Ride-hailing – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 04 Nov 2021 00:56:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Tesla จับมือ Uber ดึงคนใช้ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ มากขึ้น ให้คนขับเช่า-ซื้อในราคาพิเศษ https://positioningmag.com/1360274 Wed, 03 Nov 2021 10:23:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360274 ตั้งเเต่วันนี้เป็นต้นไป คนขับ ‘Uber’ ในกรุงลอนดอน จะสามารถซื้อหรือเช่ารถยนต์พลังงงานสะอาดของ Tesla มาให้บริการลูกค้าได้ใน ‘ราคาพิเศษ’ หนึ่งในโครงการจูงใจเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

หลังจาก Uber เเพลตฟอร์มเรียกรถ Ride-hailing ยักษ์ใหญ่ เริ่มคิดค่าธรรมเนียมอากาศบริสุทธิ์ หรือ clean air fee ในราคา 4 เซ็นต์ในทุกๆ การเดินทาง 1 ไมล์ หรือ 1.33 บาทในทุก ๆ 1.6 กิโลเมตรสำหรับการใช้บริการแท็กซี่ในกรุงลอนดอน ซึ่งมีการรวบรวมเงินดังกล่าวได้มากกว่า 135 ล้านปอนด์ (ราว 6.1 พันล้านบาท)

โดยเงินส่วนนี้ จะถูกนำมาใช้เพื่อช่วยสนับสนุนให้บรรดาคนขับของ Uber สามารถซื้อรถยนต์รุ่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ ในราคาพิเศษจากบริษัทพันธมิตร อย่าง Nissan เเละ Kia เเละล่าสุด Tesla ก็เข้าร่วมเเผนการนี้ด้วย

โดยการจับมือระหว่าง Uber เเละ Tesla เกิดขึ้นเพียง 1 สัปดาห์หลัง Tesla ประกาศดีลซื้อขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากับ Hertz บริษัทให้เช่ารถรายใหญ่ จำนวน 50,000 คัน เพื่อนำไปให้บริการเป็นรถรับจ้างเเบบ Ride-hailing ร่วมกับ Uber ในสหรัฐฯ ภายในปี 2023

ปัจจุบัน คนขับ Uber ในกรุงลอนดอนกว่า 4,000 คน ได้หันมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อให้บริการผู้โดยสารทั่วไปเเล้ว ถือว่ามีจำนวนมากที่สุดในบรรดาเมืองใหญ่ทั่วโลก

ยังมีงานที่ต้องทำอีกมาก เพื่อขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจเเละการคมนาคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความคืบหน้าในกรุงลอนดอนนั้น จึงเป็นก้าวสำคัญที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำในด้านนี้”  Jamie Heywood ผู้บริหารประจำภูมิภาคยุโรปเหนือเเละยุโรปตะวันออกของ Uber กล่าว

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1360274
3 ปีที่รอคอยกับ “กม. แอปเรียกรถ” ถูกกฎหมาย จับตาโค้งสุดท้ายก่อนใช้จริง https://positioningmag.com/1333971 Thu, 27 May 2021 06:44:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333971 เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วหลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้พยายามผลักดันให้รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถนำมาให้บริการรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันได้อย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย

จนกระทั่งถึง “โค้งสุดท้าย” ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา เมื่อนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เผยว่า ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ .. …. ดังกล่าว ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว โดยหลังจากนี้จะจัดทำประกาศตามกฎกระทรวงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน

คาดว่าประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน หรือไม่เกินเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งการผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ไม่เฉพาะกับภาครัฐเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทุกภาคส่วนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสาร ผู้ขับขี่ และผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม

รู้จักบริการ และร่างกฎหมายแอปเรียกรถ

ในยุคสมัยที่ชีวิตของผู้คนขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ทั้งการเข้าถึงสมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ตที่ง่ายและสะดวกสบาย ประกอบกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีและดิจิทัลที่รุดหน้าอย่างรวดเร็ว และการเติบโตของสังคมเมือง รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ที่เน้นความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น

ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้แพลตฟอร์มต่างๆ รวมถึงบริการ เรียกรถผ่านแอป (Ride-hailing) มีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลาง เพื่อเชื่อมต่อผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการให้สามารถเจอกับผู้ขับขี่ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้กฎหมายไทยยังไม่ได้เปิดกว้างหรือรองรับให้สามารถนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการสาธารณะได้ โดยเน้นให้ความสำคัญไปกับรถรับจ้างอย่างแท็กซี่เท่านั้น

กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบก จึงได้ผลักดันให้มีการออกกฎหมายที่จะทำให้ประชาชนสามารถนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาจดทะเบียนเป็น “รถยนต์รับจ้าง” กับกรมการขนส่งทางบกเพื่อนำไปให้บริการสาธารณะผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (หรือแอปพลิเคชัน) ที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถหลายราย ไม่ว่าจะเป็น แกร็บ (Grab), โบลท์ (Bolt), ไลน์แมน แท็กซี่ (LINE MAN Taxi), โกเจ็ก (Gojek), ทรูไรด์ (True Ryde) และบอนกุ (Bonku)

สาระสำคัญของร่างกฎหมายฯ ดังกล่าวยังครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดขนาด กำลังขับเคลื่อน (กิโลวัตต์) หรือประเภทของรถที่จะสามารถนำมาให้บริการ การต้องติดเครื่องหมายบนตัวรถว่าเป็นรถที่ให้บริการผ่านแอป การกำหนดอายุการใช้งานของรถที่ต้องไม่เกิน 9 ปี และต้องตรวจสภาพรถตามหลักเกณฑ์ของกระทรวง รวมไปถึงการกำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องแต่งกายสะอาดและสุภาพ

ขณะที่ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันต้องมีระบบการลงทะเบียนคนขับ การกำหนดให้ต้องมีการแสดงตัวตนของคนขับ เลขทะเบียนรถ ระยะทาง ระบบติดตาม-ตรวจสอบเวลา สถานที่รับส่ง ระบบคิดอัตราค่าโดยสารล่วงหน้า ตลอดจนระบบแจ้งข้อร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือ เป็นต้น

เมื่อถูกกฎหมาย ใครบ้างที่ได้ประโยชน์

  • ผู้โดยสาร

หรือประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการขนส่งสาธารณะจะได้รับความสะดวกสบายในการสัญจรเดินทาง ซึ่งเพิ่มทางเลือกให้สามารถใช้บริการได้ทั้งการโบกรถแท็กซี่แบบเดิม หรือเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อให้มารับได้ถึงที่โดยไม่ต้องรอนาน สามารถคาดการณ์ระยะเวลาการเดินทางได้ ทั้งยังมีการแสดงราคาที่โปร่งใสให้ทราบก่อนการเดินทางทุกครั้ง

และยังสามารถเลือกวิธีการชำระเงินได้ตามความสะดวก ไม่ว่าจะด้วยเงินสดหรือตัดบัญชีผ่านแอปพลิเคชันได้เลย  ที่สำคัญคือ มาตรฐานด้านความปลอดภัย เพราะมีระบบติดตามการเดินทางแบบเรียลไทม์ มีฐานข้อมูลของคนขับที่สามารถตรวจสอบได้หากมีเหตุฉุกเฉิน และมีระบบร้องเรียนหรือระบบให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา

  • ผู้ขับขี่

สามารถหารายได้เสริม และสร้างประโยชน์จากทรัพย์สินอย่างรถยนต์ที่มีอยู่เพื่อก่อให้เกิดรายได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องโดนดำเนินคดีทางกฎหมายเหมือนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันหลายรายยังมอบสิทธิประโยชน์ให้กับคนขับเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นประกันอุบัติเหตุในขณะให้บริการ ระบบหรือเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ช่วยสร้างความอุ่นใจให้คนขับ รวมไปถึงบางรายอาจมีผลิตภัณฑ์ด้านการเงินอย่างสินเชื่อ หรือการผ่อนชำระสินค้าเพื่อสนับสนุนหรือแบ่งเบาภาระให้กับคนขับด้วย

  • แพลตฟอร์ม หรือผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน

ถือเป็นโอกาสในการพัฒนา และขยายธุรกิจได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเมื่อเปิดให้มีการแข่งอย่างเสรี ย่อมส่งผลให้เกิดการยกระดับของทั้งอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการพัฒนามากขึ้น ทั้งในด้านมาตรฐานการบริการที่ดียิ่งขึ้น ราคาในการให้บริการที่สมเหตุสมผล  ซึ่งผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดก็คือผู้บริโภคนั่นเอง

  • คนขับรถแท็กซี่

ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าบริการเหล่านี้จะมาแย่งอาชีพหรือแย่งผู้โดยสาร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาครัฐพยายามสร้างความสมดุลเพื่อให้อุตสาหกรรมบริการเดินทางขนส่งสาธารณะ เกิดการพัฒนาและเดินหน้าได้โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยช่วยแก้ปัญหาให้กับกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ในหลายมิติ เช่น การขยายอายุรถแท็กซี่จาก 9 เป็น 12 ปี การลดภาระต้นทุนติดตั้งอุปกรณ์ส่วนตัว โดยสนับสนุนการใช้ซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชันเข้ามาแทนที่

ปัจจุบัน คนขับแท็กซี่หลายหมื่นรายหันมาหารายได้จากการรับงานผ่านแอปเรียกรถเหล่านี้อยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสในการหารายได้ได้สองช่องทาง ทั้งจากการรับงานแบบดั้งเดิมที่ผู้โดยสารโบกเรียกตามท้องถนน และการรับผู้โดยสารจากแอปเรียกรถที่จะช่วยประหยัดเวลาในการวนหาลูกค้า

  • ผลประโยชน์ที่เกิดกับประเทศ

การที่แอปเรียกรถถูกกฎหมายถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งในการสนับสนุนนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” (Thailand 4.0) ของภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการหมุนเวียนของรายได้ในระบบเศรษฐกิจมหภาค ยกระดับมาตรฐานในด้านการเดินทางและขนส่ง

รวมไปถึงช่วยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คุ้นชินกับการเรียกรถผ่านแอป รวมทั้งการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะในเมืองรอง ซึ่งไม่มีระบบขนส่งสาธารณะรองรับ ที่สำคัญ การทำให้แอปเรียกรถถูกกฎหมาย ยังถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องยืนยันและเป็นอีกก้าวสำคัญในการผลักดัน และพัฒนากฎหมายรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับบริบทของธุรกิจดิจิทัลในปัจจุบันต่อไปในอนาคต

ปัจจุบันมีการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการรับส่งคนผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ นับหลายหมื่นคัน ยังไม่นับรวมคนขับแท็กซี่จำนวนมากที่หันมารับงานจากแอปเรียกรถเหล่านี้ ฝันของประชาชนคนไทยที่จะสามารถนำรถยนต์ส่วนตัวมาประกอบอาชีพได้อย่างถูกกฎหมายไม่ใช่เรื่องลมๆ แล้งๆ อีกต่อไป แม้จะตามหลังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือเวียดนาม แต่ก็ยังไม่สายเกินไป… อดใจอีกนิด ไม่นานเกินรอ

]]>
1333971
ลือหึ่ง ‘Grab’ และ ‘Gojek’ เตรียมควบรวมกิจการ https://positioningmag.com/1308949 Thu, 03 Dec 2020 11:11:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308949 มีข่าวลือว่า 2 สตาร์ทอัพที่มีค่าที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง ‘Grab’ และ ‘Gojek’ เจ้าของแพลตฟอร์ม ‘Ride-Hailing’ ที่ชาวไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดีอาจจะ ‘ควบรวมกิจการ’ โดยมี ‘SoftBank Group Corp.’ เป็นนักลงทุนรายใหญ่

Grab และ Gojek ทั้งคู่ต่างเป็นคู่แข่งที่ต่อสู้กันอย่างดุเดือดในตลาด Ride-Hailing ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยต่างคนก็ต่างผลาญเงินลงทุนจากนักลงทุนเพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้มาใช้แพลตฟอร์มของตัวเอง ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ ‘SoftBank’ ต้องพยายามทำให้ทั่ง 2 ควบรวมกิจการกันเพื่อลดการผลาญเงินลงทุนและสร้าง Tech Company ที่ทรงพลังที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ก่อนที่จะไม่ได้อะไรเลย

ซึ่งถ้าเกิดการควบรวมจริง ‘Anthony Tan’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Grab จะกลายเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหน่วยงานที่รวมกัน ในขณะที่ผู้บริหาร Gojek จะดำเนินธุรกิจในอินโดนีเซียภายใต้แบรนด์ Gojek เหมือนเดิม โดยทั้งสองแบรนด์อาจใช้ชื่อแบรนด์ของตัวเองทำตลาดเองทำงานแยกกันอีกนาน แต่ในท้ายที่สุดการรวมกันนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็น ‘บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์’

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของ Grab, Gojek และ SoftBank ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น ขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวอาจจะล่มเนื่องจากต้องได้รับการอนุมัติตามกฎข้อบังคับ และรัฐบาลเองก็อาจมีข้อกังวลเกี่ยวกับการ ‘ผูกขาด’ หากทั้ง 2 บริษัทเกิดควบรวมกันขึ้นมาจริง ๆ

คงต้องรอดูกันยาว ๆ ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะหาก 2 รายใหญ่จับมือกัน รายเล็ก ๆ ในไทยอาจจะยิ่งอยู่ยากขึ้นไม่น้อย

Source

]]>
1308949
คู่แข่งมาแล้ว! Bolt แอปเรียกรถน้องใหม่จากยุโรปบุกไทย คิดค่าโดยสารถูกกว่า 20% https://positioningmag.com/1290010 Wed, 29 Jul 2020 15:04:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290010 งานนี้ Grab มีสะเทือน ตอนนี้ Bolt แอปพลิเคชันเรียกรถน้องใหม่เข้ามาบุกตลาดในไทย เปิดให้บริการแล้วในกรุงเทพฯ ในช่วงแรกไม่เก็บค่าธรรมเนียมกับคนขับ และตั้งราคาถูกกว่าคู่แข่ง 20%

รู้จัก Bolt กันหน่อย

หลังจากที่ Uber ได้ม้วนเสื่อ ถอยทัพจากตลาดไทยไปหลายปี ทำให้ประเทศไทยดูเหมือนจะผูกขาดกับแอปพลิเคชันเรียกรถอยู่รายเดียวก้คือ “แกร็บ (Grab)” ทำให้กลไกตลาดขาดเรื่องของการแข่งขัน ราคาไปโดยปริยาย

แต่ล่าสุดได้มีน้องเข้ามาบุกตลาด เพื่อเป็นคู่แข่งรายใหม่ของแกร็บเป็นที่เรียบร้อย นั่นคือ Bolt เป็นแพลตฟอร์มให้บริการขนส่งจากประเทศเอสโทเนีย เริ่มก่อตั้งในปี 2013 ตอนนี้มีอายุได้ 6 ปีแล้ว

ภาพรวมธุรกิจเมื่อสิ้นปี 2019 Bolt ได้ทำตลาดใน 150 เมือง จาก 35 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป, แอฟริกา, แอฟริกาเหนือ, เอเชียตะวันตก และอเมริกาเหนือ มีฐานลูกค้ารวม 30 ล้านคน และมีพาร์ตเนอร์คนขับรวม 1 ล้านคน

บริการของ Bolt ไม่ได้แตกต่างจากผู้เล่นรายอื่นเท่าไหร่นัก มีตั้งแต่บริการขนส่ง รถยนต์, มอเตอร์ไซค์, สกู๊ตเตอร์ และเพิ่งเปิดบริการส่งอาหารหรือ Bolt Food เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2019 นี้เอง

ขอถูกกว่าคู่แข่ง 20%

ตอนนี้ Bolt ประกาศทดลองเปิดให้บริการในกรุงเทพฯ ประเทศไทยอย่างเป็นทางการแล้ว โดยมีคนขับพร้อมให้บริการแล้วกว่า 2,000 คน

Bolt เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี รวมถึงคนขับรถที่สนใจเข้าร่วมในแพลตฟอร์มนี้สามารถหารายได้ได้ง่ายๆ เพียงกดรับงานภายในแอปพลิเคชัน หากสนใจร่วมเป็นคนขับของ Bolt เพียงมีรถยนต์เป็นของตัวเองพร้อมใบอนุญาตต่างๆ ที่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ

ในการทำตลาดในไทยใน 6 เดือนแรก Bolt ประเทศไทย จะยกเว้นการเก็บค่าคอมมิชชั่นจากคนขับ และมอบส่วนลดค่าโดยสารที่ต่ำกว่าคู่แข่งเจ้าอื่นๆ ในตลาด 20%

แอปฯ

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Bolt ได้แล้วผ่าน App Store หรือ Google Play หลังลงทะเบียนเพื่อเริ่มใช้งานผู้โดยสารสามารถเรียกใช้บริการเรียกรถโดยสารได้ง่ายๆ เพียงเปิดแอปฯ ใส่พิกัดที่จะให้ไปรับพร้อมจุดหมายปลายทาง แอปฯ ก็จะประเมินค่าเดินทางให้เรียบร้อย หลังจากผู้โดยสารกดยืนยันผู้โดยสาร ตัวแอปฯ จะทำการแจ้งคนขับที่อยู่บริเวณรอบๆ เพื่อกดรับงาน

หลังจากคนขับกดรับงานจากผู้โดยสารแล้ว ผู้โดยสารจะสามารถเห็นข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นของคนขับ ทั้งยังสามารถรู้พิกัดของรถที่จะมารับได้อย่างเรียลไทม์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้โดยสารจะขึ้นรถได้ถูกต้อง และเมื่อถึงที่หมายปลายทางผู้โดยสารสามารถชำระค่าโดยสารได้ด้วยเงินสดในระยะแรกของการเปิดตัว

]]>
1290010
‘Grab’ มั่นใจสภาพคล่องอยู่ได้อีก ‘3 ปี’ แม้รายได้หดเป็นเปอร์เซ็นต์ 2 หลักเพราะ COVID-19 https://positioningmag.com/1273847 Thu, 16 Apr 2020 14:18:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273847 Grab ยูนิคอร์นยักษ์ใหญ่ที่ให้บริการ ride-hailing ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าวิกฤติ COVID-19 จะเห็นว่าการใช้งานบริการส่งอาหารหรือ Grab Food พุ่งสูงขึ้น จนเกิดดราม่าต่าง ๆ นานา แต่ในส่วนธุรกิจรับส่งคนจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะคนอยู่แต่บ้านไม่สามารถออกไปไหนได้ แต่ แอนโทนี่ ตัน ซีอีโอของบริษัท ก็ออกมาย้ำว่าสภาพคล่องบริษัทเพียงพอที่จะรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ไปอีก 3 ปี!

แอนโทนี่ ตัน ซีอีโอของ Grab กล่าวว่า Grab ดำเนินงานใน 339 เมืองใน 8 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศเหล่านั้นทั้งหมดได้ดำเนินมาตรการทางสังคมที่เข้มงวด ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากเริ่มพักอยู่ที่บ้านในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ความต้องการการขนส่ง

แม้ว่าแกร็บเองจะมีรูปแบบธุรกิจที่หลากหลาย ทั้งการจัดส่งอาหาร ของชำต่าง ๆ ช่วยให้สามารถรับมือกับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ แต่ต้องยอมรับว่าไม่สามารถจะ COVER ผลกระทบทั้งหมด ส่งผลให้ในบางประเทศยอดการใช้งาน (Gross Merchandize Volume GMV ด้านการขนส่งของแกร็บลดลงเป็นเปอร์เซ็นต์สองหลัก

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของ Grab มีตัวแปรมาจากการให้บริการ เมื่อความต้องการลดลง ต้นทุนก็ลดลงด้วยเช่นกัน

“เราโชคดีที่มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะทำให้เราผ่าน ไม่ว่าจะเป็นภาวะถดถอย 12 เดือนหรือถดถอย 36 เดือน อีกทั้งเรายังปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ โดยปรับกลุ่มธุรกิจที่ไม่ใช่การขนส่งบางส่วนเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการสั่งอาหารหรือของใช้ต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไดรเวอร์บนแพลตฟอร์มยังคงมีโอกาสสร้างรายได้”

Grab Holdings Inc. Co-founder and Chief Executive Officer Anthony Tan

ที่ผ่านมาบริษัทได้ลงทุนเพิ่มเติมเกือบ 40 ล้านเหรียญ ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินทั่วทั้งภูมิภาคและแนะนำมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สิงคโปร์ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่

“เมื่อมองไปข้างหน้า การขนส่งยังเป็นบริการที่จำเป็นสำหรับมวลชน ดังนั้นเราจึงคาดว่ามันจะฟื้นตัวอย่างมากเมื่อผู้คนเริ่มเดินทางอีกครั้งหลังการปิดตัวลง”

ทั้งนี้ ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 2 ล้านคนและกองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

Source

]]>
1273847
มองอนาคตธุรกิจ Ride- hailing “เเอปเรียกรถ” ในไทย ณ วันที่ยังไม่ถูกกฎหมาย 100% https://positioningmag.com/1265054 Thu, 20 Feb 2020 11:51:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265054 ปัญหาการขนส่งในไทยเป็นหนึ่งใน Pain Point หลักของชีวิตประจำวันของทุกคนก็ว่าได้ หลายคนต้องเคยเจอการโบกเเท็กซี่เเล้วโดนปฏิเสธด้วยคำว่า “ไปส่งรถ” บ่อย ๆ ส่วนรถเมล์สาธารณะก็มา “ไม่เป็นเวลา” จัดการเวลาเดินทางไม่ได้ หรือในต่างจังหวัดก็เดินทางลำบาก หากคุณไม่มีรถส่วนตัว

การมาถึงของเทคโนโลยีเเละอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดนวัตกรรม Ride- hailing หรือบริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชัน ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตและการเดินทางของคนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

“ปัจจุบันคนไทยกว่า 34.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของคนไทยทั้งประเทศเคยใช้บริการ Ride-hailing และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 73 ในอีก 30 ปีข้างหน้า”

ถึงตัวเลขผู้ใช้จะพุ่งสูงมาก เเต่ก็ดูจะสวนทางกับกฎหมาย เมื่อ “ประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศสุดท้ายในภูมิภาคอาเซียน ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับการให้บริการ Ride-hailing”

ชี้ให้เห็นว่า เเม้อุตสาหกรรม Ride-hailing จะได้รับการยอมรับจากภาคประชาชนและเป็นทางเลือกการเดินทางของคนไทย ควบคู่ไปกับแท็กซี่ในระบบดั้งเดิม แต่ธุรกิจนี้ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของภาครัฐ

จากผลการศึกษาและวิจัยของ CONC Thammasat มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า 95% ของผู้บริโภคเห็นด้วยกับการทำให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันอย่าง Grab หรือ Uber ถูกกฎหมาย และ 77.24% ของคนไทยเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

ปัจจุบันอุตสาหกรรม Ride-hailing ในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 21,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 ของ GDP ภาคขนส่งทางบกไทย

จากความนิยมของผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะมีการเติบโตสูงขึ้นจนมีมูลค่าถึง 1.2 แสนล้านบาทในปี 2568 คิดเป็นร้อยละ 20 – 25 ของ GDP ภาคขนส่งทางบกไทยในอีก 6 ปีข้างหน้า

โดยผู้โดยสารใช้บริการ Ride-hailing ในประเทศไทยในปี 2561 ประมาณ 2.4 ล้านคนต่อเดือน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 11 ล้านคนต่อเดือนในปี 2568

ในขณะที่มีผู้ขับขี่รถยนต์โดยสารเพื่อให้บริการ Ride-hailing ในปี 2561 ประมาณ 105,000 คนต่อเดือน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 590,000 คนต่อเดือนในปี 2568

Photo : Shutterstock

Positioning คุยกับ “ดร.สุทธิกร กิ่งแก้ว” หัวหน้าโครงการศึกษาและวิจัยฯ CONC Thammasat ถึงโอกาสเเละอุปสรรคของ Ride-hailing ในไทยเเละอาเซียน การเเข่งขันของธุรกิจ เทรนด์ผู้ใช้ เเละปมความ
ขัดเเย้งกับระหว่างเจ้าถิ่น รวมถึงคาดการณ์ระบบขนส่งสาธารณะในปี 2565

“เรามองว่าการทำให้ Ride-hailing ถูกกฎหมายในประเทศไทยเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งเป็นสมดุลที่เหมาะสม ระหว่างการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสาร และเป็นการชูนวัตกรรมเทคโนโลยีให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดยิ่งขึ้น”

อย่างไรก็ตาม กฎหมายสำหรับบริการ Ride-hailing ในประเทศไทยยังเป็นที่ถกเถียงกัน เนื่องจากมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ดร.สุทธิกร กิ่งแก้ว หัวหน้าโครงการศึกษาและวิจัยฯ CONC Thammasat

ด้วยเหตุนี้ CONC Thammasat จึงทำการศึกษาวิจัย ภายใต้หัวข้อ “อุตสาหกรรมการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชัน (Ride-hailing service): บทบาทในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยและความจำเป็นในการพัฒนาหลักเกณฑ์และกฎหมายให้ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อนำเสนอให้เห็นผลกระทบต่างๆ จากการมี Ride-hailing ทั้งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นแนวทางไปยังภาครัฐในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเรื่องนี้ต่อไป เนื่องจากการเดินทางเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชาชนทุกคน

ดร.สุทธิกร มองว่า Ride-hailing เป็นทางเลือกสำคัญที่ช่วยสร้างประโยชน์ต่อระบบคมนาคมขนส่งทั้งระบบ เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการเดินทางให้กับคนไทย แต่ยังรวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวซึ่งนำรายได้มหาศาลมาสู่ประเทศ ส่วนข้อมูลดิจิทัลที่ถูกบันทึกจากแอปพลิเคชันยังสามารถนำมาช่วยในการต่อยอดและพัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยว การวางแผนแก้ไขปัญหาการจราจรหรือการวางผังเมืองในอนาคต 

“ผลสำรวจจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าหากภาครัฐไม่อนุมัติให้การบริการ Ride-hailing ถูกกฎหมาย จะส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งกระทบต่อดุลยภาพที่เกิดจากเศรษฐกิจตลาดเสรีและกลุ่มคนทั่วไปที่เห็นประโยชน์ของ Ride-hailing” 

เเนะรัฐกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ

ขณะที่เมื่อมองเรื่องการแข่งขันของธุรกิจ Ride-hailing ในไทย ก็นับแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมระบบคมนาคมในประเทศ ภาครัฐควรส่งเสริมให้มีการแข่งขันเพื่อให้ประชาชนมีตัวเลือกที่หลากหลาย

“เเต่สิ่งสำคัญคือจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานควบคุมขั้นต่ำ (Minimum Requirement) เพื่อควบคุมผู้ประกอบการที่จะเข้ามาในตลาดให้มีคุณภาพ เนื่องจาก Ride-hailing เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบขนส่งสาธารณะที่ต้องรองรับผู้โดยสารจำนวนมากในแต่ละวัน มีผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมจำนวนมาก หากไม่มีการกำหนดคุณสมบัติและมาตรฐานขั้นต่ำไว้ เมื่อเกิดปัญหาจะเสียหายและส่งผลกระทบในวงกว้างอีกทั้งเป็นเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน” 

ถ้า Ride-hailing ถูกกฎหมาย จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับส่วนใดและอย่างไรบ้าง?

จากผลการศึกษาและวิจัยของ CONC Thammasat พบว่าการพัฒนาและผลักดันให้อุตสาหกรรม Ride-hailing สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกกฎหมายนั้นจะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับหลายภาคส่วน และส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ

ผู้โดยสาร

Ride-hailing ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวันมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเดินทางด้วยเทคโนโลยีและมาตรฐานด้านความปลอดภัย และสามารถเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งในรูปแบบอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • 92% ของผู้โดยสารเห็นว่า บริการ Ride-hailing มีความปลอดภัยกว่าทางเลือกอื่นๆ
  • 95% ของผู้โดยสารเห็นว่า บริการ Ride-hailing ช่วยเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
  • 77% ของผู้โดยสารระบุว่า การใช้บริการ Ride-hailing มีความสะดวกและช่วยประหยัดเวลาในการเรียกรถ
  • 86% ของผู้โดยสารระบุว่า บริการ Ride-hailing มีส่วนช่วยให้มีเวลาเพิ่มขึ้นในการทำงาน หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ระหว่างการเดินทาง ผู้ขับขี่ที่ให้บริการ: Ride-hailing เป็นช่องทางในการประกอบอาชีพที่ช่วยสร้างรายได้และลดภาระหนี้สิน
  • 60% ของคนที่นำรถยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการ Ride-hailing เป็นผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นว่างงาน หรือบุคคลที่เกษียณอายุแล้วซึ่งช่วยสร้างงานและรายได้ให้กับพวกเขา
  • 99% ของผู้ขับที่เป็นแท็กซี่ระบุว่า แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อให้บริการ Ride-hailing ช่วยทำให้มีผู้โดยสารและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
  • 94% ของผู้ขับระบุว่า รายได้ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการผ่านแอปพลิเคชันช่วยลดภาระหนี้สินได้

ภาคสังคม 

Ride-hailing ได้เข้ามาช่วยยกระดับระบบคมนาคมขนส่งของไทย โดยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชน พร้อมช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

ภาคเศรษฐกิจ

สร้างประโยชน์ส่วนเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจ ทั้งรายได้โดยตรงที่เกิดขึ้นจากการให้บริการและรายได้ทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยรายได้เหล่านี้ได้กระจายไปสู่อุตสาหกรรมหลักต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม

ภาคการท่องเที่ยว

Ride-hailing มีส่วนช่วยในการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยได้กลายเป็นหนึ่งในทางเลือกสำคัญที่ช่วยรองรับการให้บริการนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่นักท่องเที่ยวแบบกลุ่มเล็กหรือมีการท่องเที่ยวแบบอิสระ (Free Individual Traveler) มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 75 ในขณะที่นักท่องเที่ยวแบบกลุ่มใหญ่เหลือเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น 

นอกจากนี้ ยังช่วยลดอุปสรรคด้านภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีแปลภาษาผ่านแอปพลิเคชันและปัญหาด้านค่าโดยสารที่ไม่เป็นธรรมด้วยการแจ้งราคาล่วงหน้าก่อนการเดินทาง

เเละในขณะที่ “ระบบขนส่งสาธารณะ” ในหลายประเทศยังเป็นสิ่งที่ยากลำบากสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ด้วยรูปแบบบริการของ Ride-hailing จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนพิการและผู้สูงอายุ เป็นการสร้างความเท่าเทียมทำให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่เพียงแต่การเป็นผู้โดยสาร แต่รวมถึงบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการ (ผู้ขับขี่) ด้วยเช่นกัน

ดร.สุทธิกร อธิบายต่อว่า Ride-hailing จะสร้างทางเลือกในการเดินทางและเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลรวมถึงพัฒนาสังคมเมืองให้เข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) มากยิ่งขึ้นซึ่งช่วยลดภาระของความเป็นเจ้าของยานพาหนะ (Ownership) ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย (ค่าผ่อนรถ ค่าประกัน) ความกังวล (รถหาย รถเสีย) และความไม่สะดวก (หาที่จอดรถไม่ได้) มาสู่ความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการ (Usership) อีกทั้งเปลี่ยนบทบาทของผู้บริโภคไปเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้บริการได้ คือขยับจากที่เป็นเพียง Consumer ไปมีบทบาท Prosumer (การผลิตโดยผู้บริโภค)ได้

เป็นธรรมดาของธุรกิจที่เมื่อมีข้อดีเเล้วก็ต้องมีข้อเสีย หัวหน้าวิจัยของ CONC บอกว่า ข้อเสียของ Ride-hailing คือ สถานการณ์เมื่อธุรกิจบริการ Ride-hailing เกิดขึ้นในประเทศ แม้ว่าจะไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจนกำหนดไว้หรือกฎระเบียบที่ไม่สมดุลก็ตาม สิ่งสำคัญคือการระวังไม่ให้ตกอยู่ในกับดักของนโยบายคุ้มครองเพราะอาจไม่ได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาประเทศสู่ยุคดิจิทัลในปัจจุบัน

“เชื่อว่าถึงแม้ประเทศไทยยังไม่มีการออกกฏหมายที่ชัดเจนและมั่นคงเพียงพอ แต่ประเทศไทยถือว่าอยู่ในจุดที่ดี เนื่องจากเราได้เรียนรู้จากผลการศึกษาและวิจัยจากประเทศอื่นๆ และมีโมเดลของบริกา Ride-hailing ที่ปกป้องผลประโยชน์สาธารณะในขณะที่เสริมสร้างธุรกิจและสภาพแวดล้อมนวัตกรรม”

ระบบเเท็กซี่ไม่ถูกเเทนที่…เเต่ต้องปรับเข้า Ride-hailing

ขณะเดียวกันหลายคนสงสัยว่า สิ่งที่น่ากังวลจากธุรกิจ Ride-hailing นี้ จะเข้ามา Disrupt อะไรบ้าง แล้วการขัดแย้งระหว่างเจ้าถิ่นยังคงมีต่อไปหรือไม่

“ผมไม่คิดว่าการที่ธุรกิจ Ride-hailing เข้ามา disrupt จะส่งผลเสียอะไร ระบบคมนาคมขนส่งของไทยยังมีความล้าหลังทำให้ธุรกิจ Ride-hailing กลายเป็นที่ต้องการในกลุ่มผู้บริโภค ผู้ขับขี่รถแท็กซี่กลายเป็นส่วนสำคัญของระบบคมนาคมในประเทศไทย ซึ่งการโบกรถโดยสารตามถนนยังคงเป็นทางเลือกจำเป็นสำหรับผู้บริโภคอยู่ ดังนั้นระบบแท็กซี่จึงไม่ถูกแทนที่ได้ง่ายๆ” 

โดยผู้ขับขี่บนระบบแท็กซี่แบบดั้งเดิมสามารถเข้าร่วมกับระบบ Ride-hailing เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ ได้

“แท็กซี่ระบบดั้งเดิมอาจต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัว แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านถือเป็นเรื่องปกติที่ทุกอุตสาหกรรมจำเป็นจะต้องปรับตัวเองให้ก้าวทันตามโลกที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว”

เสนอ 5 เเนวทางกำกับ Ride-hailing

CONC Thammasat ได้นำเสนอแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลบริการ Ride-hailing ในไทยซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรใช้ในการพิจารณา โดยการรับฟังความคิดเห็นและมุมมองจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ทั้งผู้โดยสารผู้ขับขี่ที่ให้บริการ Ride-hailing ผู้ขับแท็กซี่ในระบบดั้งเดิม ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนักวิชาการ ซึ่งครอบคลุม 5 ประเด็นหลักอันได้แก่

1) มาตรฐานด้านความปลอดภัยของแพลตฟอร์มที่ให้บริการ

o   มีเทคโนโลยีที่รองรับด้านความปลอดภัย เช่น ระบบ GPS เพื่อติดตามตำแหน่งและสถานะของการเดินทางแบบเรียลไทม์ หรือมีปุ่มแจ้งเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น

o   มีระบบตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้ขับ เช่น ระบบ Biometrics

o   มีศูนย์บริการให้ความช่วยเหลือและรับเรื่องร้องเรียนตลอด 24 ชั่วโมง

o   มีประกันคุ้มครองให้กับทั้งผู้ขับและผู้โดยสารในทุกเที่ยวการเดินทาง

2) มาตรฐานผู้ขับขี่และรถยนต์

o   ผู้ขับต้องผ่านการคัดกรองและตรวจสอบประวัติอาชญากรรมก่อนให้บริการ

o   ผู้ขับต้องได้รับการอบรมในด้านความปลอดภัย

o   การกำหนดมาตรฐานของรถยนต์ควรอิงด้านความปลอดภัยของตัวรถและเปิดโอกาสให้ประชาชนนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาสร้างรายได้

3) มาตรฐานการให้บริการและเทคโนโลยี

o   มีศักยภาพในการให้บริการอย่างครอบคลุมและฐานผู้ขับที่เพียงพอกับความต้องการ

o   เทคโนโลยีที่นำมาใช้ต้องมีเสถียรภาพและสามารถรองรับการขยายตัวของธุรกิจ

o   มีระบบแปลภาษาที่ช่วยสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

o   สามารถชำระค่าบริการได้หลายรูปแบบ ทั้งเงินสดและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

4) มาตรฐานด้านราคา

o   ควรให้มีการคำนวณราคาค่าบริการตามกลไกตลาด หรือ Dynamic Pricing ที่สะท้อนปริมาณความต้องการและจำนวนรถที่ให้บริการ (Demand-Supply) ณ เวลานั้นๆ

o   ต้องมีการแจ้งราคาค่าบริการให้ผู้โดยสารทราบล่วงหน้าก่อนการเดินทาง

o   ควรกำหนดราคาโดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความต้องการของทั้งผู้โดยสารและผู้ขับขี่ โดยเป็นราคาที่ผู้ขับสามารถสร้างรายได้ในขณะเดียวกันผู้โดยสารก็ต้องยอมรับได้

5) มาตรฐานของบริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มหรือผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน

o   ต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องในประเทศไทย

o   ควรมีผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นคนไทยหรือบริษัทไทย

o   มีการเสียภาษีให้กับประเทศ

o   มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต

ทางเลือกการเดินทาง “ที่ต้องมี” 

ดร.สุทธิกร ปิดท้ายด้วย การคาดการณ์ระบบขนส่งสาธารณะในปี 2565 ไว้ว่า จากการศึกษาของ BCG พบว่าถึงแม้ระบบขนส่งสาธารณะจะสามารถพัฒนาไปได้ตามแผนที่วางไว้และแล้วเสร็จตามกำหนดนั้น ในปี 2565 ระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้จะยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเร่งด่วนได้

ดังนั้นการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันยังคงมีบทบาทสำคัญในการช่วยอำนวยความสะดวกและลดความหนาแน่นของการโดยสารในระบบขนส่งสาธารณะลงได้ ด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่สามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้ทุกที่ และไม่มีทางเลือกอื่นๆ เนื่องจากยังไม่มีบริการอื่นมาแทนที่จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้บริการขนส่งสาธารณะทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นการเดินทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

“การให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันจึงสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของคนเหล่านี้ได้ โดยการให้บริการผ่านทางแอปพลิเคชันนั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้บริการการขนส่งสาธารณะ แต่เพียงเข้ามาเพื่อปิดช่องว่างที่ไม่มีประสิทธิภาพเหล่านั้น และเป็นเส้นเลือดฝอยที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงเส้นเลือดใหญ่มากขึ้น”

อีกทั้งยังพยายามที่จะสนับสนุนให้คนเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น โดยเห็นได้ว่ามีผู้ให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันบางรายให้บริการลดราคาหรือราคาพิเศษสำหรับการเดินทางไปยังป้ายรถประจำทางหรือสถานีรถไฟ

นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชัน ในช่วงเวลากลางดึกมีสัดส่วนการใช้งานที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบจากทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าในเวลากลางดึก ซึ่งเป็นเวลาที่การบริการขนส่งสาธารณะต่างๆ งดให้บริการแล้ว สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางหรือมีตารางเวลาการทำงานที่ไม่แน่นอน และเวลาการทำงานแตกต่างจากปกติ เช่น พนักงานสายการบิน พนักงานโรงแรม เป็นต้น การใช้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันจึงเป็นตัวเลือกที่เข้ามาทดแทนได้

ยุคนี้ Ride-hailing มาเเน่…เเต่รัฐจะกำกับดูเเลอย่างไร เป็นเรื่องที่ผู้ใช้อย่างเราๆ ต้องคอยดูต่อไป 

]]>
1265054