SCB CIO – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 21 Dec 2021 11:40:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องกลยุทธ์ลงทุนปี 2022 กับธีมธุรกิจแห่งอนาคต จากมุมมอง SCB CIO https://positioningmag.com/1367990 Tue, 21 Dec 2021 08:47:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367990 ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนปีหน้า ผลกระทบโควิด “ลดลงแต่ยังไม่หายไป” SCB CIO แนะลงทุนกลุ่มประเทศและธุรกิจที่มีภูมิคุ้มกันสูง เช่น หุ้นสหรัฐฯ ยุโรป โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม quality growth มุ่งเน้น 2 ธีมหลัก Super Investment เเละ Futuristic Investment ส่วนตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็น top pick ในอาเซียน มองหุ้นไทยเป็น neutral

โดยมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2022 ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส SCB CIO ได้ประเมินผ่าน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้

โควิด-19 จะอยู่กับเราไปอีกนาน

ผลกระทบแม้จะมีแนวโน้มลดลงแต่ยังไม่หายไป ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ เริ่มมีความแตกต่างน้อยลง โดยเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วหลังจากฟื้นตัวในปี 2021 จะเริ่มชะลอลงในปี 2022 ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาเริ่มกลับมาฟื้นตัว

“เเต่การฟื้นตัวของภาคธุรกิจยังมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการข้อจำกัดต่างๆ เช่น การเดินทางระหว่างประเทศ” 

นโยบายการเงินการคลัง เริ่มตึงตัวขึ้นแบบ ‘ค่อยเป็นค่อยไป’ 

ธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในปี 2022 โดยทยอยขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี แต่จะมีการสื่อสารให้ตลาดรับทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะทำให้ความผันผวนในตลาดการเงินโลกแม้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้น แต่น่าจะอยู่ในระดับที่จัดการได้

“ธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับ 0.5% ต่อไปอีก 1 ปี เพื่อประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ” 

ส่วนนโยบายการคลังในประเทศพัฒนาแล้ว จะเริ่มเห็นการออกนโยบายเพิ่มรายได้ภาครัฐมากขึ้น เช่น การขึ้นภาษี แต่อาจจะไม่มากพอที่จะชดเชยการขาดดุลขนาดใหญ่ในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้หนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับสูง

Photo : Shutterstock

ต้นทุนทางการเงินเริ่มสูงขึ้น ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่มาพร้อมความผันผวน

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรโดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่น่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามการขยับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 ตามการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศและดุลบัญชีเดินสะพัด

“SCB CIO คาดว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐจะอยู่ในช่วง 32-33 ในปลายปี 2022 แต่จากการปรับนโยบายการเงินในประเทศต่างๆ และความไม่แน่นอนของการกลายพันธุ์ COVID-19 ค่าเงินบาทจะมีความผันผวนสูงของ ดังนั้นการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (FX hedging strategy) จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ”

เเนะเน้นทุนในหุ้น มากกว่าพันธบัตร

โดยเน้นไปที่กลุ่มประเทศและธุรกิจที่มีภูมิคุ้มกันสูงและเติบโตได้ดีในสภาวะที่ผลกระทบของโควิด-19 ยังไม่หายไป และการขยับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น หุ้นสหรัฐฯ และยุโรป โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม quality growth ตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็น top pickในตลาดหุ้น ASEAN แม้ valuation เริ่มมีการขยับขึ้นก็ตาม แต่ในระยะข้างหน้าเราเชื่อว่าเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดจะเบียนจะมีการฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากภาคส่งออก

SCB CIO คงมุมมองตลาดหุ้นไทยเป็น neutral จาก valuation ที่ตึงตัวกว่าตลาดหุ้นเวียดนาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่น่าจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 เพื่อป้องกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อสูงยืดเยื้อกว่าคาด

“ในพอร์ตการลงทุนควรพิจารณา น้ำมัน หุ้นกลุ่ม financial และ consumer ส่วนทองคำน่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ” 

ลงทุนตาม ‘เมกะเทรนด์’ ในอนาคต 

จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันน้อยลง จะทำให้มีการลงทุนใน Thematic investment funds ในอุตสาหกรรมและบริษัทที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งและธุรกิจเฉพาะทางมากขึ้น รวมทั้งธุรกิจที่สามารถเกาะกระแสการเติบโตของเมกะเทรนด์ในอนาคตได้ จะมีบทบาทและความน่าสนใจมากขึ้นในการจัด Global asset allocation portfolio โดยในปี 2022 SCB CIO แนะลงทุนใน 2 ธีมการลงทุนหลัก ได้เเก่

Super Investment Theme

สำหรับ Super Investment Theme เป็นธีมการลงทุนอุตสาหกรรมระยะยาวที่เติบโตต่อเนื่อง มี 3 ธีมย่อยสำหรับการลงทุนที่มีความน่าสนใจ คือ

  • กลุ่ม Renewable Energy & Decarbonization เช่น ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน รถยนต์ไฟฟ้า และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการพลังงานและการลดการปล่อยคาร์บอน
  • กลุ่ม Healthcare and Healthtech โดยเฉพาะกลุ่ม Medical Technology เช่น อุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ จากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลก
  • กลุ่ม Fintech เทคโนโลยีทางการเงินที่เกาะกระแสการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เปิดโอกาสการลงทุนในบริษัทที่มีความหลากหลายในการให้บริการทางการเงิน

Futuristic Investment Theme

ธีมการลงทุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีศักยภาพเติบโตสูง มี 3 ธีมย่อยที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่

  • Aerospace & Space Exploration จากแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจด้านอวกาศและการบิน การท่องเที่ยวอวกาศ รวมถึงเทคโนโลยีจรวด โดรน ดาวเทียม การวัดและพยากรณ์สภาพภูมิอากาศ และระบบโทรคมนาคมขั้นสูง
  • Metaverse การลงทุนในวิวัฒนาการขั้นต่อไปของอินเทอร์เน็ตในเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ซึ่งสามารถสร้างโอกาสการเติบโตที่หลากหลายไม่จำกัดเฉพาะธุรกิจโซเชียลมีเดีย แต่รวมถึงโอกาสในธุรกิจที่เกี่ยวกับวิดีโอเกมและสันทนาการ อีคอมเมิร์ซ อุตสาหกรรมการผลิต

ถ้าเป็นความเสี่ยงปานกลาง ควรจะมีสัดส่วนในหุ้นประมาณ 60-65% โดยให้น้ำหนักหุ้นมากกว่าตราสารหนี้ ส่วนการถือเงินสด ควรจะถือประมาณ 5-7% ก็พอ เอาไว้เก็บหุ้นเพิ่มตอนที่ปรับฐาน เเละให้น้ำหนักหุ้นต่างประเทศมากกว่าหุ้นไทย โดย 4 ใน 5 ของพอร์ตให้เน้นหุ้นเป็นหุ้นตลาดต่างประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว เน้นสหรัฐฯ ยุโรป จีน และเวียดนาม ที่เป็นตลาดเกิดใหม่ โดยหุ้นขนาดกลางเเละขนาดเล็ก มีเเนวโน้มจะสร้างผลตอบเเทนได้ดี

 

]]>
1367990
เปิด 3 ธีมเมกะเทรนด์ จัดพอร์ตกองทุน SSF-RMF อย่างไร ในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี https://positioningmag.com/1361364 Wed, 10 Nov 2021 12:11:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361364 SCB CIO เเนะเเนวจัดพอร์ตลงทุน RMF – SSF ช่วงปลายปีนี้ กับ 3 ธีมเมกะเทรนด์ หุ้นโลก “กลุ่มสุขภาพ – กลุ่มเทคโนโลยีการเงิน – หุ้นจีนกลุ่ม Tech และ A-Shares” มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

ศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย SCB Chief Investment Office (CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยถึง มุมมองต่อการจัดพอร์ตลงทุนเพื่อการออมสำหรับการเกษียณและการลดหย่อนภาษี โดยใช้โอกาสจากการลงทุนในกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) และ SSF (Super Savings Fund) ในช่วงปลายปี เป็นเครื่องมือช่วยออมและวางแผนเกษียณในระยะยาว

โดยประชากรไทยส่วนใหญ่ ยังมีเงินออมไม่เพียงพอและมีแผนการเงินระยะยาวไม่ครอบคลุมต่อการเกษียณอย่างยั่งยืน ในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ครอบครัวส่วนใหญ่มีขนาดที่เล็กลง การพึ่งพาตนเองจึงเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นเหมือนกับสังคมผู้สูงอายุในหลายประเทศทั่วโลก

“การวางแผนการเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณไม่ควรพึ่งระบบบำเหน็จบำนาญ หรือสวัสดิการของรัฐเป็นช่องทางหลัก หรือพึ่งพารายได้จากลูกหลาน แต่ควรให้ความสนใจกับแผนการลงทุนส่วนบุคคลเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินและพึ่งพาตนเองได้ในยามเกษียณ”

ผู้ลงทุนควรเลือกเทรนด์การลงทุนที่คาดว่า จะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่เติบโตให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นภายหลังเกษียณได้อย่างมั่นคง เช่น ค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล ที่คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามอายุของเราที่มากขึ้น และราคาของค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นด้วย

เกาะ 3 ธีม ลงทุนปลายปี

ในการลงทุนระยะยาว SCB CIO ได้เลือก 3 ธีมเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจ ได้แก่ ธุรกิจสุขภาพ ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน และการเติบโตของเศรษฐกิจจีน สำหรับการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ดังนี้

ธุรกิจสุขภาพ – Healthcare

เป็นเทรนด์ที่เหมาะกับการถือลงทุนในระยะยาว เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลคิดเป็นสัดส่วนที่สูงต่อ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลกในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

ขณะที่โครงสร้างประชากรเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากการที่สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีเมื่อเทียบกับอัตราการเกิด ซึ่งการลงทุนในหุ้นของบริษัทด้านธุรกิจสุขภาพทั่วโลก เป็นโอกาสการกระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรมย่อยที่มีความสำคัญ เช่น

  • บริษัทยา (Pharmaceutical)
  • เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
  • เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Technology)
  • เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
  • ประกันสุขภาพ (Health Insurance)
  • อุปกรณ์การแพทย์ (Medical Devices and Instruments)

“การลงทุนในหุ้นบริษัทธุรกิจสุขภาพโลก มองเป็นการลงทุนได้ทั้งในสไตล์หุ้น defensive ที่มีความผันผวนไม่มาก รวมถึงสไตล์หุ้น growth ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงได้อย่างสมดุล ซึ่งเหมาะกับแผนการลงทุนระยะยาว เนื่องจากธุรกิจสุขภาพถือเป็นธุรกิจหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จะอยู่คู่กับมนุษย์ทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBRMGHC (RMF)”

Photo : Shutterstock

ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน – Fintech 

วิวัฒนาการของภาคเทคโนโลยีทางการเงินมีความคืบหน้าต่อเนื่องและ Fintech ยังมีแนวโน้มเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในระยะยาว เนื่องจากกระแส Digital Transformation ทั่วโลกเร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้ปัจจุบันกระแส Fintech เป็นเรื่องปกติในทุกภาคส่วน

สำหรับหุ้นธุรกิจ Fintech ที่น่าสนใจ ได้แก่ บริษัทที่ทำธุรกิจในเรื่องของ E-Commerce, Social Platform, Digital Payment, Digital Lending, Cloud Computing รวมไปถึงธุรกิจด้าน Wealth Management และ Robo Advisory และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน Cryptocurrency และเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากจากคนรุ่นใหม่

ทั้งหมดนี้เป็นธุรกิจการเงินแห่งอนาคตและถือเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ และบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ล้วนเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาด Fintech ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงถือเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูง ซึ่งสอดคล้องกับแผนการลงทุนระยะยาวเช่นกัน สำหรับตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBFINTECH (SSF)

Photo : Shutterstock

หุ้นจีนกลุ่มTech และ A-Shares

แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ประเทศจีนถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าสนใจลงทุนมากที่สุดในโลก และยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี

แม้ในปีนี้ราคาหุ้นจีนปรับลดลงมามากเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศอื่น เนื่องจากแรงกดดันจากการคุมเข้มด้านกฎระเบียบต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และการปฏิรูปเศรษฐกิจและธุรกิจตามแนวทางความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Common Prosperity)

ความกังวลด้านกฎระเบียบยังอาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นจีนในช่วงสั้น แต่จากแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของจีนยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของธุรกิจจีนอีกมาก ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่สามารถพลิกโฉมเศรษฐกิจและมีความเป็นเลิศในวิทยาการด้านต่างๆ ทั้งสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และมีเทคโนโลยีที่สามารถแข่งขันได้กับชาติมหาอำนาจตะวันตก และด้วยขนาดประชากรจีนที่มีมากราว 1.4 พันล้านคน ทำให้ยังมีกำลังซื้ออีกมหาศาลและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก

SCB CIO เห็นโอกาสการลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ที่ได้อานิสงส์จากการบริโภคภายในประเทศที่ยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของทางการจีนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ บริษัทเทคโนโลยีจีนที่ปีนี้ ราคาหุ้นปรับฐานลงมามากจากความกังวลและการคุมเข้มด้านกฎระเบียบ ทำให้ราคาหุ้นเริ่มถูกและมี valuation ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาว ตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBRMCHA (RMF) และ SCBCTECH-SSF

Photo : Shutterstock

ปรับการลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง 

โดยสรุป 3 ธีมเมกะเทรนด์ :

จากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมีสัดส่วนที่สูงต่อ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลก ด้าน Fintech จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงภาคบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นธุรกิจการเงินแห่งอนาคตที่มีตลาดขนาดใหญ่และมีศักยภาพในการเติบโตสูง 

ส่วนหุ้นจีนแม้ปีนี้ มีการปรับตัวลงมาค่อนข้างแรงเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ จากความกังวลเรื่องกฎระเบียบต่างๆ จึงเป็นจังหวะการเข้าลงทุน เนื่องจากจีนมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจอีกมาก โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก

SCB CIO มองว่า โอกาสการลงทุนในระยะยาว ทำให้ 3 ธีมเมกะเทรนด์ข้างต้นเป็นธีมการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับการคัดเลือกเพื่อเข้ามาจัดพอร์ตการลงทุนสำหรับการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ เพื่อเป็นหนึ่งในตัวช่วยการลดหย่อนภาษีและการวางแผนการลงทุนในระยะยาว สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนและได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีไปพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม กองทุน RMF และ SSF มีเงื่อนไขการลงทุนที่แตกต่างกัน ผู้ลงทุนควรพิจารณาทางเลือกในการลงทุนให้เหมาะสมกับตนเอง โดยพิจารณาทั้งจากจุดประสงค์ในการลงทุน ระยะเวลาในการลงทุน ความเสี่ยงและนโยบายการลงทุนของกองทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน การกระจายความเสี่ยงไปหลายกองทุน

“สัดส่วนการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยง ควรจะต้องสอดคล้องกับอายุและความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนด้วย หากอายุมากขึ้นก็ควรจะต้องทยอยลดน้ำหนักในกองทุนหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงให้น้อยลงไปด้วยเช่นกัน” 

 

]]>
1361364
โอกาสตลาดผันผวน เเนะสะสมหุ้นสหรัฐฯ-ยุโรป เน้นกลุ่ม Quality growth รับโลกฟื้นตัว https://positioningmag.com/1355586 Thu, 07 Oct 2021 13:23:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355586 SCB CIO เเนะนักลงทุนจับโอกาสตลาดผันผวน สะสมหุ้นสหรัฐฯ -ยุโรป รับตลาด DMs ฟื้นตัวได้ดีหลังวิกฤตโควิด เน้นกลุ่ม Quality growth หุ้นญี่ปุ่นน่าสนใจจากเเผนกระตุ้นจากรัฐบาลใหม่ ส่วนหุ้นจีนยังมีความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของรัฐ โซนตลาดอาเซียน เวียดนามยังเด่นมีหวังฟื้นตัวได้ดี ส่วนหุ้นไทยยังติดลบมองเป็น slightly negative 

ในงานสัมมนา Business of the Future’ มีการวิเคราะห์เเนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ จังหวะลงทุนในช่วงตลาดผันผวน เเละโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจ พร้อมประเมินอนาคต 3 ธุรกิจโลกยุคใหม่ กับทิศทาง ESG การลงทุนเพื่ออนาคต โดยมีประเด็นสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

ตลาด DMs ฟื้นก่อนใคร 

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส Chief Investment Office ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคธุรกิจทั่วโลกว่า จะแตกต่างกันเเละจะนำไปสู่การทำนโยบายเศรษฐกิจทั้งทางด้านการเงินและการคลังที่แตกต่างกันด้วย

โดยการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ เริ่มมีความแตกต่างมากยิ่งขึ้น โดยประเทศในกลุ่ม Developed Markets (DMs) เช่น สหรัฐฯ และ อังกฤษ ที่เริ่มส่งสัญญาณถอนคันเร่งนโยบายการเงิน โดยชะลอการเข้าซื้อพันธบัตร (QE tapering) และขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตามความพร้อมของเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ Emerging Markets ผ่านต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นและความผันผวนของกระแสเงินทุน (fund flows)

สำหรับนโยบายการคลังการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมา “มีต้นทุนสูง” สะท้อนจากหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นค่อนข้างเร็วในหลายประเทศ และอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงที่แม้จะเป็นปัจจัยชั่วคราว แต่น่าจะใช้เวลาพอสมควรในการชะลอลง

อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศในกลุ่ม DMs ในระยะข้างหน้าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแท้จริง (real yields) จะยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับในอดีต

“ดังนั้นผลกระทบต่อ valuation หุ้นกลุ่ม Quality growth อยู่ในระดับที่จัดการได้ และยังได้รับแรงหนุนจากกระแสแนวโน้มธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังวิกฤตโควิด”

ทั้งนี้ ความเสี่ยงหลักของหุ้นกลุ่ม  Quality growth คือ ผลกระทบจากการขึ้นภาษี และการเปลี่ยนแปลงของกฎเกณฑ์ภาครัฐ (Regulatory risks) แต่คาดว่าการขึ้นภาษีของภาครัฐ เช่น ในกรณีของสหรัฐฯ อาจทำได้ไม่มากเท่ากับที่ประกาศไว้ เนื่องจากการทำมาตรการโครงสร้างพื้นฐานอาจมีการลดขนาดให้เล็กลง

สำหรับหุ้นกลุ่มอื่นๆ SCB CIO เชื่อว่าการมีหุ้นในกลุ่ม Value ยังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการป้องกันความผันผวนในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีการขยับขึ้นเร็ว

สะสมหุ้นกลุ่มสหรัฐฯ – ยุโรป เน้นจับกลุ่ม Quality growth 

ด้านจัดสรรการลงทุน SCB CIO ประเมินว่า กลุ่ม Developed markets  มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ดี หรือ หดตัวน้อยในช่วงวิกฤต ทำให้มีการฟื้นตัวของกำไรและความสามารถในการทำกำไรในระยะข้างหน้าของบริษัทจดทะเบียนได้ดีกว่าตามไปด้วย

“ในช่วงที่ภาวะตลาดผันผวน นับเป็นโอกาสที่ดี ในการเข้าสะสมหุ้นกลุ่มสหรัฐฯ และยุโรป โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม  Quality growth ที่ยังมีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง” 

นอกจากนี้ หุ้นญี่ปุ่น ก็มีความน่าสนใจ จากแนวโน้มการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ และราคาหุ้นไม่แพงเมื่อเทียบกับตลาด DMs อื่นๆ

ส่วนการลงทุนในจีน ยังคงมุมมองตลาดหุ้น A-Share ที่ neutral จากนโยบายมุ่งเน้นเติบโตจากภายในประเทศของจีน เช่น นโยบาย  dual circulation และ common prosperity และคงมุมมองตลาดหุ้นจีน H- Share ที่ slightly negative เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของรัฐที่มีแนวโน้มยืดเยื้ออยู่ค่อนข้างมาก 

เวียดนามมีหวังฟื้นตัวได้ดี ส่วนหุ้นไทย slightly negative

สำหรับตลาดหุ้นอาเซียน เวียดนามยังคงน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจและผลประกอบการ จะชะลอลงในช่วงไตรมาส 3/2021 แต่ตลาดหุ้นได้สะท้อนการรับรู้ไปบ้างแล้ว โดยในระยะข้างหน้า น่าจะมีการฟื้นตัวได้ของภาคการส่งออกตามเศรษฐกิจโลก และความคืบหน้าในการนำเข้าและฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงต่อสายพันธุ์เดลตา ทำให้การเปิดเมืองและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาได้  

“ส่วนตลาดหุ้นไทย มองเป็น slightly negative จากแนวโน้มการฟื้นตัวของกำไรที่เสี่ยงถูกปรับลดลง และความตึงตัวของ valuation เมื่อเทียบกับตลาดอาเซียนอื่น” 

โดยมองค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีที่ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เเละให้น้ำหนักไปทาง 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ด้านราคาน้ำมัน ปรับมุมมองเป็น Neutral จากการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน ซึ่งได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง และแนวโน้มการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศพัฒนาแล้วดีขึ้น รวมถึงการหันมาใช้น้ำมันมากขึ้นทดแทนก๊าซธรรมชาติที่มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 

นอกจากนี้ ยังมีมุมมอง slightly negative สำหรับทองคำที่จะได้รับผลกระทบจาก QE tapering และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร (real yields) ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และสำหรับ Asian REITs ที่การปิดเมืองมีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าที่คาดไว้    

หลังโควิด : 3 ธุรกิจรับโลกยุคใหม่

ด้านมุมมองต่อการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ Transformation ปัจจุบันเห็นว่ามี 3 กลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจ ที่มาพร้อมการเติบโตของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

โดยศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย SCB Chief Investment Office ให้ข้อมูลว่า 

ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน (Fintech)

เทรนด์การลงทุนใน Fintech กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นทั่วโลก ทำให้กระแสการลงทุนในบริษัท Fintech ใน Centralized และ Decentralized Finance เติบโตอย่างรวดเร็ว

SCB CIO มองว่าการขยายตัวของกระแส Fintech ที่ครอบคลุมและต่อยอดออกไปในหลายอุตสาหกรรม และการมาถึงของ Decentralized Finance การขยายตัวของบริษัทแพลตฟอร์มระดับโลกเข้าสู่ธุรกิจการเงิน

“พฤติกรรมของผู้บริโภคหลังโควิด รวมถึงกฎระเบียบข้อบังคับที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จะทำให้รูปแบบธุรกิจการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากในอดีต และเปิดโอกาสการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ Fintech และ Blockchain ได้อย่างมาก” 

ธุรกิจด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)

การใช้งานอินเทอร์เน็ตและระบบออนไลน์เป็นไปอย่างแพร่หลายในทุกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทที่มีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่สำคัญ เช่น แบรนด์ ความสัมพันธ์กับลูกค้า นวัตกรรม และข้อมูลความลับทางการค้า ซึ่งผลกระทบด้านลบจากการถูกละเมิดและการโจมตีทางไซเบอร์จะส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของบริษัทโดยตรง

SCB CIO มองว่า การเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัทและองค์กรทั่วโลก เป็นอีกหนึ่งในโอกาสการลงทุนในบริษัทที่กำลังเติบโตและเป็นผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีไซเบอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหรือมัลแวร์ (Anti-Virus/Anti-Malware) การยืนยันตัวตน (Authentication) และการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)

ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน – รถยนต์ไฟฟ้า- การกักเก็บพลังงาน (Renewable Energy & EV & Energy Storage)

จากกระแสการลดภาวะโลกร้อนสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์สันดาป เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ทั่วโลก รวมถึงแนวทางการพัฒนาพลังงานทางเลือกและพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน แทนการใช้พลังงานจากน้ำมันและถ่านหิน ก่อให้เกิดการเติบโตในหลายอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนที่เกี่ยวเนื่อง

ทั้งในส่วนของการผลิตแบตเตอรี่ เซมิคอนดักเตอร์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการผลิตและการกักเก็บพลังงงานหมุนเวียนไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ฯลฯ ซึ่งสร้างโอกาสการลงทุนอย่างมากในมุมของห่วงโซ่การผลิตในธุรกิจ EV & Energy Storage โดยเฉพาะในบริษัทที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านพลังงาน

SCB CIO มองว่า นอกจากเทรนด์การลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนแล้ว เทรนด์ธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ ได้แก่

ธุรกิจผู้ให้บริการเกี่ยวกับระบบกักเก็บพลังงานและแบตเตอรี่ (Energy Storage System Integrator: ESS) สำหรับการใช้พลังงานทางเลือกซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศ เช่น การใช้งานแบตเตอรี่ร่วมกับพลังงานหมุนเวียน การใช้ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าเพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบสายส่ง เป็นต้น

โรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ (Battery Manufacturing) เพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจพลังงานให้เติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเทรนด์การลงทุนในอนาคตที่รองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โดยมุ่งหน้าสู่การลดการใช้ทรัพยากรและเป็นมิตรกับธรรมชาติ

(Photo : Shutterstock)

ESG การลงทุนเพื่ออนาคต

การลงทุนหุ้นในกลุ่ม ESG (Environmental, Social, and Governance) ที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เป็นอีกธีมการลงทุนยอดนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งแกนในการพิจารณาคัดเลือกบริษัทที่เข้าลงทุนควบคู่ไปกับ 3 เทรนด์อุตสาหกรรมแห่งอนาคตข้างต้นได้เป็นอย่างดี

“ในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะในตลาดหุ้น ผู้ลงทุนต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาดหุ้นค่อนข้างมาก แต่ตามสถิติ หุ้นในกลุ่ม ESG ค่อนข้างจะเผชิญความผันผวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นทั่วไปในตลาดและมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่าหลังจากผ่านพ้นช่วงตลาดปรับฐาน” 

SCB CIO มองว่า การลงทุนในบริษัทที่คำนึงถึงมาตรฐาน ESG เปรียบเสมือนการลงทุนในบริษัทที่ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อรักษามาตรฐานอยู่ตลอด สะท้อนการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและนักลงทุน และมีความเสี่ยงโดยรวมต่อประเด็นการผิดจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจค่อนข้างน้อย

การลงทุนที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG จึงมีแนวโน้มสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเกณฑ์อ้างอิงที่ใช้เปรียบเทียบผลตอบแทนของตลาดโดยรวมได้ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เม็ดเงินการลงทุนหุ้นในธีม ESG มีอัตราการเติบโตสูงต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต

]]>
1355586