social distancing – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 05 Apr 2021 00:55:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “นครชัยแอร์” เปิดบริการรถ VIP รุ่นใหม่ แยกเบาะเดี่ยว นำร่องกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ https://positioningmag.com/1326530 Sun, 04 Apr 2021 16:55:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326530 นครชัยแอร์เปิดบริการรถบัส VIP รุ่นใหม่ แยกเบาะเดี่ยวแบบรถบัสประเทศญี่ปุ่น รับกระแส Social Distancing นำร่องเส้นทางกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์เส้นทางแรก ค่าโดยสาร 468 บาท

สำหรับรถรุ่นใหม่ New NCA First Class รุ่น Social Distancing เป็นรถโดยสารชั้นเดียว ขนาด 23 ที่นั่ง ใช้เบาะโดยสารแบบเดี่ยว จำนวน 3 แถว รูปทรงโค้งมน ภายในห้องโดยสาร มีประตูกั้นห้องพักพนักงานขับรถและพนักงานต้อนรับ แยกออกจากห้องผู้โดยสารเพื่อความเป็นส่วนตัวในการเดินทาง

nca นครชัยแอร์

โดยจัดเบาะโดยสารเป็นเบาะเดี่ยว จำนวน 3 แถว สลับฟันปลา เบาะโดยสารทรงแคปซูลรูปแบบใหม่ใช้ระบบนวดไฟฟ้า สามารถปรับเอนนอนได้มากขึ้น ไม่กระทบผู้โดยสารด้านหลัง พร้อมช่องเสียบ USB เพื่อการชาร์จแบตโทรศัพท์ มีไฟอ่านหนังสือส่วนตัว 2 จุด

และเพิ่มความบันเทิงในการเดินทางด้วยจอทีวีส่วนตัว ขนาด 15 นิ้ว ทุกที่นั่ง พร้อมรีโมตควบคุมบริเวณพนักแขน สำหรับถาดวางอาหารเป็นรูปแบบใหม่ มีช่องวางขวดน้ำ และพับเก็บได้ เพื่อความสะดวกในการเดินทาง

nca นครชัยแอร์

เปิดให้บริการแล้ววันนี้ โดยให้บริการวันละ 2 เที่ยว กรุงเทพฯ – บุรีรัมย์ เที่ยวเวลา 12.40 น. และ 22.30 น. และ บุรีรัมย์ – กรุงเทพฯ เที่ยวเวลา 12.40 น. และ 22.30 น. พร้อมของบริการมาตรฐานรถ First Class ในอัตราค่าโดยสาร 468 บาท ต้อนรับการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564

ในปี 2564 นครชัยแอร์ จะทยอยนำรถโดยสารรุ่นใหม่ New NCA First Class รุ่น Social Distancing เข้ามาให้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาเปลี่ยนกับรถที่ครบอายุการใช้งานในเส้นทางปัจจุบัน ด้วยอัตราค่าโดยสารปกติ ไม่มีการปรับเพิ่ม

nca นครชัยแอร์

nca นครชัยแอร์

nca นครชัยแอร์

]]>
1326530
ญี่ปุ่นเปิดโรงหนังเต็มทุกที่นั่ง แต่ต้องขาย “ป๊อปคอร์น” แพร่เชื้อน้อยลงเมื่อ “ไม่คุย” https://positioningmag.com/1306627 Sat, 21 Nov 2020 16:33:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306627 พลิกมุมคิดสุดๆ รัฐบาลญี่ปุ่นผ่อนคลายมาตรการ Social distancing สำหรับโรงภาพยนตร์ ให้ขายตั๋วเต็มทุกที่นั่งได้ และอนุญาตให้ขายป๊อปคอร์น และเครื่องดื่ม โดยพบว่าระหว่างกินอาหารจะมีโอกาสแพร่เชื้อ COVID-19 ได้น้อย เพราะไม่ได้คุยกัน

ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับการระบาดของไวรัส COVID-19 ระลอกที่ 3 ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าวันละ 1,000 คน แต่รัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันว่าจำเป็นต้องเดินหน้าเศรษฐกิจพร้อมกับควบคุมการระบาดไม่ให้พุ่งสูง แต่จะไม่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินอีก

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขยายการจำกัดจำนวนผู้ชมกีฬา และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เกินครึ่งหนึ่งของที่นั่งรวมทั้งหมด เช่น สนามกีฬาที่จุผู้ชมได้ 10,000 คน จะสามารถมีผู้เข้าชมได้ไม่เกิน 5,000 คน เดิมมาตรการนี้มีกำหนดจะสิ้นสุดในเดือนธันวาคม แต่ขณะนี้ได้ขยายระยะเวลาบังคับใช้ไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social distancing สำหรับโรงภาพยนตร์ จะได้รับยกเว้น ก่อนหน้านี้โรงภาพยนตร์จะขายตั๋วได้เพียงครึ่งหนึ่งของที่นั่งทั้งหมด ผู้ชมจะต้องนั่งเว้นเก้าอี้แต่ละตัว แต่หลังจากนี้โรงภาพยนตร์จะขายตั๋วได้เต็มทุกที่นั่ง โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ชมจะต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และสามารถกินป๊อปคอร์น และดื่มเครื่องดื่มได้เหมือนปกติ

รัฐบาลญี่ปุ่นอ้างอิงผลการศึกษาพบว่า เชื้อไวรัสที่แพร่ผ่านฝอยละอองในอากาศจะมีปริมาณจำกัดในช่วงที่คนกำลังกินอาหาร โดยที่ไม่พูดคุยกัน

ธุรกิจโรงภาพยนตร์ในญี่ปุ่นได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19 ในเดือนพฤษภาคม รายได้จากตั๋วเข้าชมของผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์รายใหญ่ 12 รายรวมกันลดลงเหลือเพียง 1.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หลังจากยกเลิกประกาศภาวะฉุกเฉิน โรงภาพยนตร์ขายตั๋วได้ครึ่งหนึ่งของที่นั่งทั้งหมด แต่ห้ามขายอาหาร และเครื่องดื่ม รายได้ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมก็ยังเหลือเพียงแค่ 30% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

จนกระทั่งกลางเดือนตุลาคม ภาพยนตร์อนิเมชั่น เรื่อง “ดาบพิฆาตอสูร” ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ทำรายได้มากเป็นประวัติการณ์กว่า 20,000 ล้านเยน

Source

]]>
1306627
ตามมาดู! การจัดคอนเสิร์ตเเบบ New Normal ช่วง COVID-19 ครั้งเเรกในอังกฤษ ผู้ชมกว่า 2,500 คน https://positioningmag.com/1292804 Sat, 15 Aug 2020 12:41:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292804 COVID-19 ทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป การสังสรรค์เเละคอนเสิร์ตที่หลายคนรอคอย ต้องถูกยกเลิกไปก่อน เเละเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เราจึงได้เห็นวิธีการจัดคอนเสิร์ตยุค New Normal ในหลายรูปแบบ

เมืองไทยเพิ่งจัดงาน TUK TUK Festival คอนเสิร์ตเเบบรักษาระยะห่าง ให้ผู้ชมได้ดูดนตรีอย่างปลอดภัยและสนุกสนาน โดยมีกิมมิกการดูคอนเสิร์ตบน รถตุ๊กต๊ก ไปเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ล่าสุดทางฝั่งยุโรปก็มีการจัดคอนเสิร์ตยุค New Normal เช่นกัน โดยเทศกาลดนตรีครั้งนี้ จัดขึ้นที่ Virgin Money Unity Arena บริเวณ Gosforth Park เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,500 คน เเละมี Sam Fender ศิลปินอินดี้ร็อกชื่อดังมาเป็นวงเฮดไลน์ในงาน

Photo : Virgin Money Unity Arena

สำหรับมาตรการดูเเลความปลอดภัย กำหนดให้ผู้ชมแต่ละกลุ่มต้องอยู่ในแผงเหล็กที่กั้นเอาไว้ 500 บูธ จำกัดให้มีผู้ชมไม่เกินบูธละ 5 คน ซึ่งทั้ง 5 คนต้องโดยสารมาในรถส่วนตัวคันเดียวกัน โดยแต่ละบูธจะมีระยะห่างกันราว 2 เมตร สำหรับอาหารและเครื่องดื่มนั้น ผู้เข้าชมจะต้องทำการสั่งเอาไว้ก่อนล่วงหน้า เพื่อความปลอดภัยด้านสุขอนามัย

หลังจากได้รับเสียงตอบรับที่ดีในครั้งนี้ ทางผู้จัดจะลุยตามแผนการต่อไปที่วางไว้ในโปรแกรมของเดือนสิงหาคมและกันยายน ซึ่งจะมีวงดังอย่าง The Libertines, Supergrass, Two Door Cinema Club และศิลปินรุ่นเก่าอย่าง Van Morrison มาขึ้นโชว์บนคอนเสิร์ตนี้ด้วย

เมื่อสถานการณ์ COVID-19 ยังยืดเยื้อต่อไป การจัดคอนเสิร์ตเเบบ Social Distancing คงจะกลายเป็นเทรนด์ฮิตมาเเรงในช่วงนี้อย่างเเน่นอน…

Photo : Virgin Money Unity Arena
Photo : Virgin Money Unity Arena
Photo : Virgin Money Unity Arena

 

ที่มา : designboom

 

 

]]>
1292804
มาเหนือของจริง! แฟนกีฬาเช่า ‘รถเครน’ ดูการแข่งขันจากด้านบนสนาม เพื่อรักษาระยะห่าง https://positioningmag.com/1289843 Wed, 29 Jul 2020 06:32:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289843 แฟน ๆ รถแข่งเดนตายหลายสิบคนค้นพบวิธีที่แยบยลที่จะสนับสนุนนักแข่งคนโปรด ในขณะเดียวกันก็สามารถปฏิบัติตามกฎ Social Distancing โดยใช้ ‘รถเครนก่อสร้าง’ ยกพวกเขาขึ้นไปดูการแข่งขันนอกสนามซะเลย

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีการแข่งรถที่สนาม Stadion Motorużlowy Motor Lublin ในเมือง Lublin ประเทศโปแลนด์ แต่เนื่องจากการระบาดของ Covid-19 สนามกีฬาจึงต้องมีการนำมาตรการ Social Distancing ส่งผลให้สนามสามารถจุผู้ชมได้เพียง 25% ดังนั้น ไม่ใช่ว่าแฟน ๆ ทุกคนจะสามารถเข้าชมได้ ดังนั้น แฟนเดนตายบางส่วนเช่ารถเครนก่อสร้าง 21 คันและยกตัวขึ้นเหนือสนามเพื่อชมการแข่งขัน

เว็บไซต์ข่าวกีฬาของโปแลนด์ WP Sportowe Fakty รายงานว่าในช่วงต้นปีนี้ National Speedway Extra League มีรถเครนสามคันเท่านั้นที่ถูกเช่าเพื่อชมการแข่งขัน Stadion żużlowy Motor Lublin แต่จากนั้นตัวเลขก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทุกการแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แฟนกีฬาใช้รถเครนก่อสร้างเพื่อชมกีฬา โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Amigo Ali แฟนของสโมสรฟุตบอลตุรกี Denizlispor ได้ถูกแบนจากสนามกีฬาเป็นเวลาหนึ่งปี หลังเขาเช่ารถเครนเพื่อดูการแข่งขัน

Source

]]>
1289843
“ตุรกี” ผุดไอเดีย “โต๊ะครอบแก้ว” โรแมนติกได้แบบปลอด COVID-19 https://positioningmag.com/1284044 Fri, 19 Jun 2020 14:53:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284044 เมื่อเร็วๆ นี้ ภัตตาคารแห่งหนึ่งในย่านโบราณของนครอิสตันบูล ได้เปิดให้คู่รักเข้ามาดื่มด่ำกับอาหารและบรรยากาศยามตะวันลับฟ้าเหนือชะวากทะเล “โกลเดน ฮอร์น” (Golden Horn) โดยไม่ต้องมีหน้ากากอนามัยขวางกั้น

ร้านอาหารหรูหราแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ในย่านซุททลุตเจ (Sutluce) ทางฝั่งยุโรปของเมือง ได้สรรหาวิธีทำให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายด้วยการจัดโต๊ะอาหารในลักษณะเหมือนนำที่ครอบแก้วมาครอบไว้ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการปกป้องและปลอดภัยจากเชื้อโรคโดยสมบูรณ์

“ลูกค้าของเราได้รับการปกป้องอย่างดีจากไวรัสโคโรนา” เจฟเดต ไอซัส (Cevdet Aysas) เจ้าของร้านอาหาร จุกเซ เมเซ (Turkce Meze) ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัว ดังนี้

เมื่อไวรัสโคโรนาเริ่มระบาดไปทั่วโลกในเดือนมีนาคม ไอซัสจึงได้คิดวิธีสร้างพื้นที่แยกหลายๆ แบบขึ้นมา เพื่อให้ผู้คนสามารถอิ่มเอมกับอาหารค่ำโดยไม่ต้องกังวลเรื่องไวรัส

ร้านอาหารแห่งนี้ได้สร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา 8 จุดโดยใช้วัสดุโพลีคาร์บอเนต ไอซัสอธิบายว่าทีมของเขาฆ่าเชื้อชิ้นส่วนนี้ด้วยเครื่องกำเนิดโอโซนและรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นประจำ ซึ่งยังวางโคโลญจน์ตุรกีและผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคสำหรับมือไว้ที่แต่ละโต๊ะ

ทางร้านยังจัดการให้การโต้ตอบระหว่างลูกค้าและบริกรเกิดขึ้นในระดับต่ำสุด โดยลูกค้าสามารถเรียกบริกรได้ด้วยการกดปุ่ม จากนั้นบริกรจะมาพร้อมหน้ากากอนามัย กระบังหน้า (face shield) และถุงมือ

“แขกของเราจำเป็นต้องสวมหน้ากากเมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะ แต่สามารถถอดออกได้เมื่อเขาเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัวดังกล่าว”

ร้านอาหารรับลูกค้าที่ทำการจองผ่านระบบออนไลน์ไว้เท่านั้น โดยลูกค้าสามารถใช้บริการได้ 1 รอบ นาน 3 ชั่วโมง โดยในช่วงพักระหว่างแต่ละรอบจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาฆ่าเชื้อโรค

เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลตุรกีอนุญาตให้ร้านอาหารและร้านกาแฟกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง อันเป็นส่วนหนึ่งของการผ่อนคลายมาตรการจำกัดเนื่องด้วย COVID-19 เพื่อให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม นับแต่นั้นมารายงานสถิติผู้ป่วยโรค COVID-19 รายใหม่กลับมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นทั่วประเทศ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องประกาศบังคับใช้มาตรการเพิ่มเติม

เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. ตุรกีรายงานพบผู้ติดเชื้อใหม่ 1,467 รายและผู้เสียชีวิต 17 ราย ทำให้จำนวนผู้ป่วยโรค COVID-19 สะสมรวมในประเทศอยู่ที่ 181,298 ราย โดยมีผู้เสียชีวิต 4,842 ราย

]]>
1284044
เเบรนด์หรู Mulberry โดนบีบจากมาตรการล็อกดาวน์ เตรียมปลดพนักงานทั่วโลก 25% https://positioningmag.com/1282875 Wed, 10 Jun 2020 06:46:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282875 Mulberry เเบรนด์หรูจากเกาะอังกฤษ วางเเผนจะปลดพนักงานทั่วโลกกว่า 25% จากจำนวนทั้งหมด 1,400-1,500 คน เพื่อลดต้นทุน หลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการปิดร้านชั่วคราว ตามมาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัด COVID-19

จากความไม่เเน่นอนทั้งเรื่องผลกระทบเเละระยะเวลาในการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่จะส่งผลต่อธุรกิจ ทำให้ Mulberry เเบรนด์หรูที่ขึ้นชื่อด้านกระเป๋าหนัง คาดว่ายอดขายจะฟื้นตัวเเบบค่อยเป็นค่อยไป เเต่ไม่ใช่ในเร็ววันนี้

เเม้ในบางสาขาในจีน เกาหลีใต้ ยุโรป และแคนาดา จะเริ่มกลับมาเปิดให้บริการได้เเล้ว เเละในอังกฤษก็มีเเผนที่จะกลับมาเปิดได้ในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ เเต่ทว่าร้านค้า 120 แห่ง ใน 25 ประเทศทั่วโลกซึ่งทางเเบรนด์เป็นผู้บริหารเอง ยังคงต้องปิดให้บริการต่อเนื่องไปอีกตามมาตรการล็อกดาวน์ที่ยังคงมีอยู่ในหลายประเทศ

“การปิดร้านค้าจะยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจของเราอย่างต่อเนื่อง” Mulberry ระบุในเเถลงการณ์

ในช่วง COVID-19 ที่ทำให้ร้านค้าของ Mulberry ส่วนใหญ่ต้องปิดให้บริการชั่วคราวมาตั้งเเต่ปลายเดือนมี.ค. ทางเเบรนด์พยายามหันมามุ่งขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งมีการเติบโตที่ดี เเต่ด้วยกำลังซื้อที่ลดลงทำให้รายได้จากการขายออนไลน์ ไม่สามารถชดเชยรายได้จากการขายหน้าร้านที่ต้องปิดได้ทั้งหมดอยู่ดี

ขณะเดียวกัน การกลับมาเปิดร้านได้อีกครั้งก็ไม่ได้ทำให้ยอดขายกลับมาสดใสนัก เมื่อต้องมีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยว เเละผู้คนก็ออกมาเดินช้อปปิ้งน้อยลง เหล่านี้ล้วนกระทบต่อรายได้ทั้งสิ้น ดังนั้นการปลดพนักงานบางส่วน จึงเป็นทางเลือกของ Mulberry เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปในระยะยาวได้

ด้านความเคลื่อนไหวของเเบรนด์หรูชื่อดังอีกเจ้าอย่าง Chanel ปรับกลยุทธ์ด้วยการ “ขึ้นราคา” ราคากระเป๋าบางรุ่น 5-17% ในสกุลเงินยูโร เหตุต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นจาก COVID-19 กระทบซัพพลายเชน โดยนักวิเคราะห์มองว่าสินค้าแบรนด์หรูวางเป้าจะขึ้นราคาเพื่อรอนักช้อปที่อัดอั้นจากช่วงการเเพร่ระบาด

อ่านเพิ่มเติม : Chanel ขึ้นราคากระเป๋าหรู 20% เตรียมโกยเงินนักช้อป ชดเชยรายได้ที่หายไปช่วง COVID-19

 

ที่มา : Business Insider , Reuters

 

]]>
1282875
ขอสู้รายไตรมาส! “Sizzler” ปรับมาตรการในร้าน ทดลอง “สลัดบาร์” แบบตักเองเอาใจลูกค้า https://positioningmag.com/1282641 Mon, 08 Jun 2020 15:00:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282641 ต้องปรับให้เร็วสำหรับธุรกิจร้านอาหาร! “Sizzler” ร้านสเต๊กและสลัดในเครือไมเนอร์ที่มี “สลัดบาร์” เป็นจุดขาย หลังรัฐบาลผ่อนคลายล็อกดาวน์อนุญาตเปิดร้านอาหารบนห้างฯ มา 3 สัปดาห์ ร้านได้ปรับวิธีการทานอาหารในร้านไปแล้วหลายอย่างตามสถานการณ์ ล่าสุดทดลองนำสลัดบาร์แบบตักเองกลับมา พร้อมมองอนาคตปี 2563 ต้องประเมินรายไตรมาส เชื่อทั้งปีนี้ “ไม่ติดลบจากปีก่อนถือว่าเก่งมากแล้ว”

เช็กลมหายใจร้านอาหารหลังวิกฤต COVID-19 เริ่มคลี่คลาย โดยมี “กรีฑากร ศิริอัฐ” ผู้จัดการทั่วไป และ “นงชนก สถานานนท์” ผู้ช่วยรองประธานบริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เอส แอล อาร์ ที จำกัด ผู้บริหารร้านอาหาร Sizzler ร่วมให้ข้อมูล

สถานการณ์ปัจจุบัน Sizzler กลับมาเปิดสาขาแล้ว 85% จากทั้งหมด 57 สาขา ส่วนที่ยังตัดสินใจไม่เปิดบริการเนื่องจากเป็นสาขาขนาดเล็ก ทำให้การจัดการ Social Distancing จะทำให้มีโต๊ะบริการได้เพียง 20% จากปกติ จึงไม่คุ้มที่จะเปิดจำหน่าย

ส่วนสาขาที่เปิดบริการแล้ว ช่วงการคลายล็อกดาวน์เฟส 2 ร้านจัดที่นั่งได้เพียง 40% จากปกติ แต่เมื่อคลายล็อกดาวน์เฟส 3 อนุญาตให้ครอบครัวนั่งทานเป็นกลุ่ม 4 คนต่อ 1 โต๊ะได้ ทำให้เพิ่มปริมาณที่นั่งเป็น 70-80% จากปกติ

ส่วนทราฟฟิกลูกค้าเข้าร้านคิดเป็น 50% จากช่วงปกติก่อน COVID-19 โดยรวมแล้ว กรีฑากรมองว่าสถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ

 

ปรับอย่างต่อเนื่องตาม feedback ลูกค้า

ด้านการจัดการภายในร้านหลัง COVID-19 ซึ่งยังต้องเข้มงวดด้านสุขอนามัย Sizzler ก็มีการจัดการแบบร้านอื่นๆ คือ ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าร้าน มีเจลล้างมือ ช้อนส้อมและทิชชูจะห่อแรปพลาสติกใส จัดโต๊ะห่างกัน 1-2 เมตร นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนเมนูเล่มเป็นแบบสแกน QR CODE เพื่อดูเมนูออนไลน์แทน

สลัดบาร์ร้าน Sizzler สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 9 ทดลองให้ลูกค้ากลับมาตักเองเหมือนเดิม

แต่จุดที่สำคัญคือการจัดการ “สลัดบาร์” จุดเด่นของร้าน อย่างที่หลายคนทราบแล้วว่า ก่อนหน้านี้ Sizzler มีการปรับสลัดบาร์เป็นแบบสั่งกับพนักงานแทนการตักเอง เพื่อให้ตรงตามนโยบายรัฐที่ไม่อนุญาตให้จำหน่ายอาหารแบบบุฟเฟต์ตักเอง โดยร้านจัดกระดาษเมนูสั่งสลัด ซุป ของหวานให้ที่โต๊ะและยังสั่งได้ไม่อั้นเหมือนเดิม

แต่ผลตอบรับของลูกค้ายังมีเสียงที่ไม่พึงพอใจนัก เพราะเสน่ห์ของสลัดบาร์คือสามารถเลือกปริมาณวัตถุดิบที่ใส่ในจานได้เอง นอกจากนี้ ร้านยังตัดอาหารในสลัดบาร์หลายอย่างออกไปด้วย

ทำให้ล่าสุดร้าน Sizzler ทดลองเปิดสลัดบาร์แบบตักเองเหมือนเดิมขึ้นที่สาขา เซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 9 และ เอสพลานาด รัชดาฯ โดยให้ตักได้เฉพาะบริเวณบาร์ผักสลัด ผลไม้ และของหวาน ส่วนบาร์ซุปยังต้องสั่งกับพนักงานเหมือนเดิม ลูกค้าที่จะตักเองต้องล้างมือและสวมถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง สวมหน้ากากอนามัย เดินตามทิศลูกศรที่กำหนด และให้เข้าไปตักได้ไม่เกินคราวละ 3 คน (ทั้งนี้ ลูกค้ายังสั่งให้พนักงานตักสลัดให้ได้เช่นกัน)

ตักสลัดบาร์ยุคใหม่ : ล้างมือและใส่ถุงมือก่อนเข้าใช้บริการ และเดินตามลูกศร

นงชนกกล่าวว่า เหตุที่เริ่มทดลองสลัดบาร์แบบตักเอง เพราะพบว่าลูกค้า 80% จะมีความสุขกว่าหากเปิดสลัดบาร์ให้ตักเอง แน่นอนว่าลูกค้าที่ต้องการความสะอาด ปลอดภัยสูงสุดอาจจะไม่พึงพอใจ แต่ก็ต้องให้น้ำหนัก feedback ของลูกค้าส่วนใหญ่ หลังจากนี้คาดว่าจะทยอยเปิดสาขาสลัดบาร์ตักเองเพิ่ม พร้อมกับดู feedback จากหน้างานจริง

ในรอบ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา Sizzler ต้องคอยปรับวิธีการทำงานในร้านเรื่อยๆ อย่างสลัดบาร์ที่พนักงานตักให้ แต่แรกจะวางไว้ในครัว ต่อมาออกมาวางที่บาร์เดิมแทน ตัวเมนูสั่งสลัดที่เคยเป็นแผ่นเล็กก็ปรับเป็นแผ่นใหญ่อ่านง่าย มีการเพิ่มเมนูสลัดบาร์ตามเสียงเรียกร้องลูกค้า เช่น ข้าวโพด และคาดว่าต่อจากนี้ก็ยังต้องปรับตัวต่อเนื่อง

 

เดลิเวอรี่ – Sizzler to Go ช่วยกระจายความเสี่ยง

ปัจจุบันร้านอาหารแบบนั่งทาน (dine-in) ของ Sizzler คิดเป็น 90% ของยอดขายรวม เพราะจากวิกฤตโรคระบาดที่ผ่านมา ทำให้ยอดขายเดลิเวอรี่เติบโตเท่าตัว จากมีสัดส่วน 5% เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 10% ของยอดขายรวมแล้ว กลายเป็นตัวช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจ

บริษัทจึงมีการขยายสาขาแบบ Cloud Kitchen เพื่อส่งเดลิเวอรี่เท่านั้นไป 3 สาขา เริ่มสาขาแรกย่าน ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อเดือนมีนาคม สาขาที่ 2 ที่ประชาอุทิศ 90 และสาขาที่ 3 ที่ดอนเมือง-สรงประภา ซึ่งเพิ่งเริ่มดำเนินการในเดือนมิถุนายน ทั้งหมดเป็นการแบ่งพื้นที่จากร้าน The Pizza Company ที่มีพื้นที่เหลืออยู่แล้วมาทำเป็นครัวของ Sizzler

โดยกรีฑากรเชื่อว่าลูกค้าน่าจะมีความเคยชินกับการสั่งเดลิเวอรี่ เพราะแม้จะกลับมานั่งทานที่ร้านได้แต่ยอดขายเดลิเวอรี่ปัจจุบันยังไม่ตกลง ส่วนจะขยาย Cloud Kitchen ต่อที่ไหนยังไม่ได้ตัดสินใจ อยู่ระหว่างศึกษาจุดที่ลูกค้านิยมสั่งอาหารผ่านเบอร์ 1112 ประกอบกับดูจุดที่รัศมีของร้าน Sizzler แบบนั่งทานไม่สามารถครอบคลุมได้

Sizzler to Go ร้านแบบ kiosk ขายอาหาร take away

อีกส่วนหนึ่งที่จะมาช่วยกระจายเสี่ยงคือร้าน Sizzler to Go ซึ่งเปิดสาขาแรกไปที่ BTS ศาลาแดง ก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ปัจจุบันเมื่อคนเมืองเริ่มกลับมาทำงาน ใช้ชีวิตปกติมากขึ้น บริษัทจึงตัดสินใจเปิดเพิ่มอีก 2 สาขา ที่ BTS อโศก และ MRT พระราม 9 และ มีแผนจะเปิดต่ออีก 5 สาขา ที่ BTS ช่องนนทรี, ดิออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซ่า เวสต์เกต, เซ็นทรัลพลาซ่า ปิ่นเกล้า และ แฟชั่นไอส์แลนด์ (สาขาในห้างฯ เป็น kiosk ด้านหน้าร้านแบบนั่งทาน) รวมทั้งหมดมี 8 สาขาเร็วๆ นี้

เมนูอาหารใน Sizzler to Go

กรีฑากรระบุว่า ก่อนเกิดโรคระบาดนั้น Sizzler to Go สาขาศาลาแดงขายดีทะลุเป้าไป 50-60% และปัจจุบันกลับมาทำยอดขายได้ 50% ของยอดที่เคยทำได้ก่อนการล็อกดาวน์แล้ว การกลับมาบุกตลาดครั้งนี้ร้านยังเพิ่มเมนูสุขภาพเข้าไปอีกด้วย จากเดิมมีเพียงสลัด แซนด์วิช และน้ำผลไม้สกัดเย็น ตอนนี้จะมีซุปและโยเกิร์ตให้เลือกทาน

พร้อมระบุว่า ภายใน 2 ปี จะดันสัดส่วนยอดขายเดลิเวอรี่รวมกับร้านแบบ to Go ขึ้นไปเป็น 30% ของยอดขายรวม เพื่อให้ร้านมั่นคงขึ้น จากปัจจุบันจะเห็นได้ว่า หากเกิดวิกฤตกับร้านรูปแบบหนึ่งแล้วจะทำให้ธุรกิจสาหัส

 

“ไม่ติดลบก็เก่งแล้ว”

สำหรับภาพรวมทั้งปี 2563 กรีฑากรมองว่ายังไม่สามารถคาดการณ์ได้ เพราะสถานการณ์ไม่แน่นอน ภาครัฐอาจมีมาตรการใหม่ๆ ออกมาได้ทุกเมื่อ ดังนั้น ปีนี้จะเป็นการทำงานแบบมองรายไตรมาส ที่แน่นอนแล้วคือไตรมาส 2/63 การเติบโตจะติดลบจากปีก่อนอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะการปิดร้านอาหารไปนานครึ่งไตรมาส และเมื่อเปิดมาก็ยังรับลูกค้าได้ไม่เต็มที่

(ซ้าย) “นงชนก สถานานนท์” ผู้ช่วยรองประธานบริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เอส แอล อาร์ ที จำกัด และ (ขวา) “กรีฑากร ศิริอัฐ” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอส แอล อาร์ ที จำกัด

“เราขอมองเป็นไตรมาสและทำให้ดีที่สุดในแต่ละไตรมาสดีกว่า” กรีฑากรกล่าว “รวมทั้งปีจะเห็นการเติบโตคงเป็นไปได้ยาก ถ้าเท่ากับปีที่แล้วได้ก็ถือว่าเก่งแล้ว”

ด้านการลงทุนสาขาใหม่ นอกจาก Sizzler to Go ที่มีแผนเปิดเพิ่มแล้ว 7 สาขาดังกล่าว สาขาร้านแบบนั่งทานแต่เดิมมีแผนเปิดใหม่ 5 สาขา แต่จากวิกฤต COVID-19 ทำให้ชะลอการเปิดตัวไปก่อน แต่ยืนยันยังไม่ยกเลิก

สรุปรวมแล้ว Sizzler ขณะนี้ยังต้องปรับการบริการภายในร้านให้ถูกใจลูกค้าและถูกสุขอนามัย ไปพร้อมๆ กับการลดต้นทุน เช่น เจรจาลดค่าเช่า จ้างพนักงานน้อยลงให้สอดคล้องกับที่นั่งที่น้อยลง โดยหวังว่าสถานการณ์โรคระบาดจะดีขึ้นต่อเนื่องและไม่มีการระบาดซ้ำสองในประเทศ

]]>
1282641
กรณีศึกษา : “แบรนด์” สร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าในช่วง COVID-19 เพื่อ “ได้ใจ” ระยะยาว https://positioningmag.com/1276572 Sat, 30 May 2020 15:14:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276572 “การมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า” นั้นเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกกำลังมองหาในช่วงวิกฤต COVID-19 ขณะที่ทุกคนกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น การชัตดาวน์, Social Distancing, Work from Home ฯลฯ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่แบรนด์หรือธุรกิจต่างๆ ต้องคิดถึงประสบการณ์ลูกค้า (CX) เป็นสำคัญขณะที่การดำเนินธุรกิจก็อาจจะยังไม่เข้าสู่รูปแบบปกติเช่นกัน การทำความเข้าใจเรื่อง data-driven (data-driven empathy) เป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรนำมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ และมีบทบาทในการแสดงความรับผิดชอบต่อทั้งลูกค้าและสังคม ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจรักษาและสร้างสัมพันธภาพกับลูกค้าที่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้

ปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนมากที่กำลังทำสิ่งเหล่านี้ และ “มอบประสบการณ์ลูกค้าที่ดี” ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น

สายการบินไม่ชาร์จค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยน หรือเลื่อนไฟลท์ของผู้โดยสาร

สายการบินส่วนใหญ่มีนโยบายเข้มงวดกับผู้โดยสารที่เลื่อนการเดินทาง หรือยกเลิกเที่ยวบิน โดยทั่วไปสายการบินจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แต่จากวิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้ผู้โดยสารต้องยกเลิกการเดินทางไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเพื่อธุรกิจ หรือการพักผ่อน สายการบินที่มี CX-minded หรือ “ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ลูกค้า” จะทำการยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม

delta airlines
Delta Airlines

“จากสถานการณ์ของ H1N1 และ Ebola ทำให้เราได้เรียนรู้ และเตรียมพร้อมในการให้บริการผู้โดยสารในช่วงวิกฤต เราได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลเที่ยวบินให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบช่วง COVID-19 และเราก็ได้ยกเลิกเที่ยวบินในบางเที่ยวของเราในช่วงวิกฤตนี้เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐ ขณะเดียวกันเราก็อัพเดตนโยบายและสถานการณ์ของสายการบินให้กับลูกค้าอย่างทันท่วงที”

เราผ่อนคลายความกังวลของผู้โดยสารด้วยนโยบาย Peace of Mind โดยการเสนอการออกตั๋วใหม่ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมในกรณีที่ผู้โดยสารทราบวันเดินทางใหม่แล้ว หรือแลกตั๋วเดินทางกับ eVoucher สำหรับผู้โดยสารที่ยังไม่มีกำหนดวันเดินทาง” บิล เล็นช์, หัวหน้าด้านประสบการณ์ลูกค้าของสายการบินเดลต้า กล่าว

ธุรกิจเอนเตอร์เทน

โรงภาพยนตร์ต้องหยุดให้บริการเพื่อระงับการแพร่เชื้อ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะหยุดให้ความบันเทิงกับลูกค้า Seattle Symphony ให้ลูกค้าได้ชมการแสดงผ่านวิดีโอบรอดคาสต์และไลฟ์สตรีมฟรี จนกว่า Benaroya Hall จะกลับมาเปิดใหม่อีกครั้ง

“ในฐานะนักดนตรี เรารวมตัวกันทั้งในช่วงเวลาที่ดีและช่วงเวลาที่ยากลำบาก เพื่อให้ “ดนตรี” ได้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตผู้คนในซีแอตเติลและทั่วโลกที่ช่วยบรรเทาจิตใจในช่วงเวลานี้ เราเชื่อว่าของขวัญที่เชื่อมคนทั่วโลกให้เข้าใจตรงกัน และให้กำลังใจกันได้คือ “ดนตรี” อเล็กซานเดอร์ไวท์, ประธานกรรมการของ Seattle Symphony กล่าว

Seattle Symphony
Seattle Symphony

โดยปกติแล้วโรงภาพยนตร์จะใช้เวลา 60 ถึง 90 วัน เพื่อรอหนังฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ NBCUniversal ได้เปลี่ยนโมเดลการฉายหนังใหม่เพื่อให้ทุกคนได้ดูหนังที่บ้านทันทีผ่านการเช่าภายในเวลา 48 ชั่วโมง ผ่านบริษัทในเครือ Comcast and Sky โดยภาพยนตร์ “Trolls World Tour” เป็นภาพยนตร์แรกที่เปิดตัวและให้บริการต้นเดือนเมษายน

และสำหรับผู้ที่ซื้อตั๋วหนังแล้วมีแพลนที่จะดูหนังในช่วงนี้ ผู้ให้บริการจำหน่ายตั๋ว Fandango ได้ให้เงินคืนเต็มจำนวนแก่ลูกค้าที่ซื้อตั๋วแต่ไม่ได้ดูโดยที่ไม่จำเป็นต้องติดต่อทีมงานของพวกเขา ทาง Fandango ยังขยายวันหมดอายุสำหรับลูกค้าที่จะใช้ Reward  Money อีกด้วย

ยิม และฟิตเนสที่ยังคงห่วงใยคุณเสมอ

ท่ามกลางการปิดให้บริการเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 ยิมหรือฟิตเนสเป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อจิตใจและร่างกายสำหรับผู้รักสุขภาพจำนวนมาก Planet Fitness เป็นหนึ่งฟิตเนสที่ต้องปิดให้บริการแต่ Planet Fitness ยังต้องการให้สมาชิกได้ออกกำลังกาย จึงช่วยสมาชิกให้เข้าถึงเนื้อหาการออกกำลังกาย และแบบฝึกหัดเทรนนิ่งนับร้อยที่สามารถทำได้ที่บ้าน Planet Fitness ยังเปิดให้บริการ “Home Work-Ins” ผ่าน Facebook ที่ผู้สอนไลฟ์ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์

“สุขภาพกายและสุขภาพใจมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้คนโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน ถึงแม้เราจะไม่เห็นลูกค้าในฟิตเนสของเราในระยะเวลาหนึ่ง แต่เรายังสนับสนุนให้พวกเขามีช่วงเวลาดีๆ จากการออกกำลังกายกับเราเสมอ” ผู้บริหาร  Planet Fitness กล่าว

บำบัดจิตใจด้วยช้อปปิ้ง และสั่งอาหารออนไลน์

สำหรับบางคนการช้อปออนไลน์เล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถชะโลมใจให้หายจากภาวะเครียดได้บ้าง Sephora แบรนด์ความงามระดับโลก ก็พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เช่น งดเก็บค่าจัดส่งสินค้า จนถึงต้นเดือนเมษายน นอกจากนี้ยังให้ลูกค้ารีฟันสินค้าได้ภายใน 30 วันหลังจากเปิดร้านค้าอีกครั้ง รวมถึงเพิ่มระยะเวลาสำหรับการคืนสินค้าผ่านออนไลน์เป็น 60 วัน

การเดินซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีคนพลุกพล่านสามารถเพิ่มระดับความวิตกกังวลให้กับผู้คนได้ ดังนั้นการสั่งซื้ออาหารผ่านบริการเดลิเวอรี่ช่วยคลายกังวลในเรื่องนี้ได้ Uber Eats ประกาศงดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดส่งสำหรับร้านอาหารมากกว่า 10,000 แห่ง และบริจาคอาหารฟรีกว่า 300,000 ชุด ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการตามสถานพยาบาลในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา

ส่วนร้านขายยา CVS และ Walgreens ก็ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจัดส่ง prescription ให้ลูกค้าที่บ้าน นอกจากนี้ Walgreens ยังจัดส่งฟรีสำหรับการสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์อีกด้วย

การให้บริการอินเทอร์เน็ตกับทุกคน

นอกจากนักเรียน นักศึกษาที่ย้ายกันมาเรียนออนไลน์แล้ว ยังมีคนทำงานอีกจำนวนมากที่ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีมากยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง AT&T, T-Mobile, Sprint และ Verizon เปิดให้ลูกค้าใช้บริการได้อย่างไม่จำกัด และหากลูกค้ายังไม่จ่ายบิลภายใน 60 วัน ก็ไม่คิดค่าธรรมเนียมในการชำระเงินล่าช้า

พร้อมเปิด Wi-Fi hotspot ให้ใช้ฟรี โดยสัญญาว่าจะไม่หยุดการให้บริการ ขณะที่ Verizon ให้ประเทศที่อยู่ในระดับ 3 ที่ประชาชนในประเทศไม่สามารถเดินทางต่างประเทศใช้บริการโทรทางไกลระหว่างประเทศไปยังประเทศต่างๆได้ฟรีในช่วง COVID-19

และ T-Mobile ก็ตอบแทนสังคมด้วยการบริจาคให้กับ Feeding America ธนาคารที่ไม่แสวงหากำไรมากกว่า 200 แห่ง ตามจำนวนการคลิกแอปพลิเคชัน T-Mobile Tuesday Today ($1 ต่อคลิก)

“เครือข่ายของเราและพนักงานของเราพร้อมที่จะให้บริการลูกค้าทุกคนไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือพื้นที่ห่างไกลในช่วงเวลาวิกฤตนี้ที่การเชื่อมต่อ (connectivity) มีความสำคัญที่สุด” ฮานส์ เวสเบิร์ก ซีอีโอของ Verizon กล่าว

เรียนผ่านออนไลน์จนกลายเป็น New Normal ไปแล้ว

ช่วงนี้การเรียนในห้องเรียนก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงในการแพร่เชื้อและติดเชื้อ ทั้งจากการเดินทางและร่วมห้องเรียนเดียวกัน สถาบันการศึกษาหลายที่จึงมีนโยบายให้นักเรียนและนักศึกษาเรียนออนไลน์เพื่อให้จบทันกับปีการศึกษา Microsoft ได้นำเสนอแพลตฟอร์ม Microsoft Teams ให้กับนักเรียนและสถาบันการศึกษาสำหรับการเรียนการสอน รวมถึงการประชุมทางวิดีโอ และซีรีส์ของ Webinars เพื่อเชื่อมโยงผู้สอนกับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของ Microsoft ตลอดจนแนวทาง วิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับผู้ปกครองอีกด้วย

]]>
1276572
CPN เตรียมเปิด Family Zone ทานอาหารบนโต๊ะเดียวกันได้ 3-8 คน พร้อมคลายล็อกเฟส 3 https://positioningmag.com/1281038 Thu, 28 May 2020 13:54:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281038
CPN เสนอมาตรการความปลอดภัย เพื่อเตรียมพร้อมกับการคลายล็อกดาวน์ระยะ 3 ผุด Family Zone ในร้านอาหาร ทานอาหารบนโต๊ะเดียวกันได้ 3-8 คน แต่ต้องมีช้อนกลาง แต่รอคำสั่งจากรัฐบาล

เตรียมพร้อมคลายล็อกเฟส 3

หลังจากที่มีการผ่อนคลายล็อกดาวน์ระยะสอง เริ่มมีการเปิดศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าได้ แต่ก็มีมาตรการรองรับความปลอดภัย เช่น การจำกัดคนเข้าศูนย์ฯ การนั่งรับประทานอาหารโต๊ะละคน และมีการจัดโต๊ะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร

ทำให้หลายคนพอใจที่จะไปเดินห้างฯ มากขึ้น แต่บางคนที่ส่วนใหญ่ไปเป็นครอบครัวอาจจะไม่ค่อยเอ็นจอยเท่าไหร่ เพราะไม่สามารถนั่งร่วมโต๊ะกันได้

CPN หรือเซ็นทรัลพัฒนา เตรียมมาตรการสำหรับการคลายล็อกระยะที่ 3 ไฮไลต์สำคัญอยู่ที่การเตรียมมาตรการสำหรับการรับประทานอาหารเป็นครอบครัว และปรับลดความแอดอัดในห้างฯ เป็น 1 คนต่อ 4 ตารางเมตร จาก 1 คนต่อ 5 ตารางเมตร

มาตรการเพิ่มเติมสำหรับเตรียมความพร้อมในเชิงรุกให้ร้านค้ากลุ่มธุรกิจที่อาจได้รับการปลดล็อกในระยะที่ 3 ไว้ล่วงหน้าให้ทุกศูนย์การค้าได้เตรียมจัดการเพื่อป้องกันอย่างดีที่สุด ตามแผนแม่บทที่เคยออกมาก่อนหน้านี้  เตรียมพร้อมเมื่อรัฐมีการประกาศอนุญาตเพิ่มเติม

เตรียมมาตรการสำหรับการรับประทานอาหารเป็นครอบครัว ด้วยการเพิ่ม Family Zone สำหรับสมาชิกครอบครัวที่มาด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 8 คน และปรับการจำกัดพื้นที่ลดความแออัดในศูนย์การค้าเป็น 1 คนต่อ 4 ตารางเมตร พร้อมผ่อนผันให้ขยายเวลาเปิดให้บริการเป็น 21:00 . ทั้งนี้ เพื่อปรับให้สอดคล้องไปตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยของผู้บริโภค

วัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า

สำหรับธุรกิจร้านอาหารยังมีความยากลำบากในการให้บริการในหลายประการ ทางบริษัทฯ จึงขอนำเสนอมาตรการเพิ่มเติมของร้านอาหารในการจัดที่นั่งในร้าน”

มาตรการเพิ่มเติมดังนี้

  • ให้ร้านค้าจัดโซนเป็น Family Zone สำหรับสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยในบ้านเดียวกันสามารถนั่งรับประทานอาหารร่วมกันได้ ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 8 คน โดยใช้หม้อ/กระทะร่วมกันได้ แต่ต้องใช้ช้อนกลางส่วนบุคคลเท่านั้น
  • กรณีรับประทานอาหารจานกลางร่วมกัน ควรใช้ช้อนกลางส่วนบุคคล
  • กำหนดบรรทัดฐานที่ใช้ร่วมกันทั่วประเทศ ในการเว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะอาหาร และระหว่างบุคคลต่อบุคคลภายในโต๊ะเดียวกัน ต้องมีระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร หากระยะห่างน้อยกว่า 1 เมตร ต้องมีฉากกั้นระหว่างโต๊ะ หรือระหว่างบุคคล (Table shield)
  • เสนอให้เพิ่มเวลาให้บริการในช่วงอาหารเย็น ด้วยการขยายเวลาการปิดให้บริการถึง 21:00 .

ยังได้จัดเตรียมมาตรการเสริมสำหรับกลุ่มธุรกิจประเภท 3 เหล่านี้เพิ่มเติมให้ธุรกิจกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งมีทั้งหมด 10 ประเภทธุรกิจ
  1. ธุรกิจเสริมความงามที่เกี่ยวกับใบหน้า
  2. ร้านเสริมสวย แต่งผม ตัดผม ให้อนุญาตทำสีผมได้
  3. สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส
  4. โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์
  5. สถานที่เล่นสเก็ตหรือโรลเลอร์เบรด สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง หรือการละเล่นอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
  6. คาราโอเกะ ร้านเกม สวนสนุก
  7. สวนน้ำกลางแจ้ง
  8. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สถานประกอบการนวดแผนไทย
  9. โซนพระเครื่อง
  10. ห้องประชุมภายในศูนย์การค้า

วัลยาย้ำว่า การเปิดให้บริการธุรกิจเพิ่มเติมต่างๆ ในระยะที่ 3 นี้ จะขึ้นอยู่กับคำสั่งของภาครัฐเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเชิงรุก

]]>
1281038
กินอย่างห่างๆ! Burger King เยอรมนี ออกไอเดียเก๋ แถม “หมวกยักษ์” ช่วยเว้นระยะทางสังคม https://positioningmag.com/1280461 Mon, 25 May 2020 08:06:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280461 เจ้าแห่งไอเดียสนุกๆ อย่างร้านฟาสต์ฟู้ด Burger King ไม่พลาดที่จะทำแคมเปญต้อนรับการคลายล็อกดาวน์ โดยร้าน Burger King ในเยอรมนี เปลี่ยนหมวกกระดาษทรงมงกุฏที่จะแถมมากับชุดเบอร์เกอร์เป็นแบบไซส์ใหญ่พิเศษ ช่วยเว้นระยะกันคนอื่นเข้ามาใกล้ๆ เวลากินเบอร์เกอร์!

เยอรมนีเริ่มผ่อนคลายล็อกดาวน์ไปแล้ว แต่ยังแนะนำประชาชนให้อยู่ห่างกันอย่างน้อย 6 ฟุต (1.8 เมตร) ทำให้เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด Burger King ทำแคมเปญแจกหมวกกระดาษมากับอาหาร โดยเป็นหมวกไซส์ยักษ์ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร เพื่อให้ลูกค้ากินอย่างปลอดภัย ไม่อยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น แถมยังได้รูปสนุกๆ ลงโซเชียลมีเดีย ช่วยสร้างเสียงหัวเราะในเวลาวิกฤตเช่นนี้

“เราต้องการสนับสนุนกฎการรักษาสุขอนามัยที่ Burger King ยังคงยึดถือตามมาตรฐาน” ตัวแทนร้าน Burger King ให้สัมภาษณ์กับ Business Insider “หมวกทรงมงกุฏแบบประดิษฐ์เองของทางร้านเป็นวิธีการที่สนุกและมีลูกเล่น ช่วยย้ำเตือนให้ลูกค้าของเราเว้นระยะห่างทางสังคมระหว่างรับประทานอาหาร”

หมวกมงกุฏยักษ์ แคมเปญสนุกๆ ช่วยเว้นระยะห่างทางสังคม (Photo: [email protected])

นอกจากในเยอรมนีแล้ว Burger King ประเทศอื่นๆ ก็มีแคมเปญที่ช่วยสนับสนุนการเว้นระยะห่างทางสังคม โดยไม่ทิ้งลายอัตลักษณ์ของแบรนด์ เช่น Burger King อิตาลี จัดจำหน่าย “Social Distancing Whopper” เป็นเมนูวอปเปอร์แบบพิเศษ ใส่หัวหอมมากกว่าปกติ 3 เท่า เพราะถ้าเรา ‘ปากเหม็น’ คนอื่นๆ ก็จะเว้นระยะห่างออกจากเราไปเอง เป็นวิธีที่ไม่รู้ว่าได้ผลจริงแค่ไหน แต่ได้ความตลกและการ engage กับแบรนด์แน่นอน

หลังการคลายล็อกดาวน์ หลายสถานที่รอบโลกพยายามหาวิธีช่วยให้ผู้คนตระหนักถึงการเว้นระยะห่างอยู่เสมอเมื่อมาใช้บริการ เช่น ร้านกาแฟในเยอรมนีที่แจกหมวกวัดระยะเมื่อมาใช้บริการในร้าน สวนสาธารณะสิงคโปร์ที่มีหุ่นยนต์น้องหมาเตือนคนให้อยู่ห่างจากกัน หรือในไทยเองตามศูนย์การค้าทุกแห่งต่างมีป้ายเตือนการเว้นระยะอยู่จำนวนมาก

Source

]]>
1280461