นีลเส็น ประเทศไทย ได้เปิดเผยถึง งบการใช้สื่อโฆษณาของ เดือนกรกฎาคม 2560 มีมูลค่ารวม 8,549 ล้านบาท ติดลบ 16.20 % เมื่อเทียบกับ เดือนกรกฎาคม 2559 ที่ใช้ไป 9,955 ล้านบาท
เม็ดเงินโฆษณาส่วนใหญ่ ยังใช้ไปกับทีวีอนาล็อก (ช่อง3,7 ) 3,262 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 39.33% แต่การใช้ลดลงต่อเนื่อง เดือนกรกฎาคม ติดลบ -24.01% เมื่อเทียบกับกรกฎาคม ปี 2559
ในขณะที่ใช้งบโฆษณาไปกับ ทีวีดิจิทัล 1,953 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 20.56% ลดลงจาก- 4.59% เมื่อเทียบกับมิถุนายน 59 ใช้ไป 1,949 ล้านบาท
เช่นเดียวกับสือส่วนใหญ่ ที่ใช้งบโฆษณาลดลง นิตยสารเหลือ 134 ล้านบาท ลดลงไปถึง 38.53 %เคบิลทีวี/ทีวีดาวเทียม 295 ล้านบาท ใช้ลดลง 7.81% เมื่อเทียบ กรกฎาคม 2559 วิทยุ 405 ล้านบาท ใช้ลดลง 14.01% หนังสือพิมพ์ 631 ล้านบาท ลดลง 20.03%
แม้แต่สื่อกลางแจ้ง (outdoor) ใช้ลดลง 533 ล้านบาท ติดลบ-4.82% อินเทอร์เน็ต 119 ล้านบาท ลดลง -11.19% เมื่อเทียบกับกรกฎาคม 59
สำหรับสื่อที่ใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้น มี 2 ชนิด คือ สื่อในโรงภาพยนตร์ 585 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.01% และสื่อในห้าง 80 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.15% เมื่อเทียบกับกรกฎาคม 59
หมายเหตุ
สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่(transit):มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdorr และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560
นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่นสื่อเคลื่อนที่(transit),ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี2559 เป็นต้นมา
อินเตอร์เน็ท – ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่อ อินเตอร์เน็ทโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ
สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ททั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจากDAAT
สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559
ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้างTesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น
ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง, สื่อเคลื่อนที่, และสื่อในห้าง
10 แบรนด์ใช้งบสูงสุดเดือน กรกฎาคม 60 ทีวีแข่งเดือด ช่อง 7 จัดเต็ม อัดเม็ดเงินโฆษณาอันดับ 1
สำหรับแบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2560 ผลปรากฎว่า อันดับ 1 เป็นของ สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ใช้โฆษณา 139 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเดือนกรกฎาคม ปี 59 ใช้ไป 89 ล้านบาท
อันดับ 2 ธนาคารออมสิน 81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ปี 59 ใช้ไป 43 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัทไทยประกันชีวิต 75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกรกฎาคม 59 ใช้ไป 1 ล้านบาท
อันดับ 4 เครื่องดื่มโค้ก 71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกรกฎาคม 59 ใช้ไป 44 ล้านบาท อันดับ 5
ยังคงเป็นของ โทรศัพท์มือถือ วีโว่ 59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกรกฎาคม 59 ใช้ไป 7 แสนบาท ตามมาด้วย อันดับ 6 โทรศัพท์มือถือออปโป้ 57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกรกฎาคม 59 ใช้ไป 5 ล้านบาท
อันดับ 7 เอไอเอส โมบาย ไลฟ์ 48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกรกฎาคม 59 ใช้ไป 12 ล้านบาท อันดับ 8 เทสโก้-โลตัส 47 ล้านบาท ลดลงจากกรกฎาคม 59 ใช้ไป 69 ล้านบาท
อันดับ 9 แชมพูสระผม เฮดแอนด์โชว์เดอร์ 46 ล้านบาท ใช้ลดลง จากกรกฎาคม 59 ใช้ไป 54 ล้านบาท อันดับ 10 บริษัท เทอร์เนอร์ บรอดแคสติ้ง เอเชียแปซิฟิค 45 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกรกฎาคมปีที่แล้วใช้เพียง 1 ล้านบาท
หมายเหตุ : ไม่รวม Classified, CD/DVD (Musical & Film Products), Government & Community Announce, Leisure, House ad
10 องค์กร ใช้โฆษณาสูงสุดเดือน ก.ค. 60
สำหรับ 10 อันดับ Advertisers หรือ องค์กรที่ใช้งบซื้อสื่อโฆษณาสูงสุดของเดือน กรกฎาคม 2560 นีลเส็น ประเทศไทย รายงานว่า บริษัท ยูนีลีเวอร์ (ไทย) ยังครองแชมป์ใช้งบโฆษณามาเป็นอันดับแรก 392 ล้านบาท แต่ใช้ลดลงจากเดือน กรกฎาคม ปีที่แล้วใช้ไป 531 ล้านบาท
อันดับ 2 บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) หรือ พีแอนด์จี 171 ล้านบาท (ก.ค 59 ใช้ไป 223 ล้านบาท) อันดับ 3 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) 141 ล้านบาท (ก.ค. 59 ใช้ไป 137 ล้านบาท)
อันดับ 4 สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 139 ล้านบาท (ก.ค 59 ใช้ไป 102ล้านบาท) อันดับ 5 โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 133 ล้านบาท (ลดลงจากปี 59 ใช้ไป 166 ล้านบาท) อันดับ 6 สำนักนายกรัฐมนตรี 127 ล้านบาท (ก.ค 59 ใช้ไป 108 ล้านบาท)
อันดับ 7 บริษัท ตรีเพชร อีซูซุ 110 ล้านบาท (ก.ค. 59 ใช้ไป 107 ล้านบาท) อันดับ 8 บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) 104 ล้านบาท (ก.ค. 59 ใช้ไป 105 ล้านบาท) อันดับ 9 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ 100 ล้านบาท (ก.ค. 59 ใช้ไป 77ล้านบาท ) อันดับ 10 บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) 89 ล้านบาท (ก.ค. 59 ใช้ไป 175 ล้านบาท)