คนไทยชอบกิน ฟู้ดดีลิเวอรี่โตแรง 2.6 หมื่นล้าน Uber Eats ส่งแล้ว 1 ล้านจานใน 1 ปี

เปิดให้บริการมาครอบ 1 ปีเต็ม Uber Eats มียอดจัดส่งทะลุ 1 ล้านเสิร์ฟ ตั้งเป้าให้บริการครอบคลุมทุกเขตทั่วกรุงเทพฯ ภายในสิ้นปีนี้ ยึดหลักเมนูที่หลากหลาย ถูกและแพง 30 บาทต่อครั้ง

ศิริภา จึงสวัสดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย,Uber ให้รายละเอียดว่า Uber Eats เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2014 ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา สำหรับในประเทศไทยเปิดบริการที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองลำดับที่ 5 ในเอเชีย ต่อจากสิงคโปร์ โตเกียว ฮ่องกง และไทเป

1 ปีที่ผ่านมา อูเบอร์อีท มีร้านอาหารเริ่มต้นอยู่กว่า 100 ร้าน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1,300 ร้าน ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 30 กว่าเขตในกรุงเทพฯ และตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปี 2018 นี้จะครอบคลุมทุกเขต100% รวมถึงขยายไปยังบางพื้นที่ของปริมณฑล เช่น นนทบุรี และสมุทรปราการ

เมนูยอดนิยมตลอด 1 ปีของ Uber Eats คือก๋วยเตี๋ยว ยอดจัดส่งตลอด 1 ปีเกิน 100,000 ชาม อันดับ 2 คือเบอร์เกอร์ 40,000 ชิ้น อันดับ 3 คือส้มตำ


ที่ผ่านมาความนิยม Uber Eats มาจาก ความสะดวก ความง่ายในการใช้บริการ  ไม่มีกำหนดอัตราอาหารขั้นต่ำ ราคาที่สั่งมีตั้งแต่ 8 บาท ถึง 2,000 บาท ช่วยดึงดูดให้ผู้บริโภคสามารถสั่งอาหารได้ทุกมื้อ ทุกวัน รวมถึงอัตราค่าส่งที่ถือว่าที่ถูกกว่าคู่แข่ง โดยคิดค่าบริการค่าส่งครั้งละ 30 บาท (flat rate) โดยขณะนี้ยังชำระได้เฉพาะบัตรเครดิต แต่อนาคตจะเพิ่มช่องทางชำระเงินให้มากขึ้น

“Uber Eats ช่วยทลายข้อจำกัดที่จากเดิมผู้บริโภคสั่งอาหารได้แต่ในพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้สามารถเลือกร้านอาหารที่อยู่ไกลกว่าเดิมได้ โดยปัจจุบันกำหนดรัศมีการสั่งไว้ที่ 5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่คิดว่าเหมาะสมกับความสดใหม่และคุณภาพของรสชาติอาหารแล้ว”

เป้าหมายปีนี้ของ Uber Eats ต้องการจะทำคือ “ทุกมื้อทุกวัน” เป็นตัวเลือก เน้นให้บริการ “ทุกที่” นอกจากขยายให้ทั่ว กทม. รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและข้อมูล ทั้งในมุมลูกค้าที่จะได้รับแนะนำอาหารที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่ลูกค้าชอบ และมุมของร้านค้าที่จะเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

นอกจากลูกค้าแล้ว ที่ต้องสร้างการรับรู้มากขึ้นว่า ส่งได้ทุกระดับราคาแล้ว ในฟากของร้านค้า Uber Eats จูงใจให้เข้ามาเป็นพันธมิตร ด้วยความช่วยเหลือในการขยายช่องทางจัดจำหน่าย บริหารการเชื่อมโยงกับลูกค้า และให้ข้อมูลเพื่อช่วยทำให้ร้านอาหารนำไปวางแผนกลยุทธ์ หรือปรับปรุงทั้งในเรื่องของรสชาติและการบริการ

เธอ ยกตัวอย่าง ร้านทำยอดขายเพิ่มขึ้นจากการเป็นพันธมิตรกับ Uber Eats  เช่น ร้านข้าวหมูแดงสีมรกต มียอดขายต่อเดือนเพิ่มขึ้นราว 80,000-100,000 บาท ทั้งจากลูกค้ากลุ่มใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศในละแวกร้าน หรือชาวต่างชาติ ส่วนร้านแดเนียล ไทเกอร์ ก็มียอดขายต่อสัปดาห์เพิ่มขึ้น 30-40% เป็นต้น

โดยพันธมิตรผู้ส่งสินค้ากับ Uber Eats จะได้รับค่าตอบแทนตามระยะทาง ค่ารับอาหาร และค่าจัดส่งตามจริง

สำหรับธุรกิจบริการส่งอาหารถึงบ้านกำลังมาแรง จากข้อมูลของยูโรมอนิเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า ธุรกิจบริการดีลิเวอรี่-เทคอะเวย์ (ซื้อที่ร้านแล้วนำกลับบ้านเอง) ในประเทศไทย มีมูลค่าสูงถึง 26,000 ล้านบาทในปี 2017 ที่ผ่านมา

สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตมากในไทย ผู้บริโภคใช้สมาร์ทโฟนกันอย่างแพร่หลาย เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทั่วประเทศ บวกกับสภาพการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพฯ ปัญหาการหาที่จอดรถยาก ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น จากเดิมที่มักจะเลือกกินในร้านอาหารที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้ๆ กับที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน

ไม่ใช่แค่ผู้เล่นรายใหญ่ เช่น เชนฟาสต์ฟู้ดเท่านั้นที่ให้บริการดีลิเวอรี่ ร้านอาหารรายย่อยร่วมมือกับ Third party อย่างผู้บริการจัดส่งอาหารออนไลน์ที่มีอยู่หลายราย ส่งผลให้ตลาดนี้มีการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะได้ประโยชน์ จากตัวเลือกที่หลากหลาย ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่อาหารไม่กี่ประเภท จากไม่กี่เชน

คู่แข่งของ Uber ในธุรกิจ Car Sharing อย่าง Grab ก็เพิ่งส่ง GrabFood สู้ศึกเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2017 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีผู้เล่นซึ่งเป็น Third party ในตลาดนี้อยู่แล้วอย่าง Food Panda และ LINE MAN (ร่วมมือกับ Wongnai.