เมื่อเจ้าสัวขายเบียร์มาขายไก่ทอด จิ๊กซอว์ต่อยอดธุรกิจอาหาร “ไทยเบฟ” ยิ่งน่าจับตา

หลัง “ดีล” ยักษ์ใหญ่เครื่องดื่มท็อป 5 เอเชียชื่อ “ไทยเบฟ” ซื้อกิจการร้าน “เคเอฟซี” มูลค่า 1.13 หมื่นล้านบาท อะไรจะตามมา

ค่ำวันที่ 8 .. มีข่าวฮอต! สะเทือนธุรกิจอาหารบริการด่วน (Quick Service Restaurant : QSR) หลังบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประกาศซื้อกิจการร้านเคเอฟซีกว่า 240 สาขาที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันและที่กำลังสร้างใหม่ในประเทศไทย จากบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด

โดย “ดีล” ครั้งนี้ดำเนินการผ่านบริษัทลูกของไทยเบฟคือบริษัท เดอะคิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (คิวเอสเอ) ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออีกทอดหนึ่งของไทยเบฟ คือบริษัทฟู้ด ออฟ เอเชีย จำกัด อันเป็นบริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบธุรกิจอาหารให้กับเครือไทยเบฟนั่นเอง

คำถามความเห็นจำนวนมากเกิดหลังดีลว่าหมากรบเกมนี้ของไทยเบฟจะรุกอย่างไร ลองวิเคราะห์!

ไทยเบฟมียอดขายจากธุรกิจเครื่องดื่มมากกว่า 1.6 แสนล้านบาทต่อปี ธุรกิจอาหารมีเพียง โออิชิ ที่เป็นหัวหอกในการขับเคลื่อน มียอดขายไม่สูงมากนักประมาณ 3,000 กว่าล้านบาท ส่วนกำไรอยู่ระดับหลัก 40 ล้านบาท

แต่ธุรกิจ อาหาร” ต้องคู่กับ เครื่องดื่ม” เพื่อให้ธุรกิจมีความครบเครื่องสมบูรณ์ การเติมเต็มด้วย “จิ๊กซอว์” ใหม่ๆ จึงสำคัญ และการเข้าซื้อกิจการ (Acquisition) เป็นกลยุทธ์ของพ่อค้าเลือดมังกรอย่าง เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” ราชันย์น้ำเมาผู้ครองอาณาจักรไทยเบฟ

ในแต่ละปีไทยเบฟทำยอดขายเหล้าเบียร์มากกว่า 1.6 แสนล้านบาท กำไรหลัก หมื่นล้านบาท ควักเงิน 1.13 หมื่นล้านบาท จิ๊บๆ เพื่อแลกกับ ขุมทรัพย์” ทางธุรกิจ จากยอดขายและความแข็งแกร่งของ KFC เบอร์ 1 ไก่ทอด แถมนำมาต่อยอดให้กับธุรกิจเครื่องดื่มในสเต็ปต่อไปได้ จะเป็นน้ำอัดลม น้ำเปล่า ครันเชอร์ โกโก้ กาแฟ ไอศกรีม ล้วนมีความน่าสนใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร เพราะไม่มีใครทราบได้ว่า “เบื้องหลัง” และ “รายละเอียด” ของดีล และเคเอฟซีจะยังคงเป็นมาตรฐานการจำหน่ายสินค้าแบรนด์เดิม คงความต้นตำรับฉบับ KFC หรือเปล่า

แต่แน่ๆ ไทยเบฟและพ่วงบริษัทในเครือเช่นเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (เอฟแอนด์เอ็น) มีทั้งน้ำอัดลมเอส ชาเขียวโออิชิ ไอศกรีม และอีกมากมาย ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นที่พร้อมจะ เสียบแทน” สินค้าเดิมได้อยู่แล้ว อีกทั้งโครงสร้างราคาเครื่องดื่มที่จำหน่ายในร้านอาหารก็จะมี “ราคาสูง” กว่าจำหน่ายในช่องทางร้านขายปลีกทั่วไป เช่น น้ำอัดลมเป๊ปซี่ ขนาด 550 มิลลิลิตร (มล.) ราคาจะเริ่มต้นที่ 25 บาท แน่นอนว่า “แพง” กว่าร้านข้างนอก จะด้วยค่าเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าย่านชุมชน ค่าจ้างพนักงาน ต้นทุนต่างๆ ที่สูงกว่าก็ตาม

อีกนัยหนึ่งที่ไทยเบฟจะได้หลังซื้อกิจการร้าน KFC คือ ฐานผู้บริโภค” ได้เรียนรู้และเข้าใจความต้องการลูกค้าเชิงลึก (Insight) อย่างใกล้ชิดมากขึ้น ในการบริโภคอาหาร QSR ที่ไทยเบฟยังไม่เคยเข้าถึง ซึ่งนั่นสอดคล้องกับเอกสารเผยแพร่ข่าวที่ไทยเบฟร่อนออกมาชี้แจงเหตุผลถึงการซื้อกิจการครั้งนี้ว่า

จะช่วยไทยเบฟขยายสู่ธุรกิจอาหารและเข้าถึงไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันของผู้บริโภคในกลุ่มร้านอาหารบริการด่วนได้

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล

และ นงนุช บูรณะเศรษฐกุล” ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายธุรกิจอาหาร (ประเทศไทย) ของไทยเบฟ ก็กล่าวว่า การเข้าซื้อร้านสาขาเคเอฟซีเป็นมากกว่าโอกาสในการขยายธุรกิจอาหารของไทยเบฟ”

เพราะด้วยเครือข่ายอันกว้างขวางของ KFC ในประเทศไทย จะทำให้กลุ่มไทยเบฟสามารถ เข้าถึงลูกค้าจำนวนมากทั่วประเทศได้โดยตรง” เรียกว่า “ยิงกระสุนการตลาดไป” ก็คงจะตรง “เป้าหมาย” มากยิ่งขึ้น ไม่พอ เธอยังบอกว่า KFC จะทำทำให้เข้าถึงกระแสนิยมต่างๆ และอยู่ระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรมนี้ได้ และเป็นปัจจัยสำคัญมากในการสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

ด้าน QSA ซึ่งยกจุดแข็งด้านความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการร้านอาหาร จะช่วยทำให้กลับเข้ามารุกร้านอาหาร QSR อย่าง KFC อยู่ในจุดได้เปรียบในการเร่งขยายสาขาในประเทศเพิ่ม ข้อนี้ไม่ใช่แค่ความเชี่ยวชาญของ QSA แต่บริษัทแม่อย่างไทยเบฟก็มี ทุนมหาศาล” ที่จะตอบโจทย์การลงทุนขยายสาขา ไหนจะย้อนไปดูความพร้อมของบริษัทแม่ของไทยเบฟอีกขั้น ทีซีซี กรุ๊ป” ก็ครบครันทั้งธุรกิจห้างค้าปลีก บิ๊กซี, พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า, เกตเวย์ฯ ตลอดจนอาคารสำนักงานที่มี “พื้นที่” ให้ KFC สามารถไปเปิดสาขาได้

เราหวังว่าการเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และจะไม่มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มฝ่ายปฏิบัติการเท่านั้น แต่รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้วย

นงนุชกล่าว

การพัฒนา “ทรัพยากรบุคคล” มีความน่าสนใจตั้งแต่ตัว นงนุช” ที่เป็นอดีตผู้บริหาร ยัม เรสเทอรองตส์ฯ  เป็น ขุนพลการตลาด” แบรนด์พิซซ่า ฮัท มาก่อน วางกลยุทธ์รุกธุรกิจอาหารเป็นเวลานาน การทำงานร่วมกันระหว่างบ้านหลังใหม่กับหลังเก่า คงมีการ เรียนรู้” ยกระดับการทำงานระดับอินเตอร์ไปอีกขั้น

ก่อนที่นงนุชจะเข้ามานั่งเก้าอี้ กรรมการผู้จัดการ” บมจ.โออิชิ กรุ๊ป เธอได้รับหน้าที่จาก เจ้าสัวน้อย ฐาปน สิริวัฒนภักดี” ให้ซุ่มปลุกปั้นธุรกิจอาหารอยู่ระยะหนึ่ง เช่น ร้านโซอาเซียน ร้านอาหารหม่าน ฟู่ หยวน ฯลฯ  รวมถึงเป็น แม่ทัพ” ของ FOA ด้วย เพื่อสนองเจตนารมณ์ของฐาปนในการขยายธุรกิจอาหารที่ไม่ได้จำกัดแค่ “อาหารญี่ปุ่น” อีกต่อไป

ปี 2559 ที่ผ่านมา FOA ในเครือไทยเบฟ ยังร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท แม็กซิม กรุ๊ป ฮ่อง เปิดร้านเบเกอรี๋เบอร์ 1 จากฮ่องกง แบรนด์ “แม็ก เค้ก แอนด์ เบเกอรี” (mx cakes & bakery) ที่สยามพารากอน เป็นการเข้าสู่ตลาดเบเกอรี่มีมูลค่าตลาด 2.8 หมื่นล้านบาท

จิ๊กซอว์ เครื่องดื่มแสนล้าน” แกร่งครึ่งทางวิชั่นไทยเบฟ 2020 จิ๊กซอว์ตัวใหม่คือการเอาจริงกับ อาหารการกิน” แสนล้านบาทบ้าง

กินดื่ม ไปด้วยกันเป็นแพ็กเกจ ความมั่งคั่งจะไปไหนเสีย! ถ้าไม่อยู่ในมือเสี่ยเจริญ ผู้มีมูลค่าสินทรัพย์ประมาณ 5.8 แสนล้านบาท.