Work from Home – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 27 Sep 2024 10:54:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 73% ของพนักงาน ‘Amazon’ กําลังพิจารณาที่จะลาออก หลังต้องกลับเข้าออฟฟิศ 5 วัน/สัปดาห์ https://positioningmag.com/1492017 Fri, 27 Sep 2024 02:23:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1492017 หลังจากที่ Amazon ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของสหรัฐฯ ได้แจ้งพนักงานให้กลับเข้าออฟฟิศจากสัปดาห์ละ 3 วัน เป็น 5 วัน โดยกฎใหม่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 2568 เป็นต้นไป ล่าสุดมีผลสำรวจพบว่า พนักงานเกินครึ่งอยากจะ ลาออก

ล่าสุด จากผลสํารวจพนักงาน Amazon จำนวน 2,585 คน บนเว็บไซต์ Blind พบว่า 73% กล่าวว่า พวกเขากําลังพิจารณาหางานใหม่ หลังจากที่ Andy Jassy CEO ที่ประกาศให้พนักงานกลับเข้าออฟฟิศมาทำงานเต็มเวลาในปีหน้า

นอกจากนี้ 80% ของผู้เชี่ยวชาญด้าน Amazon ที่สํารวจรายงานว่า พวกเขารู้จักเพื่อนร่วมงานที่กําลังพิจารณาหางานอื่นเนื่องจากการประกาศ พนักงาน Amazon เหล่านี้ยังระบุว่า การประกาศนโยบายส่งผลกระทบต่อขวัญกําลังใจอย่างไร และการเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลกระทบต่อผู้ปกครองและผู้ดูแลที่ได้รับประโยชน์จากความยืดหยุ่นระยะไกลและไฮบริดอย่างไม่สมส่วน

การสํารวจอื่นจาก Glassdoor พบว่า 74% ของพนักงาน Amazon กําลัง คิดใหม่ ถึงอนาคตของอาชีพของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีหรือที่อื่น ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่า นโยบายการเข้างานในสํานักงานที่เข้มงวดอาจเป็นวิธี บีบให้คนลาออก และหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการเลิกจ้างพวกเขา

อย่างไรก็ตาม มีพนักงาน Amazon จํานวนมากหวังว่าซีอีโอจะ พิจารณานโยบายนี้อีกครั้ง เพราะพนักงาน Amazon ไม่พอใจอย่างมาก กับการเปลี่ยนแปลงนโยบาย อ้างอิงจากการสํารวจโดยไม่ระบุชื่อที่สร้างโดยพนักงานแบบสํารวจดังกล่าวได้ถูกแชร์บนช่องทาง Slack ของบริษัท นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม การสนับสนุนการทำงานระยะไกล ที่มีสมาชิกมากกว่า 30,000 คน ด้วย

โดยผู้สร้างแบบสํารวจกล่าวว่า พวกเขาตั้งใจที่จะรวบรวมและแบ่งปันผลการสํารวจกับซีอีโอและผู้บริหารอื่น ๆ เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกที่ชัดเจนเกี่ยวกับ ผลกระทบของนโยบายนี้ต่อพนักงาน

Source

]]>
1492017
ถอดบทเรียนการทำงานกับ “ยูนิลีเวอร์” เข้าออฟฟิศ 40% ไม่มีสแกนนิ้ว ลดห้องประชุม เพิ่มโซนพักผ่อน แต่ประสิทธิภาพการทำงานยังเหมือนเดิม https://positioningmag.com/1445759 Wed, 27 Sep 2023 08:09:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445759 ในยุคปัจจุบันนอกจากจะต้องแข่งขันในเรื่องธุรกิจแล้ว ในเรื่องของ “คน” ก็มีการแข่งขันสูงไม่แพ้กัน หลายองค์กรต้องต่อสู้เพื่อแย่งชิงบุคลากรที่มีคุณภาพ รวมถึงการรักษาคนให้อยู่ยาวนานด้วย หลายองค์กรจึงให้ความสำคัญในเรื่อง Workforce กันมากขึ้น ใส่ใจในเรื่องการทำงาน สวัสดิการ และสถานที่ทำงาน เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดในการทำงานอย่างมาก

Positioning มีโอกาสได้พูดคุยกับ “ภูธัต เนตรสุวรรณ” ผู้อำนวยการฝ่ายประสบการณ์การทำงานของพนักงาน ประเทศไทยและภาคพื้นอาเซียน บริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ในการดูแลพนักงานของยูนิลีเวอร์ หลังจากที่ได้ทดลองการทำงานแบบไฮบริดสอดรับกับวิถีการทำงานของคนรุ่นใหม่ และรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

unilever

ยูนิลีเวอร์เป็นองค์กรระดับโลก มีการทำตลาดใน 190 ประเทศ มีพนักงานรวมกว่า 190,000 คน ส่วนในประเทศไทย ยูนิลีเวอร์ได้เข้ามาทำตลาดตั้งแต่ปี 2475 หรือ 90 ปีมาแล้ว มีพนักงานรวมกว่า 3,300 ราย แบ่งเป็น 1 ออฟฟิศสำนักงานใหญ่ หรือ Unilever House ถนนพระราม 9 มีพนักงาน 892 คน โรงงานมีนบุรี 2,600 คน และโรงงาน Gateway ฉะเชิงเทรา มีพนักงาน 500 คน

นำร่อง “ไฮบริด” มาก่อนกาล เข้าออฟฟิศ 40%

หลังจากที่ทั่วโลกได้เจอสถานการณ์ COVID-19 หลายคนได้คุ้นเคยกับการทำงานแบบ Work from Home บ้าง ทำงานแบบไฮบริดบ้าง ซึ่งโรคระบาดเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนวิถีชีวิตในหลายๆ ด้านเลยทีเดียว หลังจากที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย หลายบริษัทก็ไม่ได้กลับไปทำงานที่ออฟฟิศแบบ 100% ก็มี เพราะหลายคนคุ้นชินกับการทำงานที่บ้านไปแล้ว

แต่สำหรับยูนิลีเวอร์ได้ลองใช้นโยบายการทำงานแบบ “ไฮบริด” มาตั้งแต่ปี 2562 เป็นช่วงก่อนเกิด COVID-19 เป็นนโยบายในระดับโกลบอล เนื่องจากเริ่มเห็นเทรนด์ของพนักงานว่าอยากทำงานแบบ Work from Home พอเริ่มมี COVID-19 ก็เริ่มกำหนดทิศทางมากขึ้นเป็นระบบ 2+2+1 ก็คือ ทำงานที่บ้าน 2 วัน ที่ออฟฟิศ 2 วัน และอีก 1 วันทำที่ไหนก็ได้

unilever

หลังจากได้ทดลองมาระยะหนึ่ง ก็เริ่มกำหนดเป็นนโยบายชัดเจนว่าขอให้พนักงานมาทำงานที่ออฟฟิศ 40% หรือ 2 วัน/สัปดาห์ แต่เป็นการตกลงกันในทีมของตัวเองว่าจะเข้ามากันทุกวันไหน ภูธัตบอกว่า ส่วนใหญ่จะเลือกกันเข้าวันอังคาร, พุธ, พฤหัสบดี เลี่ยงๆ วันจันทร์ กับศุกร์

ภูธัตเสริมอีกว่า เหตุผลที่ยังต้องมีการเข้าออฟฟิศอยู่ เพราะการทำงานยังต้องมีการปฏิสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ การเจอหน้ากันจะทำให้มีไฟในการทำงานมากขึ้น รวมไปถึงออฟฟิศยังส่งเสริมวาระสำคัญต่างๆ เช่น วันเกิด วันครบรอบการทำงาน ได้รับรางวัล คนในองค์กร คนในทีมยังต้องการโมเมนต์ในการฉลองร่วมกันอยู่

ถ้าถามว่าการทำงานแบบไฮบริดแล้ว พนักงานยังทำงานได้ตาม KPI หรือไม่ ภูธัตบอกว่า หลังจากที่ทดลองการทำงานแบบใหม่ก็พบว่า ประสิทธิภาพการทำงานไม่ได้ลดลง อัตราการออกก็ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในตลาด ของยูนิลีเวอร์อยู่ที่ 12% แต่ในตลาดอยู่ที่ 15% รวมไปถึงการเข้าออฟฟิศก็ไม่มีระบบสแกนนิ้ว แต่ทุกคนก็รู้หน้าที่ของตัวเองดี

unilever

นอกจากการทำงานแบบไฮบริดแล้ว ยังมีรูปแบบการจ้างงานที่ไม่เหมือนเดิมด้วย เนื่องจากบางคนอาจติดเงื่อนไขบางอย่าง เช่น ตัวอยู่เชียงใหม่ ไม่ได้อยากเป็นพนักงานประจำ ก็รับงานเป็นโปรเจกต์ไปได้ ทำให้เปิดรับคนได้มากขึ้น หลากหลายขึ้น สอดรับเทรนด์คนรับงานฟรีแลนซ์มากขึ้น

ตอนนี้ยูนิลีเวอร์ทั่วโลกได้ขานรับนโยบายการทำงานแบบไฮบริดแล้วราวๆ 30-40% โดยเริ่มจากโซนยุโรปมาก่อนที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบนี้อยู่แล้ว ในสิ้นปีนี้คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 70% ที่ทำงานแบบไฮบริด ทางเอเชียเริ่มรับเทรนด์นี้มาเรื่อยๆ เริ่มจาก สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บางประเทศอย่างเวียดนาม และอินโดนีเซีย ยังติดเรื่องการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ยังมีวัฒนธรรมที่เข้าออฟฟิศอยู่

ยุบเหลือ 2 ชั้น ลดห้องประชุม เพิ่มโซนพักผ่อน

ยูนิลีเวอร์ได้เปิดออฟฟิศแห่งใหม่ หรือที่เรียกว่า U-House เมื่อปี 2560 เป็นตึกขนาดใหญ่ย่านถนนพระราม 9 พื้นที่รวม 36,000 ตารางเมตร มี 12 ชั้น แรกเริ่มจะมีส่วนของพื้นที่ค้าปลีก 2 ชั้น ลานจอดรถ 4 ชั้น และ 6 ชั้นเป็นออฟฟิศของยูนิลีเวอร์ ซึ่งในตอนนั้นมีพนักงานรวม 1,150 คน

แต่หลังจากมีนโยบายการทำงานแบบไฮบริด รวมถึงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง มีการขายธุรกิจบางส่วนออก จึงทำให้จำนวนพนักงานลดลง ในปี 2563 ยูนิลีเวอร์ได้ปล่อยพื้นที่ 2 ชั้นให้กับ “แฟลช เอ็กซ์เพรส” เช่า ในตอนนี้ก็กำลังรอเช่าคนใหม่เข้ามาเติมอีก 2 ชั้นเช่นกัน

unilever

เท่ากับว่ายูนิลีเวอร์ได้หั่นพื้นที่ทำงานเหลือ 2 ชั้น จากเดิม 6 ชั้น และทำการรีโนเวตใหม่เป็น U-House 2.0 ด้วยงบลงทุน 30 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็นพื้นที่ทำงาน 50% ห้องประชุม 40% และพื้นที่พักผ่อน 10%

หลักๆ มีการดีไซน์ใหม่ ให้สอดรับกับการทำงานรูปแบบใหม่ ห้องทำงานเป็นเหมือน Co-Working Space ไม่มีที่นั่งตายตัว เพราะทุกคนไม่ได้เข้าทำงานพร้อมกัน ให้พนักงานมีส่วนช่วยในการออกแบบ เลือกเฟอร์นิเจอร์ เลือกเกมที่ใช้ในโซนพักผ่อน ตั้งชื่อห้องประชุม และเสริมเทคโนโลยีมากขึ้น หลักๆ แบ่งเป็น 5 โซน

  • Focus Zone มุมที่ต้องการความเป็นส่วนตัว มีโต๊ะเดี่ยวๆ หรือเป็นโฟนบูธ
  • Collaboration Zone มีโต๊ะยาวที่ทำงานเป็นทีมได้
  • Connect Zone มีการลดห้องประชุมขนาดใหญ่ เพิ่มห้องเล็กมากขึ้น
  • Vitality Zone โซน U Rest มุมพักผ่อน มุมกินขนม เล่นเกม ดูหนัง โซน Wellness Area มีเก้าอี้กึ่งนอนได้ มีผ้าปิดตา ที่อุดหู
  • Special Zone มีคลินิกสำหรับผู้ป่วย มีห้องปั๊มนมได้ มีทีมซัพพอร์ต ทีมไอที Business Support Centre

unilever

สวัสดิการแบบยืดหยุ่น ไฮบริดยังให้เพิ่มอีก

โดยปกติแล้วยูนิลีเวอร์มีสวัสดิการที่คุ้มครองพนักงานอยู่แล้ว หลักๆ จะมีสวัสดิการเรื่องสุขภาพ ส่วนอื่นๆ จะเป็นแบบ Flexible ยืดหยุ่นได้ แล้วแต่ความชอบแต่ละบุคคล จะมีวงเงินประจำปี แต่ในช่วงการทำงานแบบไฮบริด ก็มีสวัสดิการเพิ่มเติมเข้าไป จะเรียกว่าเป็นพอยท์ บางคนอาจจะไปใช้ส่งเสริมทักษะตัวเอง หรือไปใช้ในการดูแลสุขภาพร่างกายก็ได้

อีกหนึ่งสวัสดิการสำคัญก็คือ พนักงานสามารถซื้อสินค้าของยูนิลีเวอร์ได้ส่วนลด 30% ด้วย แต่ภูธัตบอกว่าสวัสดิการนี้เริ่มสู้ช้อปปิ้งออนไลน์ไม่ได้แล้ว บางเจ้ามี 1 แถม 1

unilever
ห้องพระ

ถ้าถามว่า ในยุคนี้คนทำงานต้องการสวัสดิการอะไรมากที่สุด หรือพนักงานที่จะเข้าใหม่ต้องการอะไร ภูธัตบอกว่า สวัสดิการด้านสุขภาพยังคงเป็นสิ่งที่ต้องการมากที่สุด รองลงมาคือเรื่องรูปแบบการทำงาน และการส่งเสริมตัวเอง แต่สวัสดิการต่างๆ ต้องยืดหยุ่น ปรับตามความชอบส่วนตัวได้

ภูธัตบอกว่า ตำแหน่งที่หายากที่สุดของยูนิลีเวอร์ประเทศไทยคือ การตลาด ในตลาดแรงงานก็หายาก และหาที่ฟิตกับองค์กรยากด้วย

ปัจจุบันยูนิลีเวอร์มีพนักงานระดับกลางกว่า 66% และผู้บริหารระดับอาวุโสกว่า 75% เป็นผู้หญิง ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยูนิลีเวอร์กำหนดไว้ว่าต้องมีบุคลากรเพศหญิง 50% จากจำนวนพนักงานทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการสิทธิลาคลอดสูงสุดถึง 16 สัปดาห์ และมีวันลา 15 วันสำหรับคุณพ่อ และยังมีสวัสดิการครอบคลุมสำหรับคู่สมรสเพศเดียวกัน

]]>
1445759
กลับลำ! ซีอีโอ “Meta” “Snap” “Zoom” เลิกอวย Work from Home หันมากดดันพนักงานที่ไม่เข้าออฟฟิศ https://positioningmag.com/1443468 Tue, 05 Sep 2023 06:42:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443468 หมดยุคทองของการ Work from Home แล้วหรือเปล่า? ล่าสุดทั้งซีอีโอของ Meta, Snap และ Zoom ต่างเปลี่ยนนโยบายให้พนักงานกลับมาเข้าออฟฟิศ และเริ่มกดดันลงโทษทางวินัยหรือไล่ออกพนักงานที่ไม่ยอมทำตาม ทั้งที่ก่อนหน้านี้ในช่วงโควิด-19 บรรดาซีอีโอต่าง อวย การทำงานจากบ้านว่าดีกับสมดุลชีวิตและการงานมากกว่า

3 ปีที่ผ่านมา โรคระบาดบีบให้หลายบริษัทต้องใช้นโยบาย Work from Home สำหรับพนักงานออฟฟิศ จนวิถีชีวิตการทำงานลักษณะนั้นเกือบจะมาแทนที่การเข้าออฟฟิศแบบเดิมๆ ไปโดยเฉพาะในโลกตะวันตก

อย่างไรก็ตาม บางบริษัทเริ่มทยอยเปลี่ยนใจ หันมาใช้นโยบาย “กลับเข้าออฟฟิศ” เหมือนเก่าแล้ว เช่น Meta และ Goldman Sachs ที่เริ่มต้นใช้นโยบายกลับเข้าออฟฟิศมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยมาพร้อมกับการตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากพนักงานไม่เข้าออฟฟิศบ่อยครั้งเท่าที่กำหนด อาจจะมีบทลงโทษทางวินัยถึงขั้นไล่ออกได้

ที่ผ่านมาพนักงานส่วนใหญ่ให้ค่ากับบริษัทที่มีนโยบายอนุญาตการทำงานทางไกล (remote work) ไว้สูงมาก The Wall Street Journal เคยรายงานไว้ว่า พนักงานมองว่าการมีนโยบายยืดหยุ่นเรื่องที่ทำงานนั้นเทียบเท่ากับการให้เงินเดือนเพิ่ม 8% เลยทีเดียว ดังนั้น การปรับระบบกลับมาเข้มงวดเรื่องเข้าออฟฟิศจึงเป็นสิ่งที่สวนทางกับความรู้สึกพนักงาน

ในช่วงโควิด-19 มีซีอีโอหลายรายที่อวยยศให้การ Work from Home เป็นนวัตกรรมการทำงานที่ดี แต่ปัจจุบันนี้ ‘กลับลำ’ อย่างแรง เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานไม่ได้ดีอย่างที่คิด

 

‘Mark Zuckerberg’ แห่ง Meta จากอวยสู่ไล่ออก

(Photo by David Ramos/Getty Images)

ย้อนไปในช่วงเดือนพฤษภาคม 2020 หลังล็อกดาวน์ในสหรัฐฯ ผ่านไป 2 เดือน Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta เคยกล่าวในการประชุมภายในบริษัทว่า การมีนโยบายที่ทำงานแบบยืดหยุ่นทำให้บริษัทมีโอกาสเปิดกว้างขึ้นในการจ้างงาน ‘ทาเลนต์’ เพราะทาเลนต์ที่ไม่ต้องการย้ายมาอยู่เมืองใหญ่ก็สามารถทำงานกับ Meta ได้

ในแง่ชีวิตส่วนตัวของพนักงาน เขามองว่าการทำงานทางไกลทำให้ตัวเขาเองมีพื้นที่และเวลาได้คิดมากขึ้น และได้ใช้ชีวิตกับครอบครัวมากขึ้น ซึ่งทำให้เขามีความสุขและทำงานได้มีประสิทธิภาพ

เมื่อปี 2020 Zuckerberg ถึงกับวาดฝันว่าพนักงานของ Facebook จะได้ทำงานทางไกลกันใน 5-10 ปีข้างหน้า เขาถึงขั้นบอกด้วยว่าในปี 2022 เขาจะเริ่มทำงานจากระยะไกลสักครึ่งปี

ตัดภาพมาในปี 2023 บริษัท Meta กลับลำอย่างแรงเรื่องของการทำงานจากที่ไหนก็ได้ สำนักข่าว Business Insider รายงานว่า Meta จะเริ่มเข้มงวดเรื่องการกลับเข้าออฟฟิศของพนักงานตั้งแต่เดือนกันยายน 2023

พนักงานบางคนอาจจะได้รับอนุมัติให้ทำงานระยะไกลได้ แต่ส่วนใหญ่จะต้องเข้าออฟฟิศเกือบทั้งสัปดาห์การทำงาน พนักงานจะเริ่มถูกมอนิเตอร์จากฝ่ายบริหารว่าเข้ามาออฟฟิศจริง และจะเริ่มมีบทลงโทษทางวินัยหรือไล่ออก หากพนักงานไม่ให้ความร่วมมือเรื่องเข้าออฟฟิศ

ภาพการสนับสนุนของ Zuckerberg ว่าการทำงานแบบ Work from Home ช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพนั้นไม่มีอีกแล้ว ปัจจุบันเขากล่าวว่า จากการติดตามดาต้าด้านประสิทธิภาพการทำงานในบริษัท เขาพบว่า “คนที่ทำงานจากบ้านไม่มีประสิทธิภาพ และวิศวกรที่มาออฟฟิศนั้นทำงานสำเร็จได้มากกว่า”

 

Snap: จากใช้เวลากับครอบครัว ตอนนี้ขอใช้เวลากับพนักงาน

Even Spiegel ซีอีโอของ Snap ในงาน Snap Partner Summit 2023 (Photo by Joe Scarnici/Getty Images for Snap, Inc.)

Even Spiegel ซีอีโอของโซเชียลมีเดียใหญ่ Snap ในอดีตก็คิดคล้ายๆ กัน หลังผ่านการทำงานจากบ้านในช่วงล็อกดาวน์ไปเพียงเดือนครึ่ง เขาถึงกับบอกสื่อว่า “ผมบอกทีมผมแล้วว่า ผมจะไม่กลับไปออฟฟิศอีก”

เหตุเพราะการทำงานจากบ้านทำให้เขาได้ใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น ได้ทานอาหารเช้าและข้าวเย็นกับที่บ้าน ได้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว

แต่ตัดภาพมาถึงเดือนพฤศจิกายน 2022 ดูเหมือน Spiegel จะใช้ชีวิตกับครอบครัวมาจนพอแล้ว

เอกสารภายในของ Snap มีคำสั่งให้พนักงานของบริษัททุกคนต้องกลับเข้าออฟฟิศ 4 วันต่อสัปดาห์ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ซึ่งนโยบายนี้ถูกกำหนดให้ใช้กับสำนักงานของ Snap ทั้ง 30 แห่งทั่วโลก

เหตุผลเพราะตอนนี้เขามองว่าการมาทำงานร่วมกันแบบเจอหน้ากันจะทำให้ได้ใช้ศักยภาพสูงสุดในการทำงาน และความสะดวกสบายส่วนตัวที่แต่ละคนต้องสละไปนั้น เขาเชื่อว่าจะนำมาสู่การประสบความสำเร็จร่วมกันในทีม

 

แม้แต่ Zoom ยังให้เข้าออฟฟิศ

อีริค หยวน ขึ้นเป็นวิทยากรในงาน Dropbox Work In Progress Conference ปี 2019 (photo: Matt Winkelmeyer/Getty Images for Dropbox)

ในยุคการทำงานทางไกลระหว่างเกิดโควิด-19 “Zoom” คือบริษัทสุดฮอตที่พุ่งทะยานตีคู่มากับบรรดาบริษัทวัคซีน

นั่นทำให้ Eric Yuan ซีอีโอของ Zoom ยากที่จะปฏิเสธไม่ให้พนักงานทำงานทางไกลได้ เพราะถ้าทำเช่นนั้นก็เหมือนปฏิเสธบริการของบริษัทตัวเอง

เมื่อเดือนมกราคม 2022 ในช่วงที่บริษัทอื่นเริ่มให้กลับเข้าออฟฟิศได้แล้ว แต่ Zoom ประกาศว่ามีพนักงานของบริษัทเพียง 2% ที่เลือกกลับมาออฟฟิศ ตามนโยบายของบริษัทที่ให้พนักงานมีทางเลือก สามารถ Work from Home ได้

อย่างไรก็ตาม แม้จะสร้างโปรดักส์ที่เกี่ยวกับการทำงานทางไกลโดยตรง แต่ Yuan คือหนึ่งในกลุ่มซีอีโอที่ ‘รู้สึกคลางแคลงใจ’ กับการให้พนักงาน Work from Home ได้ตลอดไป เขาเป็นหนึ่งในคนที่มองว่าหลังผ่านช่วงโรคระบาดแล้ว ออฟฟิศต่างๆ น่าจะมีการทำงานแบบไฮบริดมากกว่า

ในที่สุด เมื่อเดือนสิงหาคม 2023 บริษัท Zoom แจ้งกับพนักงานของตนเองให้กลับมาออฟฟิศ โดยใครก็ตามที่อาศัยอยู่ในระยะ 50 ไมล์จากออฟฟิศ (ประมาณ 80 กิโลเมตร) จะต้องกลับมาทำงานในออฟฟิศอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์

Yuan กล่าวว่า การทำงานทางไกลทำให้พนักงานยากที่จะทำความรู้จักกันและสร้างความเชื่อใจกัน “ความเชื่อใจเป็นรากฐานของทุกอย่าง ถ้าไม่มีความเชื่อใจ เราจะทำงานได้ช้าลง” Yuan กล่าวในการประชุมภายในบริษัท

“เราไม่สามารถอภิปรายกับคนอื่นได้ดีนัก เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ใช้ Zoom ทุกคนจะพยายามทำตัวให้เป็นมิตรมากๆ” Yuan กล่าวยอมรับว่า Zoom มักจะไม่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอเดียอย่างตรงไปตรงมา แต่ว่าบริษัทของเขาจะพยายามพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อไป

น่าสนใจว่าการทำงานระยะไกลหรือ Work from Home ที่เคยถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ดี ทำให้พนักงานมีความสุขและมีเวลาส่วนตัวมากขึ้น และอาจจะกลายเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ ปัจจุบันนี้มีแนวโน้มมีข้อเสียมากกว่าข้อดี เมื่อองค์กรพบว่าวิธีการทำงานแบบนี้ทำให้พนักงานไม่มีวัฒนธรรมองค์กร และบางทีก็ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานด้อยลงด้วย

Source

]]>
1443468
เปิดผลทดลองทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน พนง.เหนื่อยน้อย-ลาป่วยลด บริษัทรายได้เพิ่ม https://positioningmag.com/1425115 Thu, 06 Apr 2023 09:38:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425115 เพราะความอยากรู้ว่าการมีวันหยุดลองวีคเอนด์ 3 วันทุกสัปดาห์ จะมีผลเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและบริษัทอย่างไร นักวิจัยจำนวนหนึ่งจึงจัดมหกรรมการทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดในโลกที่ประเทศอังกฤษ โดยร่วมกับบริษัท 61 แห่งและพนักงานรวม 2,900 คนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2564 ปรากฏว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นดีมากจนบริษัทส่วนใหญ่ในการทดลองบอกว่าจะยังคงยึดเกณฑ์ทำงาน 4 วันต่อไป ไม่เปลี่ยนกลับไปทำงาน 5 วันอีกแล้ว

พนักงานส่วนใหญ่ในการทดลองนี้รายงานว่าได้รับประโยชน์เต็มที่จากการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เช่น ความเครียดน้อยลงและความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานดีขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพนักงานจะทำงานน้อยลง แต่รายได้ส่วนใหญ่ยังคงเท่าเดิม และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนเดียวกันของปีก่อน

การทดลองนี้ดำเนินการในหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่การตลาด การเงิน ไปจนถึงองค์กรไม่แสวงหากำไร และแสดงให้เห็นว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์สามารถนำไปใช้ได้สำเร็จในหลายเซ็กเมนต์ แต่อย่างไรก็ตาม การทำงาน 4 วันใช้ไม่ได้กับทุกคน เพราะมี 8% ของบริษัทที่เลือกกลับไปทำงาน 5 วัน เพราะระดับความเร่งรีบที่นำไปสู่ความเครียดที่ต่างกัน

การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์นั้นอาจเป็นสิ่งที่หลายคนนึกภาพไม่ออกว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะรูปแบบการทำงานที่ลดจำนวนวันลงนี้ แปลว่าบริษัทจะต้องจ่ายเงินพนักงานเต็ม 100% เพื่อแลกกับเวลาของพนักงานที่หดเหลือ 80% จากที่เคยได้รับ

work from anywhere
Photo : Shutterstock

จนในช่วงไม่นานมานี้ โครงการทดลองที่ถูกเรียกกันว่า 4-day workweek experiment ได้เริ่มนำร่องในสหราชอาณาจักร โดยมีบริษัท 61 แห่งเข้าร่วมการทดลองใช้รูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ และเปิดโอกาสให้พนักงานมีวันหยุดทุกสัปดาห์พร้อมรับค่าจ้างเต็มใบ

ปรากฏว่าโปรเจกต์นี้ประสบความสำเร็จอย่างมากโดยมากกว่า 90% ของบริษัทที่เข้าร่วม ต้องการใช้รูปแบบการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ต่อไป โดยมีทั้งกลุ่มที่ต้องการขยายเวลาทดลอง และกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงถาวร

บริษัทที่เข้าร่วมการทดลองรอบประวัติศาสตร์นี้มีหลายขนาด ตั้งแต่ร้านอาหารท้องถิ่นขนาดเล็ก ไปจนถึงบริษัทการเงินและเทคโนโลยีขนาดใหญ่ วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือเพื่อทำความเข้าใจการรักษาระดับประสิทธิภาพการทำงานในขณะที่ให้พนักงานมีเวลาว่างมากขึ้น ซึ่งผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า พนักงานยอมรับถึงความรู้สึกเหนื่อยหน่ายที่ลดลง (71%) และยอดวันลาป่วยก็ลดลงด้วย (65%)

พนักงานฟิลกู้ด บริษัทรู้สึกดี

ไม่เพียงพนักงานที่ฟิลกู้ด แต่บริษัทก็รู้สึกดีเพราะรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยรายงานที่เผยแพร่โดย Autonomy ซึ่งเป็นเว็บไซต์คลังไอเดียของสังคมคนอังกฤษ มีการอ้างอิงจากการวิจัยของนักวิชาการจากวิทยาลัยบอสตันของสหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของสหราชอาณาจักร ว่ารายได้โดยรวมของบริษัทในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน และบริษัทส่วนใหญ่รู้สึกพึงพอใจที่ยังคงรักษาประสิทธิภาพการทำงานไว้ได้

work from anywhere
Photo : Shutterstock

ตรงนี้ Charlotte Lockhart ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของกลุ่ม 4 Day Week Global ซึ่งสนับสนุนสัปดาห์การทำงานที่สั้นลงเหลือ 4 วัน ออกมาสรุปว่าการทดลองในสหราชอาณาจักรนั้นครั้งนี้ย้ำว่า การลดชั่วโมงทำงานลงนั้นสามารถมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ได้

อย่างไรก็ตาม รายงานยังเน้นย้ำว่ารูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์นั้นใช้ไม่ได้กับทุกคน โดย 8% ของบริษัทเลิกใช้รูปแบบดังกล่าวในช่วงทดลอง หนึ่งในบริษัทกลุ่มนี้คือ Studio Don ซึ่งเป็นสตูดิโอออกแบบบูติกในลอนดอน

4 วันไม่ใช่คำตอบของทุกคน

Thomas Seddon ผู้ก่อตั้ง Studio Don เล่าผ่านรายงานวิจัยว่าหลังจากเริ่มต้นธุรกิจมา 1 ปี บริษัทได้ทดลองเปลี่ยนแปลงเวลางานเป็น 4 วันต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ส่งผลดีสำหรับบริษัทและทีมงาน เนื่องจากทุกฝ่ายประสบกับความเครียดมากขึ้น ไม่ได้ลดน้อยลงอย่างที่เป็นในหลายบริษัท โดยพบว่าทุกสิ่งที่ทีมงานและบริษัทต้องทำนั้นไม่เข้ากับตารางงานที่บีบรัด บริษัทจึงตัดสินใจย้ายกลับไปใช้โครงสร้าง 5 วันเรียบร้อย

แต่การทดลองนี้ทำให้ Studio Don ได้เรียนรู้ถึงข้อดีของความยืดหยุ่น ซึ่งยิ่งตอกย้ำว่าบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องออกแบบจำนวนวันต่อสัปดาห์ที่เหมาะสมและสอดรับกับอุตสาหกรรมเฉพาะของแต่ละบริษัท รวมถึงต้องปรับนโยบายให้เหมาะกับภาพรวมการทำงาน ความท้าทายขององค์กร โครงสร้างแผนก และวัฒนธรรมการทำงาน ตัวอย่างเช่น บางบริษัทหยุดการขายส่งในวันศุกร์ ขณะที่บางบริษัทเปลี่ยนการกำหนดวันหยุดในหมู่พนักงาน และบางบริษัทตัดสินใจปล่อยให้ทีมหรือบุคคลวางแผนเองว่าจะจัดสัปดาห์การทำงานอย่างไร

Asian woman work from home during corona virus, COVID-19 out break use laptop for teleconference with her teamates

David Frayne หนึ่งในนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ที่อยู่เบื้องหลังการศึกษาวิจัยนี้ ตั้งข้อสังเกตว่า ขั้นต่อไปของการศึกษา ควรจะมุ่งเน้นไปที่วิธีที่ผู้นำธุรกิจ สหภาพแรงงาน และรัฐบาลสามารถทำงานร่วมกันเพื่อสร้างรูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ที่เป็นผลดีกับทุกฝ่ายที่สุด ซึ่งจะทำให้ได้ผลการทดลองที่ลงลึกกว่าผลรอบนี้

สำหรับผลการทดลองรอบนี้ ไฮไลต์ไม่ได้อยู่ที่พนักงานกลุ่มตัวอย่างที่รายงานว่ามีความพึงพอใจในการทำงานเพิ่มขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น และคุณภาพการนอนหลับดีขึ้นเท่านั้น แต่การทดลองพบว่าอุตสาหกรรมที่ต้องการคนทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เช่น พยาบาลและแพทย์ผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือฉุกเฉินเบื้องต้น นั้นไม่สามารถกำหนดชั่วโมงการทำงานที่สั้นลงได้เลย

อย่างไรก็ตาม การระบาดใหญ่ทำให้พนักงานในอุตสาหกรรมนี้ต้องการความยืดหยุ่นได้มากขึ้น เพื่อจะได้ปรับปรุงความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานต่อไป

สำหรับบริษัทไทย ใครจะเริ่มลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ก่อนดี?

ที่มา :Washington Post, Adn, QZ, ABCNews

]]>
1425115
“เอเชีย-ยุโรป” กลับเข้าออฟฟิศ แต่ “สหรัฐฯ” ยังคง WFH ความต่างที่มีผลต่อธุรกิจ “สำนักงานให้เช่า” https://positioningmag.com/1421432 Wed, 01 Mar 2023 09:46:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421432 หลังผ่านวิกฤตโควิด-19 นโยบายการทำงานเริ่มกลับสู่ชีวิตปกติในแถบทวีปยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลาง โดยมีอัตราเรียกกลับเข้าออฟฟิศ 70-110% เทียบกับสหรัฐอเมริกาซึ่งยังกลับเข้าออฟฟิศเพียง 40-60% สถิติเหล่านี้มีผลต่อธุรกิจ “สำนักงานให้เช่า” และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านค้า ที่เน้นขายให้มนุษย์ออฟฟิศ

ผลสำรวจจาก JLL บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ พบว่า บริษัทในสหรัฐอเมริกายังคงมีนโยบาย “ทำงานทางไกล” (remote work) ต่อเนื่องแม้จะพ้นช่วงวิกฤตโรคระบาดแล้วก็ตาม โดยออฟฟิศคนอเมริกันเรียกพนักงานกลับมาสำนักงานเฉลี่ย 40-60% เท่านั้น แตกต่างกันแล้วแต่ช่วงเดือนและเมืองที่สำรวจ

เทียบกับอัตราการเรียกกลับเข้าออฟฟิศของทวีปอื่นทั่วโลก สถิติในอเมริกาถือว่าแตกต่างมาก เพราะในยุโรปและตะวันออกกลางมีการเรียกกลับในอัตรา 70-90% ขณะที่ในเอเชียถือเป็นทวีปที่เรียกกลับในอัตราสูงสุด เพราะ 80-110% ของพนักงานต้องกลับออฟฟิศ อัตราที่สูงกว่าก่อนเกิดโรคระบาดเป็นเพราะในบางเมืองบางบริษัทให้พนักงานเข้าออฟฟิศสูงกว่าเดิมด้วย

 

ทำไม “สหรัฐฯ” ให้พนักงาน WFH มากกว่า

JLL สำรวจเหตุผลที่สหรัฐฯ ยังมีการทำงานทางไกลหรือ Work from Home (WFH) สูงกว่า น่าจะมาจาก 3 เหตุผล คือ บ้านคนอเมริกันใหญ่กว่า, คนอเมริกันใช้เวลาเดินทางไปทำงานนานกว่า และ สหรัฐฯ ยังคงขาดแคลนแรงงานสูงกว่า

เจาะไปทีละเหตุผล ขนาดและสภาพแวดล้อมภายใน “บ้าน” ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงาน คนอเมริกันนั้นมีค่าเฉลี่ยการอยู่อาศัยในบ้านหลังใหญ่เขตชานเมืองมากกว่าทวีปอื่น นั่นหมายความว่า อเมริกันชนมีแนวโน้มจะสร้าง “ห้องทำงาน” หรือโฮมออฟฟิศที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีเสียงรบกวน ได้มากกว่าทวีปอื่น หากเทียบกับฮ่องกงซึ่งคนมักจะอาศัยในห้องพักขนาดเล็ก หลายคนอยู่กันเป็นครอบครัวขยาย ดังนั้น การทำงานที่บ้านจึงไม่ใช่เรื่องน่าอภิรมย์

OECD Better Life Index มีข้อมูลขนาดบ้านเฉลี่ยของประชากรกลุ่มประเทศ OECD มักจะมีบ้านขนาดประมาณ 1.7 ห้องต่อคน ซึ่งคนอเมริกันนั้นมีค่าเฉลี่ยอาศัยในบ้านขนาดประมาณ 2.4 ห้องต่อคน

เมื่อคนอเมริกันอยู่ในบ้านใหญ่ในเขตชานเมือง ค่าเฉลี่ยเวลาการเดินทางก็จะสูงกว่า ยิ่งต้องเดินทางนาน ติดอยู่ในสภาพจราจรติดขัด พนักงานก็จะยิ่งไม่อยากมาทำงานที่ออฟฟิศ ข้อมูลจาก Moovit Inc. เปรียบเทียบพบว่า คนนิวยอร์กใช้เวลาเดินทางจากบ้าน-ออฟฟิศเที่ยวละเกือบ 60 นาที เทียบกับสิงคโปร์ที่ใช้เวลาเที่ยวละประมาณ 45 นาทีเท่านั้น

Moovit Inc. ยังรายงานด้วยว่าการขนส่งสาธารณะในยุโรปและเอเชียมักจะตรงเวลาและเชื่อถือได้มากกว่า ถ้าเทียบกับสหรัฐฯ

สุดท้ายก็คือ ปัจจัยการขาดแคลนแรงงาน ค่าเฉลี่ยอัตราว่างงานของสหรัฐฯ อยู่ที่ 3.4% ขณะที่ในยุโรปอยู่ที่ 6.1% ต่างกันเกือบจะครึ่งหนึ่ง นั่นหมายความว่า บริษัทในสหรัฐฯ จะต้องโอนอ่อนให้พนักงานมากกว่าเพื่อที่จะดึงทาเลนต์มาทำงานให้ได้

 

กลับออฟฟิศหรือไม่ มีผลโดยตรงกับธุรกิจ “สำนักงานให้เช่า”

นโยบายกลับเข้าออฟฟิศมีผลกับสำนักงานให้เช่า ตัวอย่างเช่น WeWork Inc. รายงานเมื่อไตรมาส 4 ปี 2022 ว่า สำนักงานของบริษัทในนิวยอร์กมีอัตราการเช่าเพียง 72% เทียบกับปารีสที่มีถึง 80% หรือลอนดอน 81% และสิงคโปร์ขึ้นไปแตะ 82%

นอกจากผลกระทบที่มีต่อสำนักงานให้เช่าโดยตรงแล้ว ยังมีผลกับธุรกิจเกี่ยวเนื่องต่างๆ ด้วย เช่น ขนส่งสาธารณะ ร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านค้า และธุรกิจใดๆ ที่เน้นลูกค้ากลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ปัจจุบัน สถานการณ์ในยุโรปและเอเชียเรียกว่าค่อนข้างจะกลับมาเป็นปกติ แต่ในเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ เช่น นิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก ธุรกิจท้องถิ่นเหล่านี้ก็ยังซบเซา

แล้วยิ่งนโยบายกลับเข้าออฟฟิศยังไม่เพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ในสหรัฐฯ พนักงานก็จะยิ่งไม่อยากกลับเข้าออฟฟิศเท่านั้น เพราะบรรยากาศออฟฟิศโล่งๆ เงียบๆ นั้นไม่ชวนให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าในการทำงาน

Source

]]>
1421432
ผลสำรวจเผยผู้ประกอบการในเอเชียโอเคกับ WFH แต่ยังไม่เปิดรับการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ https://positioningmag.com/1409090 Sun, 20 Nov 2022 18:30:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409090 ผลสำรวจจากผู้ประกอบการถึงเกือบ 2,200 รายจากทวีปเอเชียแปซิฟิกพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องการที่จะให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานในสำนักงาน นอกจากนี้การยอมรับในการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ของผู้ประกอบการนั้นยังคงเป็นสัดส่วนที่น้อยมากอีกด้วย

สำนักข่าว Bloomberg รายงานผลสำรวจจาก Center for Creative Leadership ซึ่งสำรวจผู้ประกอบการมากถึง 2,170 รายจาก 13 ประเทศทั่วทวีปเอเชียแปซิฟิก ซึ่งสอบถามในหัวข้อ “ในระยะยาว (3-5 ปีข้างหน้า) รูปแบบการทำงานที่ต้องการหรือกำลังเกิดขึ้นในองค์กรของคุณคืออะไร”

ผลสำรวจเหล่านี้พบว่าผู้ประกอบการหลายประเทศเองต้องการให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานในสำนักงาน ขณะเดียวกันก็ยังพบว่าผู้ประกอบการส่วนน้อยที่สามารถให้พนักงานทำงานแบบรีโมตได้เต็มที่ 100% แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเปลี่ยนรูปแบบการทำงานก็ตาม

ผู้ประกอบการในประเทศที่ให้พนักงานสามารถทำงานได้ยืดหยุ่นมากที่สุดนั่นก็คือ สิงคโปร์ ออสเตรเลียรวมถึงนิวซีแลนด์ ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวสูงถึง 31% และ 28% ตามลำดับ และผู้ประกอบการจาก 2 ประเทศดังกล่าวยังต้องการให้พนักงานเข้าทำงานในสำนักงานเต็มรูปแบบเพียงแค่ 1% และ 8% ตามลำดับด้วย

ขณะที่ผู้ประกอบการไทยนั้นในผลสำรวจชี้ว่าความยืดหยุ่นมีแค่ 16% เท่านั้น และต้องการให้พนักงานเข้าทำงานในสำนักงานเต็มรูปที่ 16%

ในผลสำรวจยังชี้ว่าตรงข้ามกับผู้ประกอบการจากประเทศจีนกลับมีความยืดหยุ่นน้อยมากที่สุด โดยอยู่ที่ 10% เท่านั้น อย่างไรก็ดี 14% ของผู้ประกอบการจีนต้องการให้พนักงานเข้าสำนักงานแบบเต็มรูปแบบที่ 14%

นอกจากนี้ในผลสำรวจยังพบว่ามีเพียงบริษัทแค่ 2% จากผู้สอบถามทั้งหมดที่ยอมรับการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ในช่วงอนาคตข้างหน้านี้ด้วย ซึ่งทำให้เห็นว่าเทรนด์การทำงาน 4 วันอาจต้องใช้เวลายาวนานกว่าที่ผู้ประกอบการทั้งหลายจะยอมรับในเรื่องนี้

]]>
1409090
เบื่อแล้วรถติด! ส่องผลวิจัย ‘Hybrid Work’ ไม่ได้เวิร์กแค่พนักงานแต่องค์กรก็ได้ประโยชน์ https://positioningmag.com/1386225 Mon, 23 May 2022 03:09:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386225 เชื่อว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา พนักงานออฟฟิศหลายคนน่าจะไปทำงานสาย เพราะเจอทั้งฝนตก และสภาพการจราจรที่คับคั่งเพราะเปิดเทอม หลายคนน่าจะโหยหายการ Work From Home เหมือนช่วงที่มีการระบาด หรืออย่างน้อยก็อยากให้องค์กรของตัวเองปรับการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Work)

เว็บไซต์ TOMTOM เผยข้อมูลการจราจร ปี 2564 โดยจัดอันดับการจราจรใน 404 เมือง ใน 58 ประเทศ ใน 6 ทวีป โดยเฉพาะการเสียเวลาการเดินทางบนท้องถนนของ กรุงเทพฯ ประเทศไทย นั้นอยู่อันดับ 74 ของโลก เสียเวลาในการเดินทางอยู่ที่ 71 ชม.ต่อปี หรือเกือบ 3 วันเลยทีเดียว

ดังนั้น คงจะดีว่าถ้าเราสามารถทำงานจากออฟฟิศหรือจากที่บ้านก็ได้ โดยจากรายงานผลการศึกษาของ ซิสโก้ (Cisco) เกี่ยวกับความพร้อมของพนักงานสำหรับการทำงานแบบไฮบริด (“Employees are ready for hybrid work, are you?”) ของพนักงานในประเทศไทยโดยพบว่า

  • 70% เชื่อว่าคุณภาพการทำงานดีขึ้น
  • 71% รู้สึกว่าประสิทธิภาพการทำงานของตนเองปรับปรุงดีขึ้น
  • 82% รู้สึกว่าตนเองสามารถทำงานจากที่บ้านตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จเท่ากับการทำงานในออฟฟิศ
Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน 28,000 คนใน 27 ประเทศ รวมถึงผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 1,050 คนในไทย พบว่า มีพนักงานในไทยเพียง 37% เท่านั้นที่คิดว่าบริษัทของตน มีความพร้อมอย่างมาก สำหรับการทำงานแบบไฮบริดในอนาคต

  • 69% ของพนักงานในไทยที่ต้องการให้มีรูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน เชื่อว่าการทำงานในอนาคตจะเป็นรูปแบบไฮบริด
  • 21% เชื่อว่าจะเป็นการทำงานจากที่บ้านทั้งหมด
  • 9% เชื่อว่าจะเป็นการทำงานในออฟฟิศทั้งหมด
Photo : Shutterstock

การทำงานแบบไฮบริดช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิต

การศึกษาของซิสโก้มุ่งตรวจสอบผลกระทบของการทำงานแบบไฮบริดต่อคุณภาพชีวิตใน 5 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านอารมณ์ การเงิน จิตใจ ร่างกาย และสังคม โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 85% ระบุว่า การทำงานแบบไฮบริดและการทำงานจากที่บ้าน ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนในหลากหลายแง่มุม ได้แก่

  • 83% ระบุว่าการทำงานแบบไฮบริด ช่วยปรับปรุงสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตสำหรับพนักงาน
  • 54% รู้สึกว่าตารางเวลาการทำงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
  • 46% รู้สึกว่าไม่ต้องเดินทางเพื่อไปทำงานหรือมีการเดินทางน้อยลงอย่างมาก
  • 74% ระบุว่า สามารถช่วยให้ประหยัดเวลาได้อย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เมื่อทำงานอยู่ที่บ้าน
  • 33% ระบุว่าช่วยประหยัดเวลาได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ในส่วนของด้านการเงิน กว่า 87% ระบุว่า คุณภาพชีวิตด้านการเงินของตนเองปรับปรุงดีขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้กว่า 271,159 บาทต่อปี

  • 84% ระบุว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและ/หรือค่าเดินทาง
  • 64% ระบุว่าช่วยประหยัดค่าอาหารและความบันเทิง

ที่น่าสนใจคือ ผู้ตอบแบบสอบถาม 81% เชื่อว่าตนเองจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ในระยะยาว และหากคิดที่จะเปลี่ยนงาน ก็อาจพิจารณาปัจจัยเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายที่ว่านี้ในการตัดสินใจ

นอกจากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 83% เชื่อว่าตนเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นเนื่องจากการทำงานจากที่บ้าน และ 78% ระบุว่าการทำงานแบบไฮบริดส่งผลดีต่อนิสัยการกินของตนเอง นอกเรื่องสุขภาพกายแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามส่วน 84% ชี้ว่าการทำงานจากที่บ้านช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ในครอบครัว และ 64% ระบุว่า ความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ แน่นแฟ้นมากขึ้น

ความไว้ใจคือกุญแจสู่ความสำเร็จ

อย่างไรก็ดี มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็นที่ว่ารูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันอาจส่งผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมและการเข้าถึงของคนทุกกลุ่ม โดยผู้ตอบแบบสอบถามในไทย 73% เชื่อว่า พฤติกรรมการบริหารงานแบบ จู้จี้จุกจิกและคอยจับผิด (Micromanaging) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากการทำงานจากที่บ้านและการทำงานแบบไฮบริด ที่จริงแล้ว การที่ผู้จัดการไม่ไว้ใจว่าพนักงานจะตั้งใจทำงานนับเป็นปัญหาที่บั่นทอนขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงาน

“ไฮบริดเวิร์ค มันไม่ใช่แค่การทำงานที่ไหนก็ได้ แต่ต้องมีเทคโนโลยีรองรับ ไมด์เซ็ทที่ดีของผู้บริหาร พนักงาน  ผู้บริหารและองค์กรต่าง ๆ จะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากร โดยจะต้องรับฟังความเห็น สร้างความไว้วางใจ และบริหารงานด้วยความเห็นอกเห็นใจ ความยืดหยุ่น และความยุติธรรม” อานุพัม เตรฮาน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบุคลากรและชุมชนของซิสโก้ ประจำภูมิภาค APJC กล่าว

Photo : Shutterstock

ไซเบอร์ซีเคียว ความกังวลหลักขององค์กร

ผู้ตอบแบบสอบถาม 75% เชื่อว่า ปัญหาในการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนับเป็นอุปสรรคที่จำกัดกรอบอาชีพการงานสำหรับพนักงานที่ทำงานจากที่บ้าน ด้วยเหตุนี้ 89% จึงมองว่า โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายมีความสำคัญอย่างมากสำหรับประสบการณ์การทำงานจากที่บ้านอย่างไร้รอยต่อ แต่ราว 22% ระบุว่า บริษัทของตนยังคงต้องการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่เหมาะสม

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามในไทย 8 ใน 10 คนเชื่อว่า ไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการทำงานแบบไฮบริดอย่างปลอดภัย ขณะที่ 75% กล่าวว่า ในปัจจุบันองค์กรของตนมีความสามารถและโปรโตคอลที่เหมาะสมอยู่แล้ว และมีเพียง 76% เท่านั้นที่คิดว่าพนักงานทุกคนในบริษัทของตนเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานแบบไฮบริด และ 79% คิดว่าผู้บริหารส่วนงานธุรกิจมีความคุ้นเคยเกี่ยวกับความเสี่ยงดังกล่าว

]]>
1386225
ไม่อยากเข้าออฟฟิศ! พนักงาน ‘Apple’ แห่ลาออกเพราะต้องกลับออฟฟิศ 3 วัน/สัปดาห์ https://positioningmag.com/1385373 Mon, 16 May 2022 04:29:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1385373 ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 รูปแบบการทำงานของคนทั่วโลกก็เปลี่ยนไป โดยหลายบริษัทสามารถปรับไปสู่รูปแบบการทำงานแบบ Work From Home หรือทำงานจากที่บ้านได้ แต่หลังจากที่สถานการณ์เริ่มผ่อนคลาย ทำให้หลายบริษัทเริ่มให้พนักงานกลับมาทำงานในออฟฟิศอีกครั้ง แต่ก็มีพนักงานบางส่วนที่ ไม่เห็นด้วย และยังอยากที่จะ Work From Home 100% อยู่

ตัวอย่างของบริษัทที่กำลังเจอแรงต้านจากการให้กลับเข้าออฟฟิศก็คือ Apple ที่ได้ปรับให้พนักงานทำงานแบบไฮบริดโดยให้กลับเข้าออฟฟิศ 3 วัน/สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่ผ่านมาพนักงานกว่า 1,000 คนของ Apple ได้เขียนจดหมายถึงผู้นำของบริษัท ว่าขอให้ตัดสินใจด้วยตัวเองร่วมกับทีมและผู้จัดการโดยตรงว่าจะต้องกลับเข้ามาทำงานในออฟฟิศหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีพนักงานหลายคนของบริษัท รวมถึงพนักงานระดับสูง อาทิ Ian Goodfellow ผู้อำนวยการด้านแมชชีนเลิร์นนิ่งยื่นหนังสือลาออก เนื่องจากมองว่าการกลับมาที่ออฟฟิศทำให้มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ทั้งด้านสุขภาพและสุขภาพจิต โดยด้าน Apple เองยังปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น

นักวิเคราะห์มองว่าที่หลายบริษัทเริ่มให้กลับมาทำงานในออฟฟิศเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง, ร้านอาหาร, คอนเสิร์ต, ร้านค้าต่าง ๆ ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถมั่นใจได้อีกต่อไปว่าพนักงานจะกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพท่ามกลางการผ่อนคลายต่าง ๆ ซึ่งต่างจาก 2 ปีก่อนที่พนักงานอาจตั้งใจทำงานเพราะไม่สามารถออกไปจากบ้านได้

อย่างไรก็ตาม เจมี่ ไดมอน ผู้บริหารระดับสูงของ JPMorgan Chase & Co. เป็นหนึ่งในนักวิจารณ์ที่ได้ออกมาพูดถึงเกี่ยวกับมาตรการ Work From Home มากที่สุด ได้ออกมาคาดการณ์ว่า การทำงานทางไกลจากที่บ้านกำลังจะกลายเป็น เรื่องถาวร ในอเมริกามากขึ้น และคาดว่าประมาณ 40% ของแรงงานกว่า 270,000 คน ของบริษัทเขาจะ ทำงานแบบไฮบริด ซึ่งจะมีทั้งวันที่เข้าออฟฟิศและวันที่ทำงานอยู่กับบ้าน

จากรายงาน ล่าสุด ของ Harvard Business School พบว่า การทำงานแบบไฮบริดสามารถลดอัตราการลาออกได้ถึง 35%ละจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่า คนอเมริกันลาออกจากงานในอัตราที่สูงเป็น ประวัติการณ์ในเดือนมีนาคมที่ 4.5 ล้านคน โดยสาเหตุที่ลาออกเป็นเพราะมองว่า ความยืดหยุ่น นั้นเป็นสิ่งสำคัญ ขณะที่หลายบริษัทตกลงกันว่าจะกลับมาทำงานในออฟฟิศ 3-4 วัน แต่ระยะเวลาที่พนักงานต้องการคือ 1-2 วันในการเข้าออฟฟิศ

futurism / tech.hindustantimes

]]>
1385373
ส่องเทรนด์ทำงาน ‘4 วัน/สัปดาห์’ ในเอเชีย ประเทศไหนพร้อม-ไม่พร้อมเปิดรับ! https://positioningmag.com/1376175 Thu, 03 Mar 2022 09:38:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376175 การมีสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพนักงานจำนวนมาก แต่บางประเทศในเอเชียการทำงานยาว 6 วัน/สัปดาห์ยังคงเป็นเรื่องปกติ! ในขณะที่เทรนด์โลกเริ่มมีการทดลองทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ หลังจากเจอกับการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้พนักงานทั่วโลกได้ Work From Home อย่างไรก็ตาม ลองไปดูกันว่าแต่ละประเทศในภูมิภาคเอชียคิดเห็นอย่างไรกับการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์กันบ้าง

เจมส์ รูท หุ้นส่วนและประธานร่วมของ Bain Futures นักคิดของบริษัทที่ปรึกษา Bain & Company กล่าวว่า ที่ในภูมิภาคเอเชียมีการทำงานถึง 6 วัน/สัปดาห์เป็นเพราะหลายคนมีค่านิยมว่า การทำงานหนักจะทำให้ประสบความสำเร็จ โดยมีหลายประเทศที่มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน เช่น เกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม พนักงานหลายคนเริ่มมองหา Work Life Balance ทำให้บริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงเอเชียกำลังมองหาวิธีที่ทำให้พนักงานมีสมดุลมากขึ้น อาทิ สามารถทำงานครึ่งวันทุกวันศุกร์, ทางเลือกในการทำงานจากที่บ้าน, การลาคลอด, ให้ทุนสนับสนุนสำหรับการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ แต่ปัจจุบันมีเทรนด์แรงที่คนใกำลังให้ความสนใจก็คือ การทำงาน 4 วัน/สัปดาห์

“เป้าหมายคือ การให้เวลาแก่พนักงานให้มีวันหยุดยาว แต่ยังคงประสิทธิภาพการทำงาน แน่นอนว่าค่าตอบแทนต้องไม่ลดตามจำนวนวันทำงาน ซึ่งจะทำให้ win-win สำหรับพนักงานและบริษัท”

Photo : Shutterstock

เริ่มมีบางบริษัทปรับใช้

ญี่ปุ่น ขึ้นชื่อว่ามีวัฒนธรรมการทำงานที่ โหดเหี้ยม ด้วยชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน แถมคาดหวังให้พนักงานให้ความสำคัญกับ อาชีพของตนเหนือสิ่งอื่นใดในชีวิต จนเกิดเป็นคำศัพท์ใหม่ว่า Karoshi ที่แปลว่า ความตายจากการทำงานหนักเกินไป

แต่เพราะ COVID-19 ทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานที่เข้มงวดสูงของประเทศกลับมาเป็นจุดสนใจอีกครั้ง หลังจากที่ธุรกิจญี่ปุ่นเปลี่ยนให้มีชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น และสามารถ Work From Home ได้ ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อความสุขของพนักงานอย่างไร

ย้อนไปในปี 2019 Microsoft Japan ได้ทดสอบการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ แม้ว่าชั่วโมงทำงานโดยรวมจะลดลง แต่ค่าจ้างพนักงานยังคงเท่าเดิมโดยพบว่า ประสิทธิภาพของพนักงานเพิ่มขึ้นเกือบ 40% และช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา Panasonic ได้ทดลองให้พนักงานทดลองทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ เพื่อส่งเสริมสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับพนักงาน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้จะยังไม่เกิดขึ้น 100% จนกว่าจะถึงเดือนเมษายน 2566

“สวัสดิภาพของพนักงานของเรามีความสำคัญเป็นอันดับแรก และเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องสื่อสารและส่งเสริมความเข้าใจในจุดประสงค์นี้” Airi Minobe โฆษกของ Panasonic กล่าว

(Photo : Shutterstock)

พนักงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สนใจปรับใช้

จากการสำรวจที่ตีพิมพ์ในเดือนกุมภาพันธ์โดยบริษัทวิจัย Milieu ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า พนักงานจากสิงคโปร์ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียต่างก็ กระตือรือร้นที่จะทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ โดยชาว สิงคโปร์ มากกว่า 76% แสดงความสนใจอย่างมากในงานที่มีวันหยุดสามวัน

พนักงานหลายคนในสิงคโปร์ไม่ต้องการชีวิตที่พวกเขาอาศัยอยู่เพื่อทำงาน แต่พวกเขาต้องการ “มีชีวิตและทำงานเพื่อรักษาชีวิตไว้” Jaya Dass กรรมการผู้จัดการ บริษัทจัดหางาน Randstad Singapore กล่าว ดังนั้น การมีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน เงินเดือน และผลประโยชน์ถือเป็นแง่มุมที่มีค่าที่สุดของงานสำหรับพนักงาน

Dass กล่าวว่า พนักงานชาวสิงคโปร์ไม่พร้อมที่จะสละชีวิตส่วนตัวเพื่อประกอบอาชีพอีกต่อไป แต่เนื่องจากค่าครองชีพที่สูง หลายคนจึงไม่เห็นด้วยที่จะลดชั่วโมงการทำงานลง หากเงินเดือนจะลดลงตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่คนงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกคนที่มีความกระตือรือร้นในการทำงานสัปดาห์ที่สั้นลง อย่างใน มาเลเซีย มีเพียง 48% เท่านั้นที่สนใจแนวคิดนี้อย่างมาก และอีก 41% รู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับแนวคิดนี้ จากการสำรวจของ Milieu

Dass ระบุว่า ไม่ใช่แค่มาเลเซีย แต่ เมียนมา และ กัมพูชา ก็ไม่ได้สนใจที่จะทำงานแค่ 4 วัน/สัปดาห์ เพราะความต้องการความสมดุลระหว่างชีวิตและงานในประเทศเหล่านี้มีน้อย เพราะในระบบเศรษฐกิจเหล่านี้ ชั่วโมงการทำงานที่นานขึ้นมักจะแปลเป็นเงินมากขึ้น

“ในประเทศกำลังพัฒนา พนักงานมักต้องการทำงานให้หนักที่สุดเท่าที่จะทำได้ และมีคติประจำใจคือ ถ้าฉันต้องตายจากการทำงาน ฉันจะทำ นั่นหมายความว่าฉันสามารถทำเงินได้ ฉันสามารถซื้อทรัพย์สินของฉัน ฉันสามารถทำให้ครอบครัวของฉันมีชีวิตที่ดีขึ้นได้”

เอเชียล้าหลังตะวันตก

อย่างไรก็ตาม หากเทียบภูมิภาคเอเชียกับฝั่งตะวันตกถือว่ายังตามหลังอยู่ เพราะ รัฐบาลไอซ์แลนด์และสเปน ได้ทดลองลดชั่วโมงการทำงานตั้งแต่ปี 2019 และ 2021 ตามลำดับ เบลเยียม เป็นประเทศล่าสุดที่ประกาศว่าเร็ว ๆ นี้คนงานจะได้รับสิทธิ์ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์

โครงการของเบลเยียมซึ่งกำลังเริ่มทดลองกำหนดให้พนักงานต้องทำงาน 4 วัน ในจำนวนชั่วโมงที่เท่ากับการทำงานใน 5 วัน และคนงานยังได้รับอนุญาตให้ เพิกเฉยต่อการทำงานนอกเวลา โดยไม่ต้องเผชิญกับผลที่ตามมาจากเจ้านายของพวกเขา

สหราชอาณาจักร ในเดือนมกราคมประกาศเปิดตัวการทดลองใช้สัปดาห์ทำงาน 4 วันเป็นเวลา 6 เดือน โดยจะเริ่มในเดือนมิถุนายน ความคิดริเริ่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พนักงานของบริษัทต่าง ๆ ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโปรแกรมสามารถทำงานได้ 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยที่เงินเดือนและผลประโยชน์ไม่เปลี่ยนแปลง

]]>
1376175
พลัง ‘Work From Home’ ดันยอดขาย ‘พีซี’ ทั่วโลกโต 14.8% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555 https://positioningmag.com/1370286 Thu, 13 Jan 2022 07:54:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370286 ตั้งแต่การมาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ตลาดพีซี-โน้ตบุ๊กก็มีแต่ทรงกับทรุดมาตลอด แต่เพราะการระบาดของ COVID-19 ที่ให้ผู้คนทั่วโลกต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) ทำให้ตลาดพีซีเริ่มกลับมาเห็นการเติบโตอีกครั้ง โดยในปีที่ผ่านมาตลาดก็สามารถเติบโตได้สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555 เลยทีเดียว

จากข้อมูลของ IDC พบว่า ในปี 2564 ยอดจัดส่งเดสก์ท็อป แล็ปท็อป และเวิร์กสเตชันทั่วโลกเติบโตขึ้น 14.8% โดยมีจำนวนมากที่สุดในปีเดียวนับตั้งแต่ปี 2555 และเมื่อเทียบกับปี 2560 ที่ถือว่าเป็นจุดต่ำสุดของตลาดมีการจัดส่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 34% โดยมียอดจัดส่งรวมทั้งสิ้น 349 ล้านหน่วย

การเติบโตดังกล่าวนับเป็นการฟื้นตัวที่น่าสนใจสำหรับภาคส่วนที่นักลงทุนและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีตัดขาดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสมาร์ทโฟนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญและมีปริมาณสูงสุดในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ การฟื้นตัวดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการล็อกดาวน์ และการเพิ่มขึ้นของการทำงานทางไกล (Work From Home) และการเรียน (Learn From Home) ในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เนื่องจากแต่ละครอบครัวต้องซื้อแล็ปท็อปและพีซีเครื่องใหม่สำหรับลูก ๆ ที่ต้องเรียนออนไลน์ และธุรกิจต่าง ๆ ซื้ออุปกรณ์ให้พนักงานใช้เพื่อทำงานจากที่บ้าน และแม้ว่าทั่วโลกจะเจอปัญหาการขาดแคลนชิป แต่ตลาดก็ยังสามารถเติบโตได้

อย่างไรก็ตาม มีหลายคนมองว่ายอดขายจะไม่ยั่งยืนหลังจากการระบาดใหญ่ที่ลดลง ตัวอย่างเช่นในเดือนธันวาคม IDC กล่าวว่า ตลาดได้ผ่านความต้องการการระบาดใหญ่และคาดการณ์การชะลอตัวในปี 2565 แต่ผู้เข้าร่วมตลาดบางคนยังคงมองโลกในแง่ดีว่ายอดขายพีซีจะยังคงดำเนินต่อไปตามวิถีปัจจุบัน

Pat Gelsinger CEO ของ Intel เชื่อว่าตลาดพีซีอยู่บนเส้นทางขาขึ้นใหม่ที่มีความยั่งยืน ทั้งนี้ ปัจจุบัน Intel เป็นผู้ผลิตชั้นนำของโปรเซสเซอร์สำหรับเดสก์ท็อปและแล็ปท็อป โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80% ด้าน Rahul Tikoo ผู้บริหารของ Dell มองว่า การระบาดใหญ่ได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในพฤติกรรมการซื้อในขณะนี้ ซึ่งทุกคนต้องการพีซีของตัวเอง

“เรากำลังเปลี่ยนจากพีซีหนึ่งเครื่องต่อครัวเรือน เป็นพีซีหนึ่งเครื่องต่อคนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นเหมือนกับรุ่นสมาร์ทโฟน โดยตอนนี้ฉันคิดว่าพีซีกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน”

สำหรับบริษัทพีซีรายใหญ่ที่มียอดสัดส่งสินค้ามากที่สุด 6 แบรนด์ ได้แก่

  • Lenovo
  • HP
  • Dell
  • Apple
  • Asus
  • Acer

Source

]]>
1370286