การบินไทยขาดทุนเท่าฟ้า 1.1 หมื่นล้าน

นับเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายสำหรับการบินไทยมากขึ้นทุกที เมื่อการบินไทยยังคงขาดทุนยับต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศผลประกอบการของปี 2561 ปรากฏว่าตัวเลขขาดทุนพุ่งไปถึง 11,605 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 451% จากปี 2560 ขาดทุน 2,860 ล้านบาท

โดยมีจำนวนผู้โดยสารรวม 24.3 ล้านคน ลดลงจากปีก่อน 1% และมีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร เฉลี่ย 77.6% ลดลงจากปีก่อน ที่มี 79.2%

การบินไทยระบุว่า เป็นผลมาจากการแข่งขันที่รุนแรง ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นในรอบ 4 ปี

แม้จะมีรายได้รวม 199,500 ล้นบาท เพิ่มขึ้น 3.9% จากรายได้ค่าโดยสาร และค่าน้ำหนักส่วนเกิน ค่าระวางขนส่งและไปรษณียภัณฑ์ และรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น

แต่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยมีค่าใช้จ่ายรวม 208,558 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.3% เป็นผลมาจากค่าน้ำมันเครื่องบินเพิ่มขึ้น 9,881 ล้านบาท เพิ่ม 19.7% จากราคาเฉลี่ยน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 30.1% แม้มีการบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมันดีขึ้นกว่าปีก่อน นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานไม่รวมน้ำมัน อยู่ที่ 9,802 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% จากค่าซ่อมแซมและซ่อมบำรุงอากาศยาน ค่าเช่าเครื่องบิน และค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น

เปิดแผนปี 62

การบินไทยวางแผนการดำเนินงานปี 2562 ไว้ดังนี้ จะเป็นปีแรกของโครงการจัดหาเครื่องบิน 5 ปี ปี 2562 -2567 เพื่อทดแทนเครื่องบินเก่า

เร่งทำกำไรเพิ่มการตลาดเชิงรุก ด้วยต้นทุนที่แข่งขันได้ เช่น เพิ่มรายได้เสริมนอเหนือจากรายได้ผ่านช่องทาง Digital Marketing

บริหารจัดการการขายและใชประโยชน์เครื่องบิน ร่วมมือกับไทยสมายล์แอร์เวย์ปรับปรุงและพัฒนาบริการครบวงจรเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า บริหารจัดการด้านน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยน

คาดปี 62 จะดีขึ้น จากราคาน้ำมันลด

แผนงานปี 2562 การบินไทยคาดว่าอุตสาหกรรมการบินในปี 2562 ยังคงเติบโต โดยคาดว่าอัตราขนส่งผู้โดยสารและปริมาณการผลิตผู้โดยสารยังเติบโต แม้จะลดลงจากปี 2561 แต่ยังสูงกวาอัตราเฉลี่ย 20 ปี ราคาน้ำมันดิบคาดว่าจะปรับตัวลดลง ลดลงเฉลี่ย 7.2%

นอกจากนี้ ปัจจัยบวกยังมาจากนโยบายเร่งความเชื่อมั่นของตลาดนักท่องเที่ยวจีน และการลดหย่อนค่าธรรมเนียม Visa On Arrivals ชั่วคราว ครอบคลุม 21 ประเทศ การก่อสร้างซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา.