เปิด 10 แนวคิด พลิกธุรกิจ “สตาร์ทอัพ สู่ยุค 4.0” ศุภชัย เจียรวนนท์ CEO ซีพีกรุ๊ป

เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว บริษัทใหญ่ติดอันดับโลก ถ้าไม่ใช่บริษัทน้ำมัน ก็ต้องธนาคาร แต่โลกเศรษฐกิจดิจิทัล บริษัทใหญ่ต้องเป็น “ดิจิทัลแพลตฟอร์ม” ในภูมิภาคเอเชีย มีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นมหาศาล ประเทศไทย จะปรับตัวเข้ากับยุคเศรษฐกิจ 4.0 โดยต้องเปลี่ยนในระดับที่เรียกว่า Disruptive Change หรือการเปลี่ยนแปลงโดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล รวมทั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ มาใช้ประโยชน์

นี่คือ ส่วนหนึ่งของแนวคิดของ “ศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กับแนวคิด “Future of Startup Investment in Asia” หรือ การปรับตัวสู่ไทยแลนด์ 4.0 พร้อมกับการผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางสตาร์ทอัพของภูมิภาค

1. ยุค 4.0 เป็นยุคของการถ่ายเทข้อมูล

เน้นการเชื่องโยงข้อมูลมหาศาลและเป็นแบบเรียลไทม์ผ่านยุคบรอดแบนด์ การทำตลาดที่เน้นความยั่งยืนจะเริ่มเห็นได้ในยุคนี้ เพราะเริ่มมีการนำดาต้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น

2. ดิจิทัลแพลตฟอร์มบิ๊กธุรกิจ 

ตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วง 4-5 ปี ในยุคก่อนบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกมักเป็นบริษัทน้ำมัน หรือธนาคาร แต่โลกในยุค 4.0 นั้นแนวโน้มของบริษัทใหญ่ติดอันดับโลกล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทด้านดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดย 5 อันดับแรกได้แก่ Apple, Alphabet, Microsoft, Amazon และ Facebook

3. สเต็ปของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม แบ่งเป็น 4 ยุค 

ได้แก่ 1. Disruptive technology ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในหลายๆ ธุรกิจ เช่น Digital tech, Bio tech และ Nano tech 2. Disruptive industry ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในหลายอุตสาหกรรมเช่น สื่อ ค้าปลีก ธนาคาร รถยนต์ และพลังงาน 3. Old industry transformation อุตสาหกรรมดั้งเดิมมีการปรับตัวเป็นแบบไฮบริด เพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค และ 4. Education การศึกษาและบุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญ ในอนาคตเรื่องไอที วิศวกรรม หรือซอฟต์แวร์จะเป็นวิชาพื้นฐานในการเรียนการสอน เพื่อสร้างนวัตกรรมให้มากขึ้น

4. สามกลยุทธ์พัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย

ได้แก่ 1. Economic zoning มีการผลักดันเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ มองโซนนิ่งภาคเหนือ ภาคอีสานในการสร้างเขตเศรษฐกิจ ให้ดึงจุดแข็งเรื่องไอที การท่องเที่ยว และเกษตรกรรม มาเป็นตัวดึงดูดการลงทุน 2. Education/ innovation hub ต้องสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางในการลงทุนของแบรนด์ใหญ่ในระดับภูมิภาคให้ได้ 3. Agriculture transformation เมืองไทยยังเป็นเมืองแห่งการเกษตร ประชากร 1 ใน 3 ยังเป็นเกษตรกร ต้องพัฒนาและปรับโครงสร้างเกษตรกรรมให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรมยุค 4.0 เพื่อให้สังคมพัฒนาได้อย่างยั่งยืน มีการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ

5. เอเชียดาวรุ่งสตาร์ทอัพ 

แนวโน้มการลงทุนในสตาร์ทอัพเริ่มมีการกระจายตัวในหลายประเทศ พบว่าในเอเชียมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2559 มีการลงทุนของนักลงทุนในสตาร์ทอัพมูลค่า 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

6. องค์กรขนาดใหญ่หันมาลงทุนในสตาร์ทอัพมากขึ้น

ในเอเชียมีการเติบโต 19% ในปี 2559 เพราะองค์กรใหญ่เริ่มมองเห็นถึงความสำคัญที่ต้องอาศัยนวัตกรรม แพชชั่น และความกล้าความเสี่ยงที่มีในตัวสตาร์ทอัพ ในขณะที่องค์กรใหญ่ไม่มี

7. สหรัฐฯ ประเทศแม่สตาร์ทอัพ

ประเทศที่เป็นอีโคซิสเท็มของสตาร์ทอัพยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา มี 6 เมืองที่ติด 10 อันดับที่มีสตาร์ทอัพมากที่สุด

8. ประเทศไทยยกระดับสู่ศูนย์กลางสตาร์ทอัพในอาเซียนแล้ว

ด้วยตัวเลขการระดมทุนที่เติบโต 10 เท่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้ ถ้าได้ภาครัฐสนับสนุนเพิ่มจะยิ่งสร้างการเติบโตขึ้นไปอีก

9. เสนอรัฐเพิ่มนโยบายดึงนักลงทุนต่างประเทศ 

ประเทศไทยต้องสร้างบรรยากาศที่น่าลงทุน เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ อย่างเช่น มีนโยบายสนับสนุน income tax, import tax ใช้สิทธิ์หักใช้จ่ายนักลงทุนและวีซ่า เป็นต้น

10. โอกาสของประเทศไทยยังมีอีกมากในเรื่องของสตาร์ทอัพและเทคโนโลยี

ในอนาคตแลนด์สเคปของตลาดโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงมาที่กลุ่ม ICASE ก็คือ อินเดีย จีน แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไทยอยู่ศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ย่อมมีโอกาสในการเติบโตสูง