โอกาสและความท้าทาย “ร้านกาแฟ” ธุรกิจสุดฮิต 3 หมื่นล้าน อยู่รอดได้ 50%

จากพฤติกรรมการประกอบอาชีพของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะคน Gen Y ที่เกิดในช่วงปี 2523-2540 เริ่มนิยมประกอบธุรกิจส่วนตัวมากขึ้น ทั้งร้านค้าออนไลน์และการเปิดธุรกิจในลักษณะของร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ ร้านไอศกรีม และอื่นๆ นั้น อาจกล่าวได้ว่ากลุ่มผู้ประสบความสำเร็จและผู้ล้มเหลวแทบจะมีสัดส่วนใกล้เคียงกันในสัดส่วน 50:50 โดยมีปัจจัยสำคัญชี้วัดคือ “ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลธุรกิจในด้านต่างๆ” 

โอกาสและความท้าทาย
คนไทยดื่มกาแฟปีละ 200 แก้ว

สำหรับธุรกิจที่มีการเปิดตัวใหม่และปิดตัวลงเสมือน “ทดแทนกัน” อย่างต่อเนื่อง คือ “ธุรกิจร้านกาแฟ” ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยร้านกาแฟระดับกลางมีมูลค่ามากที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 40% ของตลาดรวม หรือประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ทั้งยังมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันคนไทยมีอัตราการบริโภคกาแฟเฉลี่ยคนละ 200 แก้วต่อปี จึงยังมีช่องว่างทางการตลาดอีกมาก โดยเฉพาะร้านกาแฟตามสถานีบริการน้ำมัน หรือสถานที่ต่างๆ

ความท้าทายของธุรกิจร้านกาแฟเปิดใหม่จึงอยู่ที่ “ทำอย่างไร? ธุรกิจจึงจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน”

เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะในจำนวนร้านกาแฟ เบเกอรี่ และไอศกรีม ที่มีมากมายในสถานที่ต่างๆ นั้น หากนับเฉพาะกลุ่มร้านที่มีสาขาในลักษณะเชนแบรนด์ต่างๆ พบว่ามีไม่น้อยกว่า 3.7 พันสาขา จึงทำให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นเจ้าของแบรนด์เองต้องเผชิญภาวะการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะปัญหา “ค่าเช่าพื้นที่” ซึ่งมักถูกปรับขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม

นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย โอเรก้า จำกัด
นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย โอเรก้า จำกัด

ยิ่งไปกว่านั้นผู้ประกอบการใหม่ยังมักประสบปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ อีกมาก ดังที่ ลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย โอเรก้า จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้า HORECA Square ให้ความเห็นว่า ปัจจัยสำคัญคือ “4 ขาด” ได้แก่ ขาดแคลนบุคลากร ขาดความรู้ด้านการบริหารเงินทุนหมุนเวียน ขาดการวางแผนการตลาดอย่างเป็นระบบ ขาดการนำนวัตกรรมและนำเสนอบริการรูปแบบใหม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

word_icon

หากยังไม่สามารถสร้างแบรนด์ให้มีความแกร่งได้ การซื้อเชน หรือแฟรนไชส์ ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ 

ลัดดากล่าว

word_icon2

แต่สำหรับผู้ที่ต้องการจะสร้างแบรนด์ของตัวเอง ให้ข้อแนะนำว่า จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ใน 5 ข้อ ได้แก่ 1. คำนึงถึงคุณภาพและความคุ้มค่าที่ลูกค้าจะได้รับ 2. นำนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้ 3. รักษาฐานลูกค้าเก่าและสร้างฐานลูกค้าใหม่ 4. สร้างแบรนด์และเอกลักษณ์ให้โดดเด่น 5. ปรับองค์กรให้กระชับ

ที่มา : http://astv.mobi/A9UVuvb