semiconductor – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 06 Sep 2023 11:42:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จีนเตรียมตั้งกองทุนใหญ่ถึง 1.48 ล้านล้านบาท เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ https://positioningmag.com/1443630 Wed, 06 Sep 2023 10:46:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443630 จีนเตรียมตั้งกองทุนใหญ่ถึง 3 แสนล้านหยวน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 1.48 ล้านล้านบาท เพื่อที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ และต้องการที่จะไล่ให้ทันกับเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาไวที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า รัฐบาลจีนเตรียมตั้งกองทุนเพื่อจะสนับสนุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มากถึง 300,000 ล้านหยวน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 1.48 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นเม็ดเงินในการตั้งกองทุนครั้งนี้ถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา

กองทุนดังกล่าวมีชื่อว่า China Integrated Circuit Industry Investment Fund เป้าหมายหลักของกองทุนดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศจีน เพื่อจะไล่ตามสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่นๆ ซึ่งมีเทคโนโลยีในการผลิตดีกว่า ซึ่งจีนโดนสหรัฐอเมริกาคว่ำบาตรไม่ให้จีนเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตชิปขั้นสูงหลังจากนี้

นอกจากนี้เนเธอร์แลนด์ รวมถึงญี่ปุ่น ได้ใช้มาตรการเดียวกันกับสหรัฐฯ ไม่ให้จีนเข้าถึงเครื่องจักรผลิตชิปขั้นสูง หรือแม้แต่เทคโนโลยีการผลิตชิป ส่งผลให้จีนยิ่งต้องเร่งพัฒนาภาคการผลิตเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้นกว่าเดิม

แหล่งข่าวของ Reuters ยังรายงานว่าเม็ดเงินกว่า 60,000 ล้านหยวน กระทรวงการคลังของจีนจะเป็นผู้ลงทุนในกองทุนนี้ด้วย

ข่าวดังกล่าวตามหลังมาจาก Huawei ได้เปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุดอย่าง Mate 60 ที่ใช้ชิปจาก SMIC ที่ผลิตในจีนโดยใช้เทคโนโลยีการผลิต 7 นาโนเมตร รวมถึงยังมีเทคโนโลยี 5G ด้วย ซึ่งมือถือรุ่นดังกล่าวถือเป็นสัญลักษณ์ของจีนที่ต้องการตอบโต้สหรัฐอเมริกาที่คว่ำบาตร

ก่อนหน้านี้จีนเคยตั้งกองทุนประเภทดังกล่าวมาแล้วในปี 2014 มูลค่า 138,700 ล้านหยวน ขณะที่ในปี 2019 จีนได้ตั้งกองทุนมูลค่าถึง 200,000 ล้านหยวนมาแล้ว โดยกองทุนมีผู้ลงทุนเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนไม่ว่าจะเป็น China Development Bank Capital และ China National Tobacco รวมถึง China Telecom ที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่

เม็ดเงินจากกองทุนดังกล่าวได้เคยลงทุนใน 3 บริษัท ไม่ว่าจะเป็น SMIC และ Hua Hong Semiconductor ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของจีน รวมถึง Yangtze Memory ผู้ผลิตหน่วยความจำรายใหญ่ของจีน

การจัดตั้งกองทุนของรัฐบาลจีนครั้งนี้ ส่งสัญญาณแสดงให้เห็นว่าจีนเอาจริงเอาจังกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ และต้องการที่จะไล่ให้ทันกับเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาไวที่สุดเท่าที่จะทำได้

]]>
1443630
TSMC ติดโผ 10 บริษัทใหญ่ที่สุดในโลกเป็นที่เรียบร้อย หลังมูลค่าหุ้นแตะ 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ https://positioningmag.com/1433961 Wed, 14 Jun 2023 05:03:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433961 TSMC ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิปจากไต้หวัน ล่าสุดบริษัทสามารถติด 1 ใน 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้แล้ว โดยเขี่ยยักษ์ใหญ่อีกรายอย่าง Visa ลงจากตำแหน่ง นอกจากนี้บริษัทยังเป็นบริษัทที่มีมูลค่าใหญ่สุดในเอเชีย แซงหน้า Tencent แล้วอีกด้วย

โดยมูลค่าของบริษัทจากไต้หวันรายนี้อยู่ที่ 553,900 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยมากกว่า 17 ล้านล้านบาท หลังจากที่ราคาหุ้นของ TSMC มีราคาเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี 2023 จนถึงวันนี้ถึง 32.22% ทำให้บริษัทติดอันดับ 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกทันที

สำหรับจุดเด่นของ TSMC คือเทคโนโลยีการผลิตชิปที่นำหน้าคู่แข่งรายอื่น ไม่ว่าจะเป็น Samsung ที่เป็นคู่แข่งที่มีความสูสีมากสุด และทิ้งห่าง Intel ไปไม่เห็นฝุ่น ทำให้บริษัทอื่นอย่าง Apple หรือ Nvidia ได้จ้างให้ผู้ผลิตชิปจากไต้หวันรายนี้ผลิตชิปให้

นอกจากนี้การเข้ามาของเทคโนโลยี AI ยังทำให้ความต้องการผลิตชิปที่มีประสิทธิภาพสูงเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะใช้ในการฝึกฝน AI และเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้ TSMC ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้ประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้นักลงทุนได้

มูลค่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกล่าสุดนั้นมี 8 บริษัทที่มาจากสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น Apple ที่ยังครองแชมป์บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองลงมาคือ Microsoft มีเพียง 2 บริษัทที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกานั่นก็คือ Saudi Aramco ผู้ผลิตน้ำมันจากซาอุดีอาระเบีย และ TSMC จากไต้หวัน

 

]]>
1433961
‘สหราชอาณาจักร’ ประกาศแผนหนุนอุตสาหกรรม ‘เซมิคอนดักเตอร์’ เน้นเสริมจุดแข็งที่มี ไม่จำเป็นต้องตั้งโรงงานใหญ่ https://positioningmag.com/1431037 Fri, 19 May 2023 05:25:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431037 ในขณะที่หลายประเทศเริ่มวางแผนที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของตัวเอง เพื่อลดการพึ่งพา จีน ซึ่ง สหราชอาณาจักร ก็เป็นอีกประเทศที่มีแผนจะยกระดับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของตัวเอง แต่ที่น่าสนใจคือ วางงบสนับสนุนเพียง 1.2 พันล้านปอนด์เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

ในช่วงที่ผ่านมา สหภาพยุโรป (EU) เตรียมงบลงทุนก้อนใหญ่มากถึง 43,000 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยราว ๆ 1.6 ล้านล้านบาท ภายใต้ข้อตกลง “EU Chips Act” หวังที่จะเป็นฮับในด้านเซมิคอนดักเตอร์อีกแห่ง หรืออย่าง สหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนเม็ดเงินมากถึง 52,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แต่ สหราชอาณาจักร วางงบไว้เพียง 1.2 พันล้านปอนด์ (ราว 5.1 หมื่นล้านบาท) สำหรับเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ 20 ปีเกี่ยวกับเซมิคอนดักเตอร์ โดยมาตรการต่าง ๆ ที่มุ่งเป้าไปที่การเติบโตของภาคส่วนชิปในประเทศของสหราชอาณาจักร ลดความเสี่ยงของการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน และการปกป้องความมั่นคงของชาติ

เบื้องต้น รัฐบาลจะลงทุน 200 ล้านปอนด์ในช่วงปี 2566-2568 ส่วนงบอีก 1 พันล้านปอนด์จะใช้ในช่วง 10 ปีข้างหน้าโดยเงินทุนจะถูกใช้เพื่อสนับสนุนผู้มีความสามารถและการเข้าถึงการสร้างต้นแบบ เครื่องมือ และการสนับสนุนทางธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์ของสหราชอาณาจักรจะมุ่งเน้นไปที่จุดแข็งในด้านต่าง ๆ เช่น การวิจัยและการออกแบบ มากกว่าจะลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิปขนาดใหญ่

“แทนที่จะใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลเหมือนกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป แต่สหราชอาณาจักรกำลังกำหนดแนวทางที่แตกต่างออกไปโดยมุ่งเป้าไปที่การส่งเสริมด้านที่ตนมีความเชี่ยวชาญ เพราะมันไม่สมเหตุสมผลเลยที่จะสร้างโรงงานขนาดใหญ่ของตัวเองเพื่อผลิตชิปที่ทันสมัยที่สุด แต่เราจะเน้นไปที่ส่วนอื่น ๆ ของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา การออกแบบ และการผลิตชิปที่ไม่ใช่ซิลิคอน”

ในสหราชอาณาจักรมีสตาร์ทอัพชื่อ Pragmatic Semiconductor ที่ผลิตชิปที่ไม่ใช่ซิลิคอน หรือ ชิปแผงวงจรรวมที่นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่าง ๆ มาใส่ไว้ด้วยกันในแผงวงจรขนาดเล็ก โดย สก็อตต์ ไวท์ ผู้ก่อตั้งบริษัท มองว่า การที่รัฐบาลมีงบสนับสนุนเพียง 1 พันล้านปอนด์ แม้จะเล็กน้อยเมื่อเทียบกับของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป แต่เป็นตัวเลขที่เหมาะสม แต่ต้องนำไปใช้อย่างถูกที่จริง ๆ

ทั้งนี้ หลายคนไม่รู้ว่าสหราชอาณาจักรถือเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่สำคัญในตลาดชิประดับโลก โดยมีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ทรัพย์สินทางปัญญา การวิจัย และการผลิตสารกึ่งตัวนำขั้นสูง

Source

]]>
1431037
สิงคโปร์ขอมีส่วนแบ่งในห่วงโซ่การผลิตชิปต่อไป แม้สหรัฐฯ-จีนจะขัดแย้งกันก็ตาม https://positioningmag.com/1418982 Mon, 13 Feb 2023 06:07:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1418982 ประธานของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ ได้กล่าวว่าสิงคโปร์จะขอมีส่วนแบ่งในห่วงโซ่การผลิตชิปต่อ แม้ว่าสหรัฐอเมริกากับจีนจะมีความขัดแย้งก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแต่ละประเทศเริ่มออกมาตรการอุดหนุนให้มีการผลิตชิปในแต่ละประเทศก็ตาม

Beh Swan Gin ประธานของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ (Singapore Economic Development Board) ได้กล่าวกับทาง Bloomberg ว่าแม้ว่าสหรัฐอเมริกากับจีนจะมีความขัดแย้งกันในเรื่องเทคโนโลยี โดยเฉพาะการผลิตชิป แต่เขายืนยันว่าสิงคโปร์จะยังอยู่ในห่วงโซ่การผลิตชิปต่อไป

ประธานของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์มองว่ากฎหมายหนุนศักยภาพผลิตชิปคอมพิวเตอร์ (Chips Act) ของสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ผู้ผลิตชิปหลายรายได้ไปตั้งโรงงานในหลายเมืองของสหรัฐฯ นั้น ได้ส่งผลขัดขวางต่ออิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนอย่างมาก

มาตรการดังกล่าวของสหรัฐฯ นั้นยังทำให้การแข่งขันลงทุนในการผลิตชิปนั้นเข้มข้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งสิงคโปร์เองก็เป็นประเทศที่ผลักดันให้มีการตั้งโรงงานในประเทศด้วยเช่นกัน

ในปี 2022 ที่ผ่านมาสิงคโปร์ได้รับเม็ดเงินลงทุนมากถึง 22,500 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่ง 2 ใน 3 ของเม็ดเงินดังกล่าวนั้นลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

หัวเรือใหญ่ของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ยังได้กล่าวว่าด้วยประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์จะอยู่ในห่วงโซ่การผลิตชิปต่อไป ซึ่งปัจจุบันสิงคโปร์มีส่วนแบ่งการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตเวเฟอร์ไว้สำหรับผลิตชิปราวๆ 5% และตั้งเป้าที่จะรักษาส่วนแบ่งดังกล่าวให้ได้

]]>
1418982
TSMC เริ่มผลิตชิปเทคโนโลยี 3 นาโนเมตรจำนวนมากแล้ว ชี้ความต้องการลูกค้าสูง https://positioningmag.com/1414317 Fri, 30 Dec 2022 07:03:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414317 ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิปจากไต้หวันอย่าง TSMC ได้ผลิตชิปด้วยเทคโนโลยีล่าสุด 3 นาโนเมตรให้กับลูกค้าจำนวนมากเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเตรียมที่จะสร้างโรงงานผลิตชิปด้วยเทคโลยี 2 นาโนเมตรหลังจากนี้ ขณะเดียวกันประธานบริษัทยืนยันถึงความต้องการลูกค้าที่ต้องการชิปที่มีเทคโนโลยีการผลิตล้ำสมัยที่มีจำนวนมากด้วย

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน ได้ประกาศความสำเร็จในการผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 3 นาโนเมตรจำนวนมากเป็นที่สำเร็จแล้ว และบริษัทยังกล่าวว่าเตรียมที่จะขยายกำลังการผลิตหลังจากนี้ หลังจากความต้องการของลูกค้าสูง

ความต้องการชิปที่เทคโนโลยี 3 นาโนเมตรนั้นมาจากเทคโนโลยี 5G ที่ต้องการความรวดเร็วในการประมวลผล รวมถึงชิปประมวลผลที่ต้องการประสิทธิภาพสูง เช่น ชิปของการ์ดจอ เป็นต้น โดยเทคโนโลยีการผลิต 3 นาโนเมตรนี้สามารถลดการใช้พลังงานจากเทคโนโลยี 5 นาโนเมตรถึง 35%

ลูกค้ารายใหญ่ของ TSMC นั้นต่างต้องการชิปที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น Apple ที่ถือเป็นลูกค้ารายใหญ่สุดของบริษัท รองลงมาคือ Nvidia และ AMD ที่แต่ละบริษัทต่างรอคิวที่จะใช้เทคโนโลยีล่าสุดนี้ในการผลิตชิปรุ่นใหม่

ผู้ผลิตชิปรายใหญ่จากไต้หวันรายนี้มีโรงงานหลักที่มีเทคโนโลยีการผลิตล่าสุดอยู่ในไต้หวันหลายโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี 3 นาโนเมตร หรือ 5 นาโนเมตร และมีแผนในการขยายการผลิตชิปออกนอกไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา รวมถึงล่าสุดมีแผนที่จะตั้งโรงงานผลิตชิปบนทวีปยุโรปอีกด้วย

Mark Liu ประธานของ TSMC ได้กล่าวว่าการผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 3 นาโนเมตรนี้จะสามารถสร้างสินค้าให้กับผู้บริโภคได้ใช้งานซึ่งมีมูลค่าตลาดจากการผลิตชิปรุ่นดังกล่าวนี้มากถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในระยะเวลา 5 ปี และเขายืนยันถึงความต้องการลูกค้าที่ต้องการชิปที่มีเทคโนโลยีการผลิตล้ำสมัยที่มีจำนวนมากด้วย

ปัจจุบันกำลังการผลิตชิปด้วยเทคโนโลยีล่าสุดนั้นอยู่ในไต้หวันด้วยสัดส่วนมากถึง 90%

ไม่เพียงเท่านี้บริษัทยังเตรียมที่จะผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 2 นาโนเมตรหลังจากนี้ โดยเตรียมสร้างโรงงานในภาคกลางและภาคเหนือของไต้หวัน และยังยืนยันว่ากำลังการผลิตชิปด้วยเทคโนโลยีล่าสุดส่วนใหญ่จะยังอยู่ในไต้หวัน ไม่ใช่ที่ต่างประเทศแต่อย่างใด

]]>
1414317
จีนเตรียมควักเงิน 1 ล้านล้านหยวน สนับสนุนผู้ผลิตชิปภายในประเทศ สู้กับสหรัฐฯ และชาติตะวันตก https://positioningmag.com/1412359 Wed, 14 Dec 2022 06:40:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412359 จีนเตรียมออกมาตรการสนับสนุนผู้ผลิตชิปในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการอุดหนุนเม็ดเงิน ไปจนถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยคาดว่าจีนจะใช้เม็ดเงินมากถึง 1 ล้านล้านหยวน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 4.97 ล้านล้านบาท โดยมาตรการดังกล่าวนี้จะเป็นรูปเป็นร่างภายในไตรมาส 1 ของปี 2023 

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า มาตรการส่งเสริมการผลิตชิปในประเทศประกอบไปด้วยการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ด้านภาษี หรือแม้แต่การอุดหนุนเม็ดเงินจากรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต ไปจนถึงการพัฒนาและวิจัย เช่น ในกรณีที่ผู้ผลิตชิปของจีนซื้ออุปกรณ์ผลิตชิปในประเทศจีนจะได้รับเงินอุดหนุนส่วนต่างที่ 20% เป็นต้น

มาตรการดังกล่าวของจีนตามหลังมาจากกฎหมายหนุนศักยภาพผลิตชิปคอมพิวเตอร์ (Chips Act) ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้สนับสนุนเม็ดเงินมากถึง 52,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตชิปหลายรายได้ย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังรวมถึงมาตรการสนับสนุนการผลิตชิปในทวีปยุโรป ที่ EU ทุ่มเงินมากถึง 43,000 ล้านยูโร และต้องการที่จะเป็นฮับในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์อีกแห่ง

ก่อนหน้านี้ไม่กี่วันที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ของจีนได้เปิดข้อพิพาททางการค้าที่องค์การการค้าโลก (WTO) กับสหรัฐอเมริกา ในกรณีที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ออกมาตรการควบคุมการส่งออกชิป ซึ่งมาตรการดังกล่าวสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศจีนอย่างมาก

ไม่เพียงเท่านี้มาตรการควบคุมการส่งออกชิปของสหรัฐฯ ยังมีประเทศอื่นๆ เข้าร่วมกับมาตรการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้ผลิตเครื่องจักรผลิตชิปรายใหญ่ของโลกด้วย

ทำให้ท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลจีนต้องออกมาตรการดังกล่าวออกมาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ผลิตชิปเพื่อที่จะแข่งขันกับผู้ผลิตจากต่างแดนได้อย่างสูสีมากขึ้น ซึ่งจีนเองตั้งเป้าที่จะให้โรงงานผลิตชิปรวมถึง Supply Chain ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดังกล่าวนั้นตั้งฐานการผลิตและพึ่งพาซึ่งกันและกัน

]]>
1412359
EU เตรียมลงทุนมากถึง 43,000 ล้านยูโร หวังเป็นฮับเซมิคอนดักเตอร์อีกแห่งในปี 2030 https://positioningmag.com/1409739 Wed, 23 Nov 2022 17:55:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409739 สหภาพยุโรป (EU) เตรียมงบลงทุนก้อนใหญ่มากถึง 43,000 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 1.6 ล้านล้านบาท ภายใต้ข้อตกลง “EU Chips Act” หวังที่จะเป็นฮับในด้านเซมิคอนดักเตอร์อีกแห่ง โดยงบที่ลงทุนไปดังกล่าวคาดหวังว่าจะทำให้ EU ครองส่วนแบ่งในตลาดเซมิคอนดักเตอร์ได้ราวๆ 20% ภายในปี 2030

รัฐสภายุโรปอาจเตรียมไฟเขียวข้อตกลงดังกล่าวภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า หลังจากมีข้อตกลงกับตัวแทนของแต่ละประเทศเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งโรงงานผลิตชิปที่ตั้งในสหภาพยุโรปนั้นจะได้รับเงินทุน รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ และเม็ดเงินสนับสนุนนี้จะรวมไปถึงการวิจัยในเรื่องเซมิคอนดักเตอร์อีกด้วย ซึ่งคาดว่าเม็ดเงินสำหรับการวิจัยจะมากถึงหลักพันล้านยูโร

อย่างไรก็ดีโรงงานผลิตชิปที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากเม็ดเงินดังกล่าว เนื่องจากประเทศต่างๆ ใน EU นั้นมองว่าข้อตกลงดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ให้กับเยอรมันแต่เพียงฝ่ายเดียว

โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อสหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมายหนุนศักยภาพผลิตชิปคอมพิวเตอร์ (Chips Act) ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนเม็ดเงินมากถึง 52,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ไปตั้งฐานการผลิตในสหรัฐอเมริกาได้รับสิทธิประโยชน์มหาศาล

ข้อกฎหมายดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากส่วนแบ่งของสหรัฐฯ ในตลาดชิปคอมพิวเตอร์นั้นลดลงจาก 37% เมื่อปี 1990 เหลือเพียง 12% ในปัจจุบัน รวมถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีน ทำให้ประเทศอย่างสหรัฐต้องออกกฎหมายดังกล่าว และส่งผลทำให้ทางสหภาพยุโรปเองก็ต้องออกข้อตกลงดังกล่าวออกมาเพื่อจูงใจผู้ผลิตชิปให้มาตั้งฐานการผลิตอีกแห่ง

อย่างไรก็ดีคาดว่ารายละเอียดเกี่ยวกับ EU Chips Act อาจต้องรอถึงช่วงปี 2023 แต่ก็มีหลายบริษัทที่เตรียมตัวสร้างโรงงานผลิตชิปในแผ่นดินยุโรปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Intel และ GlobalFoundries รวมถึงผู้ผลิตรายอื่นๆ

ที่มา – Bloomberg, Politico

]]>
1409739
โตโยต้า-โซนี่ นำทัพ 8 บริษัทญี่ปุ่นลงขัน “ตั้งบริษัทผลิตชิป” หวังแข่งขันไต้หวัน-เกาหลี https://positioningmag.com/1407879 Fri, 11 Nov 2022 06:15:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407879 ตอนนี้ ใคร ๆ ก็อยากจะมีแหล่งผลิต ‘ชิป’ ของตัวเองทั้งนั้น หลังจากที่ทั่วโลกเจอกับวิกฤตการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ ประเทศ ญี่ปุ่น โดยล่าสุด 8 บริษัทชั้นนำของประเทศก็ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทผลิตชิปใหม่ภายในประเทศ เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต

กลุ่มบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น 8 แห่ง ได้แก่ Toyota Motor, Sony Group, SoftBank Corp, Nippon Telegraph and Telephone Corp (NTT), Kioxia Corp (บริษัทผู้ผลิตชิป), Denso Corp (ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์), NEC Corp (ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) และ ธนาคาร MUFG ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทใหม่ชื่อ Rapidus

สำหรับ Rapidus จะมุ่งเน้นในการพัฒนาและผลิตชิป รวมทั้งพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ให้กับญี่ปุ่น พร้อมกันนี้ Rapidus ยังได้ Tetsuro Higashi อดีตประธานบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ชิป Tokyo Electron มาเป็นผู้นำบริษัท

Yasutoshi Nishimura รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนจะให้เงินสนับสนุนถึง 7 หมื่นล้านเยน (ราว 18,000 ล้านบาท) ในขณะที่บริษัททั้ง 8 จะลงทุนรวมประมาณ 7 พันล้านเยน (ราว 1,800 ล้านบาท) ในบริษัท โดยรัฐบาลตั้งเป้าที่จะผลิตชิปขนาดต่ำกว่า 2 นาโนเมตรภายในประเทศภายในปี 2030 จากปัจจุบัน บริษัทญี่ปุ่นสามารถผลิตชิปที่มีความกว้างของเส้นวงจรได้เพียงประมาณ 40 นาโนเมตรเท่านั้น

“ด้วยการร่วมมือกับสถาบันวิจัยและอุตสาหกรรมในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา เราต้องการเสริมสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของญี่ปุ่นและความสามารถในการแข่งขันผ่านความพยายามร่วมกันของนักวิชาการและอุตสาหกรรมในประเทศ” Yasutoshi Nishimura กล่าว

การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การผลิตรถยนต์ไปจนถึงการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการแข่งขันพัฒนาชิปขั้นสูงเพื่อใช้ในควอนตัมคอมพิวเตอร์ เอไอ ตลอดจนอาวุธทางการทหาร อาทิ ขีปนาวุธ

จับตาอุตสาหกรรม ‘ชิป’ สงครามครั้งใหม่ของ ‘สหรัฐฯ-จีน’ ศึกตัดสิน ‘ผู้ชนะ’ ในเศรษฐกิจโลก

ปัจจัยดังกล่าวได้กระตุ้นให้เกิดการถกเถียงกันในญี่ปุ่นเกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการแข่งขันนี้มีผู้นำเป็นบริษัทต่าง ๆ ในไต้หวัน เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา

Source

]]>
1407879
จับตาอุตสาหกรรม ‘ชิป’ สงครามครั้งใหม่ของ ‘สหรัฐฯ-จีน’ ศึกตัดสิน ‘ผู้ชนะ’ ในเศรษฐกิจโลก https://positioningmag.com/1396346 Tue, 16 Aug 2022 11:56:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396346 ดูเหมือนสงครามด้านเทคโนโลยีของ สหรัฐอเมริกา และ จีน จะไม่ได้มีแค่ สมาร์ทโฟน, แกดเจ็ต, แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียหรือการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ แต่สมรภูมิใหม่กำลังเกิดขึ้นซึ่งลึกลงไปอีกขั้นหรือก็คือ ส่วนประกอบ ที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีตั้งแต่สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน

อย่างที่หลายคนรู้ว่า จีน เป็นแหล่ง ผลิตอุปกรณ์ไอทีอันดับ 1 ของโลก ถือเป็นกำลังสำคัญในการผลิตเทคโนโลยีมาเป็นเวลานาน อย่าง Apple, Google และ Microsoft แบรนด์สัญชาติอเมริกาก็พึ่งพาจีนอย่างมากในการผลิตอุปกรณ์และประกอบชิ้นส่วน

โดยจีนก็รู้ถึงจุดแข็งตรงนี้ดี ก็ยิ่งให้ความสำคัญกับการผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ของจีนเติบโตมากกว่า 30% ในปี 2020 โดยมีมูลค่าถึง 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามตัวเลขจากสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (SIA)

เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้อุปทานชิปทั่วโลกขาดแคลน ขณะที่ปีนี้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงจากการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดของจีน ซึ่งทำให้โรงงานหยุดชะงักและส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชน ขณะนี้ หลายภูมิภาคกำลังคิดทบทวนแนวทางของตนต่ออุตสาหกรรมนี้ เพื่อที่จะสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการผลิตของจีน

แน่นอนว่าสหรัฐฯ ก็คิดถึงเรื่องนี้ รวมถึงเพื่อจะได้สามารถแข่งขันกับจีนได้ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ล่าสุดได้ลงนามในกฎหมายฉบับใหม่ที่มีเป้าหมายเพื่อ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนชิปในระยะยาว รวมถึงเพื่อลดการพึ่งพาประเทศอื่น ๆ แน่นอนว่าโดยเฉพาะกับจีน

“อีกสิ่งสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้จีนขยายอำนาจในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีคือ การผูกมิตรหรือการย้ายซัพพลายเชนผ่านพันธมิตรของสหรัฐฯ เช่น เกาหลีใต้และญี่ปุ่น” เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ กล่าว

ภายใต้กฎหมาย CHIPS and Science Act รัฐบาลจะให้สิ่งจูงใจสำหรับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ รวมถึงการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการระดมทุนมากกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ และการลงทุนเพิ่มเติมในมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ

หรือในฝั่งของยุโรปเอง สมาชิกสภานิติบัญญัติของยุโรป ก็ได้เสนอการลงทุนมูลค่าหลาย หมื่นล้านดอลลาร์ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของทวีป อย่างไรก็ตาม จีนยังคงพยายามขยายอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ต่อไป โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผน 5 ปีที่ประกาศเมื่อปีที่แล้ว

“ที่ทุกประเทศต่างทุ่มกับเรื่องเซมิคอนดักเตอร์ เป็นเพราะว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ตัดสินว่าใคร ‘ชนะ’ ในเศรษฐกิจโลกในอนาคต และการพึ่งพาตนเองในการผลิตชิปนั้นพูดง่ายแต่ทำยาก เนื่องจากชั้นของเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญเฉพาะที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้อง” Kenton Thibaut, Resident China Fellow แห่ง Digital Forensic Research Lab ของ Atlantic Council ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าว

อย่างไรก็ตาม Kenton กล่าวเสริมว่า เรื่องที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีกคือ ไต้หวัน เกาะปกครองตนเองนอกชายฝั่งของจีน ซึ่งกลายเป็นตัวจุดชนวนความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ เข้าไปอีก เนื่องจากการไปเยือนของ แนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ซึ่งทำให้จีนไม่พอใจ เนื่องจากจีนมองว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ภายใต้นโยบาย จีนเดียว

อย่างที่หลายคนรู้ว่า ไต้หวันมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก เนื่องจากมีผู้ผลิตชั้นนำของโลกหลายรายตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่นั่น และเป็นซัพพลายเออร์ของ Apple Foxconn และ Pegatron ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของไต้หวันคือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90% ของชิปคอมพิวเตอร์ขั้นสูงสุดในโลก

“ไม่มีใครสามารถควบคุม TSMC ได้ด้วยการบังคับ หากคุณใช้กำลังทหารหรือการบุกรุก คุณจะทำให้โรงงาน TSMC ไม่สามารถใช้งานได้ เพราะนี่เป็นโรงงานผลิตที่ซับซ้อน และขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์กับโลกภายนอก — กับยุโรป กับญี่ปุ่นด้วย สหรัฐอเมริกา” Mark Liu ประธานบริษัทกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ CNN

Photo : shutterstock

ที่ผ่านมา TSMC ได้ลงนามไปแล้วว่า บริษัทได้ลงทุนอย่างน้อย 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อสร้างโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในรัฐแอริโซนา โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตในปี 2567 ขณะที่ GlobalWafers ผู้ผลิตชาวไต้หวันอีกรายเพิ่งลงนามว่าจะลงทุน 5 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างโรงงานแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนในเท็กซัส และกลุ่มบริษัทซัมซุงและเกาหลีใต้ เมื่อต้นปีนี้ SK Group มีแผนที่จะใช้เงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์เพื่อขยายฐานการผลิตเทคโนโลยีในสหรัฐฯ

Zachary Collier ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการจัดการของมหาวิทยาลัย Radford แห่งเวอร์จิเนีย ให้ความเห็นว่า แม้ว่าการลงทุนของ TSMC เกิดขึ้นก่อนกฎหมาย CHIPS AND Science Act แต่กฎหมายดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ ย้ายไปตั้งโรงงานที่สหรัฐฯ มากขึ้น

และนอกเหนือไปจากการสนับสนุนระยะสั้นของสหรัฐฯ แล้ว บริษัทต่าง ๆ ยังมองว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีเสถียรภาพ ความปลอดภัย และแรงงานที่มีการศึกษาสูง และที่สำคัญที่สุด คือ ดีมานด์ที่มหาศาล โดยคิดเป็น 1 ใน 4 ของความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก โดย TSMC เคยเปิดเผยว่า ตลาดอเมริกาเหนือคิดเป็น 65% ของรายได้ โดยจีนและญี่ปุ่นคิดเป็น 10% และ 5% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันจีนยังมีข้อได้เปรียบตรงที่จีนมีกลยุทธ์ร่วมกันในการนำเสนอเทคโนโลยีและจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้กับประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการเทคโนโลยีเหล่านี้ ขณะที่สหรัฐฯ และประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ จำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นการแข่งขันกับจีนเท่านั้น แต่ยังต้องดำเนินการในเชิงรุกในการจัดหาโซลูชันที่ตรงตามความต้องการที่แท้จริง

สุกท้าย Zachary Collier ย้ำว่า แม้ว่าแต่ละประเทศมีเป้าหมายในพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เพื่อลดการพึ่งพาประเทศอื่น แต่สุดท้ายแล้วความต้องการใช้งานมันอยู่ในระดับโลก ดังนั้น การพึ่งพาอาศัยกันย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

Source

]]>
1396346
“เมอร์เซเดส-เบนซ์” ยอดขาย Q1 ร่วง 15% จากปัญหาขาดแคลนชิปเรื้อรัง https://positioningmag.com/1381170 Sat, 09 Apr 2022 06:48:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381170 (สำนักข่าวซินหัว) เมอร์เซเดส-เบนซ์ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมัน เปิดเผยยอดจำหน่ายรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 ลดลง 15% เมื่อเทียบปีต่อปี อยู่ที่ 501,600 คัน โดยสาเหตุหลักมาจากปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor) หรือสารกึ่งตัวนำ

ทว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ช่วงสามเดือนแรก เพิ่มขึ้น 37% อยู่ที่ 67,800 คัน ครองส่วนแบ่ง 15% ของยอดจำหน่ายทั้งหมด ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) พุ่งขึ้น 210% อยู่ที่ 21,900 คัน

ยอดจำหน่ายของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ช่วงไตรมาสแรก ในจีนที่เป็นตลาดเดี่ยวขนาดใหญ่ที่สุดของบริษัทอยู่ที่ 192,700 คัน และในตลาดยุโรปอยู่ที่ 151,000 คัน ซึ่งลดลง 14% เมื่อเทียบปีต่อปี ขณะยอดจำหน่ายในสหรัฐฯ ลดลง 20% อยู่ที่ 62,300 คัน

เมอร์เซเดส-เบนซ์ ชี้ว่าสถานการณ์ภาพรวมยังคงผันผวน แม้อุปสงค์จากลูกค้าทรงตัว เนื่องด้วยสภาวการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน กอปรกับข้อจำกัดต่อเนื่องเพื่อควบคุมการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อ COVID-19

]]>
1381170