หลังจากกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่จาก “ซันโทรี่” เข้ามาทยอยซื้อหุ้นในบริษัท เซเรบอส ผู้ผลิต
ซุปไก่ และรังนกแบรนด์ ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ โดยทยอยซื้อมาตั้งแต่ปี 1989 จนมีสัดส่วนอยู่ 83% แต่ยังคงปล่อยให้เซเรบอสบริหารกิจการต่อไป จนเมื่อปี 2011 ซันโทรี่ได้ซื้อหุ้นทั้ง 100% พร้อมกับทำเรื่องถอนจากตลาดหุ้นสิงคโปร์
มาในปีนี้ ซันโทรี่ จึงได้ลงมือเปลี่ยนชื่อ จากบริษัท เซเรบอส มาใช้ชื่อ “บริษัทแบรนด์ ซันโทรี่ จำกัด เพื่อดูแลธุรกิจอาหารเสริม และเป็นส่วนหนึ่งของ “ซันโตรี่ กรุ๊ป” โดยบริษัท แบรนด์ ซันโตรี่ จะขึ้นตรงกับกลุ่มธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ (Health Supplement Division)
โดยธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพนั้น จัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) ซึ่งปัจจุบันทำรายได้ 53% ให้กับซันโทรี่ กรุ๊ป ซึ่งมีรายได้รวม 24.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
การนำเซเรบอสมารวมอยู่ภายในซันโทรีในครั้ง เท่ากับว่า ซันโทรี่ จะมี “แบรนด์” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในตลาดเอเชียเป็นตัวนำร่องในการบุกตลาดอาหารสุขภาพในภูมภาคนี้ส่วนแบรนด์มาอยู่ภายใต้ซันโทรี่จะได้การพัฒนาสินค้าและรสชาติใหม่ๆ จากซันโทรี่ซึ่งมีพอร์ตอาหารเครื่องดื่มจำนวนมากมาช่วยเพิ่มความหลากหลายได้ดียิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน ซันโทรี่ ยังได้ย้ายสำนักงานของบริษัท แบรนด์ ซันโทรี่ อินเทอร์เนชั่นแนล จากเดิมที่เคยตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์มาอยู่ที่ประเทศไทย เนื่องจากไทยเป็นตลาดใหญ่ทำรายได้หลักเป็นอันดับหนึ่งให้ “แบรนด์” อยู่แล้ว และยังมีแหล่งผลิตใหญ่ถึง 3 โรงงาน ซึ่งซันโทรี่ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 5,000 ล้านบาท ทั้งแบรนด์ ซุปไก่ และรังนก เพื่อส่งออกไปยังตลาดโลก ปีละ 350 ล้านขวด โดยได้รับการสนับสนุนจากบีโอไอ 4 ครั้ง และรัฐบาลไทยเองก็ให้การสนับสนุนมาตั้งสำนักงานในไทย
โดยบริษัทแบรนด์ซันโทรี่อินเทอร์เนชั่นแนลในไทยเพื่อจะทำหน้าที่วางยุทธศาสตร์ให้กับ 7 ประเทศ คือ ไทย ฮ่องกง มาเลเซีย ไต้หวัน จีน และอินโดนีเซีย ซึ่งจะรับพนักงานใหม่ 45 คนเพื่อมาดูแลโดยเฉพาะ
ส่วนในไทย บริษัทเซเรบอส ได้เปลี่ยนเป็นบริษัท แบรนด์ ซันโทรี่ ประเทศไทย มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมโดยยังคงโครงสร้างเดิม
มร.ไซโตะ เก็น ประธานกรรมการคณะบริหาร แบรนด์ ซันโทรี่ อินเทอร์เนชั่นแนล จำกัด บอกว่า ตลาดอาหารเสริมไทยการแข่งขันรุนแรง กฎระเบียบก็เข้มงวด แต่โอกาสในการเติบโตก็ยังมีมาก ซึ่งแบรนด์ซันโทรี่เอง ต้องพัฒนาตัวเองต่อเนื่อง เช่น การมีทีมขายเป็นของตัวเอง เพื่อให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภค โดยต้นปีที่ผ่านมา แบรนด์ได้เพิ่มทีมขายและทีมงานโปรโมชั่นเกิล 800 คน รวม 900 คน เพื่อดูแลลูกค้าใกล้ชิด และเข้มข้นมากขึ้น เปลี่ยนจากเดิมที่เคยบริษัท ดีเคเอชเอส หรือ ดีทแฮล์มทำตลาดมานานนับ 40 ปี หันมาทำทีมขายและจัดจำหน่ายเอง
นอกจากนี้ จะให้น้ำหนักกับเรื่องของ “ดิจิตอล” ทั้งการสื่อสารผ่านเครือข่ายโซเชียลมีเดีย และการขายผ่านอีคอมเมิร์ซ