93 ปี เชฟโรเลต การเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด

3 พฤศจิกายน 1911 คือวันแรกที่หลุยส์ เชฟโรเลต (Louis Chevrolet) นักแข่งรถ ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1910 ผู้เป็นเจ้าของชัยชนะใน สังเวียนรถแข่ง Indy Car ในยุคนั้นหลายรายการ จับมือกับ วิลเลียม ซี ดูแรนท์ (William C. Durant) ผู้ก่อตั้ง เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น (General Motors Corporation – GM) บริษัทผลิตรถยนต์อันดับ 1 ของโลก ร่วมกันให้กำเนิด เชฟโรเลต มอเตอร์ส ดิวิชัน (Chevrolet Motors Division) ด้วยจุดมุ่งหมายในการผลิตรถยนต์คุณภาพสูง เพื่อตอบสนอง ความต้องการของชาวอเมริกัน

นับจาก เชฟโรเลตรุ่นแรกอย่าง คลาสสิก-ซิกส์ (Classic Six) ในปี 1912 จวบจนถึง ปัจจุบัน เชฟโรเลต เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และยังคงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการสร้างรถยนต์ที่มี มาตรฐานชั้นเลิศ ทนทาน และเปี่ยมด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ แห่งการเดินทาง ของผู้คนทั่วโลก ภายใต้คุณภาพการขับขี่ในแบบ เชฟโรเลต

และต่อจากนี้ เป็นเพียงบางส่วนของรถยนต์เชฟโรเลตรุ่นประวัติศาสตร์สุดคลาสสิก ที่สร้าง ชื่อเสียงอย่างมากในอดีต และยังคงอยู่ในความทรงจำของผู้คนทั่วโลกตราบจนถึงปัจจุบัน

เชฟโรเลต คอร์เวตต์ (Chevrolet Corvette)

ตำนานของรถสปอร์ตอเมริกันพันธุ์แท้แบบแรกในประวัติศาสตร์รุ่นนี้ เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน 1951 เมื่อ ฮาร์ลีย์ เอิร์ล (Harley Earl) หัวหน้าฝ่ายออกแบบของจีเอ็ม ไปชมการแข่งขัน รถสปอร์ตรายการ วัตกินส์ เกลน สปอร์ตส คาร์ เรซ (Watkins Glen Sports Cars Race) และได้พบเห็นรถสปอร์ตชั้นนำจากยุโรปมากมาย จนเกิดแรง บันดาลใจที่จะสร้างรถสปอร์ต อเมริกันพันธุ์แท้แบบแรกขึ้นมาบ้าง เอิร์ล ตัดสินใจให้ โรเบิร์ต แม็กลีน (Robert McLean) วิศวกรหนุ่มไฟแรง ออกแบบรถสปอร์ตรุ่นใหม่นี้

2 มิถุนายน 1952 ฮาร์โลว์ เคอร์ติส (Harlow Curtice) ประธานจีเอ็ม และโทมัส คีตติง (Thomas Keating) ผู้จัดการทั่วไปของเชฟโรเลต อนุมัติให้เอิร์ลเดินหน้า โครงการผลิต รถสปอร์ตรุ่นนี้ต่อไปภายใต้รหัส EX-122 จากนั้นไม่นานนัก เอิร์ล และ ไมรอน สก็อตต์ (Myron Scott) จากบริษัทโฆษณาแคมป์เบลล์-อีวอลด์ (Campbell-Ewald) ที่ดูแลงาน โฆษณาของเชฟโรเลตในขณะนั้น ร่วมกันตัดสินใจ ตั้งชื่อรถสปอร์ต รุ่นใหม่นี้ว่า คอร์เวตต์ (Corvette)

เชฟโรเลตเปิดตัวคอร์เวตต์สู่สาธารณะชนครั้งแรกในงาน โมโตรามา ออโต่โชว์ (Motorama Auto Show) เมื่อวันที่ 17 มกราคม 1953 จากนั้นเพียง 6 เดือน คอร์เวตต์รุ่นต้นแบบ คันแรกก็ออกจากสายการผลิตของศูนย์การผลิตในเมือง ฟลินท์ มลรัฐมิชิแกน (Flint, Michigan) สหรัฐอเมริกา เมื่อ 30 มิถุนายน 1953 โดยผลิตขึ้นเป็นพิเศษ ในจำนวน จำกัดเพียง 300 คันเท่านั้น (ไม่รวมอีก 15 คันที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์) โดยทุกคันจะถูกพ่นด้วยสีขาว โปโล ไวต์ (Polo White) และห้องโดยสารสีแดง สปอร์ตสแมน (Sportsman Red) ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบเรียง 3,900 ซีซี 150 แรงม้า (HP) ที่ 4,200 รอบต่อนาที เกียร์อัตโนมัติ Power Glide 2 จังหวะ ขับเคลื่อนล้อหลัง อีกทั้งยังเป็น รถสปอร์ต แบบแรกในโลกที่ใช้ตัวถังทำจากไฟเบอร์กลาสทั้งคัน

เมื่อมีเสียงเรียกร้องจากลูกค้ามากขึ้น ในปี 1954 เชฟโรเลตตัดสินใจเดินหน้าโครงการ คอร์เวตต์ต่อไป แต่เปลี่ยนวิธีทำตลาดจากเดิมที่เคยสงวนไว้ให้กับบุคคลสำคัญ มาเป็น การทำตลาดให้กับประชาชนทั่วไป และเปลี่ยนมาใช้ตัวถังเหล็กกล้าธรรมดา คอร์เวตต์ รุ่นแรกสำหรับลูกค้าทั่วไป หรือ รุ่น C1 เปิดตัวครั้งแรกในปี 1956 นับแต่นั้นมาการพัฒนา เชฟโรเลต คอร์เวตต์ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด ทั้งรุ่น C2 ในปี 1963 รุ่น C3 ในปี 1968 รุ่น C4 ในปี 1984 รุ่น C5 ในปี 1997 และล่าสุดกับรุ่น C6 ในปี 2004

ปัจจุบันนี้ คอร์เวตต์ ถูกผลิตขึ้นที่ศูนย์การผลิตฯของจีเอ็มในเมืองโบว์ลิง กรีน มลรัฐ เคนตักกี สหรัฐอเมริกา (Bowling Green, Kentucky) เมืองเดียวกับที่มีการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ คอร์เวตต์ สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ รวมทั้งจัดแสดง รถคอร์เวตต์รุ่นต่าง ๆ ที่โด่งดังในอดีตไว้ให้ผู้สนใจได้เข้าเยี่ยมชม

เชฟโรเลต คอร์เวตต์ คันที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้เป็นรถรุ่นคอร์เวตต์ สติงเรย์ ปี 1965 วางเครื่องยนต์แบบ วี8 OHV 16 วาล์ว 5,354 ซีซี คาร์บิวเรเตอร์เดี่ยว 253.5 แรงม้า (PS) ที่ 4,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 475 นิวตันเมตร ที่ 2,800 รอบต่อนาที

เชฟโรเลต อิมพาล่า (Chevrolet Impala)

เชฟโรเลต อิมพาล่า เป็นรถยนต์คลาสสิกอีกรุ่นหนึ่งในตระกูลเชฟโรเลต ที่สร้างขึ้นต่อเนื่อง จากโครงการคอร์เวตต์ด้วยแนวคิดในการพัฒนารถยนต์ขนาดใหญ่ระดับเดียวกับแคดิลแลค
แต่มีรูปทรงโฉบเฉี่ยวมีคุณภาพดีในระดับราคาที่ใครก็ซื้อหาได้ในสไตล์เชฟโรเลต เปิดตัวเป็น ครั้งแรกที่งานโมโตรามา ออโตโชว์ 1956 (Motorama Auto Show) ในฐานะรถยนต์ ต้นแบบชื่อเชฟโรเลต คอร์เวตต์ อิมพาล่า (Corvette Impala) ด้วยการตอบรับอย่างสูง ของผู้เข้าชมงานทำให้เชฟโรเลตตัดสินใจนำอิมพาล่าขึ้นสายการผลิต ออกสู่ตลาดเมื่อปี 1957 ในฐานะรุ่นย่อยพิเศษในตระกูล เชฟโรเลต เบลแอร์ (Bel Air) รุ่นปี 1958 ใช้ชื่อว่า เบลแอร์ อิมพาล่าได้รับความนิยมสูงมากจนเชฟโรเลตตัดสินใจ แยกรุ่นอิมพาล่าออกมา เป็นรถรุ่นใหม่อย่างแท้จริงเมื่อปี 1959 และถือเป็นจุดกำเนิดรถอเมริกันขนาดใหญ่ ที่เรา รู้จักกันดี ในชื่อ ฟูล-ไซส์ คาร์ส (Full-sizes Cars) จนถึงทุกวันนี้

ตลอดทศวรรษที่ 1960 อิมพาล่าได้รับความนิยมอย่างสูงจากชาวอเมริกัน ในปี 1965 อิมพาลา รวมทั้งคาพรีส (Caprice) ซีดานร่วมตระกูลรุ่นใหม่ที่เปิดตัวในปีเดียวกัน สร้างสถิติยอดขายเกิน 1 ล้านคันต่อปีได้เป็นครั้งแรก และยังคงสร้างประวัติศาสตร์ ด้วยการ ทำสถิติยอดขายรวม 10 ล้านคันนับแต่เปิดตัว เมื่อปี 1972 เป็นสถิติ ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมี ในรถยนต์ขนาดใหญ่ ฟลูไซส์ ของสหรัฐอเมริกา ในปี 1977 มีการเปลี่ยนโฉมใหม่ทั้งคัน อีกครั้ง ด้วยการลดขนาดตัวถังให้สั้นลง เพื่อให้มีน้ำหนักเบา และประหยัดเชื้อเพลิงดียิ่งขึ้น มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ คอมมานด์ คอนโทรล ในปี 1981 ทำตลาดจนถึงปี 1986 ชื่ออิมพาลาจึงถูกลดบทบาทลง และปล่อยให้เพื่อนร่วมตระกูลอย่างคาพรีส ทำตลาดต่อไป แต่ด้วยเสียงเรียกร้องของลูกค้า ทำให้เชฟโรเลต นำคาไพรส์ มาเสริมแต่งให้ดูสปอร์ตขึ้น ทำตลาดเป็นเวอร์ชันพิเศษ อิมพาล่า เอสเอส เปิดตัวในปี 1994 และยุติการผลิต ในปี 1996

ปัจจุบัน เชฟโรเลต นำรถรุ่นอิมพาลากลับมาใหม่อีกครั้งเมื่อปี 2000 โดยเปลี่ยนมาใช้ ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า และมีตัวถังเทียบเท่าซีดานขนาดกลาง เพื่อตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าที่ต้องการรถยนต์ขนาดกลาง ที่มีห้องโดยสารโอ่อ่าเฉกเช่น รถยนต์ฟูลไซส์ ในอดีต อิมพาล่ายังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องจากชาวอเมริกัน จนถึงปัจจุบัน

เชฟโรเลต ฟลีตมาสเตอร์ (Chevrolet Fleetmaster)

นับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ศูนย์การผลิตฯ ของจีเอ็มทุกแห่งจำเป็น ต้องยุติการผลิตรถยนต์โดยสารเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 1942 เพื่อหันไปผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ ป้อนให้กับทางกองทัพสหรัฐฯ ในช่วงปี 1942-1945

เมื่อสงครามสิ้นสุดลง จีเอ็มเริ่มกลับมาผลิตรถบรรทุกอีกครั้งเมื่อ 20 สิงหาคม 1945 และ เริ่มผลิตรถยนต์โดยสารอีกครั้งเมื่อ 3 ตุลาคมปีเดียวกัน ด้วยภาวะการขาดแคลนรถยนต์นั่ง ในตลาด เชฟโรเลตจึงนำรถยนต์รุ่นที่เคยผลิตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รวม 3 รุ่น คือ สไตล์มาสเตอร์ ซีดานและคูเป้ (Stylemaster Sedan & Coupe) ฟลีตไลน์ แอโรซีดาน (Fleetline Aerosedan) และฟลีตมาสเตอร์ (Fleetmaster) ซึ่งมีให้เลือกทั้ง แบบซีดาน คูเป้ เปิดประทุน และสเตชันแวกอนพร้อมตัวถังด้านข้างทำด้วยไม้ ที่เรียกกันว่า วู้ดดี้ (Woody) กลับมาทำตลาดในช่วงปี 1946-1948

ฟลีตมาสเตอร์ มี 3 รุ่นปี คือรุ่นปี 1946 (รหัสรุ่น DK) รุ่นปี 1947 (รหัสรุ่น EK) และรุ่นปี 1948 (รหัสรุ่น FK) ทุกรุ่นใช้เครื่องยนต์แบบ 6 สูบ 3,548 ซีซี 90 แรงม้า ฟลีตมาสเตอร์ ไม่เพียงได้รับการต้อนรับอย่างดีบนถนนอเมริกันด้วยยอดขายรวมตลอดอายุตลาด 3 ปี
มากถึง 675,994 คันเท่านั้น แต่ยังเคยได้รับเกียรติให้เป็นรถนำขบวน รถแข่ง ในการแข่งขัน Indianapolis 500 หรือที่รู้จักกันในนาม อินดี 500 ในปี 1948 อีกด้วย และฟลีตมาสเตอร์ ถือเป็นรถรุ่นสำคัญอีกรุ่นที่ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่รถรุ่น 150 (One-Fifty) 210 (Two-Ten) และเบล-แอร์ (Bel Air)ในปี 1949

เชฟโรเลต ทู-เทน (Chevrolet 210 )

ทู-เทน ถือกำเนิดขึ้นในปี 1952 ในฐานะรถรุ่นปี 1953 เป็นรถยนต์ขนาดกลาง ที่แทรกตัว ระหว่างรุ่น 150 (One-Fifty) และเบลแอร์ ทั้ง 3 รุ่นใช้ชิ้นส่วนวิศวกรรมร่วมกัน มีให้เลือกถึง 7 รูปแบบตัวถัง ทั้งแบบซีดาน 2 หรือ 4 ประตู แฮนดี้แมนแวกอน 4 ประตู ทาวน์สแมนแวกอน 4 ประตู 8 ที่นั่ง รุ่นเปิดประทุนรวมทั้งรุ่นคลับคูเป้ และฮาร์ดท็อปคูเป้ 2 ประตู เครื่องยนต์เป็นแบบ 6 สูบเรียง บลูเฟรมซิกส์ (Blue Frame six) 6 สูบ 3,860 ซีซี 108 แรงม้าในรุ่นเกียร์ธรรมดา ส่วนรุ่นที่ติดตั้งเกียร์อัตโนมัติ Power Glide จะมีกำลังสูงสุด 115 แรงม้า (เพิ่มขึ้นเป็น 115 และ 125 แรงม้า ในปี 1954) นอกจากนี้ยังเป็น เชฟโรเลตรุ่นแรก ๆ ที่ติดตั้งพวงมาลัยเพาเวอร์เป็นอุปกรณ์พิเศษ จากศูนย์การผลิตฯ

ปี 1955 เชฟโรเลตเปลี่ยนโฉมให้กับ ทู-เทน พร้อมด้วยเครื่องยนต์ใหม่ 3 แบบ ทั้งแบบ 6 สูบเรียง บลูเฟรมซิกส์ 123 แรงม้า ในรุ่นเกียร์ธรรมดา และเกียร์อัตโนมัติ Overdrive และ 136 แรงม้า ในรุ่นเกียร์อัตโนมัติ Power Glide ไปจนถึงเครื่องยนต์ V8 บล็อกใหม่ 4,342 ซีซี 162-180 แรงม้า ที่เชื่อมกับระบบส่งกำลังได้ทั้ง 3 แบบข้างต้น

และในปี 1956 เชฟโรเลตเปิดตัวเครื่องยนต์ชุดใหม่ให้กับ ทู-เทน มีทั้งเครื่องยนต์ 6 สูบ 140 แรงม้า ไปจนถึงเครื่องยนต์บล็อกใหม่ล่าสุด V8 283 แรงม้า ทู-เทน อยู่ในตลาด จนถึงปี 1957 ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยรุ่นเดลเรย์ (Del Ray) และ บิสเคย์น (Biscayne) ในปีถัดมา

เชฟวี่ทรัค รุ่นปี 1940 – 1959 (Chevy Truck 1940 – 1959)

ในยุคต้นปลายทศวรรษ 1930 จนถึง ปลายทศวรรษ 1950 เชฟโรเลตเปิดตัวรถเชฟวี่ ทรัค รวม 3 รุ่น เริ่มจาก รุ่น JC ซีรีส์ ในปี 1939 มีการออกแบบหัวเก๋งใหม่ให้ดูร่วมสมัย มากขึ้น เมื่อถึงปี 1940 จึงมีการเปลี่ยนแผงหน้าปัดมาเป็นแบบโค้งมน เรียกว่ารุ่น KC และในปี 1941 จึงมีการปรับโฉมด้านหน้ารถครั้งใหญ่ให้มีกระจังหน้ากว้างใหญ่ขึ้น เรียกว่ารุ่น AK แต่ในปี 1942 เมื่อสหรัฐอเมริกาจำต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลจึงสั่งให้จีเอ็ม ยุติการผลิตรถกระบะลงในวันที่ 9 มีนาคม 1942 เมื่อสงครามโลกยุติลงเชฟโรเลต จึงเดินเครื่องผลิตรถกระบะรุ่นเดิมต่อไปอีกครั้งเมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 1945 เพื่อตอบสนอง ความต้องการรถใหม่ของชาวอเมริกัน

จนกระทั่ง 28 มิถุนายน 1947 เชฟโรเลตเปิดตัวเชฟวีทรัคโฉมใหม่ รุ่นแอดวานซ์ ดีไซน์ ซีรีส์ (Advanced Design Series) โดยใช้เครื่องยนต์ 6 สูบ OHV 3,548 ซีซี 90 แรงม้า ร่วมกับเชฟโรเลต ฟลีตมาสเตอร์ ด้วยความล้ำหน้าในการออกแบบ ความสบายในห้อง โดยสาร รวมถึงการออกแบบแชสซีขึ้นใหม่ ทำให้กลายเป็นรถกระบะที่ขายดีที่สุด ในสหรัฐอเมริกา ในยุคนั้น

กลางปี 1955 เชฟโรเลตสร้างความเหนือชั้นทางเทคโนโลยีด้วยการเปิดตัวเชฟวี่ทรัค โฉมใหม่ ที่รู้จักกันในชื่อรุ่น แทสก์ ฟอร์ซ (Task Force) พร้อมเครื่องยนต์ใหม่ V8 5,700 ซีซี 185 แรงม้า จนได้รับการยกย่องว่าเป็นรถกระบะที่แรงที่สุดในยุค นอกจากนี้ยังเปิดตัว คามิโอ แคร์ริเออร์ (Cameo Carrier) รถปิกอัพส่วนบุคคล รุ่นแรกของวงการที่ใช้ชิ้นส่วน ตัวถังทำจากพลาสติก และไฟเบอร์กลาส เอกลักษณ์ อันโดดเด่นของเชฟวีทรัคตระกูลนี้คือ กระจกบังลมหลังถูกออกแบบให้โค้งมน ต่อเนื่องกับประตูทั้ง 2 บาน ซึ่งเป็นแนวทาง การออกแบบ ที่ผู้ผลิตรถยนต์หลายราย พากันเลียนแบบ จนถึงปัจจุบัน

ก้าวสู่ความสมบูรณ์แบบในปัจจุบัน ก้าวทันความต้องการในอนาคต

นับตั้งแต่ปี 1911 จวบจนถึงทุกวันนี้ เชฟโรเลต ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ ในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อตอบรับกับความต้องการของลูกค้าในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ การเปิดตัว เชฟโรเลต คอร์แวร์ (Corvair) รถยนต์อเมริกันขนาดเล็ก 4 ที่นั่ง ทั้งแบบซีดาน คูเป้ และสเตชันแวกอน รุ่นแรกที่ติดตั้งเครื่องยนต์ไว้ด้านหลังรถ รวมทั้งรถสปอร์ต ขนาดกลางระดับตำนานอีกรุ่นอย่างเชฟโรเลต คามาโร (Camaro) เมื่อปี 1967 การเปิดตัวเชฟโรเลต ไซเตชัน (Citation) รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า รุ่นแรกของเชฟโรเลต ในปี 1980 การติดตั้งระบบเบรกเอบีเอส (ABS) ให้กับรถสปอร์ต รุ่นคอร์เวตต์ เป็นครั้งแรกในปี 1986 จากนั้นเชฟโรเลตได้เปิดตัวตระกูลรถยนต์ขนาดกลาง ลูมินา ซึ่งมีทั้งแบบซีดาน คูเป้ และล้ำอนาคตด้วยตัวถัง มินิแวนทรงล้ำยุคในชื่อ ลูมินา APV พร้อมทั้งตระกูลรถยนต์ ขนาดเล็ก จีโอ (Geo) เมื่อปี 1989 และยังตามด้วย การเปิดตัวซีดานรุ่นใหญ่ คาพรีส โฉมใหม่ พร้อมถุงลมนิรภัยฝั่งคนขับ ในปี 1980 และล่าสุดกับรถสปอร์ตปิกอัพ เปิดประทุน เชฟโรเลต เอสเอสอาร์ (SSR) เมื่อปี 2003

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ยืนยันถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมของ หลุยส์ เชฟโรเลต ในการพัฒนา ยานยนต์ที่ไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกสบายในการเดินทางของผู้คนทั่วโลก หากแต่ยัง รวมถึงการเอาใจใส่ในด้านความปลอดภัย การขับขี่ที่เป็นเลิศ ความเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังมุ่งมั่นตอบสนองความปราถนาอันแรงกล้าของผู้ที่ได้มีโอกาส เป็นเจ้าของเจตนารมณ์นี้
ยังคงได้รับการสืบทอดโดยทีมวิศวกรของเชฟโรเลต จาก อดีตสู่ปัจจุบัน เพื่อรังสรรค์ยานยนต์ ที่เป็นหนึ่งในใจของผู้คนนับล้านทั่วโลก

ด้วยเจตนารมณ์ดังกล่าว ทำให้เชฟโรเลตได้รับความนิยมอย่างสูงจากประเทศในแถบ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ จนถึงยุโรป และเอเชียแปซิฟิค และบัดนี้เป็นเวลากว่า 4 ปี มาแล้ว ที่เชฟโรเลตเข้ามาสร้างประสบการณ์ในการขับขี่อันแปลกใหม่ให้กับชาวไทย ด้วยยนตรกรรม ที่พัฒนาเพื่อความสมบูรณ์แบบในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่าง เชฟโรเลต ซาฟิร่า รถยนต์อเนกประสงค์ 7 ที่นั่งแบบเฟล็กเซเว่น เชฟโรเลต ออพตร้า ซีดานขนาดกลาง ที่เปี่ยมสมรรถนะการขับขี่ที่เงียบและนุ่มนวล เชฟโรเลต ลูมิน่า ซีดานขนาดใหญ่ที่หรูหรา สง่างาม พร้อมเชฟโรเลต โคโรลาโด กระบะอเมริกันพันธ์ุแกร่ง ที่รวมความสมบุกสมบัน และความสะดวกสบายในการขับขี่ไว้ด้วยกัน และนับแต่นี้ เราจะยืนหยัดในการพัฒนา ยานยนต์ และรูปแบบการบริการอันน่าประทับใจ เพื่อร่วมเดินทางไปกับสังคมไทย และลูกค้าชาวไทย ตลอดไป