เม็ดเงินโฆษณา ก.พ.60 ยังแผ่ว ใช้ไป 7.9 พันล้านบาท ติดลบเกือบ 7% ช่อง 3-7 ยังร่วงต่อ ทีวีดิจิทัลเพิ่ม ค่ายอัดงบแข่งเดือด

นีลเส็น ประเทศไทย เปิดเผยถึงการใช้เม็ดเงินใช้ในการลงสื่อโฆษณาของเดือนกุมภาพันธ์ 2560 มีมูลค่ารวม 7,988 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่ใช้ไป 8,585 ล้านบาท ในอัตรา 6.95%

แม้ว่าเม็ดเงินโฆษณาส่วนใหญ่ ยังคงใช้ไปกับช่องทีวีอนาล็อกเดิม แต่เม็ดเงินก็ลดลง เหลือ 3,476 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 43.52% ใช้ไปกับทีวีดิจิทัลยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 1,750 ล้านบาท ในอัตรา 5.68% หรือคิดเป็นสัดส่วน 21.91% เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ.59 ใช้ไป 1,656 ล้านบาท

สื่อโฆษณาใช้งบเพิ่มขึ้น คือ สื่อในโรงภาพยนตร์ 468 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.81% สื่อนอกบ้าน 472 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.59% สื่อในห้าง (IN STORE) 70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40%

ส่วนสื่อโฆษณาที่ใช้งบลดลง คือ เคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียมลดลงต่อเนื่อง 264 ล้านบาท ลดลง 20.48% สื่อวิทยุ 326 ล้านบาท ลดลง 21.26% หนังสือพิมพ์ 617 ล้านบาท ลดลง 22.39% นิตยสาร 147 ล้านบาท ลดลง 38.75% สื่อรถประจำทาง (TRANSIT) 281 ล้านบาท ลดลง 27.20%  และสื่ออินเทอร์เน็ต ใช้ไป 155 ล้านบาท ลดลง 10.16% (เก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่อ อินเตอร์เน็ตโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ ให้อ้างอิงข้อมูลจาก DAAT ประกอบ)

หมายเหตุสำคัญ

  • ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2560 เป็นต้นไปข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง (outdoor) สื่อเคลื่อนที่ (transit) และสื่อในสนามบิน จะไม่ได้รวมข้อมูลจาก  JCDecaux
  • นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่นสื่อเคลื่อนที่ (transit)ป้ายบิลบอร์ดป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี2559 เป็นต้นมา
  • อินเตอร์เน็ต – ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10  เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ
  • สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจาก DAAT
  • สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559
  • ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น
  • ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้งสื่อเคลื่อนที่ และสื่อในห้าง

10 แบรนด์ใช้งบสูงสุดเดือนกุมภาพันธ์ 60 กระทะโคเรียคิงนำ ค่ารถเปิดศึกอัดงบแข่งเดือด

สำหรับแบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ อันดับ 1 ยังเป็นของกระทะโคเรียคิง ด้วยงบโฆษณา 183 ล้านบาท อันดับ 2 ช้าง คอร์ปอเรชั่น 85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วค่อนข้างมาก (ก.พ. 59 ใช้ 1.2 ล้านบาท )

อันดับ 3 โตโยต้า ปิกอัพ 84 ล้านบาท (ก.พ. 59 ใช้ 51 ล้านบาท อันดับ 4 ซัมซุงโมบาย ใช้เพิ่มขึ้น (ก.พ. 59 ใช้ 38 ล้านบาท)

อันดับ 5 ดีแทค ไอเอสพี 71 ล้านบาท ใช้ลดลงไปเกือบครึ่ง เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (ก.พ. 59 ใช้ 113 ล้านบาท) อันดับ 6 โค้ก 66 ล้านบาท ซัมเมอร์ปีนี้โค้กใช้ลดลงเมื่อเทียบกับหน้าร้อนปี 59 (ก.พ. 59 ใช้ 123 ล้านบาท)

โดยตั้งแต่อันดับ 7 ถึงอันดับ 10 เป็นของค่ายรถยนต์ ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด รับกับงานมอเตอร์โชว์ ที่จัดขึ้นในช่วงต้นปี

อันดับ 7 รถยนต์นั่งโตโยต้า 64 ล้านบาท ใช้ลดลงเล็กน้อย (ก.พ. 59 ใช้ 68 ล้านบาท) อันดับ 8 อีซูซุ ปิกอัพ 53 ล้านบาท ลดลง (ก.พ. 59 ใช้ 58 ล้านบาท) อันดับ 9 ฟอร์ด รถปิกอัพ 52 ล้านบาท เทงบเพิ่มขึ้นกว่าครึ่ง (ก.พ. 59 ใช้ 21 ล้านบาท) อันดับ 10 รถยนต์นั่งฮอนด้า 49 ล้านบาท (ก.พ. 59 ใช้ 31 ล้านบาท)

Top 10 Advertisers ยูนิลีเวอร์ อันดับ 1 แต่ยังลดลง

องค์กร หรือ ธุรกิจที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด อันดับ 1 เป็นของ บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ไทย) 313 ล้านบาท แต่ยังคงใช้งบโฆษณาลดลง (ก.พ. 59 ใช้ 422  ล้านบาท)

อันดับ 2 เป็นของ บริษัทวิซาร์ด โซลูชั่น (ผู้นำเข้าและจำหน่ายกระทะโคเรีย คิง) 183 ล้านบาท ใช้เพิ่ม (ก.พ. 59 ใช้ 136  ล้านบาท) อันดับ 3 บริษัท โตโยต้า ประเทศไทย 170 ล้านบาท (ก.พ. 59 ใช้ 177 ล้านบาท)

อันดับ 4 บริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) 154 ล้านบาท ปีนี้กลับมาใช้เพิ่ม (ก.พ.59 ใช้ 93  ล้านบาท) อันดับ 5 บริษัทไทยเบฟเวอเรจ 139 ล้านบาท ใช้เพิ่มค่อนข้างมาก (ก.พ. 59 ใช้ 37 ล้านบาท)

อันดับ 6 บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ 119 ล้านบาท (ก.พ.59 ใช้ 57 ล้านบาท) อันดับ 7 บริษัทไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำหน่ายนีเวีย 114 ล้านบาท อันดับ 8 ตรีเพ็ชร อีซูซุ 102 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย (ก.พ.59 ใช้ 92 ล้านบาท) อันดับ 9 ลอรีอัล ประเทศไทย อันดับ 10 บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) 96 ล้านบาท  ลดลงจากปีที่แล้วค่อนข้างมาก (ก.พ.59 ใช้ 202 ล้านบาท)