เศรษฐกิจตกไม่เป็นไร ขอสวยไว้ก่อน

เศรษฐกิจขาลงแบบนี้ สินค้าอื่นอาจโดนกระทบ แต่ธุรกิจความงามไม่เคยตกเทรนด์ อะไรคือสาเหตุหลัก มา เจาะลึกพฤติกรรมสาวไทย กับการช้อปผลิตภัณฑ์ความงาม การตลาดแบบไหนจึงโดนใจสาวนักช้อป ช่องทางขายอย่างไหนจะมาแรง ซื้อในห้าง และในโลกไซเบอร์ ต่างกันอย่างไร ใครที่สนใจของสวยๆ งามๆ ต้องไม่พลาด ทุกข้อสงสัยมีคำตอบ

บ๊ายบาย สินค้า Luxury ชดเลยด้วยเครื่องสำอาง

ผลวิจัยของมายด์แชร์ ศึกษาพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของผู้หญิงไทยอายุ 18-35 ปี จำนวน 40 คนในเชิงลึกที่น่าสนใจหลายแง่มุม พบว่า ในยุคเศรษฐกิจไม่เป็นใจ ผู้หญิงยังต้องการช้อปปิ้งเพื่อเติมเต็มความสุขอยู่ แต่ระวังมากขึ้น โดยเฉพาะกับสินค้าประเภท Luxury Brand จำพวกกระเป๋า รองเท้า หรือแม้กระทั่งสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างรถยนต์ อาจงดเว้นได้ แต่พวกเธอกลับเลือกที่จะใช้ “ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม” ซึ่งพวกเธอมองว่าเป็น “Everyday Luxury” เป็นทางออกของอารมณ์อยากช้อป

“เครื่องสำอางชิ้นละไม่กี่ร้อยไปจนถึงหลักพัน เป็นการปลดปล่อยอารมณ์และเติมเต็มความสุขให้กับผู้หญิงได้ แม้จะต้องเก็บเงินก้อนใหญ่ไว้ ไม่ใช้จ่ายในกระเป๋าแบรนด์เนมหรู หรือออกรถคันใหม่ เพราะพวกเธอจะคิดมากขึ้นในใช้จ่ายเงินจำนวนมาก เนื่องจากเจอข่าวลบทั้งเศรษฐกิจ การเมือง ทุกวัน แม้เงินในกระเป๋าจะไม่ได้ลดลงก็ตาม” วรดา วรอาคม ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนธุรกิจ ของมายด์แชร์ บอก

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเจนว่า จะไม่ Sensitive กับโปรโมชั่น โดยที่ Impluse Purchase หรือการซื้อที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้ามาก่อนจะลดน้อยลง รวมถึงการมองหาวิธีการซื้อที่จะทำให้จ่ายเงินน้อยลง เช่น ฝากซื้อไม่ต้องเดินทาง สั่งซื้อออนไลน์ รวมถึงการ Trade Down หรือลดระดับลงมาใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อความงามที่มีราคาถูกลงแต่จะพยามยามรักษา Brand Image ให้ใกล้เคียงกับแบรนด์ที่เคยใช้ โดยยังเชื่อมโยงกับคาแร็กเตอร์ของตัวเองไว้ได้เหมือนเดิม ซึ่งพฤติกรรม Trade Down นี้พบเห็นได้มากในเครื่องสำอาง โดยเฉพาะพวกยาทาเล็บ ลิปสติก เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ Low Risk, Low Involement กับผิว”

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ความงามของผู้หญิงอันดับแรก คือ Word-of-Mounth ทั้งในเพื่อนบอกต่อกับเพื่อน หรือในเวบบอร์ดและบล็อกต่างๆ

ขณะที่ Consumer Perception ของผู้หญิงเกี่ยวกับสกินแคร์ คือ “ยิ่งแพง ยิ่งดี” และผู้หญิงจะมี Brand Loyalty ต่อสกินแคร์สูงมาก เพราะเป็นเรื่องของผิวพรรณซึ่งหากใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีเหมาะกับผิวตัวเองอยู่แล้ว โอกาสที่จะทดลองแบรนด์ใหม่ยากมาก เนื่องจากกลัวว่าจะเกิดอาการแพ้ได้

ดูความแตกต่างในมุมมองของผู้หญิงกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือ Color บ้างเรียก Make up กับผลิตภัณฑ์ถนอมผิวหรือ Sin Care จากตารางข้างล่าง

Category/Mindset/Ambition/Consideration

Make up/สนุกสนาน ประสบการณ์สร้างสรรค์/ช่วยเติมแต่งให้สวยงามขึ้น ตื่นตาตื่นใจกับแพ็กเกจจิ้งแปลกๆ ใหม่ๆ /แบรนด์จะต้องเข้ากับคาแร็กเตอร์ของตัวเอง เช่น ถ้าเป็นสาวเปรี้ยวก็จะชอบ M.A.C ส่วนผลิตภัณฑ์ต้องสามารถสร้างความประทับใจในทันทีเมื่อแรกเห็น

Skin Care/กลัวไม่กล้าที่จะใช้ของใหม่จึงนิยมใช้แบรนด์ที่คุ้นเคย/ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิว/ แบรนด์จะต้องสร้างความเชื่อมั่นด้วยการใช้งานที่เห็นผล

สาวๆ เขาฮิตทำอะไรกันในโลกออนไลน์
1. Preview ของว่าซื้อสินค้าใหม่อะไรบ้าง โลกออนไลน์เปิดโอกาสให้พวกเธอได้ “อวดของ” ได้อย่างอิสระเต็มที่ บางรายถึงกับโชว์สลิปใบเสร็จก็มี
2. Review แสดงขั้นตอน Before และ After สาธิตวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อความงามที่ซื้อมา เช่น ขั้นตอนการลงรองพื้น ขั้นตอนการเขียนคิ้ว กรีดตา เป็นต้น
3. How-to แสดงให้เห็นวิธีการใช้ของผลิตภัณฑ์เพื่อความงามที่ถูกวิธี
4. Problem-Solution ถกกันถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม จุดดี จุดด้อย แจงกันให้เห็นเป็นฉากๆ เพราะสังคมออนไลน์สามารถตอบโจทย์สิ่งที่ไม่ได้จากจุดขาย ซึ่งนำเสนอแต่ข้อมูลด้านบวก

สำหรับข้อมูลในนิตยสารแฟชั่นและความงามต่างๆ จะเป็นเพียง Standard Information สำหรับพวกเธอเท่านั้น แต่พวกเธอจะไปแสวงหาข้อมูลเชิงลึกในโลกออนไลน์ทั้งจากเว็บบอร์ดและบล็อกต่างๆ ที่พวกเธอเชื่อมั่นว่าจะได้ข้อมูลที่แท้จริงจากผู้ที่เคยทดลองใช้มาก่อนแล้ว

“ได้แชร์ประสบการณ์จริงของตัวเองกับคนอื่น แลกเปลี่ยนและรับฟัง เพื่อประกอบการตัดสินใจต่อไป หากผลิตภัณฑ์ใดเจอคำวิจารณ์จากหลายๆ คน ก็อาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและยอดขายได้”

ดังในบอร์ด เกิดยิ่งกว่าเกิด

“The Rise of Hidden Stars” นี่คือปรากฏการณ์ที่ทวีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หลากหลายแบรนด์ที่แจ้งเกิดในโลกออนไลน์ด้วยกระแสปากต่อปาก และโด่งดังทั้งๆ ที่ยังไม่มีจำหน่ายอย่างเป็นทางการในเมืองไทย การ “หิ้ว” จากต่างประเทศจึงเกิดขึ้น ตั้งแต่ Skinfood รวมถึง Etude แม้ปัจจุบันทั้ง 2 แบรนด์จะมีจำหน่ายในไทยมาแล้วหลายปี แต่ก็ยังมีการหิ้วจากเกาหลีเข้ามาอยู่มาก เนื่องจากปัจจัยด้านราคาที่ถูกกว่าในเมืองไทย

นอกจากนี้ยังรวมถึงแบรนด์อย่าง Laura Mercier ที่ฮิตในบอร์ด ตั้งแต่ก่อนจะเดินทางถึงเมืองไทยเสียอีก

“จะมีกลุ่ม Trend Setter ที่ติดตามข่าวสารความงามจากเว็บบอร์ดเมืองนอก นำมาบอกเล่า รวมถึงกลุ่มที่ใช้ชีวิตอยู่เมืองนอกแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่กำลังฮอตให้เพื่อนๆ ในเว็บบอร์ดหรือในบล็อกได้รับรู้กัน จากนั้นก็จะเกิดกระแสการ ฝากซื้อ-ซื้อฝาก รวมถึงการสั่งซื้อแบบ E-commerce ตามมา”

Lush Bubble Bar แบรนด์สบู่เพื่อความงามจากอังกฤษ เป็น Bath Bomb ใส่ในอ่างอาบน้ำแล้วจะละลายให้ความหอมกลิ่นต่างๆ รวมถึงรูปร่างแปลกแหวกแนวแต่โดนใจ อีกทั้งการตั้งชื่อเพื่อกระตุ้นสัมผัสให้อยากทดลอง เช่น สบู่ Ooh La La เป็นต้น และผลิตภัณฑ์แนวกันนี้แต่เป็นสครับที่ขึ้นชื่อไม่แพ้กันคือ An Isle of Eden

ปัจจุบันแบรนด์ใหม่ๆ ที่ดังในบอร์ดและบล็อก และเริ่มมีการ ฝากซื้อ ฝากหิ้วกันแล้ว มีหลายแบรนด์ เช่น Kanebo Milano แป้งฝุ่นอัดแข็งที่จำหน่ายปีละครั้งในญี่ปุ่น และยังต้องสั่งซื้อล่วงหน้าหลายๆ เดือน Jill Stuart เด่นในเรื่องอายแชร์โดว์ บลัชออน เป็นต้น

คาดว่าอีกไม่นานจะกระโจนออกมาจำหน่ายในไทยอย่างแน่นอน

ศัพท์เฉพาะในโลกออนไลน์แต่ใช้ซื้อขายจริง

คนกลุ่มนี้จะมีศัพท์เฉพาะในเว็บบอร์ด โต๊ะเครื่องแป้ง ของ pantip.com แต่เมื่อนำไปใช้ในการพูดคุยทั่วไป หรือซื้อขายกันตามห้างสรรพสินค้าและร้านเพื่อความงามต่างๆ ก็เป็นที่เข้าใจตรงกันได้

“LM” คือ ชื่อย่อของเครื่องสำอาง Laura Mercier แบรนด์ดังจากฝรั่งเศส

“แป้งน้ำศิริราช” หมายถึง Lotion P. No 1 ซึ่งผลิตโดยแผนกเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช ขึ้นชื่อในเรื่องของการลดสิว และกระชับรูขุมขนบนใบหน้า

“แป้งป่าตอง” หมายถึง แป้งเกาหลีแบรนด์ Palgantong

“ม้าโยก” หมายถึง แป้งเกาหลีแบรนด์หนึ่งมีโลโก้เป็นรูปม้าโยก

ขณะที่แบรนด์ไทยอย่างมิสทีนก็มีแฟนคลับในโต๊ะเครื่องแป้งจำนวนมากเช่นกัน ศัพท์เฉพาะที่เข้าใจตรงกันจะเรียกเป็นชื่อผลิตภัณฑ์บวกกับพรีเซ็นเตอร์ เช่น แป้งรุ่นอั้ม (พัชราภา) มาสคาร่ารุ่นปู (ไปรยา) เป็นต้น

10 “เทรนด์ความงาม” ที่ต้องจับตาในปี 2552

ความภาคภูมิใจแบบเอเชี่ยน เทรนด์ Asian Pride นี้เป็นผลมาจากความดังของบันเทิงเกาหลีที่อยู่คู่สังคมไทยมาเกือบทศวรรษแล้ว รวมทั้งวัฒนธรรมอันรุ่มรวยของญี่ปุ่น กระทั่งความอหังการของจีนทำให้แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์เพื่อความงามก็พลอยได้อานิสงส์จากความภาคภูมิใจแบบเอเชี่ยน

วัตสัน เกาะติดเทรนด์นี้อย่างจริงจัง ด้วยการนำเครื่องสำอางจากเกาหลีและญี่ปุ่นมาเสริมทัพอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบรับกระแสนี้ เช่น แป้งทาหน้า Pagantong จากเกาหลี ที่กำลังได้รับความนิยมของสาวๆ ในบอร์ด โต๊ะเครื่องแป้ง pantip.com เป็นต้น

BB Cream เป็นนวัตกรรมจากเกาหลี ย่อมาจาก Blemish Balm Cream เป็นครีมช่วยปรับสภาพสีผิวหน้า มีส่วนผสมของเบจและรองพื้นในตัว ว่ากันว่าใช้แล้วจะหน้าเนียน เด้ง ภายในขั้นตอน เครื่องสำอางจากเกาหลีและไทยหลายแบรนด์ ออกผลิตภัณฑ์ BB Cream วางจำหน่าย

ความฮิตฮอตของ BB Cream เข้าไปเกาะกุมหัวใจสาวไทยอย่างรวดเร็ว มิสทีนถึงกับออกโฆษณาขอโทษผู้บริโภคว่า BB Cream ที่มิสทีนนำเข้ามาจำหน่ายนั้นขาดตลาดชั่วคราว ล่าสุดคิวท์เพรส ไม่ตกเทรนด์ออกผลิตภัณฑ์ใหม่แป้งคิวท์เพรส BB Cream ลงสู่ตลาด พร้อมใส่ความเป็นสาวเกาหลีสวยใสไว้ในโฆษณาแบบเต็มๆ

ต้องอิงธรรมชาติและชีวิตสีเขียว เป็นเทรนด์ที่มาจากกระแสตื่นตัวในการรักษ์โลก และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เครื่องสำอางทั้งสกินแคร์และคอสเมติกที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ จึงเป็นกระแสที่มาแรงยิ่งกว่าเคย

ดังนั้น กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อความงามที่ทำจากธรรมชาติ น่าจะได้รับผลบุญมากที่สุด เช่น Jurlique
The Body Shop เป็นต้น ขณะที่เครื่องสำอางก็เริ่มเห็นเทรนด์การทำ Mineral Make up หรือที่เรียกกันว่า MMU เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแร่ธาตุ มาใช้เป็นส่วนผสมเพื่อป้องกันการแพ้จากเครื่องสำอาง เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่ไม่นิยมแต่งหน้าหันมาแต่งหน้ากันมากขึ้น

การผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์และความงาม โดยเทรนด์ Marriage of Science and Beauty ช่วยทำให้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อความงามเติบโต ด้วยการผสานระหว่างเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ต่างๆ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้หญิงที่ต้องการพัฒนาความงามของตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง

กระตุ้นสัมผัส เร้าความรู้สึกของความเป็นผู้หญิง ไม่เฉพาะความสวยงามเท่านั้น เธอยังมองหาประโยชน์จากผลิตภัณฑ์เพื่อความงามจากแพ็กเกจจิ้ง สีสัน กลิ่น รวมถึงชื่อของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผ่อนคลายและรู้สึกว่าได้ปลดปล่อยจากความเครียดในชีวิตประจำวันทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว เพราะนี่คือ Feminine Sensuality

ร้านสวย เคาน์เตอร์แจ่ม เป็นสิ่งที่สาวๆ มองหา Beauty Shop ที่สวยงามและเคาน์เตอร์เครื่องสำอางที่ตกแต่งทันสมัย ไม่พิธีรีตอง และให้ความรู้สึกเป็นกันเอง เป็น Brand Space ที่เปรียบเสมือน Third Place ของพวกเธอ และนั่นจะทำให้พวกเธอใช้เวลาอยู่ ณ จุดขายมากขึ้น รวมถึงมีโอกาสในการจับจ่ายมากขึ้นด้วย ซึ่งแบรนด์ญี่ปุ่นและเกาหลีทำได้ดี เช่น ETUDE รวมถึงแบรนด์ฝรั่งเศสอย่าง Kiehl’s ของค่ายลอรีอัล ที่ขึ้นชื่อในเรื่องช้อปเด่น เป็นต้น

Brand Space VS Consumer Space
(พื้นที่ของแบรนด์ที่ใส่ทุกอณูความเป็นแบรนด์ (พื้นที่ที่ผู้บริโภคเป็นใหญ่ แบรนด์จะถูกตีแผ่
เพื่อให้ผู้บริโภคประทับใจและเกิดพฤติกรรมตอบ วิพากษ์วิจารณ์กันตามเหตุผลความเป็นจริง)
สนองในด้านต่างๆ ที่เป็นบวก โดยในพื้นที่นี้แบรนด์
จะทำหน้าที่ Leading Role)
Channels นิตยสาร ภาพยนตร์โฆษณา Word-of-Mounth
จดหมายจากบัตรเครดิต สังคมออนไลน์
โบรชัวร์ แค็ตตาล็อก ร้าน เคาน์เตอร์
Role เป็นแหล่งข้อมูล มีความคล้ายคลึงกัน แต่มีข้อจำกัดในแง่ของการปฏิสัมพันธ์ มีอิสระในการเลือกสรร และมีความน่าเชื่อถือเพราะเป็นข้อมูลจากผู้บริโภคด้วยกันเอง

พฤติกรรมการเปิดรับสินค้าความงามของผู้หญิงต่างวัย

Aging
จะหยุดนิ่ง ไว้วางใจกับแบรนด์ใดแล้วไม่เปลี่ยนง่ายๆ ไม่นิยมทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ มองว่า WOM เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อถือ

Young
ลองของใหม่ ไปเรื่อยๆ แสวงหาประสบการณ์ ชื่นชอบ ของใหม่ใครว่าดีขอให้บอก ลองเลย เชื่อ WOM โดยเฉพาะจากเพื่อนสนิทหรือผู้เชี่ยวชาญในโลกออนไลน์

สาวต่างวัยก็มีนิยามความงามแตกต่างกัน มาดูกันว่าสาว 3 ช่วงอายุต่อไปนี้ พวกเธอมองความงามในรูปแบบใดกันบ้าง

Sweet 17 สาววัยรุ่น ชีวิตคือการโลดโผน ตื่นตากับโลกใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา แต่กระนั้นยังคงค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตัวเองอยู่ มีความรู้สึกอยากโดดเด่นในกลุ่มเพื่อนแต่ขณะเดียวกันก็ต้องการกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มด้วย

20 Something ชีวิตก้าวเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงจากนักศึกษาสู่โลกทำงาน มีนิยามความงามคือ “สวยเก๋ภูมิฐาน” มีสไตล์ของตัวเองแต่ก็ต้องการดูสมาร์ทเพื่อการยอมรับจากสังคมการทำงาน

ing on 30 ผ่านร้อนผ่านหนาวจนเตรียมขึ้นวัยเลข 3 ความนึกคิดของเธอเริ่มเปลี่ยนไป มองโลกในแบบ Realistic มากขึ้น Beauty from within หรือ สวยจากภายใน คือสิ่งที่พวกเธอยอมรับและปรับใจ

พฤติกรรมสาวๆ ใน 3 ช่องทาง : เคาน์เตอร์แบรนด์-ซูเปอร์มาร์เก็ต / โมเดิร์นเทรด

เมื่อสาวๆ ไปเลือกเครื่องสำอางที่เคาน์เตอร์แบรนด์ พวกเธอมีอารมณ์ความรู้สึกอยู่ใน “Shopping” Mode ขณะที่ “Grocery Mode” เหมือนกับการเลือกซื้อของใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป ไม่ได้รู้สึกถึงความรื่นรมย์

แต่เคาน์เตอร์แบรนด์มักประสบปัญหา BA หรือ Beauty Assistant ที่กลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค การปรับท่าทีการให้บริการของ BA จึงเป็นสิ่งที่ทุกแบรนด์พึงกระทำ

เคาน์เตอร์แบรนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต / โมเดิร์นเทรด
รู้สึกผ่อนคลายและเร้าอารมณ์ เข้าไปเลือกๆ แล้วซื้อเลย แต่อาจมีอารมณ์
เปิดประสบการณ์ที่สนุกสนาน ผ่อนคลายกว่าการซื้อของใช้ทั่วไป เช่น ผง
ซักฟอก น้ำยาล้างจานอยู่บ้าง
ได้ทดลองผลิตภัณฑ์ จากแพ็กเกจจิ้งที่ดูใหม่ สะอาด ผลิตภัณฑ์ทดลองไม่น่าใช้ ดูเกรอะกรัง
มีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้เลือกตามสภาพผิว ส่วนใหญ่เลือกเอง ไม่ค่อยมีคนให้ข้อมูลหรือไม่
แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้จะถูกต้องหรือไม่
รู้อยู้แล้วว่าราคาแพง จึงต้องการบริการที่ดี ไม่ได้คาดหวังหรอกว่าจะมีบริการที่ดีหรือคุณภาพ
จะเลอเลิศ สนใจเรื่องราคาเป็นสำคัญ
มีข้อมูลมากมายที่น่าสนใจให้ศึกษาและสอบถาม มีเวลาที่จะสนใจศึกษานะ แต่ข้อมูลก็น้อยเหลือเกิน
แต่ติดปัญหาที่ BA ส่วนใหญ่ชอบทำสวย เริ่ด เชิ่ด หยิ่ง และยังหาคนมาคอนวินซ์แทบไม่มี
และมักจิกมองด้วยสายตาดูถูกหา เข้าไปสอบถามแล้วไม่ซื้อ

ผลสำรวจ Beauty Survey ล่าสุดของ Google ที่จัดทำขึ้นโดย Media-Screen และ GMI รายงานพฤติกรรมออนไลน์ของผู้หญิงที่เป็นผู้ใช้งาน Google 300 คนทั่วโลก เกี่ยวกับความงาม พบตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้

ผู้หญิงกับความงาม เกี่ยวอะไรกันในโลกออนไลน์
73% ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม
67% ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อความงามจากห้างสรรพสินค้าหลังค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
65% เปรียบเทียบราคาของผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม
65% มาดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อความงามที่เพิ่งออกใหม่
60% ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อความงามจากอินเทอร์เน็ต
43% กลับไปยังเว็บไซต์ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม
1% อื่นๆ

ผลิตภัณฑ์ที่นิยมค้นหาและซื้อในอินเทอร์เน็ต
78% Skin Care
64% Hair Care
58% น้ำหอม
55% เครื่องสำอาง
1% อื่นๆ