ซีพี เดินเกมรบธุรกิจร้านกาแฟ ส่ง ”กาแฟมวลชน” ลุยตลาด “คอนวีเนียน คอฟฟี่” ปูพรมเปิดสาขาทุกไซส์-ขายแฟรนไชส์ 2 ปีต้องมี 3 พันแห่ง

ด้วยมูลค่าตลาดกาแฟกาแฟนอกบ้าน 26,000 ล้านบาท ครองสัดส่วน 41% ถึงจะเป็นรองกาแฟในบ้าน แต่มีอัตราเติบโต 8% ในจำนวนนี้เป็นร้านกาแฟทั้งที่เป็นเชนและไม่ใช่เชน 17,000 ล้านบาท เติบโตถึง 15.7% (ข้อมูลจากเนสท์เล่)

ตลาดที่โตเอาๆ แบบนี้ จึงเป็นที่หมายตาของผู้เล่นอย่าง ซีพี ที่หวังจะเข้ามาชิงตลาด ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ เพราะมีทั้งแบรนด์ไทยและแบรนด์นอกปักหลักอยู่ในตลาด โดยเฉพาะคู่แข่งที่กำลังมาแรง อย่าง อเมซอน ที่บุกขยายนอกปั๊มน้ำมัน ปูพรมขยายสาขา ดักลูกค้าทั้งในห้างสรรพสินค้า แหล่งชุมชน ทุกไซส์ทุกขนาด

ซีพี พยายามส่งแบรนด์ร้านกาแฟออกมาลุยตลาด ทั้งออลล์ คาเฟ่ (All Cafe) “ออลล์ คาเฟ่ โกลด์” (All Cafe Gold) คัดสรร ขายในร้านเซเว่นฯ ที่มีมากกว่าหมื่นสาขา เป็นตัวช่วยในการขยายตลาด และยังแตกแบรนด์ อาราบิเทีย และ จังเกิ้ลคาเฟ่ ออกมาเจาะตลาดวัยรุ่น คนทำงาน

แต่ที่ต้องจับตา คือ “ร้านกาแฟมวลชน” ที่กำลังเป็น “หัวหอก” สำคัญในการขยายตลาดร้านกาแฟนอกเซเว่นฯ ด้วยการลุยขยายสาขาไปทั่วเมือง ผ่านโมเดลร้านทุกรูปแบบ และการขายแฟรนไชส์ ภายใต้เป้าหมาย 2 ปี ต้องมี 3 พันสาขา

ถอดรหัสที่มา ร้านกาแฟมวลชน

จุดเริ่มของร้านกาแฟมวลชน มาจากต้องการ “แก้ปัญหา” ให้ลูกค้า ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนให้กับ ซีพี รีเทลลิงค์ ธุรกิจขายเครื่องชงกาแฟ ต้องเปลี่ยนบทบาทจากธุรกิจที่อยู่เบื้องหลังมาอยู่เบื้องหน้า เพื่อแก้โจทย์ธุรกิจให้กับลูกค้าที่ซื้อเครื่องชงกาแฟของบริษัทฯ ไปแต่มีผลประกอบการไม่ค่อยดีนักหรือทำธุรกิจไม่สำเร็จถึง 80%

ซีพี รีเทลลิงค์ จึงเปิดอบรมการทำธุรกิจกาแฟให้กับลูกค้า ช่วยให้ลูกค้าทำธุรกิจได้ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจร้านกาแฟมวลชนขึ้นมา เพื่อเป็นการทดสอบองค์ความรู้ และเรียนรู้ธุรกิจกาแฟในสมรภูมิอย่างรอบด้าน

จากนั้น ซีพี รีเทลลิงค์ จึงเปิดอบรมการทำธุรกิจร้านกาแฟให้กับประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ แล้ว มีผู้ผ่านการอบรม 84 รุ่น รวมกว่า 8,700 คน ขยายผลสร้างการรับรู้และภาพลักษณ์ ควบคู่ไปกับการขยายร้านกาแฟมวลชน เพิ่มขึ้นเป็น 27 สาขา จนกระทั่งเมื่อปี 2560 จึงมีแผนขยายธุรกิจอย่างจริงจัง ส่งผลให้ร้านกาแฟมวลชนขยายตัวอย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 160 สาขาในปัจจุบัน โดยในจำนวนนี้เป็นแฟรนไชส์กว่า 10 สาขา

ขณะเดียวกัน เมื่อเปิดร้านมากขึ้น จะช่วยผลักดันให้ยอดขายเครื่องชงกาแฟเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จนมีส่วนแบ่งตลาด 55%-60% เป็นอันดับหนึ่งในตลาด

นริศ ธรรมเกื้อกูล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ จำกัด ย้ำว่าเนื่องจากจุดเริ่มต้นของร้านกาแฟมวลชนไม่ได้มุ่งเรื่องธุรกิจอย่างจริงจังตั้งแต่แรก จึงไม่ได้ยึดเรื่องกำไรและขาดทุนเป็นหลัก แต่เน้นการทำธุรกิจควบคู่ไปกับความยั่งยืนของสังคม ชูคอนเซ็ปต์ “เพื่อสังคม-ชุมชน” ภายใต้สโลแกน “ร้านกาแฟสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจ เพื่อสังคมและชุมชน”

เรียกว่าเป็นการสร้างแบรนด์เลิฟกับลูกค้าและชุมชน ซึ่งเป็นเทรนด์ธุรกิจยุคนี้ ที่ต้องมีเรื่องของการตอบแทนสังคมควบคู่ไปด้วย

ตั้งแต่การเปิดรับสินค้าจากชุมชนหรือเอสเอ็มอีที่มีฝีมือแต่ไม่มีเวทีให้เข้ามาวางจำหน่าย โดยไม่ต้องจ่ายค่าแรกเข้า (Entrance Fee) ปัจจุบันมีผู้ประกอบการกว่าร้อยรายเข้าร่วมทั้งสินค้าสำเร็จรูปและของสด เช่น ข้าวโพดคั่วอบ สแน็กต่างๆ และผักผลไม้จากอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ฯลฯ

นอกจากนี้ ในส่วนของเครื่องดื่มหรือกาแฟ ซึ่งเป็นสินค้าหลัก นอกจากใช้ “เครื่องชงกาแฟอัตโนมัติ” เพื่อให้รสชาติคงที่ได้แล้ว “ราคา” เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ต้องตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งผู้บริหารซีพี รีเทลลิงค์ เน้นว่า เป็น Unmet Need หรือความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค

จากการสำรวจเมื่อ ปีที่แล้วพบว่า “ผู้บริโภคต้องการเครื่องดื่มที่มีราคาถูกกว่าอาหาร” กาแฟมวลชนจึงตั้งราคาที่แก้วละ 25 บาท ขณะที่ราคาอาหารอยู่ที่จานละ 30 บาทในเวลานั้น และเป็นราคาที่สามารถซื้อได้วันละหลายครั้งหรือทุกช่วงเวลา “เช้าสาย-บ่าย-เย็น” จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้วมีการปรับเพิ่มเป็นเริ่มต้นแก้วละ 29 บาท – 40 บาท ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือคนทำงานที่มุ่งเน้นเรื่องความคุ้มค่า และต้องการเป็น คอนวีเนียน คอฟฟี่ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าไม่ใช่แค่เครื่องดื่ม เพราะมีสินค้าหลากหลาย ทั้งอาหาร เบเกอรี และสินค้าชุมชน ปัจจุบันร้านกาแฟมวลชนมีจำนวนลูกค้าเฉลี่ยวันละ 150-200 รายต่อสาขา ซื้อเฉลี่ย 80 บาทต่อคนต่อครั้ง มียอดขายประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี 

สำหรับตลาดรวมกาแฟทั้งร้านกาแฟและเมล็ดกาแฟมีมูลค่าเกือบ หมื่นล้านบาท กลุ่มพรีเมียมมีประมาณ 8,000 ล้านบาท และกลุ่มแมสมีประมาณ 1,000 ล้านบาท

แม้ภาพรวมธุรกิจร้านกาแฟจะมีการแข่งขันสูง เพราะมีร้านเกิดขึ้นเยอะมาก แต่แฟรนไชส์ร้านกาแฟที่มีความแข็งแกร่งอย่างแท้จริงนับว่ายังมีน้อย จึงเป็นช่องว่างหรือโอกาสทางธุรกิจให้ร้านกาแฟมวลชนที่สะสมประสบการณ์ และการบริหารจัดการเข้ามาสร้างทางเลือกให้ลูกค้า

โดยตั้งเป้าขยายร้านกาแฟระดับแมสแบบจัดเต็ม เปิดสาขาละวัน ผ่านโมเดลร้านรูปแบบต่างๆ เพื่อเข้าถึงทั้งกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคและกลุ่มลูกค้าที่ต้องการทำธุรกิจแฟรนไชส์ และเพื่อให้การขยายไปได้อย่างรวดเร็ว

รูปแบบแฟรนไชส์ธุรกิจร้านกาแฟมวลชนมีให้เลือก ขนาด SS-S-M-L ราคาต่ำกว่า แสน-1.2 ล้านบาท ค่าแรกเข้า หมื่น- แสนบาท ค่าแฟรนไชส์ฟี 3% จากยอดขาย

นอกจากร้านรูปแบบปกติทั้งสแตนด์อะโลน คีออส และคอนเนอร์ ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดใหญ่ 80-100 ตารางเมตร และขนาดเล็กสุด 3 ตารางเมตรที่อาคารฟอร์จูนทาวเวอร์ ยังมี “รถโมบาย” ซึ่งปัจจุบันมี คัน เป็น “ซูซูกิ คอฟฟี่ ทรัค” และ ”รถพ่วง” จะเปิดให้บริการช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ ซึ่งต้นทุนรถโมบายราคาประมาณ แสนบาท และรถพ่วงราคาประมาณ แสนบาท 

เพื่อแก้โจทย์ในเรื่องทำเลที่หายาก จึงเพิ่ม ”ตู้กดอัตโนมัติ” (vending machine) สามารถรับทั้งเงินสดและอีเพย์เมนต์ รวมทั้งยังมีการขายแบบ “แคเทอริ่ง” และ “ออนไลน์เดลิเวอรี่” โดยแฟรนไชซีที่มีบริการดังกล่าวจะได้รับเปอร์เซ็นต์จากยอดขายที่รับออร์เดอร์มา

ซีพี รีเทลลิงค์ ตั้งเป้าจะขยายร้านทุกรูปแบบ ภายใน ปี จะต้องมี 3,000 สาขา โดยมีสัดส่วนธุรกิจที่บริษัทลงทุนเองกับขายแฟรนไชส์ 50-50 

แนวทางการขยายสาขาของร้านกาแฟมวลชนมี แบบ แบบแรกคือบริษัทฯ เป็นเจ้าของพื้นที่และเปิดจำหน่ายอยู่แล้ว ซึ่งแฟรนไชซีสามารถมาขอพื้นที่ แบบที่สองคือแฟรนไชซีเป็นเจ้าของพื้นที่เอง ส่วนทำเลที่สนใจมากที่สุดคือทำเลที่สามารถขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น สนามบิน ปัจจุบันมี สาขาที่สนามบินดอนเมือง โรงพยาบาล โรงแรม และคอนโด

ดังนั้นเพื่อผลักดันให้แฟรนไชส์ขยายได้เร็วขึ้น จึงร่วมกับธนาคารกสิกรไทย ที่อ้าแขนรับเต็มที่ สุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า กลุ่มซีพีออลล์มีความแข็งแกร่งอยู่แล้ว ขณะที่ บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ มีความเชี่ยวชาญในระบบบริหารจัดการ และมีเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะสามารถสนับสนุนให้แฟรนไชซีประสบความสำเร็จได้

นอกจากนี้ที่ผ่านมายังพบว่าเมื่อเปรียบเทียบธุรกิจเกิดใหม่ในช่วง 5 ปีแรกของการทำธุรกิจ หากเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีความแข็งแรงของแบรนด์สามารถอยู่รอดได้ถึง 100% ขณะที่ธุรกิจเกิดใหม่ทั่วไปอยู่รอดเพียง 20% เท่านั้น

สุรัตน์ ประเมินภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี มูลค่าธุรกิจแฟรนไชส์โดยรวมประมาณ 2 แสนล้านบาท คาดว่าปีนี้จะเติบโตประมาณ 10%

รูปแบบการให้กู้กับแฟรนไชส์รีเทลลิงค์ ก็เหมือนกับแฟรนไชส์อื่นๆ คือ ซีพี รีเทลลิงค์จะต้องคัดเลือกก่อนจะส่งให้ธนาคารกสิกรไทย โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่จะต้องมีเงินทุน 30% เช่น ราคาแฟรนไชส์ 8 แสนบาท แฟรนไชซีต้องมีเงินทุน 2.4 แสนบาท ที่เหลือ 5.6 แสนบาทกู้จากธนาคารกสิกรไทยได้ทั้งหมด ระยะเวลา 6 ปี ปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ย MLR –2.50% ปีต่อไปขยับขึ้นปีละ 0.50%

“กาแฟมวลชน” อยู่ภายใต้บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ และเป็นแบรนด์เดียวของร้านกาแฟในเครือซีพีออลล์ที่เปิดขายแฟรนไชส์ ยังมีร้านกาแฟที่อยู่ภายใต้บริษัท ซีพี ออลล์” แบรนด์คือ “ออลล์ คาเฟ่” (All Cafe) ขายราคาต่ำที่สุดแก้วละ 25 บาท และ “ออลล์ คาเฟ่ โกลด์” (All Cafe Gold) ซึ่งไม่มีสแตนด์อะโลน เป็นแฟรนไชส์ทางอ้อมเพราะให้สิทธิ์กับแฟรนไชซีเปิดอยู่ในร้านเซเว่นฯ กับ ”คัดสรร” (Kudsan) และ “เบลลินี่” (Bellinee’s) ส่วน “อาราบิเทีย” (Arabitia) กับ “จังเกิ้ลคาเฟ่” (Jungle Cafe) อยู่ภายใต้บริษัทซีพีบีแอนด์เอฟ.