รวมถึงการทําให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ของบริษัทฯ ที่ไม่สามารถดำเนินการรีไซเคิลได้ตามที่บริษัทฯ ได้กล่าวไว้ และมักจบลงที่การจัดการโดยวิธีฝังกลบหรือขวดบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นกลายเป็นขยะที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
Lindsey Horvath ประธานคณะกรรมการกํากับดูแลของลอสแองเจลิส กล่าวในแถลงการณ์ว่า บริษัท เป๊ปซี่และโคคา-โคล่า ควรต้องถูกสั่งปรับ และรับผิดชอบต่อปัญหามลพิษจากพลาสติกที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ของบริษัทฯ ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากภายในรัฐฯ มากกว่านี้
จากการฟ้องร้องดังกล่าว ยังไม่มีท่าทีความเคลื่อนไหวจากทางบริษัท เป๊ปซี่โค และ โคคา-โคล่า แต่ William Dermody รองประธานฝ่ายสื่อและกิจการสาธารณะของกลุ่มการค้าอุตสาหกรรม American Beverage Association ซึ่งสมาชิก เป๊ปซี่โค และ โคคา-โคล่า กล่าวว่า ข้อกล่าวหาที่ว่าบรรจุภัณฑ์ของบริษัทฯ ไม่ได้ถูกกำจัดหรือไม่ถูกรีไซเคิลนั้นไม่เป็นความจริง เนื่องจากบริษัทฯ มีการทํางานเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการทำธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง
โดยคดีนี้ ถือเป็นคดีล่าสุดที่รัฐบาลท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกาและผู้สนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม ได้ยื่นฟ้องต่อบริษัทที่มีการผลิตและใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในการบรรจุผลิตภัณฑ์ ซึ่งในอดีต เป๊ปซี่โค ก็ได้เผชิญหน้ากับอัยการสูงสุดของนิวยอร์ก ในการฟ้องร้องคดีมลพิษจากขยะพลาสติกมาเมื่อปีที่แล้วและบริษัทฯ ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ทําให้เข้าใจผิดไปแล้ว
และในเดือนสิงหาคม ศาลอุทธรณ์ในวอชิงตัน ดี.ซี. ได้รื้อคดี ปี 2020 ที่กลุ่มสิ่งแวดล้อม Earth Island Institute กล่าวหาว่า โคคา-โคล่า ทําให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทฯ นั้นมีการจัดการเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เช่นกัน
นอกจากนั้นในเดือนกันยายนที่ผ่านมา อัยการสูงสุดของแคลิฟอร์เนียก็ได้ฟ้องบริษัทน้ํามัน Exxon Mobil โดยกล่าวว่า บริษัทฯ มีการผลิตโพลิเมอร์เพื่อใช้ในการทําพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในอุตสาหกรรมน้ํามัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน
รายงานจากคดีความ ระบุว่า ในปี 2024 มีขยะพลาสติกจำนวนกว่า 246,124 ตัน ถูกผลิตขึ้นจากเขตที่อยู่อาศัยในลอสแองเจลิส และ 628,211 ตันของขยะพลาสติก มาจากการผลิตของอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ในชุมชน
ทั้งนี้ ตามรายงานของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า ขยะพลาสติกมากกว่า 400 ล้านตันถูกผลิตขึ้นทั่วโลกทุกปี ซึ่งขยะโดยส่วนใหญ่ จะถูกจัดการโดยการฝังกลบและมีบางส่วนหลุดออกไปเป็นขยะในมหาสมุทร มีขยะน้อยกว่า 10% ที่ถูกนำมารีไซเคิลใหม่
ที่มา : Reuters
]]>“อีลอน มัสก์” เปิดตัวรถบรรทุกไฟฟ้า Semi Class 8 เมื่อปี 2017 และวางแผนว่าจะเริ่มผลิตตั้งแต่ปี 2019 อย่างไรก็ตาม ไทม์ไลน์การผลิตต้องเลื่อนไปหลายครั้งเพราะขาดแคลนอะไหล่ ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าการเริ่มผลิตจริงจะมีการผลิตลอตแรกออกมากี่คัน
หน้าเว็บไซต์ Tesla ระบุว่า รถบรรทุกไฟฟ้าคันแรกของ Tesla วิ่งได้ 500 ไมล์ (ราว 805 กิโลเมตร) ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ทำความเร็วจาก 0-60 ไมล์ต่อชั่วโมงได้ภายใน 20 วินาที และใช้พลังงาน 2kWh ต่อ 1 ไมล์ โดยบรรทุกได้สูงสุด 82,000 ปอนด์ (ประมาณ 37,000 กิโลกรัม)
รถบรรทุก Semi หากใช้แท่นชาร์จของ Tesla ที่ออกแบบสำหรับรถคันนี้ จะใช้เวลา 30 นาทีในการชาร์จจาก 0% ถึง 70% ของความจุแบตเตอรี่ บริษัทยังคำนวณมาด้วยว่าการใช้ไฟฟ้าจะประหยัดกว่าการใช้น้ำมันดีเซลประมาณ 2.5 เท่า
ส่วนราคาประเมินคาดว่าจะอยู่ที่คันละ 180,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.73 ล้านบาท) แต่หากจัดส่งในสหรัฐฯ ก็จะได้รับส่วนลดเงินอุดหนุนจากรัฐคันละ 40,000 เหรียญ (ประมาณ 1.50 ล้านบาท)
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2017 บริษัท PepsiCo เป็นบริษัทที่สั่งจองรถบรรทุกไฟฟ้าจาก Tesla ทันที 100 คัน เพราะสอดคล้องกับนโยบายบริษัทที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายพลังงานและลดการปล่อยคาร์บอนของฟลีตรถขนส่ง
“รามอน ลากัวร์ตา” ประธานกรรมการบริหาร PepsiCo กล่าวกับสำนักข่าว CNBC เมื่อปีก่อนว่า การขนส่งคิดเป็นสัดส่วน 10% ของการปล่อยคาร์บอนของทั้งบริษัท ทำให้รถบรรทุกไฟฟ้าจะมาช่วยลดคาร์บอนได้ โดยวางแผนจะนำมาใช้ในขั้นตอนการขนส่งเครื่องดื่มและขนมจากโรงงานไปยังศูนย์กระจายสินค้า และจากศูนย์ฯ ไปยังพื้นที่รีเทลด้วย
]]>ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ตั้งแต่กระป๋องอะลูมิเนียมไปจนถึงค่าแรงและค่าขนส่ง ท่ามกลางการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกในวิกฤตโรคระบาด ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารบรรจุหีบห่อ (packaged food) ต้องรับมือกับการขึ้นราคา
ด้วยต้นทุนที่ยังคงเพิ่มขึ้นบวกกับปัญหาคอขวดของอุปทาน ที่มีสัญญาณผ่อนคลายลงเพียงเล็กน้อยนั้น นักวิเคราะห์เตือนว่า การขึ้นราคาอาจจะไม่เพียงพอที่จะรองรับกับอัตรากำไรของอุตสาหกรรมได้อย่างเต็มที่
Hugh Johnston บอกกับสำนักข่าว Reuters ว่า “บริษัทอาจปรับขึ้นราคาได้อีกในปลายปีนี้ หากต้นทุนสูงขึ้นเกินคาด และไม่ได้ตัดขาดสินค้าบางรายการออก” อย่างไรก็ตาม จะมีการควบคุมห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงการจัดจำหน่าย เพื่อประคับประคองสถานการณ์
ด้านคู่เเข่งรายสำคัญอย่าง Coca-Cola ก็เริ่มส่งสัญญาณไปในทิศทางเดียวกันว่า กำลังพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมืออย่างเต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ อัตรากำไรจากการดำเนินงานที่ปรับปรุงแล้วในไตรมาสที่ 4 ของ Coca-Cola ลดลงเหลือ 22.1% จาก 27.3% ในปีก่อนหน้า ส่วนอัตรากำไรจากการดำเนินงานที่ปรับปรุงแล้วของ PepsiCo ลดลง 183 basis points
PepsiCo รายงานรายรับสุทธิในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้น 12.4% เป็น 2.525 หมื่นล้านดอลลาร์ เเละคาดการณ์กำไรหลักของปีงบประมาณ 2022 ที่ 6.67 ดอลลาร์ต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 6.73 ดอลลาร์ ตามข้อมูลของ IBES จาก Refinitiv
Coca-Cola คาดการณ์กำไรต่อหุ้นที่ปรับแล้วทั้งปีจะเพิ่มขึ้น 5% เป็น 6% จาก 2.32 ดอลลาร์ในปี 2021 เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 6%
ก่อนหน้านี้ เชนร้านกาเเฟรายใหญ่ของโลกอย่าง Starbucks ก็วางเเผนจะปรับ ‘ขึ้นราคา’ ในปีนี้ เพื่อชดเชยเงินเฟ้อ ต้นทุนที่สูงขึ้น เเถมเจอปัญหาซัพพลายเชนเเละการขาดแคลนแรงงาน
หลังจากที่เคยปรับขึ้นราคาเมนูมาเเล้วเมื่อเดือนต.ค.ปีที่เเล้ว และเดือนม.ค.ปีนี้ ทาง Starbucks ก็เตรียมปรับขึ้นราคาเมนูอีกครั้งในช่วงปี 2022 พร้อมลดใช้จ่ายบางส่วน อย่างด้านการตลาดและการส่งเสริมการขาย เพื่อชดเชยต้นทุนแรงงานและวัตถุดิบต่างๆ ที่พุ่งสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการเเพร่ะบาดของโควิด-19
โดยปัจจัยต่างๆ ทั้งภาวะเงินเฟ้อ การระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน เเละปัญหาขาดแคลนแรงงาน ได้ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัท
ที่มา : Reuters
]]>เรมอน ลากัวร์ตา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานบริษัทเป๊ปซี่โค กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก บริษัทฯ ตระหนักดีถึงบทบาทสำคัญในการจัดการปัญหาที่ท้าทายในระบบอาหารสมัยใหม่ นับตั้งแต่ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนทรัพยากร ไปจนถึงความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ ในวาระเกษตรกรรมเชิงบวกของเป๊ปซี่โค เป๊ปซี่โคให้ความสำคัญกับการลงทุน นวัตกรรม และความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับพันธมิตรด้านการเกษตรของเรา เพื่อสร้างผลกระทบไปทั่วโลก และจากการทำงานร่วมกัน เราจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จัดการกับปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร และมอบโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับผู้คนจำนวนมากขึ้น”
วาระเกษตรกรรมเชิงบวกของเป๊ปซี่โคมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแหล่งพืชและวัตถุดิบในลักษณะที่เร่งการปฏิรูปการเกษตรและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเกษตรกรรมโดยมุ่งเน้นที่:
ณ สิ้นปี พ.ศ. 2563 เป๊ปซี่โคสามารถจัดหาพืชที่มาจากแหล่งโดยตรงที่มีแหล่งที่มาอย่างยั่งยืนได้ถึง 100% จาก 28 ประเทศ และในทั่วโลกเกือบ 87% ของพืชผลก็ได้มาจากโครงการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนของเป๊ปซี่โค ตัวอย่างเช่น ส้ม 100% ที่แบรนด์ Tropicana ใช้ได้มาจากผู้ปลูกในฟลอริดาที่มีแหล่งที่มาอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับ 100% ของมันฝรั่งและข้าวโอ๊ตสำหรับ Lay’s และ Quaker ในอเมริกาเหนือตามลำดับ
เป๊ปซี่โคสนับสนุนการกำหนดมาตรฐานและการวัดผลการเกษตรแบบปฏิรูปทั่วทั้งอุตสาหกรรม ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานดังกล่าว บริษัทฯ จะวัดความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายเกษตรเชิงบวก โดยการติดตามขนาดของพื้นที่และผู้คนที่มีส่วนร่วมในการริเริ่มและเมื่อเวลาผ่านไปผลกระทบที่มีต่อผลลัพธ์หลัก 5 ประการ ได้แก่ การสร้างสุขภาพของดินและความอุดมสมบูรณ์ การแยกคาร์บอนและลดการปล่อย เสริมสร้างความสมบูรณ์ของลุ่มน้ำ การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกร PepsiCo ทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำ เช่น World Wildlife Fund (WWF) เพื่อพัฒนาวิธีการกำหนดเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับน้ำ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของระบบการทำการเกษตรแบบปฏิรูปและยืดหยุ่นและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับคุณภาพน้ำและปริมาณน้ำ
“ตลอดระยะเวลามากกว่า 25 ปีที่เป๊ปซี่โคเริ่มต้นทำธุรกิจขนมขบเขี้ยวในประเทศไทย เราได้ส่งเสริมให้เกษตรกรไทยทำการเพาะปลูกมันฝรั่ง ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบเลย์ โดยบริษัทฯ ได้สนับสนุน ส่งเสริมการปลูกมันฝรั่งและรับซื้อผ่านระบบเกษตรพันธสัญญา มุ่งพัฒนา ส่งเสริมศักยภาพเกษตรกร นำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต โดยมีทีมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของเราเข้าไปให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการเพาะปลูก การป้องกันโรค การปรับปรุงบำรุงดิน การวางแผนการใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสม การเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคพืชและการชลประทาน ลดการใช้เชื้อเพลิง และ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับการชลประทานโดยระบบน้ำหยด แทนการให้น้ำแบบร่อง ช่วยให้เกษตรกรวางแผน ควบคุมปริมาณการใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกได้อย่างแม่นยำ” สุดิปโต โมซุมดา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจอาหารอินโดจีน บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าว “บริษัทฯ ให้ความสำคัญระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยยึดถือตามนโยบายของบริษัท ‘ผลงานดี สำนึกดี’ และหนึ่งในพันธกิจภายในใต้โครงการการทำเกษตรแบบยั่งยืนนั้นคือการดูแลทรัพยากรธรรมชาติปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งการทำการเพาะปลูกมันฝรั่ง ‘ดิน’ เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่จะให้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลและบำรุงเพื่อให้ดินมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเพาะปลูก เรามีผู้เชี่ยวชาญการเกษตรที่ทำการวิเคราะห์ดิน ซึ่งทำให้มากกว่า 90% ของผู้เพาะปลูกมันฝรั่ง งดการเผาตอซังข้าว เปลี่ยนเป็นการไถกลบตอซังข้าวเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดินแทน มีการใช้ปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อแก้ปัญหาดินกรดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืช นอกจากนี้ได้แนะนำให้เกษตรกรเปลี่ยนวิธีการจากการให้ปุ๋ยจำนวนมาก 1 – 2 ครั้ง เป็นการแบ่งให้ปุ๋ย 4 – 5 ครั้ง เพื่อลดการสูญเสียจากการชะล้าง จากการดำเนินการโครงการต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเกษตรกรได้ปรับตัวนำเทคโนโลยีและพัฒนาความรู้ในการเกษตรมาปรับใช้ ลดการใช้และดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้เกษตรกรมีความสำเร็จมากยิ่งขึ้น มีผลผลิตและรายได้ที่สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอันเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาชีพในระยะยาว”
การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมรวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและการทำงานร่วมกันเป็นหัวใจสำคัญของแนวทางของเป๊ปซี่โคในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เมื่อเร็วๆ นี้เป๊ปซี่โคร่วมกับ World Economic Forum และองค์กรอื่นๆ ในการเปิดตัวแนวคิด Food Innovation Hubs เพื่อพัฒนาระบบอาหารในท้องถิ่นที่ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และมีคุณค่าทางโภชนาการ
วาระเกษตรกรรมเชิงบวกเป็นอีกก้าวหนึ่งในการเดินทางของเป๊ปซี่โคและเป็นไปตามการประกาศล่าสุดของบริษัทฯ ที่จะเพิ่ม เป้าหมายด้านสภาพอากาศตามหลักวิทยาศาสตร์เป็นสองเท่า โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสัมบูรณ์ในห่วงโซ่คุณค่าให้ได้มากกว่า 40% ภายในปี พ.ศ. 2573 เช่นเดียวกับการให้คำมั่นที่จะบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2583
[1] สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเป๊ปซี่โคนั้น บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามกรอบ GHG Protocol ซึ่งการกักเก็บใด ๆ จะแยกออกจากขอบเขตการปล่อยทั้งสามแบบ
]]>ด้วยพื้นที่การก่อสร้างราว 24,000 ตารางเมตร โรงงานแห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงในเมืองโฝซาน มณฑลกวางตุ้ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 5.3 เฮกตาร์ (ราว 33 ไร่) โดยในโรงงานจะมีสายการผลิต 1 สายสำหรับมันฝรั่งทอดแผ่นบาง และสายการผลิต 2 สายสำหรับมันฝรั่งทอดบรรจุกระป๋อง รวมถึงอาคารสนับสนุน อาทิ โกดังสำหรับการจัดเก็บวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป
โครงการก่อสร้างครั้งนี้ใช้เงินลงทุนราว 500 ล้านหยวน (ราว 2,280 ล้านบาท) โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มกระบวนการผลิตอย่างเป็นทางการได้ในเดือนกันยายน ปี 2022 และคาดว่าจะมีกำลังการผลิต 25,000 ตันต่อปี
เป๊ปซี่โคระบุว่าตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานแห่งใหม่นี้ถูกคัดเลือก โดยพิจารณาจากการสั่งสมทรัพยากรโดยกลุ่มอุตสาหกรรมของเมืองโฝซานเป็นหลัก รวมถึงเครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนความสะดวกสบายและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีระบบระเบียบในเขตเศรษฐกิจอ่างกว่างตง-ฮ่องกง-มาเก๊า (GBA)
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป๊ปซี่โคขยายขอบเขตการลงทุนในจีนอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน บริษัทมีโรงงานผลิตอาหาร 7 แห่ง ฟาร์มสาธิตการปลูกมันฝรั่ง 6 แห่ง และฟาร์มแบบสหกรณ์ 18 แห่งในจีน
]]>“Driftwell” เป็นเครื่องดื่มตัวใหม่ของเป๊ปซี่ จะเริ่มวางจำหน่ายทั่วสหรัฐฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ในเดือนธันวาคมนี้ พร้อมจะวางขายในร้านค้าปลีก ภายในไตรมาสแรกของปี 2021
โดยมีการชูจุดเด่นว่า หากดื่มเเล้วจะช่วยให้ผ่อนคลายเเละนอนหลับได้ง่ายขึ้น ด้วยการผสม “แอล–ธีอะนีน” (L-theanine) กรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ ให้การยอมรับ ซึ่งพบได้ในชาเขียว ชาดำ และเห็ดบางชนิด
ที่มาของเครื่องดื่ม Driftwell นี้ เกิดจากโครงการการแข่งขันเสนอไอเดียภายในบริษัทของเป๊ปซี่ เพื่อนำไปต่อยอดผลิตเป็นสินค้าที่จำหน่ายในตลาดได้จริง โดย Emily Silver ผู้บริหารดูแลฝ่ายนวัตกรรม บอกว่า Driftwell เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากไอเดียของพนักงานที่ทำออกมาวางขายจริงได้เร็วที่สุดของบริษัท
โดย Driftwell จะถูกจัดอยู่ในประเภท Functional Water หรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ บรรจุในกระป๋องขนาด 7.5 ออนซ์ เหมาะที่จะดื่มในช่วงค่ำๆ ก่อนถึงเวลาเข้านอนโดยไม่ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืน มาพร้อมกลิ่นของ “แบล็กเบอร์รีและลาเวนเดอร์” มีส่วนผสมของแอล–ธีอะนีนถึง 200 มิลลิกรัม ซึ่งมีงานวิจัยสนับสนุนว่า สารดังกล่าวมีส่วนช่วยลดความเครียดในสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความกังวลและปรับอารมณ์ก่อนนอนได้
สำหรับตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในอเมริกา ในปี 2019 มีมูลค่ากว่า 2.97 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 9.27 หมื่นล้านบาท) ตามรายงานของ Euromonitor เเละคาดว่าในปีนี้จะมียอดขายเติบโตได้เกือบ 5% จากความนิยมในเครื่องดื่มที่ช่วยผ่อนคลายที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดหนักในสหรัฐฯ ที่ยืดเยื้อ กระทบเศรษฐกิจเเละไม่มีความเเน่นอน ทำให้ชาวอเมริกันเกิดความเครียดมากขึ้นนั่นเอง
ขณะเดียวกัน ตลาดเครื่องดื่มลูกผสมเเบบ “ไฮบริด” ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกันในยุคนี้ จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการเครื่องดื่มที่สดชื่น แต่ต้องเป็นมิตรต่อสุขภาพ กลายเป็นทางเลือกใหม่ที่มีโอกาสทางการตลาดสูงโดยคู่เเข่งอย่าง “โคคา–โคล่า” ก็เตรียมวางจำหน่าย Coca-Cola With Coffee หรือโค้กผสมกาแฟ เพื่อเจาะตลาดอเมริกา ในช่วงเดือนมกราคม ปี 2021
…ต้องรอลุ้นว่าจะเข้าไทยหรือไม่
]]>
เพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้นเเละสร้างความแปลกใหม่ บรรดายักษ์ใหญ่วงการน้ำอัดลม จึงหันมาเอาดีด้านการพัฒนารสชาติเดิมผสมไปกับเครื่องดื่มอื่น เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์
ล่าสุด “โคคา–โคล่า” เตรียมวางจำหน่าย Coca-Cola With Coffee หรือโค้กผสมกาแฟ เจาะตลาดอเมริกา ในช่วงเดือนมกราคม ปี 2021 โดยใช้กาแฟบราซิล 100% พร้อมเปิดตัว 3 รสชาติใหม่ ได้เเก่ Dark Blend, Vanilla และ Caramel ในแพ็กเกจจิ้งกระป๋องขนาด 12 ออนซ์ โดยมีกาเฟอีนอยู่ที่ 69 มิลลิกรัมต่อกระป๋อง ขณะที่โค้กปกติขนาด 12 ออนซ์จะมีกาเฟอีน 34 มิลลิกรัมต่อกระป๋อง และ Diet Coke มีกาเฟอีน 46 มิลลิกรัมต่อกระป๋อง
ก่อนหน้านี้ บริษัทเริ่มชิมลางตลาดเครื่องดื่มไฮบริดในสหรัฐฯ ด้วยการเปิดตัว Coke Energy Cherry, Cherry Vanilla Coke, Orange Vanilla Coke มาเเล้ว
“น้ำอัดลมผสมกับน้ำผลไม้ปั่น หรือน้ำอัดลมผสมกับชา ก็เป็นอีกตัวอย่างของแนวโน้มต่อไปในเทรนด์นี้” โคคา–โคล่าระบุ
การเปิดศึกในตลาดเครื่องดื่มกาเเฟของเจ้าใหญ่น้ำดำ ช่วงที่ผ่านมานี้ สอดคล้องกับอัตราการบริโภคโซดาในสหรัฐฯ ที่ลดลงทุกปี สวนทางกับกลุ่มกาแฟที่เติบโตต่อเนื่อง ดังนั้นการเข้าไปเเข่งในตลาดนี้ จึงจะทำให้ได้กลุ่มลูกค้าทั้งคนที่ชอบน้ำอัดลมเเละชอบกาเเฟ รวมถึงคนรุ่นใหม่ก็หันมาดื่มกาเเฟตั้งเเต่อายุยังน้อยมากขึ้นด้วย
คู่เเข่งสำคัญอย่าง “เป๊ปซี่” จึงไม่ปล่อยให้โคคา–โคล่า เจาะตลาดนี้เเต่เพียงผู้เดียว เดินเกมเปิดตัว Pepsi Café โคล่ารสกาแฟอาราบิก้า ที่ให้กาเฟอีนมากกว่าเป๊ปซี่ขนาดปกติถึงสองเท่า มีให้เลือก 2 รสชาติ คือ Original และ Vanilla วางขายในสหรัฐฯ ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา
โคคา–โคล่า พยายามเจาะตลาด Coffee-Cola Drinks ครั้งเเรกตั้งเเต่ปี 2006 เเต่เป็นช่วงสั้นๆ เเค่ 2 ปีก็เลิกไป ก่อนจะกลับมาอีกครั้งในปี 2017 กับ Coca-Cola Plus Coffee เเต่นำไปลองตลาดในออสเตรเลีย เเละอีก 1 ปีต่อมาก็นำไปทดลองขายในตลาดเอเชีย หลังเปลี่ยนสูตรใหม่
ในปี 2018 ผลิตภัณฑ์โค้กผสมกาแฟ ทดลองตลาดครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เเละได้รับเสียงตอบรับที่ดี ปัจจุบันหาซื้อได้ใน 30 ประเทศเเล้ว โดยจะหลักๆ ของเเต่ละประเทศจะไม่เเตกต่างกันมาก เเต่จะมีการปรับสูตรกาเเฟและแพ็กเกจจิ้งให้เข้ากับรสนิยมของคนในประเทศนั้นๆ
Javier Meza ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของโคคา–โคล่า กล่าวว่า การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ต้องมีการระมัดระวังในการออกสินค้าใหม่มากขึ้น เเต่ก็เป็นตัวเร่งให้มีการตรวจสอบเเละพัฒนาสินค้า ดังนั้นจึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่บริษัทจะเปิดตัว “โค้กผสมกาเเฟ” รสชาติใหม่ในตลาดอเมริกา หลังจากที่ได้เรียนรู้ในตลาด
ประเทศอื่นๆ ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
“Coca-Cola With Coffee เป็นผลลัพธ์ของกลยุทธ์ Lift and Shift ของบริษัทในการต่อยอดนวัตกรรมเครื่องดื่มที่ประสบความสำเร็จ จากตลาดหนึ่งไปสู่อีกตลาดหนึ่ง ผ่านการทดลอง ทดสอบ และเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ เมื่อความชอบและไลฟ์สไตล์ของผู้คนกำลังเปลี่ยนไป ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนา Product Portfolio ของเราให้ตอบสนองความต้องการเหล่านั้น”
]]>
ตันจะเริ่มต้นตำแหน่งใหม่ในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 จะประจำอยู่ที่สิงคโปร์ และจะรายงานต่อ รามอน ลากัวร์ตา (Ramon Laguarta) ซีอีโอของ เป๊ปซี่โค
“เราทุกคนที่ เป๊ปซี่โค มีความยินดีที่ได้ต้อนรับ เหวิน หยวน มาเป็นซีอีโอคนใหม่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงและโอกาสที่ ไม่เคยพบเจอมาก่อน” รามอน ลากัวร์ตา ซีอีโอของ เป๊ปซี่โค กล่าว
“เหวิน หยวน ได้ผลักดันนวัตกรรมที่เปลี่ยนวงการและผลลัพธ์ตลอดช่วงการทำงาน เขาจะนำประสบการณ์และความเข้าใจลูกค้าในภูมิภาค APAC ที่มีความหลากหลายจากการดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในด้านการค้าปลีก การบริการอาหาร และการให้คำปรึกษา การเป็นผู้นำของเขาจะเป็นเครื่องมือในการเร่งการเติบโตโดยใช้ประโยชน์จากขนาดของเรา และสร้างโซลูชันที่เหมาะสมมากขึ้นกับตลาดที่มีความสำคัญเหล่านี้”
ก่อนร่วมงานกับเป๊ปซี่โค ตันรับตำแหน่งประธาน และซีอีโอ วอลมาร์ท ประจำประเทศจีน (Walmart China) ซึ่งเขานำทีมพนักงานกว่า 100,000 คน และรับผิดชอบรายได้กว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในกลุ่มธุรกิจ Walmart, Sam’s Club และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง เขานำ Walmart China ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง จนเป็นผู้นำในวงการในด้านนวัตกรรมและ การค้าปลีกผ่านระบบดิจิทัล
ก่อนจะเข้าร่วมงานกับวอลมาร์ทในปี 2560 ตันดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารของ แมคโดนัลด์ ไต้หวัน เขามีประสบการณ์ในภาคธุรกิจด้านบริการอาหาร ช่วงที่เขาเริ่มทำงาน เขาเป็นประธานของ บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) ซึ่งมีหน้าที่คอยให้คำแนะนำแก่ลูกค้าด้านการค้าปลีกและผู้บริโภคเกี่ยวกับกลยุทธ์การเติบโต นวัตกรรม และระบบการทำงาน ตันเริ่มต้นอาชีพโดยการรับราชการในรัฐบาลสิงคโปร์
ตัน กล่าว “เป๊ปซี่โค มีสถานะที่แตกต่างในการขยายส่วนแบ่งตลาดด้วยสถานภาพที่หยั่งรากลึกทั่วภูมิภาคแห่งนี้และข้อเสนอที่ไม่มีใครเทียบ นอกจากนี้ ยังมีความสามารถขายสินค้าได้หลายช่องทางอยู่ในทั่วภูมิภาค APAC ผมหวังว่าการทำงานร่วมกับรามอนและทีมผู้บริหาร จะผลักดันการเติบโตและโซลูชันที่เหมาะสมกับตลาดท้องถิ่นในภูมิภาคที่มีความหลากหลายนี้”
]]>เงื่อนไขหลักของ PepCoin คือสมาชิก PepCoin ต้องสะสมเงินคืนอย่างน้อย 2 เหรียญสหรัฐก่อน ระบบจึงจะโอนเงินไปยังบัญชี Venmo หรือ PayPal ของลูกค้าแบบอัตโนมัติ ลูกค้าสามารถสแกนโค้ดได้เพี
การเปิดศักราชคืนเงินให้ลูกค้
PepCoin อาจดูเหมือนเป็นกับดักการตลาดทั่
นอกจากนี้ โครงการมอบรางวัลให้ลูกค้าของ PepsiCo ยังตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าด้
PepCoin ไม่เพียงช่วยให้ PayPal ดึงดูดผู้ใช้ได้มากขึ้น และเป็นผู้นำเทรนด์ให้แบรนด์อื่
ที่สำคัญ PepCoin ยังทำให้ PepsiCo สามารถรวบรวมข้อมูลผู้บริโภคได้
การแจ้งเกิด PepCoin ถือว่าเป็นไปตามเทรนด์ที่งานวิ
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 เจ้าพ่อ PepsiCo มีรายรับจากการขายหรือ organic revenue เพิ่มขึ้น 5% ต่อปี ถือว่าสูงขึ้นจาก 2-4% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2014-2018) แต่กำไรของบริษัทกลั
สินค้าขายดีอันดับ 2 ของ PepsiCo คือ Frito-Lay ทำเงินมากกว่า 7,830 ล้านเหรียญในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 อัตราเติบโตของกำไรจากการปฏิบั
สำหรับ PepCoin แคมเปญล่าสุดถูกมองว่ามี
PepCoin ไม่ใช่แคมเปญแจกรางวัลครั้
จุดต่างสำคัญที่ PepCoin ไม่เหมือนกับ Pepsi Loot คือ PepCoin ถูกวางตัวเป็นระบบให้เงินคื
โอเมอร์ มาลิค ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ SPBT กล่าวว่า เตรียมส่งเครื่องดื่มแบรนด์ใหม่ “กู๊ดมู้ด” ซึ่งเป็นเครื่องดื่มกลุ่มใหม่วอเตอร์ พลัส (Water Plus) น้ำดื่มแต่งกลิ่นรส รูปแบบเครื่องดื่มน้ำใส ตอบโจทย์ดับกระหายและให้ความสดชื่น ซึ่งยังไม่มีสินค้ากลุ่มนี้ในประเทศไทย เพื่อบุกตลาดในช่วงหน้าร้อน
กู๊ดมู้ด เจาะกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวด ซึ่งเป็นเพียงหมวดเดียวที่เติบโตในตลาดเครื่องดื่ม โดยเชิงมูลค่าอยู่ที่ 5% ในปี 2561 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งมีมูลค่า 34,900 ล้านบาท
“การเปิดตัว กู๊ดมู้ด จะทำให้ SPBT เป็นผู้เล่นหลักที่เข้ามาเปิดกลุ่มผลิตภัณฑ์วอเตอร์ พลัส ในประเทศไทย”
เคธี่ อึ้ง ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์ซันโทรี่ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “กู๊ดมู้ด” เป็นเครื่องดื่มที่นำเสนอรสชาติอร่อยและน้ำตาลน้อย หรือต่ำกว่า 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร จึงเหมาะสำหรับผู้บริโภคทุกกลุ่มและตอบเทรนด์การดูแลสุขภาพ มั่นใจว่ากู๊ดมู้ดจะเข้ามาสร้างพอร์ตโฟลิโอเครื่องดื่มใหม่ให้กับซันโทรี่ เป๊ปซี่โค และเป็นผู้นำในตลาดวอเตอร์ พลัส เช่นเดียวกับญี่ปุ่น
โดยเปิดตัวด้วย 2 รสชาติ คือ กลิ่น “แบล็คเคอแรนท์” วางจำหน่ายเฉพาะที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และกลิ่น “โยเกิร์ต” ครั้งแรกในรูปแบบใสโดยบรรจุในขวดเพ็ทขนาด 450 มิลลิลิตร ในราคา 20 บาท จำหน่ายที่ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มารเก็ต และร้านค้าทั่วประเทศ
ในด้านการผลิตและการตลาด SPBT เตรียมทุ่มงบประมาณ 270 ล้านบาทเพื่อขยายสายการผลิตและดำเนินกิจกรรมการตลาดอย่างเต็มรูปแบบ
สำหรับกลยุทธ์สื่อสารแบรนด์และสร้างการรับรู้แบรนด์ในวงกว้าง ได้นักแสดงหนุ่มจากละครเรตติ้งแรง ทางช่อง 3 เรื่อง “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” มาริโอ้ เมาเร่อ มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรกของ “กู๊ดมู้ด” ในประเทศไทย เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทำตลาดในช่วงหน้าร้อน
“คาแร็กเตอร์ที่สดใส มีชีวิตชีวาและมองโลกในแง่ดีของมาริโอ้ เหมาะกับภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่สร้างอารมณ์ดีๆ เพื่อวันดีๆ ที่จะถ่ายทอดความสดชื่นและสดใสของแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ลงตัว”
นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์โฆษณา สื่อกลางแจ้งทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด สื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย สื่อในร้านค้าและ ณ จุดขาย พร้อมกิจกรรมส่งเสริมการขายแบบ 360 องศา จัดคาราวาน “กู๊ดมู้ด” แจกเครื่องดื่ม 1 ล้านขวด ให้ผู้บริโภคทั่วประเทศได้ทดลองชิม.
]]>