Blythe ทำให้เกิด Value Chain หรือธุรกิจใหม่ที่ต่อเนื่องตามอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่ตัดชุดเสื้อผ้า Blythe และทำเครื่องประดับตั้งแต่กระเป๋าถือ ไปจนถึงรองเท้า และกลุ่มที่รับแปลงโฉม ตั้งผมไปจนถึงคาง หรือที่เรียกกันว่า Customization ทั้งสองส่วนทำให้ Blythe แต่ละตัวแตกต่าง ตอบสนองความต้องการของผู้รัก Blythe แต่ละคนอย่างได้ใจ
บางคนอยากให้ Blythe ของตัวเองเป็นสาวหวาน เปรี้ยว เป็นเด็กเรียน หรือเด็กเฮี้ยว ก็แต่งตัวให้ได้ โดยเฉลี่ยแล้ว Blythe แต่ละตัวที่ซื้อมาใหม่ ในกล่องจะมีเสื้อผ้าให้เปลี่ยน 1 ชุด แต่ไม่มีเจ้าของคนไหนรู้สึกพอ แต่ละสัปดาห์หลายคนจึงไปช้อปเสื้อผ้า Blythe หรือไม่ก็ซื้อผ่านเว็บไซต์ โดยเฉลี่ยชุดหนึ่งเจ้าของต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท ยังไม่นับรวมส่วนประกอบอื่น ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งในธุรกิจนี้เกือบทั้งหมดคือมาจากพื้นฐานคนเล่นและรัก Blythe มาก่อน โดยมีตั้งแต่เด็กอายุ 13 ขวบ จนถึงผู้ใหญ่ ทำคนเดียวและเป็นธุรกิจ SME
การสร้างความแตกต่างให้เป็น Blythe ของฉัน ยังต้องทุ่มทุนไปกับการ Custom หน้า ตั้งแต่ผม คิ้ว ลูกตา และปาก เบ็ดเสร็จ ทั้งหน้าอาจต้องใช้งบสูงถึง 5,000 บาท แพงกว่าตัวตุ๊กตาที่ซื้อมาโดยเฉลี่ยแค่ 4,000 บาทเสียอีก
ทั้งเสื้อผ้า และการ Custom Blythe ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่ทำเพื่อเงินเท่านั้น แต่สำหรับคนรัก Blythe ที่มีฝีมือ ยังส่งประกวดกับอีเวนต์ที่ CWC จัดทุกปี อย่าง Blythe Beauty Contest อย่างปีล่าสุดคือปีที่ 4 ที่ทีมคนไทย “Lovely Creation” ที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างมือตัดชุด Blythe และนัก Custom สุดฮอตในวงการ จนได้ Miss Popularity อันดับ 2
นี่คือความสุขทางใจของคนรัก Blythe ที่ทำให้ Bythe โดดเด่น มีเสน่ห์ และแตกต่าง พร้อมกับห่วงโซ่ธุรกิจที่ยาวได้อย่างต่อเนื่อง