TSMC – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 11 Nov 2024 04:47:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สหรัฐฯ สั่ง ‘TSMC’ ห้ามส่งชิปขั้นสูงให้ ‘จีน’ หวังสกัดการพัฒนา AI https://positioningmag.com/1498278 Mon, 11 Nov 2024 04:25:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498278 สหรัฐอเมริกา ยังคงเดินหน้าแบนหัวเว่ย โดยไม่ใช่แค่คุมเข้มการส่งออก ชิป หรือ เซมิคอนดักเตอร์ ของบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ เพราะหลังจากที่มีการพบว่า หัวเว่ย ได้ใช้ชิปจาก TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปสัญชาติไต้หวัน ทำให้สหรัฐฯ ได้ขอให้เลิกจัดส่งชิปขั้นสูงไปยังจีน

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ขอให้ TSMC หรือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของโลก หยุดส่งชิปขนาด 7 นาโนเมตร หรือมากกว่า ซึ่งเป็นชิปขั้นสูงที่มีไว้สําหรับขับเคลื่อน AI และหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ไปยังประเทศจีน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. นี้

โดยก่อนหน้านี้ ทาง Tech Insights บริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีได้แยกชิ้นส่วนสินค้าของ หัวเว่ย (Huawei) ที่เผยให้เห็นชิปของ TSMC อยู่ภายใน ซึ่งถือเป็นการ ละเมิดการควบคุมการส่งออก เพราะหัวเว่ยถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำ ส่งผลให้ทาง TSMC ต้องหยุดจัดส่งชิปให้กับบริษัท Sophgo เนื่องจากคาดว่าเป็นบริษัทที่ส่งต่อชิปให้ทางหัวเว่ย

จากเหตุการณ์ดังกล่าวนำมาสู่การปราบปรามครั้งนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบริษัทอื่น ๆ อีกมากมายในจีน และจะช่วยให้สหรัฐฯ ประเมินว่าบริษัทอื่น ๆ กําลังเปลี่ยนเส้นทางชิปสําหรับ AI ไปยังหัวเว่ยหรือไม่ 

ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ร่างกฎใหม่เกี่ยวกับการส่งออกอุปกรณ์ทําชิปจากต่างประเทศ และวางแผนที่จะเพิ่มบริษัทจีนประมาณ 120 แห่ง ในรายชื่อนิติบุคคลที่จํากัดของกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงโรงงานผลิตชิป ผู้ผลิตเครื่องมือ และบริษัทที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ร่างดังกล่าวยังไม่ถูกบังคับใช้

ทั้งนี้ จากรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ผ่านมาของ TSMC แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีรายได้จากชิปขนาด 7 นาโนเมตรหรือชิปขั้นสูงถึง 69% จากรายได้ทั้งหมด 

Source

]]>
1498278
แผนรับมือกรณีจีนบุกไต้หวัน! ซีอีโอ “Nvidia” ประกาศพร้อมย้ายไปผลิต “ชิป” ที่ประเทศอื่น https://positioningmag.com/1490442 Wed, 18 Sep 2024 02:19:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1490442 ซีอีโอ “Nvidia” แย้มแนวคิดรับมือหาก “จีน” ตัดสินใจบุก “ไต้หวัน” บริษัทจะเลือกย้ายฐานผลิต “ชิป” GPUs ไปผลิตกับบริษัทอื่นที่ประเทศอื่นแทน แม้ยอมรับว่าประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับ TSMC

ระหว่างการประชุม Communacopia & Technology Conference ที่จัดโดย Goldman Sachs เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2024 “Jensen Huang” ซีอีโอของ Nvidia ตอบคำถามที่ถูกถามบนเวทีเกี่ยวกับการพึ่งพิงบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) ให้เป็นผู้ผลิตชิป GPUs ของ Nvidia ท่ามกลางภัยคุกคามที่ประเทศจีนอาจจะเดินทัพบุกไต้หวันได้ในอนาคต

Huang ตอบว่า “ถ้าหาก TSMC ตกอยู่ในอันตราย การผลิตซัพพลายของเราจะยังมีต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่ดีเท่าการผลิตกับ TSMC ก็ตาม”

ซีอีโอ Nvidia บอกด้วยว่า บริษัทของเขาเป็นเจ้าของ “ทรัพย์สินทางปัญญา” เพียงพอที่จะย้ายการผลิตจากโรงงานหนึ่งไปอีกโรงงานได้ หากมีความจำเป็น “เรามีความสามารถพอที่จะทำได้” Huang กล่าว แต่เตือนด้วยว่าเทคโนโลยีในการผลิตและผลผลิตที่ออกมาอาจจะไม่ดีเทียบเท่ากับ TSMC “แต่เราก็ยังจะผลิตซัพพลายออกมาได้อยู่”

“หากว่ามีอะไรก็ตามเกิดขึ้นจริงๆ” ซีอีโอ Nvidia กล่าวต่อ “เราควรจะสามารถดึงไปผลิตชิป (fab) ในโรงงานอื่นได้” แม้ว่า TSMC จะเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ดีที่สุดในโลกหากอ้างอิงจากตัวชี้วัดเรื่อง “อัตรากำไรที่เหลือเชื่อ”

Lin Wei-chih รองประธานบริหาร Witology Markettrend Research Institute กล่าวกับสำนักข่าว China Times ว่า ปัจจุบันโรงผลิตชิปในขั้นเวเฟอร์นั้น ไม่มีใครสามารถแทนที่เทคโนโลยีของ TSMC ได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มบริษัทออกแบบชิปอย่าง Nvidia หรือ AMD เองก็ไม่ได้ต้องการจะพึ่งพิงการผลิตไว้ที่บริษัทเดียวเช่นกัน

Lin บอกว่า หากบริษัทออกแบบชิปต้องการจะกระจายการผลิตให้หลากหลาย ตัวเลือกในระดับต่อมาที่พวกเขามักจะเลือกคือ Samsung (เกาหลี) ตามด้วย Intel (สหรัฐฯ)

เขายังวิเคราะห์ด้วยว่า แม้ Samsung และ Intel จะยังเทียบกับ TSMC ไม่ได้ในแง่อัตราการทำกำไรเพราะกระบวนการผลิตยังไม่ขั้นสูงเท่า แต่ถ้ามีการสั่งผลิตเป็นจำนวนมากก็จะได้การประหยัดต่อขนาดที่ช่วยถัวเฉลี่ยได้บ้าง แต่หลังจากนั้นยังมีขั้นตอนการตัดแบ่งชิ้นชิปอีก ซึ่งอาจจะทำให้ต้นทุนสูงกว่าเดิมเมื่อเปลี่ยนโรงงานผลิต

เมื่อเทียบกันแล้วเขามองว่าการกระจายคำสั่งผลิตในขั้นตอนการทดสอบชิปและบรรจุชิปลงอุปกรณ์นั้นยังทำได้ง่ายกว่า โดยมีบริษัทอย่าง Amkor Technology ที่อาจจะเห็นโอกาสในการมารับช่วงงานในขั้นตอนนี้ หรือ TSMC เองอาจจะเลือกหาเอาต์ซอร์สมาทำงานในขั้นตอนนี้ก็ได้

Source

]]>
1490442
TSMC และ ASML สามารถสั่งปิดเครื่องผลิตชิปรุ่นไฮเทคไม่ให้ทำงานได้ทันที ในกรณีถ้าจีนบุกไต้หวันขึ้นมาจริงๆ https://positioningmag.com/1474601 Tue, 21 May 2024 09:19:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474601 นักวิเคราะห์หลายแห่งได้มองว่าการที่จีนบุกไต้หวันนั้น ส่วนหนึ่งมาจากไต้หวันมีเทคโลยีการผลิตชิปที่ทันสมัยซึ่งเป็นสิ่งที่จีนไม่มี แต่ล่าสุดมีรายงานข่าวจาก Bloomberg ว่าถ้าหากจีนบุกไต้หวันขึ้นมาจริงๆ เครื่องผลิตชิปไฮเทคเหล่านี้จะถูกปิดการทำงานทันที และไม่สามารถใข้งานได้

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของไต้หวัน และ ASML ผู้ผลิตเครื่องผลิตชิปนั้นสามารถที่จะสั่งปิดการทำงานของเครื่องผลิตชิปรุ่นไฮเทคอย่างรุ่น EUV ได้ทันทีถ้าหากจีนมีการบุกเกาะไต้หวัน

แหล่งข่าวของสื่อรายดังกล่าวชี้ว่า ตัวแทนของ ASML ได้ยืนยันกับเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับประธานของ TSMC เคยกล่าวว่าถ้าหากจีนได้ใช้กำลังทางทหารแล้วก็จะไม่สามารถทำการผลิตชิปที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงได้

เครื่องผลิตชิปรุ่นไฮเทคอย่างรุ่น EUV ที่มีขนาดใหญ่เท่ากับขนาดรถบัสขนาดใหญ่ 1 คันของ ASML นั้นสามารถที่จะผลิตชิปขนาดต่ำกว่า 5 นาโนเมตรลงมาได้ เช่น ขนาด 3 นาโนเมตร ซึ่งชิปเหล่านี้มีความไฮเทค กินพลังงานต่ำ ประสิทธิภาพสูงกว่าชิปทั่วไปหลายเท่าตัว

ปัจจุบันการผลิตชิปในระดับ 5 นาโนเมตรลงมา แหล่งการผลิตที่ใหญ่ที่สุดคือไต้หวัน ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 90%

ในขณะที่จีนสามารถผลิตชิปได้ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ 7 นาโนเมตรเท่านั้น โดยใช้เครื่องผลิตชิป DUV ของ ASML ซึ่งไม่สามารถผลิตชิปที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฮเทคได้ ส่งผลทำให้จีนมีความพยายามอย่างมากในการที่จะผลิตชิปที่ทันสมัยกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเม็ดเงิน หรือแม้แต่การวิจัย

นอกจากนี้ในรายงานดังกล่าวยังได้กล่าวถึงเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ได้แสดงความกังวลในกรณีถ้าหากจีนได้บุกไต้หวันกับเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีสำนักงานและโรงงานผลิตเครื่องผลิตชิปของ ASML รวมถึงไต้หวัน ว่าจะมีวิธีการใดที่จะทำให้จีนนั้นไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการผลิตชิปรุ่นใหม่ โดยเฉพาะชิปที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง

ASML ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ถูกรัฐบาลหลายประเทศเข้าแทรกแซง เนื่องจากบริษัทเป็นเพียงบริษัทเดียวในโลกที่สามารถผลิตเครื่องผลิตชิปที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้ามากที่สุด (ณ ช่วงเวลานี้) โดยสหรัฐฯ ได้กดดันผ่านรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ไม่ให้ขายหรือแม้แต่ซ่อมบำรุงเครื่องผลิตชิปให้กับจีนอีกต่อไป ขณะที่จีนเองก็กดดันบริษัทให้ขายหรือแม้แต่มีการเข้าบำรุงดูแลเครื่องผลิตชิป

ขณะที่เนเธอร์แลนด์ได้มีการทดสอบโมเดลจำลองว่าถ้าหากจีนบุกไต้หวันจริงๆ จะมีความเสี่ยงด้านใดบ้าง ซึ่ง 1 ในปัจจัยเสี่ยงคือเครื่องผลิตชิปจาก ASML นั่นเอง และปัจจุบัน ASML มีลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของบริษัทนั่นก็คือ TSMC

]]>
1474601
รัฐบาลสหรัฐฯ ทุ่ม 6.6 พันล้าน ดึง ‘TSMC’ ผู้ผลิตชิปเบอร์ 1 ของโลก ขยายโรงงานในอเมริกา https://positioningmag.com/1469461 Tue, 09 Apr 2024 03:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469461 ไม่ใช่แค่สกัดกั้น จีน ในการเข้าถึงชิประดับสูง แต่ สหรัฐฯ ยังเดินเกมดึงพันธมิตรเข้ามาลงทุนในประเทศ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ วางแผนที่จะมอบเงิน 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง TSMC เพื่อขยายโรงงานในรัฐแอริโซนา

รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่า ได้ลงนามในข้อตกลงที่ไม่มีผลผูกพันกับ TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.) บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับ 1 ของโลกสัญชาติไต้หวัน เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับลงทุนเปิดโรงงานผลิตในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะให้เงินอุดหนุนมูลค่า 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกเหนือจากเงินกู้รัฐบาลประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ จากกฎหมาย Chips and Science Act

ขณะที่ TSMC เองก็ตกลงจะเพิ่มวงเงินลงทุนในสหรัฐฯ อีก 25,000 ล้านดอลลาร์ รวมเป็น 65,000 ล้านดอลลาร์ โดยเตรียมที่จะสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ภายในปี 2030 โดยการลงทุนดังกล่าว ถือเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐแอริโซนา  

“อเมริกาคิดค้นชิปเหล่านี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราเปลี่ยนจากการผลิตเกือบ 40% ของกำลังการผลิตของโลก เหลือเพียง 10% และไม่มีชิปที่ทันสมัยที่สุดเลย นั่นทำให้เราเผชิญกับความเปราะบางทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติอย่างมีนัยสำคัญ” โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าว

ปัจจุบัน TSMC ครองสัดส่วนถึง 90% ของชิปที่ทันสมัยที่สุดในโลก โดย Mark Liu ประธาน TSMC กล่าวว่า การจัดตั้งโรงงานในสหรัฐฯ จะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงชิปภายในประเทศ ที่สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนไปจนถึงดาวเทียม รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ด้วย

ทั้งนี้ โรงงานทั้ง 3 แห่งคาดว่าจะสร้างงานด้านเทคโนโลยีประมาณ 6,000 ตำแหน่ง และงานทางอ้อมมากกว่า 20,000 ตำแหน่ง เช่น ในการก่อสร้างการรักษาความปลอดภัย และซัพพลายเชน รวมถึงจะดึงดูดซัพพลายเออร์เซมิคอนดักเตอร์ 14 ราย ให้กับรัฐ

การที่สหรัฐฯ สามารถดึง TSMC มาลงทุนในประเทศได้นั้น ถือว่า Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องนำการผลิตชิปมาใช้ในประเทศมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการผลิตชิปจากประเทศอื่น หลังจากที่เจอปัญหาชิปขาดแคลนไปในช่วงการระบาดของ COVID-19 จนส่งผลให้ราคาสูงขึ้น

ขณะที่ประเทศไต้หวันก็อยู่ในตำแหน่งที่อ่อนแอเช่นกัน เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านซับพลายเชนและเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กังวลว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจทำให้เกิดการรุกรานทางทหารกับไต้หวัน อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิปที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ ไต้หวันเพิ่งเจอกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งย้ำให้เห็นถึงความเสี่ยงของอุตสาหกรรมต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สำหรับกฎหมาย Chips and Science Act ได้ผ่านการรับรองในเดือนสิงหาคม 2022 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศของสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและแข่งขันกับคู่แข่งได้ดีขึ้น เช่น จีน โดยรัฐบาลได้ วางงบอุดหนุนด้านการวิจัยและการผลิตสูงถึง 52,700 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้สมาชิกสภาคองเกรสยังได้อนุมัติวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีก 75,000 ล้านดอลลาร์ด้วย

Source

]]>
1469461
ปัญหา ‘ชิป’ ขาดแคลนอาจกลับมาอีกครั้ง หลัง TSMC แจงมีความเสี่ยง ‘ขาดแคลนน้ำ’ สิ่งสำคัญในการผลิต https://positioningmag.com/1464480 Thu, 29 Feb 2024 09:16:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464480 ย้อนไปปี 2021 บริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company ซึ่งเป็นผู้รับจ้างผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาภัยแล้งในไต้หวัน มาปี 2024 ที่อุตสาหกรรมได้กลับสู่ภาวะปกติ กำลังเจอปัญหาเก่า คือ ขาดแคลนน้ำในการผลิต ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาชิปในอนาคต

Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC บริษัทเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่สุดของโลกได้ออกมาเปิดเผยว่า บริษัทกำลังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการ ขาดแคลนน้ำ ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตชิปเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำเยอะมาก เนื่องจากต้องใช้น้ำปริมาณมหาศาลเพื่อทำให้เครื่องจักรเย็นลง และรับประกันว่าแผ่นเวเฟอร์ปราศจากฝุ่น

“มีเส้นแบ่งโดยตรงระหว่างการใช้น้ำและความซับซ้อนของชิป เนื่องจากโรงงานใช้น้ำบริสุทธิ์พิเศษ ซึ่งเป็นน้ำจืดที่ผ่านการแปรรูปให้มีความบริสุทธิ์สูงมาก เพื่อล้างเวเฟอร์ระหว่างแต่ละกระบวนการ ยิ่งเซมิคอนดักเตอร์มีความก้าวหน้ามากขึ้น ขั้นตอนกระบวนการก็จะยิ่งใช้น้ำมากขึ้น” Hins Li นักวิเคราะห์เครดิตของ S&P Global Ratings กล่าว

ตามข้อมูลของ S&P พบว่า ผู้ผลิตชิปทั่วโลกใช้น้ำมากพอ ๆ กับปริมาณการใช้น้ำของฮ่องกง ที่มีประชากร 7.5 ล้านคน โดยปริมาณการใช้น้ำของ TSMC เพิ่มขึ้นมากกว่า 35% หลังจากที่ได้ก้าวไปสู่การผลิตชิปขนาด 16 นาโนเมตร นับตั้งแต่ปี 2558 และรายงานระบุว่า ปริมาณการใช้น้ำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 1 หลักในแต่ละปี โดยได้แรงหนุนจากการขยายกำลังการผลิตและความต้องการของเทคโนโลยีกระบวนการที่ก้าวหน้า

ทั้งนี้ S&P คาดว่า การหยุดชะงักของขั้นตอนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับน้ำอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยีทั่วโลกเนื่องจาก TSMC ครองส่วนแบ่งตลาดของชิปขั้นสูงประมาณ 90% ของโลกที่ใช้สำหรับแอปพลิเคชัน AI และควอนตัมคอมพิวเตอร์

“ความมั่นคงทางน้ำจะเป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้นต่อสถานะเครดิตของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างไม่ถูกต้องอาจขัดขวางการดำเนินงานของบริษัท ส่งผลเสียต่อผลการดำเนินงานทางการเงิน และอาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า”

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มอัตราสภาพอากาศที่รุนแรง ความถี่ของความแห้งแล้ง และความผันผวนของปริมาณน้ำฝน กำลังจำกัดความสามารถของผู้ผลิตชิปในการจัดการเสถียรภาพของการผลิต

Source

]]>
1464480
ญี่ปุ่นอาจเป็นฮับในการผลิตชิปอีกประเทศ หลัง TSMC สนใจตั้งโรงงานเพิ่ม มีเทคโนโลยีการผลิต 3 นาโนเมตร https://positioningmag.com/1452628 Tue, 21 Nov 2023 05:14:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452628 TSMC ยักษ์ใหญ่การผลิตชิปจากไต้หวัน กำลังสนใจที่จะตั้งโรงงานในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มเติมจาก 2 โรงงานแรก ซึ่งโรงงานแห่งใหม่จะมีเทคโนโลยีการผลิตชิปที่ 3 นาโนเมตร ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยที่สุดในเวลานี้

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าว โดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่จากไต้หวัน กำลังพิจารณาการตั้งโรงงานแห่งที่ 3 ในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มเติม และบริษัทเริ่มบอกแผนการดังกล่าวให้กับลูกค้ารายใหญ่อย่าง Apple และ Nvidia แล้ว

โรงงานดังกล่าวของ TSMC นั้นจะอยู่ในเมืองคุมาโมโตะ ซึ่งใกล้กับโรงงานแห่งแรกและแห่งที่สองซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ในเวลานี้ และโรงงานผลิตชิปแห่งที่ 3 นี้จะมีเทคโนโลยีการผลิตชิป 3 นาโนเมตรอยู่ด้วย โดยชื่อรหัสของโรงงานดังกล่าวคือ TSMC Fab-23 Phase 3

นอกจากนี้สื่อรายดังกล่าวยังรายงานว่า TSMC ได้เริ่มพูดคุยแผนการดังกล่าวกับบริษัทที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Apple รวมถึง Nvidia แล้ว

สำหรับเทคโนโลยีของโรงงานที่ 3 ถ้าหากแล้วเสร็จจะถือว่ามีความทันสมัยที่สุดในญี่ปุ่น โดยโรงงานแรกของ TSMC นั้นใช้เทคโนโลยีในการผลิตชิปที่ 28 และ 22 นาโนเมตร ขณะที่โรงงานแห่งที่สองจะใช้เทคโนโลยีการผลิตชิปที่ 6 นาโนเมตร ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2027

การตั้งโรงงานในประเทศญี่ปุ่นแห่งที่ 3 ของ TSMC ยังจะทำให้ญี่ปุ่นกำลังจะกลายเป็นแหล่งการผลิตชิปโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอีกแห่งในทวีปเอเชีย ที่ปัจจุบันมีเพียงแค่ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เท่านั้น

ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นได้ชักชวนให้ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศมาแล้ว โดยผ่านเม็ดเงินสนับสนุน ซึ่งมีผู้สนใจเข้ามาตั้งฐานการผลิต ไม่ว่าจะเป็น Micron หรือแม้แต่ Samsung ขณะเดียวกันรัฐบาลยังผลักดันผู้ผลิตชิปในประเทศอย่าง Radius ที่เป็นการร่วมทุนของบริษัทญี่ปุ่น ที่มีความพยายามจะผลิตชิปโดยใช้เทคโนโลยี 2 นาโนเมตร

ขณะที่ TSMC ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิปรายนี้ก็ได้กระจายฐานการผลิตออกนอกไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รวมถึงในเยอรมัน ซึ่งรัฐบาลหลายแห่งได้ให้เม็ดเงินสนับสนุนในการตั้งโรงงานในประเทศของตน เพื่อที่จะกระจายความเสี่ยงในเรื่องของ Supply Chain

อย่างไรก็ดีแหล่งข่าวของสื่อรายดังกล่าวได้กล่าวว่าช่วงเวลาในการเริ่มก่อสร้างนั้นยังไม่ชัดเจน ซึ่งแผนการดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

]]>
1452628
ตลาดไอทีซบฉุดกำไร ‘TSMC’ ลดลงครั้งแรกในรอบ 4 ปี ‘CFO’ มั่นใจ iPhone รุ่นใหม่จะช่วยฟื้นรายได้ Q3 https://positioningmag.com/1438484 Thu, 20 Jul 2023 10:39:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438484 นับตั้งแต่ที่การระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลง ความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคก็ลดลงตาม โดยตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกใน Q2/2023 ลดลง 11% ขณะที่ในเดือนพฤษภาคม Apple ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของ TSMC รายงานว่า ยอดขายรวมลดลงเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน

จากการหดตัวของตลาดไอที ทำให้รายได้ของ Taiwan Semiconductor Manufacturing Co Ltd หรือ TSMC บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับ 1 ของโลกสัญชาติไต้หวัน ใน Q2/2023 ที่ไม่ค่อยจะดีนัก โดยรายได้ลดลง -10% อยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนกำไรสุทธิลดลง -23.3% อยู่ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยถือเป็นการลดลงของรายได้สุทธิรายไตรมาสครั้งแรกของบริษัทนับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2019

“ธุรกิจได้รับผลกระทบจากกระแสเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งทำให้ความต้องการของตลาดปลายทางลดลง และนำไปสู่การปรับสินค้าคงคลังของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง”

อย่างไรก็ตาม Wendell Huang ซีเอฟโอของ TSMC คาดการณ์รายได้ในไตรมาสที่ 3 ว่าจะอยู่ที่ระหว่าง 1.67-1.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีปัจจัยหนุนมาจากเทคโนโลยีชิปขนาด 3 นาโนเมตร ซึ่งมีข่าวลือว่าชิปขนาด 3 นาโนเมตรจะเป็นโปรเซสเซอร์ที่ใช้ใน iPhone รุ่นใหม่ และโดยปกติแล้ว Apple จะเปิดตัว iPhone รุ่นล่าสุดในเดือนกันยายน ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะสั่งซื้อชิปจาก TSMC ในไตรมาสที่ 3

Le Xuan Chiew นักวิเคราะห์จาก Canalys มองว่า ตลาดสมาร์ทโฟนกำลังส่งสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงต้นหลังจากหดตัวติดต่อกัน 6 ไตรมาสนับตั้งแต่ปี 2022 โดยสินค้าคงคลังของสมาร์ทโฟนเริ่มชัดเจนขึ้นเนื่องจากผู้ขายสมาร์ทโฟนลดการสต็อกสินค้ารุ่นเก่าเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับสมาร์ทโฟนที่จะเปิดตัวใหม่

ทั้งนี้ ตัวเลขนาโนเมตรหมายถึงขนาดของทรานซิสเตอร์แต่ละตัวบนชิป ยิ่งทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสามารถบรรจุลงในเซมิคอนดักเตอร์ตัวเดียวได้มากขึ้นเท่านั้น โดยปกติแล้ว การลดขนาดนาโนเมตรทำให้ชิปทรงพลังและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Source

]]>
1438484
TSMC ติดโผ 10 บริษัทใหญ่ที่สุดในโลกเป็นที่เรียบร้อย หลังมูลค่าหุ้นแตะ 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ https://positioningmag.com/1433961 Wed, 14 Jun 2023 05:03:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433961 TSMC ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิปจากไต้หวัน ล่าสุดบริษัทสามารถติด 1 ใน 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้แล้ว โดยเขี่ยยักษ์ใหญ่อีกรายอย่าง Visa ลงจากตำแหน่ง นอกจากนี้บริษัทยังเป็นบริษัทที่มีมูลค่าใหญ่สุดในเอเชีย แซงหน้า Tencent แล้วอีกด้วย

โดยมูลค่าของบริษัทจากไต้หวันรายนี้อยู่ที่ 553,900 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยมากกว่า 17 ล้านล้านบาท หลังจากที่ราคาหุ้นของ TSMC มีราคาเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี 2023 จนถึงวันนี้ถึง 32.22% ทำให้บริษัทติดอันดับ 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกทันที

สำหรับจุดเด่นของ TSMC คือเทคโนโลยีการผลิตชิปที่นำหน้าคู่แข่งรายอื่น ไม่ว่าจะเป็น Samsung ที่เป็นคู่แข่งที่มีความสูสีมากสุด และทิ้งห่าง Intel ไปไม่เห็นฝุ่น ทำให้บริษัทอื่นอย่าง Apple หรือ Nvidia ได้จ้างให้ผู้ผลิตชิปจากไต้หวันรายนี้ผลิตชิปให้

นอกจากนี้การเข้ามาของเทคโนโลยี AI ยังทำให้ความต้องการผลิตชิปที่มีประสิทธิภาพสูงเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะใช้ในการฝึกฝน AI และเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้ TSMC ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้ประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้นักลงทุนได้

มูลค่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกล่าสุดนั้นมี 8 บริษัทที่มาจากสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น Apple ที่ยังครองแชมป์บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองลงมาคือ Microsoft มีเพียง 2 บริษัทที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกานั่นก็คือ Saudi Aramco ผู้ผลิตน้ำมันจากซาอุดีอาระเบีย และ TSMC จากไต้หวัน

 

]]>
1433961
ไปต่อไม่รอแล้วนะ TSMC เริ่มทดลองผลิตชิป 2 นาโนเมตรแล้ว คาดผลิตจำนวนมากได้ภายในปี 2025 https://positioningmag.com/1433247 Tue, 06 Jun 2023 12:42:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433247 TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของไต้หวัน ล่าสุดได้ทดลองผลิตชิปที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตระดับ 2 นาโนเมตรแล้ว และคาดว่าจะมีการผลิตจำนวนมากได้ภายในปี 2025 โดยคาดว่าลูกค้ากลุ่มแรกของบริษัทจะเป็นลูกค้ารายใหญ่อย่าง Apple รวมถึง Nvidia

สื่อธุรกิจในไต้หวันอย่าง Economic Daily News ได้รายงานข่าวว่า TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ได้เตรียมเริ่มเดินสายการผลิตชิประดับ 2 นาโนเมตรแล้ว และคาดว่าจะผลิตชิปได้เป็นจำนวนมากในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2025 และจะมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตเล็กกว่า 2 นาโนเมตรได้ภายในปี 2026

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นตามมาหลังจากในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา บริษัทได้เริ่มการผลิตชิปด้วยเทคโนโลยีการผลิตระดับ 3 นาโนเมตรในระดับจำนวนมากได้แล้ว

สำหรับชิปที่ใช้เทคโนโลยี 2 นาโนเมตรจะใช้พลังงานต่ำลงกว่าชิปที่ใช้เทคโนโลยี 3 นาโนเมตร ไม่น้อยกว่า 25% และมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสูงกว่าถึง 15% ซึ่งคาดว่าลูกค้ากลุ่มแรกๆ ที่จะใช้เทคโนโลยีดังกล่าวก็คือ Apple และ Nvidia

เทคโนโลยี 2 นาโนเมตรที่ TSMC ใช้งานนั้นได้ใช้วิศวกรเพื่อการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีดังกล่าวมากถึง 1,000 ราย ซึ่งโรงงานที่ผลิตจะอยู่ในภาคใต้ของไต้หวัน

ขณะเดียวกันยังมีข่าวว่า TSMC จะนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้เพื่อรีดประสิทธิภาพในการผลิตให้ดีมากยิ่งขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการใช้พลังงานในการผลิต หรือแม้แต่ความแม่นยำในการผลิตนั้นดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้กำไรของบริษัทสูงมากขึ้น

ปัจจุบันคำสั่งซื้อของ Apple และ Nvidia คิดเป็นสัดส่วนรายได้มากกว่า 1 ใน 4 ของรายได้รวมของ TSMC ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี TSMC ได้ออกมากล่าวว่าการวิจัยและพัฒนาการผลิตชิปโดยใช้เทคโนโลยี 2 นาโนเมตรนั้นยังเป็นไปตามเป้าเวลาของบริษัท นอกจากนี้บริษัทยังกล่าวว่าชิปที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตดังกล่าวจะผลิตได้จำนวนมากได้ภายในปี 2025 ซึ่งตรงกับรายงานของสื่อรายดังกล่าว

ข่าวที่ออกมาดังกล่าวยังเป็นแรงกดดันต่อคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Samsung ที่เป็นคู่แข่งรายสำคัญในการผลิตชิปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลังจากที่บริษัทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Intel หรือ GlobalFoundries ฯลฯ ไม่สามารถที่จะแข่งขันกับ TSMC ได้เนื่องจากไม่สามารถไล่ตามเทคโนโลยีการผลิตได้ทัน

]]>
1433247
TSMC เจรจาเพื่อรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเยอรมันสูงถึง 50% เพื่อสร้างโรงงานในประเทศ https://positioningmag.com/1432153 Sat, 27 May 2023 07:51:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432153 ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิปจากไต้หวันอย่าง TSMC ได้เจรจาเพื่อรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเยอรมันสูงถึง 50% เพื่อสร้างโรงงานในประเทศเยอรมัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาสหภาพยุโรปได้ผลักดันแผนการดังกล่าว เพื่อที่จะทำให้ EU ฮับในด้านเซมิคอนดักเตอร์อีกแห่ง

สำนักข่าว Bloomberg ได้รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า TSMC ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิปจากไต้หวัน ได้พูดคุยกับรัฐบาลเยอรมัน เพื่อที่จะขอรับเงินอุดหนุนในการมาตั้งโรงงานในประเทศเยอรมัน ซึ่งคาดว่าเม็ดเงินอุดหนุนที่ทางบริษัทจากไต้หวันได้ขอนั้นอาจสูงถึง 50% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด

โดยโรงงานของ TSMC คาดว่าจะตั้งในเมือง Dresden คาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างโรงงานดังกล่าวมากถึง 10,000 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยราว 372,777 ล้านบาท ทำให้บริษัทจากไต้หวันรายดังกล่าวได้ขอรับเงินอุดหนุนจากเยอรมัน รวมถึงสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อที่จะสร้างโรงงานดังกล่าวให้สำเร็จได้

ขณะเดียวกันรัฐบาลเยอรมันกำลังเจรจากับบริษัทอื่น ได้แก่ Bosch และ Infineon Technologies รวมถึง NXP Semiconductors ในเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อที่จะมีการตั้งโรงงานในเยอรมัน ซึ่งหลายบริษัทนั้นเป็นซัพพลายเออร์ของ TSMC ด้วย

กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีกล่าวในแถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าวว่าอยู่ในขั้นตอนการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างใกล้ชิดกับ TSMC โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้นสำหรับการตัดสินใจลงทุน

ก่อนหน้านี้ทาง สหภาพยุโรป (EU) เตรียมงบลงทุนก้อนใหญ่มากถึง 43,000 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 1.6 ล้านล้านบาท ภายใต้ข้อตกลง “EU Chips Act” หวังที่จะเป็นฮับในด้านเซมิคอนดักเตอร์อีกแห่ง โดยงบที่ลงทุนไปดังกล่าวคาดหวังว่าจะทำให้ยุโรปครองส่วนแบ่งในตลาดเซมิคอนดักเตอร์ได้ราวๆ 20% ภายในปี 2030

อย่างไรก็ดีคาดว่าเม็ดเงินอุดหนุนที่รัฐบาลเยอรมันที่ให้กับ TSMC คาดว่าจะให้สัดส่วนเท่ากับรัฐบาลญี่ปุ่นที่ช่วยเหลือ TSMC ในการตั้งโรงงานในแดนอาทิตย์อุทัยที่สัดส่วน 40% ของมูลค่าการลงทุน

ถ้าหาก TSMC ได้มาตั้งโรงงานอีกแห่งในทวีปยุโรปจริงๆ จะถือว่าเป็นความสำเร็จของสหภาพยุโรปที่ทำให้ยักษ์ใหญ่ผลิตชิปจากไต้หวันสามารถมาตั้งโรงงานในทวีปนี้ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทได้กระจายฐานการผลิตนอกจากในไต้หวันมาแล้ว

]]>
1432153