นิตยสาร POSITIONING ร่วมกับ บริษัทนาโน เซิร์ช จำกัด สำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภค ในอีก 3 เดือนข้างหน้า (พฤศจิกายน 2551-มกราคม 2552) พบสัญญาณที่น่าเป็นห่วงสำหรับภาคเศรษฐกิจจริง ทั้งการท่องเที่ยว และการบริโภคสินค้า เพราะส่วนใหญ่กังวลปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองพอๆ กัน
จำนวนกว่าครึ่งบอกว่าวิกฤตเศรษฐกิจช่วงนี้ทำให้เกิดภาวะรายได้พอบ้างไม่พอบ้างกับค่าใช้จ่าย โดยสิ่งที่จะตัดเป็นอันดับต้นๆ คือ เลิกเที่ยวกลางคืน ปาร์ตี้ ส่วนใหญ่จึงเลือกช้อปปิ้งเพียงเดือนละครั้ง
สำหรับกลยุทธ์การตลาดที่โดนใจ ทำให้ตัดสินใจซื้อง่ายที่สุดคือการลดราคา และมีของแถม โดยยังคงเลือกซื้อสินค้าซื้อกลุ่มคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก และโทรศัพท์มือถือมากกว่าเสื้อผ้า
ด้านการท่องเที่ยว กว่าครึ่งบอกว่าไม่มีแผนท่องเที่ยว ส่วนที่เหลือก็เลือกท่องเที่ยวในประเทศมากกว่า โดยพร้อมใช้จ่ายเพียงคนละ 5,000-10,000 บาทเท่านั้น
กว่าครึ่งงดเที่ยวกลางคืน
ค่าใช้จ่ายที่คิดว่าไม่มีความจำเป็นในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน %
เที่ยวกลางคืน 55.5
ปาร์ตี้/สังสรรค์นอกบ้าน (รับประทานอาหารนอกบ้าน) 12.0
ซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ 7.0
ช้อปปิ้ง 6.0
ความงาม/ทำผม/สปา 6.0
ความบันเทิง ดูหนัง ดูคอนเสิร์ต 5.5
ซื้อบ้าน/คอนโด 4.5
เที่ยวต่างจังหวัด 2.0
หนังสือ/นิตยสาร 1.0
ตกแต่งบ้าน 0.5
61% โอดรายได้พอบ้างไม่พอบ้าง
ขอช้อปแค่เดือนละครั้ง
เงินพร้อมช้อปลดลง
กลยุทธ์เด็ด “ลดราคา” โดนใจสุด
กิจกรรมส่งเสริมการขาย %
1. ลดราคา 78.5
2. ให้ของแถม 11.5
3. สะสมแต้มแลกรางวัล 4.5
4. นำชิ้นส่วนหรือใบเสร็จรับส่วนลด 4.0
5. ชิงโชค/ลุ้นของรางวัล 1.5
มีแผนไม่มีแผนซื้อสินค้าพอๆ กัน
คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ก/มือถือ ยังแรง
ประเภทของสินค้าที่คาดการณ์หรือวางแผนในการเลือกซื้อในช่วง 3 เดือน %
คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ก 23.7
Mobile Phone 19.3
เครื่องแต่งกาย 12.3
เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน 9.6
เฟอร์นิเจอร์/ของแต่งบ้าน 8.8
บ้าน/คอนโด/ทาวน์เฮาส์ 8.8
Digital Camera 7.0
รถยนต์ 5.3
รถจักรยานยนต์ 2.6
Palm/PDA 0.9
รองเท้า 0.9
ทองคำ 0.9
กว่าครึ่งงดท่องเที่ยว ที่เหลือเกือบทั้งหมดเที่ยวในไทย
กังวลเศรษฐกิจ-การเมืองพอๆ กัน
ปัญหาที่เกิดขึ้น %
เศรษฐกิจ 38.0
การเมือง 37.0
ภัยสังคม/ความปลอดภัย 20.0
คุณภาพชีวิต 3.0
อาหารปนเปื้อนสารเมลามีน 2.0
เกี่ยวกับเมลามีน
กว่าครึ่งเลิกซื้อแบรนด์ที่เป็นข่าว
-จำนวนผู้ถูกสำรวจ 200 คน
-เพศชาย 51% และหญิง 49%
-อายุ
22 – 30 ปี 55.0%
31-40 ปี 34.0%
อายุมากกว่า 40 ปี 11.0%
-รายได้
รายได้ไม่เกิน 15,000 บาท 43.0%
รายได้ 15,000 – 20,000 บาท 13.5%
รายได้มากกว่า 20,000 บาท 43.5%
-อาชีพ
พนักงานบริษัทเอกชน 27.0%
ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 26.5%
คนที่ทำค้าขายทั่วไป ( แผงลอย/แม่ค้า/พ่อค้า) 17.0%
ธุรกิจส่วนตัว 16.0%