สังคมผู้สูงอายุ
- ประเทศไทยมีคนอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 10 ล้านคน
- ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบภายใน ปี 2568
- 15 ปีข้างหน้า ไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุ 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ความถี่กับความสุข
- ผู้สูงอายุออนไลน์วันละ 2-4 ชั่วโมงเป็นกลุ่มที่มีความสุขมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มที่ออนไลน์วันละ 4-7 ชั่วโมง 1-2 ชั่วโมง
- ส่วนจำนวนวันในการใช้เทคโนโลยีพบว่า กลุ่มที่ใช้ 4-6 วันต่อสัปดาห์มีระดับความสุขสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มที่ใช้ทุกวัน และกลุ่มที่ใช้สัปดาห์ละ 2-4 วัน
- ผู้สูงวัยที่อัพเดตข้อมูลข่าวสารด้วยความถี่มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อครั้ง มีระดับความสุขสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มที่ตรวจสอบทุก 2 ชั่วโมง และทุก 1 ชั่วโมง
สรุปได้ว่าความถี่ส่งผลต่อระดับความสุขอย่างชัดเจน โดยเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก หมายถึง ยิ่งติดตามความเคลื่อนไหวต่อครั้งด้วยการทิ้งช่วงนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มระดับความสุขมากขึ้นเท่านั้น
ความถี่ที่เหมาะสมจากการสำรวจ คือ การทิ้งเวลาในการตามให้มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อการตาม 1 ครั้ง
ใช้แท็บเล็ตสุขที่สุด
สำหรับอุปกรณ์ที่ผู้สูงอายุใช้เป็นประจำ พบว่า กลุ่มที่ใช้ผ่านแท็บเล็ตมีความสุขสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มที่ใช้บนสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
ใช้ในบ้าน
ขณะที่สถานที่ที่ใช้พบว่าการใช้ที่บ้านมีความสุขสูงที่สุด รองลงมาคือใช้ในสถานที่สาธารณะและใช้ในที่ทำงาน
ใช้เพื่อบันเทิง
สำหรับวัตถุประสงค์ในการออนไลน์ พบว่า กลุ่มที่ใช้เพื่อความบันเทิงมีความสุขสูงที่สุด รองลงมาคือการใช้เพื่อหาความรู้และเพื่อสังคม
สำหรับปัญหา พบว่า ค่าบริการของผู้ให้บริการเป็นปัญหาที่ผู้สูงอายุให้ความสำคัญที่สุด
แนะออนไลน์ไม่เกิน 3 ชม./วัน
- การใช้งานออนไลน์ที่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน หรือเพียงสัปดาห์ละ 1 วันนั้นไม่สามารถเติมเต็มความสุขให้แก่ชีวิตผู้สูงอายุในยุคดิจิทัลนี้ได้ จึงทำให้ระดับความสุขลดลง
- แต่หากใช้มากเกินไป คือมากกว่าวันละ 7 ชั่วโมง หรือใช้ทุกวันในตลอดสัปดาห์ อาจทำให้ผู้สูงอายุสนุกเพลิดเพลินได้จริง แต่การจดจ่ออยู่กับหน้าจอตลอดเวลาก็ทำให้ผู้สูงอายุขาดปฏิสัมพันธ์อันแท้จริงกับสังคม ทำให้ผลออกมาเป็นความสุขที่ลดลงเช่นกัน
- ดร.วีรณัฐ โรจนประภา นักวิชาการด้านผู้สูงวัยและนายกสมาคมบ้านปันรัก ระบุว่า จากผลการวิจัยนี้ทางสมาคมบ้านปันรัก จึงริเริ่มโครงการรณรงค์ให้ผู้สูงอายุออนไลน์ในวันธรรมดา จันทร์ถึงศุกร์ วันละไม่เกิน 3 ชั่วโมง แนะนำให้ผู้สูงอายุได้พักจากหน้าจอเพื่อใช้ชีวิตกับบุตรหลาน หรือได้ทำงานอดิเรกที่สนใจ ที่สำคัญคือ
- แนะนำให้ผู้สูงอายุทิ้งช่วงในการหยิบสมาร์ทโฟนมาดูให้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง เพื่อให้ชีวิตผู้สูงอายุมีความสุขอย่างสมดุล หรือเรียกตามแบบฉบับวิถีพุทธว่า การเดินสายกลาง ไม่ตึง หรือไม่หย่อนจนเกินไปนั่นเอง”
ที่มาของงานวิจัย
สมาคมบ้านปันรัก ได้วิจัยผู้สูงอายุที่ใช้เทคโนโลยีได้จำนวน 480 คนทั่วกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์