให้เติบโตได้อย่างไร

New High 53 ล้านคน

ในช่วงก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 เมกาบางนา (Mega Bangna) มียอดทราฟฟิกปีละประมาณ 50 ล้านคน แต่ในปี 2566 นี้ วรรณวิมล อรดีดลเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ศูนย์การค้าเมกา บางนา เล่าว่า จำนวนทราฟฟิกเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ราว 10% อยู่ที่ 53 ล้านคน ซึ่งทำสถิติ New High โดยเฉลี่ยแล้วมีทราฟฟิกประมาณเดือนละ 4.4 ล้านคน โดยในวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) มีลูกค้าเฉลี่ยกว่า 1.2 แสนคนต่อวัน และมากกว่า 2.2 แสนคนต่อวัน ในวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยลูกค้า

  • 81% มาเพื่อทานอาหาร
  • 32% ช้อปปิ้งสินค้าไลฟ์สไตล์
  • 23% ซื้อของตกแต่งบ้าน

ที่น่าสนใจคือ 53% ของลูกค้ามาเป็น ครอบครัว นอกจากนี้ 40% ของลูกค้ายังมี สัตว์เลี้ยง อีกด้วย

เฟิร์สจ็อบเบอร์ เป้าหมายเพิ่มทราฟฟิก 10%

วรรณวิมล ยอมรับว่า การที่เมกา บางนาทำยอด New High ไปในปีที่ผ่านมา ปีนี้จึงถือเป็นความท้าทายว่าจะทำให้จำนวนทราฟฟิกของศูนย์ เติบโต 10% ตามเป้าอย่างไร อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์ฯ มองว่า กลุ่มผู้สูงวัยและคนรักสัตว์ ถือเป็น 2 กลุ่มที่มีการเติบโตอย่างมาก อีกทั้งยังมีการใช้จ่ายที่สูง ทำให้ศูนย์ฯ ต้องการจะสร้างคอมมูนิตี้ของ 2 กลุ่มนี้เพื่อ สร้างความผูกพัน ทำให้มาบ่อยขึ้น และกลุ่มที่อยากเพิ่มจำนวนก็คือ นักศึกษา-เฟิร์สจ็อบเบอร์ ที่ปัจจุบันมีสัดส่วน 22%

“กลุ่มผู้สูงวัยและคนรักสัตว์เราเห็นศักยภาพด้านกำลังการใช้จ่าย เพราะคนที่มีสัตว์เลี้ยงเขายอมจ่าย ส่วนกลุ่มผู้สูงวัยเขาไม่ได้มีภาระ แต่มีเงินพร้อมใช้จ่าย ซึ่งเราไม่ได้หวังว่าจำนวนจะเพิ่มขึ้น แต่ต้องการเพิ่มความใกล้ชิด ส่วนที่เราอยากเพิ่มคือกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยและเฟิร์สจ็อบเบอร์”

ปัจจุบัน นอกเหนือจากเมกา บางนาแล้ว ฝั่งของ IKEA เป็น Pet friendly โดยอนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปได้

ทุ่มงบการตลาด 200 ล้านจัดอีเวนต์

หนึ่งในจุดที่ วรรณวิมล จะใช้สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าก็คือ งานอีเวนต์ ซึ่งแต่ละปีเมกา บางนาจะจัดอีเวนต์เฉลี่ย 13 ครั้ง หรือเฉลี่ยราวเดือนละครั้ง และในปีนี้ศูนย์ฯ วางงบส่วนนี้ไว้ 200 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากปีที่ผ่านมา โดยจำนวนอีเวนต์จะเท่าเดิมแต่จะจัดใหญ่ขึ้น ซึ่งภายใน 13 อีเวนต์นี้ จะเป็น 5 งานซิกเนอเจอร์ของทางศูนย์ฯ ที่เหลือจะเป็นอีเวนต์ตามเทศกาล

“แม้เราจะต้องการจับกลุ่มผู้สูงวัย แต่คาแรกเตอร์ของเราจะต้องมีความทันสมัยตลอดเวลา และมีความเป็นไลฟ์สไตล์มากขึ้น อย่างช่วงสงกรานต์เราจะใช้เป็นอีเวนต์สำหรับกลุ่มผู้สูงวัยหรือกลุ่มครอบครัว ในส่วนของกลุ่มคนรักสัตว์เราก็จะมีงาน Mega Pets Day และมีสวนให้พาน้อง ๆ เดินเล่น”

นอกจากนี้ การสื่อสารของเมกา บางนาจะยังทำทั้งภายในศูนย์ฯ และบนโซเชียลมีเดีย โดยปีนี้จะเพิ่มแพลตฟอร์ม TikTok ในการสื่อสารกับลูกค้า เพราะพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลของลูกค้าแพลตฟอร์มไม่เหมือนกัน

เพิ่มแบรนด์ไลฟ์สไตล์มากขึ้น

ในส่วนของร้านภายในเมกา บางนามีการเช่าเต็มพื้นที่รวมแล้ว 900 ร้าน โดยแบ่งเป็น ร้านอาหาร 30% สินค้าแฟชั่น 40% และร้านสินค้าไลฟ์สไตล์และเซอร์วิส 30% วรรณวิมล เล่าว่า ปีที่ผ่านมา ทางศูนย์ได้มีร้านที่ใหม่ อาทิ แฟลกชิปสโตร์ของ Nike, New Balance และร้าน Gentle Women มาเปิดใหม่ โดยทั้งหมดต่างเป็นแบรนด์ที่อยู่ในกระแสและเป็นที่นิยมของกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น ในส่วนของร้านอาหารก็มีแบรนด์ใหม่ ๆ เช่นกัน อาทิ Sushi Seki, Ampersand, Minimelts, Toro Fries และถ้วยถัง นอกจากนี้ ส่วนต่อขยายของเซ็นทรัลก็เพิ่งเปิดไปช่วงปลายเดือนที่แล้ว

โดยในปีนี้เมกา บางนาก็มีแผนจะดึงร้านเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์และร้านอาหารมาเปิดใหม่ โดยจะเห็นความชัดเจนช่วงไตรมาส 2 ของปี

“เรามองว่าสัดส่วนของร้านในศูนย์ฯ จะไม่ได้เปลี่ยนแต่มีความวาไรตี้มากขึ้น ซึ่งเราเชื่อว่าเรามีสิ่งที่ตรงใจลูกค้า”

เพิ่มสมาชิก MEGA SMILE REWARDS 10%

สำหรับลอยัลตี้โปรแกรมของเมกา บางนา ก็คือ เมกา สไมล์ รีวอร์ดส (MEGA SMILE REWARDS) ที่เปิดตัวในปี 2019 ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 3.6 แสนคน แอคทีฟประมาณ 35% โดยสมาชิกมียอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จอยู่ที่ 4,500 บาทขึ้นไป โดยในปีนี้ เมกาบางนาตั้งเป้าเพิ่มสมาชิกและยอดใช้จ่ายอีก 10%

จุดที่จะดึงดูดให้ลูกค้าเป็นสมาชิกมากขึ้นก็คือ ได้แต้ม 2 ต่อ โดยนอกจากจะนำใบเสร็จสะสมคะแนนกับร้านค้าที่ซื้อ จากนี้จะสามารถนำมาสะสมกับ Mega Smile Reword ได้ด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถเปลี่ยนแต้มในแพลตฟอร์มพันธมิตรได้ ปัจจุบันมีเมกาบางนามีพาร์ตเนอร์ 2 ราย ได้แก่ ปตท. และ The 1

Mega Smile Reword ช่วยให้เรารู้ได้ว่ากลุ่มลูกค้าเราเป็นใคร อายุเท่าไหร่ ใช้จ่ายมากแค่ไหน ซื้ออะไร และชอบแลกแต้มกับอะไร โดยเรามีตั้งแต่ของกิน ส่วนลด หรือสิทธิประโยชน์จากร้านค้าที่ร่วมรายการ

ไม่เคยจำกัดว่าเป็น Mid-Tier!

วรรณวิมล ทิ้งท้ายว่า ศักยภาพของเมกาบางนายังไปได้อีกมาก โดยดูจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของพื้นที่แถบนี้ (โซนกรุงเทพฯ ตะวันออก) สะท้อนได้จากการเข้ามาของคู่แข่ง (แบงค็อก มอลล์ ของกลุ่มเดอะมอลล์) พร้อมย้ำว่า เมกา บางนาไม่เคยบอกว่าดีไซน์มาเป็น Mid-Tier หรือ Upper Tier และเชื่อว่าที่ศูนย์ฯ มีสินค้าที่หลากหลายและค่อนข้างครบ รวมถึงสินค้าแบรนด์ลักชัวรี่ ดังนั้น ต่อให้เป็นกลุ่มที่มี่กำลังซื้อสูงก็มีสินค้าที่ตอบโจทย์

“ตอนนี้เขามองว่าไม่ต้องเข้าเมืองก็ได้ เพราะที่นี่มีหมด และยอดใช้จ่ายก็ไม่น้อยหน้าในเมืองเลยแม้โลเคชั่นเราจะอยู่ในสมุทรปราการ และลูกค้าเราก็ไม่ได้มีแค่คนสมุทรปราการ แต่มีคนในเมืองด้วย”

]]>
1461615
อินไซต์ ‘เมกา บางนา’ หลังทำสถิติ New High ในปี 2566 https://positioningmag.com/1461610 Tue, 06 Feb 2024 03:40:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461610 1461610 “เมกาบางนา” ผู้บุกเบิกศูนย์การค้า Low Rise กับการสยายปีกสู่อาณาจักร “เมกาซิตี้” https://positioningmag.com/1384893 Wed, 11 May 2022 08:44:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1384893 เมกาบางนากับการทำตลาดมาแล้ว 10 ปี ยึดครองหัวหาดศูนย์การค้าย่านบางนา-ตราด ผู้บุกเบิกศูนย์การค้าโมเดล Low Rise มีแค่ 2 ชั้น พร้อมอัปเดตแผนการพัฒนาสู่อาณาจักร “เมกาซิตี้” ภายใต้ผู้ถือหุ้นใหญ่คนใหม่ “เซ็นทรัลพัฒนา” ยืนยันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอะไร ปรับตามเทรนด์ของตลาด

เปิดตำนาน 10 ปี เมกาบางนา

ถ้าพูดถึงภาพจำของศูนย์การค้าในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นตึกใหญ่ มีจำนวนหลายชั้น ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เพื่อเดินทางได้สะดวก มีร้านค้า และบริการที่ครบครัน จะเห็นว่าเจ้าของโครงการใหญ่ล้วนมีรูปแบบนี้ทั้งสิ้น หลังจากนั้นก็เริ่มมีเทรนด์ของ “คอมมูนิตี้ มอลล์” เป็นเหมือนไลฟ์สไตล์มอลล์ มีร้านอาหาร และบริการ เน้นโลเคชั่นในชุมชน ส่วนใหญ่มีรูปแบบเอาต์ดอร์ มีจำนวนชั้นไม่เยอะ และมีพื้นที่ไม่ใหญ่มาก

จนเมื่อโครงการ “เมกาบางนา” ได้เกิดขึ้นในปี 2555 ถือว่าเป็นศูนย์การค้าในโมเดล Low Rise แห่งแรกในไทย หรือเป็นศูนย์การค้าแนวราบ มีแค่ 2 ชั้น จากปกติศูนย์การค้าในไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบ High Rise มีจำนวนชั้นเฉลี่ย 4-7 ชั้น เพื่อให้มีบริการ และร้านค้าครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งยังก่อสร้างให้คุ้มทุนกับค่าที่อีกด้วย

megabangna

เมกาบางนาบริหารงานโดย บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด มี 3 ผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็คือ บริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SF ในเครือ เซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN, บริษัท อิคาโน่ รีเทล เอเชีย จำกัด ผู้ถือสิทธิ์ IKEA ประเทศไทย และบริษัท เอส.พี.เอส. โกลเบิลเทรด จำกัด

โดยที่เมกาบางนามีพาร์ตเนอร์หลักที่อยู่ด้วยกันตั้งแต่ร่วมเปิดศูนย์ ได้แก่ อิเกีย, เซ็นทรัล, โฮมโปร, บิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า และเมเจอร์ ซินีเพล็กซ์ ล้วนเป็นผู้เล่นค้าปลีกรายใหญ่ในไทย

ตอนแรก IKEA ได้เปิดให้บริการก่อนในเดือน พ.ย. 2554 และเมกาบางนาเปิดให้บริการในเดือน พ.ย. 2555 สร้างความฮือฮาด้วยความเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ แต่เดิมมีพื้นที่รวม 400,000 ตารางเมตร ปัจจุบันได้เพิ่มเป็น 577,000 ตารางเมตร แต่ได้สร้างเป็นโมเดล Low Rise เพราะมีพื้นที่ใหญ่

พลินี คงชาญศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด

พลินี คงชาญศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด เริ่มเล่าให้ฟังว่า

“รูปแบบศูนย์การค้าแบบ Low Rise เริ่มมาจากทางยุโรป ส่วนใหญ่จะสร้างในโซนนอกเมือง ค่าที่ไม่แพงมาก เราก็เห็นว่าศูนย์การค้าในไทยมีแต่สูงๆ เดินขึ้นเรื่อยๆ มันไม่ค่อยสนุก แรกๆ ที่เริ่มเปิดหลายคนก็เดินแบบ Low Rise ไม่เป็น เพราะต้องเดินรอบๆ แต่เทรนด์ก็เริ่มเปลี่ยน การเดินรอบสนุกกว่า ไม่มีหลง และไม่มี Dead End ศูนย์การค้าตึกสูงๆ จะมีจุดที่ชั้นบนๆ คนจะเดินขึ้นไม่ถึง แต่เมกาบางนาสามารถเดินถึงทุกมุม”

ทิศทาง “เมกาซิตี้” หลัง CPN เข้าถือหุ้นใหญ่

การเปิดของเมกาบางนาเรียกว่าสร้างแรงกระเพื่อมในวงการค้าปลีกไม่น้อย ว้าวแรกคือการได้พาร์ตเนอร์ใหม่อย่าง IKEA ที่เปิดสาขาแรกในไทย ว้าวที่สองคือ ศูนย์ฯ นี้ตั้งอยู่ในทำเลที่รายล้อมด้วยหมู่บ้านจัดสรรมากมาย จับกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่ในละแวกนี้ได้อย่างดี เพราะในโซนนี้ยังไม่มีศูนย์การค้าใหญ่ขนาดนี้ มีเพียงแค่เซ็นทรัล บางนา ก็ต้องยอมรับว่ายังยิ่งใหญ่ไม่พอที่จะดึงดูดผู้บริโภคได้

แต่แค่เมกาบางนายังไม่อลังการมากพอ อีกทั้งยังมีพื้นที่เหลืออยู่ถมเถ พร้อมกับแผนการลงทุนของแบงค็อก มอลล์ (Bangkok Mall) ของเดอะมอลล์กรุ๊ป ที่จะมาตอกเสาเข็มย่านบางนา-ตราดเช่นกัน เตรียมสร้างเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในไทย ด้วยพื้นที่ 100 ไร่ งบลงทุนระดับ 50,000 ล้านบาท เป็นการหายใจรดต้นคอไม่น้อย

Megabangna foodwalk
Photo : Shutterstock

ทำให้เมกาบางนาอยู่นิ่งไม่ได้ จึงต้องขยายจากแค่ศูนย์การค้าอย่างเดียว เป็นบิ๊กโปรเจกต์ Mixed-use ด้วยชื่อ “เมกาซิตี้” ได้เริ่มเปิดตัวตั้งแต่ปี 2560 ด้วยงบลงทุน 67,000 ล้านบาท พร้อมกับลงทุนขยาย “เมกา ฟู้ดวอล์ค ศูนย์รวมร้านอาหารดัง มีพื้นที่รวม 10,000 ตารางเมตร ตึกสูง 4 ชั้น ใช้งบลงทุน 2,000 ล้านบาท

เมกาซิตี้มีเนื้อที่รวม 400 ไร่ เป็นโครงการระยะยาวแบ่งการพัฒนาเป็นหลายเฟส ปัจจุบันใช้ไปแล้ว 300 ไร่ เปิดให้บริการไปแล้วราว 40% เหลือพื้นที่อีก 100 ไร่ ตามแผนโครงการจะประกอบไปด้วย พื้นที่สำหรับอยู่อาศัย โรงแรม สำนักงาน แหล่งช้อปปิ้ง โรงเรียน และพื้นที่ไลฟ์สไตล์ โดยมีเมกาบางนาเป็นศูนย์กลาง

คาดว่าหากโครงการเสร็จสมบูรณ์จะทำให้มีผู้เข้ามาใช้บริการในโครงการเมกาซิตี้ และเมกาบางนาถึงวันละ 250,000 คน จากปกติมีทราฟฟิกเฉลี่ยวันละ 150,000 คน

ปัจจุบันเมกาซิตี้มีการพัฒนาไปแล้วกว่า 40% ได้แก่

  • ส่วนต่อขยายเมกา ฟู้ดวอล์ค มาพร้อมกับที่จอดรถ 1,200 คัน และร้านอาหารเพิ่มกว่า 30 ร้าน
  • อาคารจอดรถอิเกีย 8 ชั้น เชื่อมต่อกับตึกเดิมของอิเกียที่รองรับรถได้เพิ่มถึง 2,000 คัน ซึ่งทำให้ปัจจุบันเมกาบางนาสามารถรองรับรถได้ครั้งละถึง 12,000 คัน
  • ส่วนต่อขยายโซนเมกา สมาร์ท คิดส์ แหล่งรวมสถาบันสอนเสริมทักษะกว่า 20 แห่ง
  • Mega Harborland สนามเด็กเล่นในร่มขนาดใหญ่
  • สวนสาธารณะเมกาพาร์ค, โรงเรียนประถมศึกษานานาชาติ ดิษยะศริน กรุงเทพ และคอนโดมิเนียม 2 โครงการ
  • TOPGOLF (ท็อปกอล์ฟ) โครงการที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ พร้อมเปิดให้บริการในไตรมาส 3 ปี 2565

ท็อปกอล์ฟ

หลายคนก็สงสัยว่า หลังจากที่ทาง “เซ็นทรัลพัฒนา” หรือ CPN ได้เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ หรือ SF ในสัดส่วนถึง 96.24% ซึ่งได้เพิ่งปิดดีลไปเมื่อเดือน ต.ค. 2564 จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างกับเมกาบางนา หรือเมกาซิตี้หรือไม่

พลินี บอกว่า ตอนนี้ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ทำให้รู้สึกกังวล CPN เข้ามาซัพพอร์ตไอเดีย เพื่อทำให้สำเร็จเร็วขึ้นด้วยซ้ำ ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงคงจะเป็นเรื่องของแผนการพัฒนาโครงการในเมกาซิตี้ จากเดิมจะมีสำนักงาน 2 ตึก แต่เทรนด์ตอนนี้เริ่มเปลี่ยนไป หลายที่ Work from Home ไม่มาเช่าออฟฟิศ อาจจะมีการเปลี่ยนแผน หรือเปลี่ยนเป็นโครงการอื่นๆ แทน

Photo : Shutterstock

พลินี เสริมอีกว่า เมกาซิตี้ยังเหลือพื้นที่อีก 100 ไร่ คาดว่าจะเพิ่มโรงแรมได้ 3 โรงแรม จะเป็นอินเตอร์เชนทั้งหมด เป็น 3 เทียร์ เพื่อจับลูกค้าหลายกลุ่ม อาจจะเพิ่มพื้นที่รีเทลได้อีก จากที่มีอยู่ 200,000 ตารางเมตร

“สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เมกาซิตี้ชะงักไปบ้าง เพราะพาร์ตเนอร์ต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาดูโครงการได้ ตอนนี้คุยเรื่องโรงแรมเป็นหลัก คาดจะเพิ่มอีก 3 โรงแรม แตกต่างกันหลายกลุ่ม ตอนนี้ก็ศึกษากลุ่มลักชัวรี่เพิ่มเติม เพราะยังเป็นส่วนที่ขาดในโครงการ แต่ต้องดูว่ามีโอกาสอย่างไร พร้อมหรือไม่ด้วย”

ขอเทียบเท่า “เซ็นทรัลเวิลด์” ดึงคนไม่ต้องเข้าเมือง

แม้ว่าการเป็นศูนย์การค้านอกเมืองของเมกาบางนา จะไม่ได้กลุ่มลูกค้าที่อยู่ในเมืองมากนัก เพราะกลุ่มเป้าหมายหลักก็คือชุมชนในละแวกบางนา-ตราด แต่ด้วยเทรนด์ของการขยายเมือง ทำให้ประชากรออกมาอยู่อาศัยนอกเมืองมากขึ้น ผู้คนในละแวกนี้จึงมีกำลังซื้อสูง

และด้วยความที่มีพื้นที่ใหญ่ ทำให้เป็นตัวเลือกเบอร์ต้นๆ ของการขยายสาขาในโมเดล “แฟลกชิพสโตร์” จะสังเกตได้ว่า ร้านอาหาร หรือสินค้าแฟชั่น บริการต่างๆ จะเลือกเปิดสาขาแฟลกชิพสโตร์ที่มีพื้นที่ใหญ่ ไปกับศูนย์การค้าใหญ่ๆ นอกเมืองทั้งสิ้น นอกจากจะได้พื้นที่เยอะแล้ว ยังจับกลุ่มลูกค้าละแวกนั้นด้วย

ikea megabangna
Photo : Shutterstock

“ย้อนไป 10 ปีก่อน เมกาบางนาคือศูนย์การค้าระดับแมส มีร้านอาหารแบบที่ทุกคนมี แต่ตอนนี้เป็นมอลล์ไลฟ์สไตล์มากขึ้น มีร้านอาหารใหม่ๆ แฟชั่น ความงามใหม่ๆ เพื่อดึงคนไม่ต้องเข้าเมืองแล้ว มีทุกอย่างให้ครบ เรามองโมเดลเทียบเท่าเซ็นทรัลเวิลด์ ลูกค้ามีกำลังซื้อ และอยากทำให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์ต่างๆ เหมือนกับที่เซ็นทรัลเวิลด์มี”  

ทางศูนย์ได้ทำผลสำรวจ พบว่าค่าเฉลี่ยรายได้ของคนละแวกนี้อยู่ที่ 150,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง โดยในการมาศูนย์ฯ แต่ละครั้ง มียอดใช้จ่ายเฉลี่ย 3,500-4,000 บาท รวมทั้งร้านแฟชั่น และร้านอาหาร

ส่วนในช่วง COVID-19 มีรายได้ลดลงไป 30% มีทราฟฟิกผู้ใช้บริการลดลงนิดหน่อย แต่ยังดีที่กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนไทย 90% จึงไม่ได้กระทบมากนัก ปัจจุบันเมกาบางนามีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 150,000-160,000 คน มีทราฟฟิกรถยนต์วันละ 35,000 คัน

]]>
1384893
พร้อมเปิด Q3! “ท็อปกอล์ฟ” สนามไดรฟ์ผนวกความบันเทิง แม่เหล็กกิจกรรมแนวใหม่ย่านบางนา https://positioningmag.com/1377039 Thu, 10 Mar 2022 09:19:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377039 “ท็อปกอล์ฟ” อัปเดตความคืบหน้าการก่อสร้างสนามไดรฟ์กอล์ฟแนวใหม่ เปิดไตรมาส 3 ปีนี้ วางโมเดลธุรกิจและคอนเซ็ปต์สนามซ้อมพร้อมความบันเทิง เน้นการจัดกิจกรรม อีเวนต์ สังสรรค์กับเพื่อน-ครอบครัว เล็งลูกค้าองค์กรจัดทีมบิลดิ้ง ยังมั่นใจศักยภาพตลาดไทย พร้อมหาทำเลขยายเพิ่มอีก 1-2 สาขา

สนามไดรฟ์กอล์ฟ “ท็อปกอล์ฟ เมกาซิตี้” อัปเดตความคืบหน้าการก่อสร้างสนามบนพื้นที่ 29 ไร่ด้านหลังเมกา บางนา คาดเปิดให้บริการได้ภายในไตรมาส 3 ปีนี้ เลื่อนจากกำหนดเดิมราว 2 เดือนเนื่องจากการก่อสร้างชะลอระหว่างปิดแคมป์คนงานปีก่อน

“แอนดรูว์ นาธาน” กรรมการผู้จัดการ ท็อปกอล์ฟ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ “ทิม โบดา” ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ ท็อปกอล์ฟ ประเทศไทย สอดงผู้บริหารเป็นผู้ให้ข้อมูล โดยกล่าวถึงเชนสนามไดรฟ์กอล์ฟ “ท็อปกอล์ฟ” เป็นแบรนด์ที่เริ่มต้นในอังกฤษ แต่ประสบความสำเร็จอย่างสูงที่สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเปิดบริการกว่า 70 สาขาใน 7 ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ, อังกฤษ, เยอรมนี, ออสเตรเลีย, UAE และ “ไทย” จะเป็นประเทศที่ 8 ที่เปิดให้บริการ ถือเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ท็อปกอล์ฟ
“ทิม โบดา” ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ ท็อปกอล์ฟ ประเทศไทย และ “แอนดรูว์ นาธาน” กรรมการผู้จัดการ ท็อปกอล์ฟ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คอนเซ็ปต์ของท็อปกอล์ฟจะเน้นกีฬาผนวกความบันเทิง เหมาะเป็นสถานที่สังสรรค์ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ออกแบบบรรยากาศสนุกสนาน มีร้านอาหารและบาร์

ไฮไลต์อีกส่วนอยู่ที่ “ลูกกอล์ฟ” ซึ่งติดชิพ RFID และในสนามมีเซ็นเซอร์ตรวจจับ ทำให้หน้าจอสามารถแสดงผล simulator วิถีของลูกและจุดตกได้ชัดเจน พร้อมกับมี “เกม” กอล์ฟเข้ามาเสริมระหว่างตี ช่วยให้คนที่ไม่เคยมีประสบการณ์หรือเด็กๆ สนุกมากขึ้น

เหตุนี้ท็อปกอล์ฟจึงมีเป้าหมายดึงดูดลูกค้าทั้งนักกอล์ฟและที่ไม่ใช่นักกอล์ฟ โดยสถิติที่ผ่านมาท็อปกอล์ฟมีลูกค้า 51% ซึ่งไม่ได้เล่นกีฬานี้เป็นประจำ

ท็อปกอล์ฟ
สนามไดรฟ์กอล์ฟท็อปกอล์ฟ เปิดให้สื่อมวลชนเยี่ยมชมไซต์ระหว่างก่อสร้าง อนาคตบริเวณนี้จะเป็น Hitting Bay

สำหรับ ท็อปกอล์ฟ เมกาซิตี้ จะก่อสร้างเป็นอาคาร 4 ชั้น ภายในมี Hitting Bay ทั้งหมด 102 เลน (กระจายในพื้นที่ 3 ชั้น) รองรับแขกได้ 8 ท่านต่อเลน และมีสปอร์ตบาร์พร้อมจอทีวีขนาดยักษ์ ร้านอาหาร รูฟท็อปบาร์ รวมถึงห้องประชุมความจุ 180 คน ทำให้สนามพร้อมจัดงานประชุมสังสรรค์องค์กร งานทีมบิลดิ้ง อีเวนต์ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางได้

 

มั่นใจตลาด คนไทยรักการสังสรรค์

เหตุที่ท็อปกอล์ฟข้ามฟากโลกและเลือกเมืองไทยเป็นประเทศแรกของภูมิภาคนี้ที่เปิดตัว “ทิม โบดา” กล่าวว่า เหตุผลหลักๆ คือ ‘core value’ ของท็อปกอล์ฟที่ตรงกับลักษณะของคนไทย สนามไดรฟ์กอล์ฟแบรนด์นี้ต้องการสร้าง “ความสนุก” และ “ความใส่ใจ” สอดคล้องกับคนไทยที่ชื่นชอบการสังสรรค์ รักความสนุกสนานจากการทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงมีความใส่ใจห่วงใยคนรอบข้าง

อีกเหตุผลหนึ่งคือ เมืองไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักกอล์ฟในภูมิภาคนี้อยู่แล้ว ทำให้มีฐานลูกค้าที่เป็นเป้าหมาย เชื่อว่าการเปิดในไทยจะประสบความสำเร็จได้

บรรยากาศเน้นความสนุกสนาน ปาร์ตี้สังสรรค์

ขณะนี้เป้าหมายลูกค้าจะเน้นคนไทยเป็นหลัก รวมถึงชาวต่างชาติที่ทำงานในไทย (expat) ส่วนเป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติจะทำการตลาดต่อไปเมื่อไทยเปิดประเทศได้เต็มที่

ด้านปัจจัยเสี่ยงกรณี COVID-19 ที่ยังไม่หยุดการระบาด และเศรษฐกิจที่ซบเซา แอนดรูว์ นาธาน มองว่า บริษัทยังเชื่อมั่นโอกาสในเมืองไทย เพราะกีฬากอล์ฟกำลังได้รับความนิยมเป็นขาขึ้น และหากมองในแง่บวก สนามไดรฟ์แห่งนี้ออกแบบเป็นกึ่งกลางแจ้งกึ่งในร่ม ทำให้ผู้ที่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคระบาดน่าจะสบายใจกว่าเมื่อมาทำกิจกรรมในท็อปกอล์ฟ

สปอร์ตบาร์ที่นี่จะติดตั้งจอใหญ่ สามารถชมได้จากทั้งชั้น 1 และชั้น 2

“เราเข้าใจเรื่องความไม่แน่นอนของสถานการณ์ แต่ว่าชีวิตต้องดำเนินต่อไป และเห็นว่าคนไทยน่าจะต้องการความสนุกมากยิ่งกว่าที่เคยในช่วงนี้ด้วย” แอนดรูว์กล่าว “เรายังเชื่อว่าการทำธุรกิจนี้ขณะนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง”

 

มองหาเพิ่มอีก 1-2 โลเคชัน

ด้านการขยายตัวในภูมิภาคนี้ของท็อปกอล์ฟ เป็นลักษณะสัญญาแฟรนไชส์ที่มอบสิทธิ์ให้กับบริษัท TG SEA Development Pte., Ltd แอนดรูว์ระบุว่า ประเทศไทยเป็นสาขาแรกของบริษัทหลังรับลิขสิทธิ์ จากทั้งหมด 6 ประเทศที่ได้สัญญา ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

ในประเทศอื่นๆ นั้นยังอยู่ระหว่างศึกษาพื้นที่ และในไทยเองก็ไม่ได้วางแผนเปิดเพียงสาขาเดียว แต่ต้องการจะขยายเพิ่มอีก 1-2 สาขา ส่วนจะเป็นแห่งใดนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้

ผู้ที่สนใจสามารถรอติดตามการเปิดสนามได้เร็วๆ นี้ ทั้งนี้ “ทิม” แย้มราคาไดรฟ์กอล์ฟที่นี่แล้วว่า คาดว่าจะเริ่มต้นที่ 200 บาทต่อคนต่อชั่วโมง สำหรับช่วงเวลา non-peak hour และ 350 บาทต่อคนต่อชั่วโมง สำหรับช่วงเวลา peak hour โดยสนามจะเปิดตั้งแต่เช้าจนถึงดึกทุกวัน ราคาดังกล่าวรวมยืมอุปกรณ์พื้นฐานฟรี แต่สามารถอัปเกรดเพิ่มอุปกรณ์ระดับพรีเมียมได้ (ชม virtual tour ของสนามได้ที่นี่)

]]>
1377039
พลิกโฉมโรบินสัน สู่ “ห้างเซ็นทรัล เมกาบางนา” ยึดทำเลทองบางนา-ตราด สวอปแบรนด์ในเครือ https://positioningmag.com/1284100 Thu, 18 Jun 2020 07:57:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284100 “ห้างเซ็นทรัล” ควัก 50 ล้านบาท พลิกโฉมโรบินสันเป็นห้างเซ็นทรัลเมกาบางนา ยึดทำเลทองย่านบางนา-ตราด พร้อมเปิดให้บริการ 2 ก.ค. 63 เตรียมปรับโฉมใหญ่ เพิ่มพื้นที่ปลายปีหน้า

จัดพอร์ตรีเทลของ CRC สวอปแบรนด์ในเครือ

ใครที่อาศัยอยู่ทางฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันออก ย่านบางนา ศรีนครินทร์ ต้องคุ้นเคยกับศูนย์การค้า “เมกาบางนา” เป็นอย่างดี ด้วยไซส์ของศูนย์ที่มีขนาดใหญ่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกแทบจะครบ แถมยังมี IKEA เป็นแม็กเน็ต ทำให้เมกา บางนาเป็นอีกหนึ่งเดสติเนชั่นของคนละแวกนั้นได้

เมกาบางนาเปิดให้บริการได้ 8 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2555 บริหารงานโดย บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด เป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท อิคาโน่ รีเทล เอเชีย จำกัด และบริษัท เอส.พี.เอส. โกลเบิลเทรด จำกัด

ภายในนอกจากจะมี IKEA ที่เป็นพาร์ตเนอร์รายใหญ่แล้ว ยังมี “โรบินสัน” เป็นในส่วนของห้างสรรพสินค้า ที่เปิดพร้อมกับเมกาบางนาตั้งแต่เดย์วัน

เมื่อต้นปีที่ผ่านมาทางกลุ่มเซ็นทรัลได้ปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ โดยได้รวมธุรกิจค้าปลีกอยู่ในบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC และเปิด IPO ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ รวมถึงได้เสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ ROBINS หรือห้างโรบินสัน เท่ากับว่าได้ควบรวมโรบินสันอยู่ภายใต้ CRC อย่างเป็นทางการ

ปัจจุบันภายใต้ CRC มีกลุ่มห้างสรรพสินค้า ได้แก่ ห้างเซ็นทรัล 23 สาขา และโรบินสัน 51 สาขา เท่ากับว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้กลุ่มเซ็นทรัล และ CRC ได้ทำการจัดพอร์ตฟอลิโอของตัวเองได้ง่ายขึ้น สามารถปรับสาขาของทั้ง 2 ได้ เพื่อให้เข้ากับสภาพตลาดและทำเล

ณัฐธีรา จิราธิวัฒน์ บุญศรี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ได้บอกถึงข้อดีของการควบรวมโรบินสันเข้ามาอยู่ใน CRC ว่า

“ทำให้ที่ผ่านมาได้กลับมารีวิวพอร์ตฟอลิโอในกลุ่มมากขึ้น ทำให้มีการปรับพื้นที่ให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้า ตอบโจทย์ทั้งเรื่องการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ตรงใจลูกค้า มีการแชร์ประสบการณ์ของกันและกันของธุรกิจในเครือมากขึ้น”

ใช้แบรนด์ “เซ็นทรัล” จับหัวหาดทำเลทอง

ทำให้ล่าสุดกลุ่ม CRC ได้ตัดสินใจเปลี่ยน “โรบินสัน เมกาบางนา” เป็น “ห้างเซ็นทรัล เมกาบางนา” เพื่อจับโซนทำเลศักยภาพย่านบางนา-ตราด เป็นทำเลทองที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงด้วย

โรบินสัน เมกาบางนามีพื้นที่รวม 13,000 ตารางเมตร ทำเลที่ตั้งอยู่ในย่านเศรษฐกิจ มีหมู่บ้านจัดสรรใหญ่ๆ รายล้อม 18 โครงการ และมีที่พักอาศัยอยู่กว่า 70,000 ครัวเรือน มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นประตูสู่ภาคตะวันออก โดยกลุ่มที่อาศัยอยู่ย่านนั้นส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงาน มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง

จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ได้ตัดสินใจโละชื่อโรบินสัน เปลี่ยนมาใช้ชื่อห้างเซ็นทรัลที่เป็นแบรนด์แม่ของกลุ่มเซ็นทรัล

ในเฟสแรกจะใช้งบลงทุน 50 ล้านบาทในการปรับโฉมแบบไมเนอร์ (Minor renovation) จะเปิดให้บริการในวันที่ 2 ก.ค.นี้ และจะมีการรีโนเวตครั้งใหญ่ในช่วงไตรมาส 3-4 ปี 2564 ตอนนั้นจะมีการขยายพื้นที่เพิ่มด้วย

การปรับโฉมครั้งนี้มีการยกทัพแบรนดืใหม่เข้ามาอีก 400 แบรนด์ ทำให้มีแบรนด์รวมกว่า 1,000 แบรนด์ เน้นที่สินค้าสำหรับกลุ่มครอบครัว และคนรุ่นใหม่ เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก มีการคาดการณ์ว่าหลังจากรีโนเวต จะมียอดขายเพิ่มขึ้น 20%

ในอนาคตทั้งโรบินสัน และห้างเซ็นทรัลจะมีแผนที่ปรับเปลี่ยนแบรนด์อีก 3 สาขา โดยที่ประเดิมเปลี่ยนโรบินสันเป็นห้างเซ็นทรัลที่เมกาบางนาสาขาแรก ส่วนอีก 2 สาขายังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา มีทั้งเปลี่ยนจากโรบินสันเป็นเซ็นทรัล และเปลี่ยนจากห้างเซ็นทรัลเป็นโรบินสัน ขึ้นอยู่กับโลเคชั่น และกลุ่มเป้าหมาย

โรบินสันเจาะทำเลภูมิภาค

ปัจจุบันโรบินสันมีห้างสรรพสินค้ารวมทั้งหมด 51 สาขา ครอบคลุม 36 จังหวัด มีพื้นที่รวม 583,300 ตารางเมตร มีทั้งฟอร์แมตโรบินสัน และโรบินสัน ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์

สำหรับโรบินสัน เมกาบางนาเปิดให้บริการมา 8 ปี มีการเติบโตเป็น 2 หลักโดยตลอด มียอดขายอยู่ในอันดับ Top 8 ของโรบินสันมาโดยตลอด

วุฒิเกียรติ เตชะมงคลาภิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) บอกว่า

“ตอนนี้จุดยืนของโรบินสันจะแข็งแรงในส่วนของภูมิภาค มีขนาดของห้างฯ ที่ยืดหยุ่นกว่า ขนาดเล็กกว่า จะแตกต่างจากห้างเซ็นทรัลทั้งในเรื่องของขนาด และกลุ่มลูกค้า สาขาเมกาบางนามีพื้นที่ใหญ่ รวมถึงกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มครอบครัว คนรุ่นใหม่ เหมากับห้างเซ็นทรัลมากกว่า”

ในขณะที่จุดยืนของห้างเซ็นทรัลจะจับกลุ่มลูกค้าระดับกลางไปถึงระดับบน กลุ่มคนทำงาน คนรุ่นใหม่ หรือกลุ่มท่องเที่ยว ทำให้แยกเซ็กเมนต์ และมีความแตกต่างกันชัดเจน

โดยการใช้จ่ายของลูกค้าในโรบินสันจะน้อยกว่าห้างเซ็นทรัลราว 20-30% สินค้าขายดีจะเป็นกลุ่มของใช้ในบ้าน และเครื่องสำอาง สินค้าสำหรับครอบครัว

สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการรีเทล แต่เรียกว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป มองกลุ่มลูกค้า และโลเคชั่นเป็นหลัก การที่ CRC มีทำเลทองและมีศักยภาพอย่างเส้นบางนา-ตราด การเปลี่ยนเอาแบรนด์แม่อย่างห้างเซ็นทรัลมาคงจะตอบโจทย์อยู่ไม่น้อย

]]>
1284100