นีลเส็น ประเทศไทย ได้เปิดเผยถึง งบการใช้สื่อโฆษณาของเดือนพฤษภาคม 2560 มีมูลค่ารวม 8,802 ล้านบาท ติดลบ 11.17% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษาคม 2559 ที่ใช้ไป 9,909 ล้านบาท ซึ่งถือว่าติดลบมากสุด เมื่อเทียบกับการใช้งบในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา
เม็ดเงินโฆษณาส่วนใหญ่ ยังใช้ไปกับทีวีอนาล็อก (ช่อง3, 7) 3,657 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 41.55% แต่การใช้ลดลงไปถึง -21.25% เมื่อเทียบกับพฤษภาคม ปี 2559
ในขณะที่ใช้งบโฆษณาไปกับทีวีดิจิทัล 1,948 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.58% หรือคิดเป็นสัดส่วน 19.16% เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2559 ใช้ไป 1,899 ล้านบาท
ในขณะที่เคเบิลทีวี มียอดการใช้โฆษณา 322 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.89% เมื่อเทียบกับปี 2559 แต่สัดส่วนการใช้ลดลงเหลือ 3.10%
สื่อโฆษณาใช้งบเพิ่มขึ้น คือ สื่อในโรงภาพยนตร์ 593 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.43% *สื่อกลางแจ้ง (Outdoor) 503 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.38% สื่อรถประจำทาง 421 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.44% **สื่อในห้าง (IN STORE) 76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.75% และอินเทอร์เน็ต 153 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.91%
ส่วนสื่อโฆษณาที่ใช้งบลดลง คือ สื่อวิทยุ 368 ล้านบาท ลดลง 25.66% หนังสือพิมพ์ 614 ล้านบาท ลดลง 21.98% นิตยสาร 148 ล้านบาท ลดลง 42.86%
หมายเหตุสำคัญ
สื่อกลางแจ้ง (Outdoor) และสื่อเคลื่อนที่(transit):มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdorr และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560
นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่นสื่อเคลื่อนที่(transit),ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 เป็นต้นมา
อินเตอร์เน็ท – ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่อ อินเตอร์เน็ทโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ
สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ททั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจาก DAAT
สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559
ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น
ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง สื่อเคลื่อนที่และสื่อในห้าง
10 แบรนด์ใช้งบสูงสุดเดือน พฤษภาคม 2560 กระทะโคเรียคิง มาอันดับแรก แต่ใช้ลดลง 3 ค่ายมือถืออัดงบสนั่น
สำหรับแบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในเดือนเมษายน อันดับ 1 ยังเป็นของกระทะโคเรีย คิง ด้วยงบโฆษณา 104 ล้านบาท แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคมปี 2559 ใช้ไป 147 ล้านบาท
อันดับ 2 รถยนต์นั่งโตโยต้า 84 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พ.ค. 2559 ใช้ 82 ล้านบาท
อันดับ 3 โตโยต้าปิกอัพ ใช้โฆษณา 80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก พ.ค. 2559 ใช้ไป 67ล้านบาท อันดับ 4 โทรศัพท์มือถือออปโป้ อัดฉีดงบโฆษณาเพื่อรับกับพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เจมส์-จิรายุ ด้วยงบ 64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก พ.ค. 2559 ใช้ไป 13 ล้านบาท
อันดับ 5 เครื่องดื่มโค้ก ใช้งบ 62 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับ พ.ค. 2559 ใช้ 86 ล้านบาท อันดับ 6 โทรศัพท์มือถือซัมซุง 53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น พ.ค. 2559 ใช้ 38 ล้านบาท อันดับ 7 ช้างคอร์ปอเรชั่น 53 ล้านบาท ใช้ลดลงจาก พ.ค. 2559 ใช้ไป 73 ล้านบาท
อันดับ 8 โทรศัพท์มือถือ วีโว่ 51 ล้านบาท ใช้เพิ่มขึ้นมาก จาก พ.ค. 2559 ใช้ไป 9 แสนบาท อันดับ 9 ไอศกรีมวอลล์ ใช้ไป 49 ล้านบาท เทียบกับ พ.ค. 2559 ใช้ไป 24 ล้านบาท และอันดับ 10 เป็นของเครื่องดื่มแฟนต้า 48 ล้านบาท เพิ่มจาก พ.ค. 2559 ใช้ 43 ล้านบาท
หมายเหตุ : ไม่รวม Classified, CD/DVD (Musical & Film Products), Government & Community Announce, Leisure, House ad
Top 10 Advertisers ยูนิลีเวอร์ อันดับ 1 ใช้งบ พ.ค. 2560
สำหรับ องค์กร หรือ ธุรกิจที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2560 อันดับ 1 เป็นของบริษัท ยูนิลีเวอร์ (ไทย) 434 ล้านบาท ใช้เพิ่มขึ้น เทียบกับ พ.ค. 2559 ใช้ 412 ล้านบาท
อันดับ 2 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 193 ล้านบาท ลดลงจาก พ.ค. 2559 ใช้ 209 ล้านบาท
อันดับ 3 บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) 104 ล้านบาท ใช้ลดลง เทียบกับ พ.ค. 2559 ใช้ 137 ล้านบาท
บริษัท วิซาร์ด โซลูชั่น (ผู้จำหน่ายกระทะโคเรียคิง) 131 ล้านบาท หล่นมาเป็นอันดับ 4 ใช้งบลดลงเทียบกับเดือน พ.ค. 2559 ใช้ไป 147 ล้านบาท) อันดับ 5 บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) 121 ล้านบาท ใช้งบลดลงเมื่อเทียบเดือน พ.ค. 2559 ใช้ 152 ล้านบาท
อันดับ 6 บริษัท ตรีเพ็ชร อีซูซุ 120 ล้านบาท ใช้เพิ่มขึ้น พ.ค. 2559 ใช้ 115 ล้านบาท อันดับ 7 บริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) 119 ล้านบาท ใช้ลดลง พ.ค. 2559 ใช้ 132 ล้านบาท
อันดับ 8 บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) 114 ล้านบาท ใช้ลดลง เมื่อเทียบกับ พ.ค. 2559 ใช้ 136 ล้านบาท อันดับ 9 เอฟ แอนด์เอ็น แดรี่ส์ 103 ล้านบาท เพิ่มจาก พ.ค. 2559 ใช้ 57 ล้านบาท อันดับ 10 สำนักนายกรัฐมนตรี 102 ล้านบาท ใช้ลดลงนิดหน่อย เทียบกับ พ.ค. 2559 ใช้ไป 105 ล้านบาท