เรื่องธุรกิจ เรื่องของกาแฟ และเรื่องของแบรนด์ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะชื่นชอบแบรนด์ไหน ดูอย่าง ดร. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ประธานกรรมการ/ประธานกรรมการอิสระ บริษัท พีทีที โกบอล เคมิคอล ในอดีตเป็นทั้งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และกรรมการ โพสต์เฟซบุ๊กชัดๆ ว่า
“บางคนชอบกาแฟอเมซอนก็เลือกดื่มกาแฟอเมซอนได้ แต่ใครชอบกาแฟ Starbucks ก็ดื่ม Starbucks ไป ผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลาย แต่อย่ามาเรียกร้องให้ ปตท. เลิกขายกาแฟอเมซอน”
(ปตท.พัฒนาแบรนด์กาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” แข่ง “สตาร์บัค”)
ปตท. มุ่งพัฒนาแบรนด์กาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” แข่งกับโกลบอลแบรนด์อย่าง “สตาร์บัคส์” โดยล่าสุดเดือนมกราคม 2562 มีจำนวนสาขาทั้งในและต่างประเทศรวมมากกว่า 2,600 สาขาแล้ว
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในงานแถลงข่าวก่อนหน้านี้ โดยแสดงความมั่นใจว่า การสร้างแบรนด์ “คาเฟ่ อเมซอน” นั้นจะสามารถแข่งขันกับโกลบอลแบรนด์อย่าง “สตาร์บัคส์” ได้
โดยข้อมูลจาก ปตท. ระบุ ในปี 2561 ที่ผ่านมา ร้านคาเฟ่ อเมซอน มีการขยายสาขาทั้งในประเทศและในประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในต่างประเทศมีร้านคาเฟ่ อเมซอน 184 สาขาแล้ว อาทิ กัมพูชา จำนวน 108 สาขา, ลาว 50 สาขา, ฟิลิปปินส์ 6 สาขา, เมียนมา 4 สาขา, ญี่ปุ่น 2 สาขา และโอมาน 1 สาขา รวมทั้งกำลังพิจารณาการขยายสาขาไปยังตลาดยุโรปด้วย
ขณะที่จำนวนสาขาในประเทศ อยู่ที่ 2,450 สาขา เพิ่มขึ้น 23% จากปี 2560 ที่มีจำนวน 1,999 สาขา
ทั้งนี้ ปตท. ยังได้มีการประเมินตลาดกาแฟในปี 2562 ว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขี้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2561 ซึ่งมีรายได้จากการจำหน่ายหน้าร้าน ประมาณ 46% โดยมีคู่แข่งสำคัญคือ สตาร์บัคส์, อินทนิล, Coffee World, MC Café, True Coffee มีปริมาณการขายกาแฟหน้าร้านรวมในปีที่ผ่านมา 225 ล้านแก้ว ในขณะที่การผลิตเมล็ดกาแฟของโรงคั่วกาแฟคาเฟ่ อเมซอน 2 ปีล่าสุด โดยปี 2561 อยู่ที่ประมาณ 2,400 ตัน และในปี 2562 ประมาณ 3,000 ตัน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุตั้งแต่ปี 2555-2559 กาแฟคั่วบดและสำเร็จรูปขยายตัวถึง 7.3% มีมูลค่าตลาดประมาณ 39,000 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 40,000 ล้านบาท ในปี 2560 ตามแนวโน้มเศรษฐกิจ การลงทุนของผู้ประกอบการ และโดยเฉพาะการบริโภคกาแฟของคนไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกมาก จากปี 2561 อยู่ที่ 300 แก้วต่อคนต่อปี เมื่อเทียบกับปริมาณการบริโภคกาแฟจากหลายประเทศ เช่น ฟินแลนด์ บริโภคกาแฟเฉลี่ย 1,000 แก้วต่อคนต่อปี ยุโรป 600 แก้วต่อคนต่อปี และญี่ปุ่นเฉลี่ย 400 แก้วต่อคนต่อปี
(ที่มา : http://www.energynewscenter.com)
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ชาลอต โทณวณิก อดีตผู้บริหารธนาคาร และคร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจสื่อ ได้เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ก็โพสต์ถึง ร้าน Starbuck สาขาล่าสุด เมืองโตเกียว เปิดเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นอาคาร 4 ชั้น ตั้งอยู่ใจกลางนากาเมะกุโระ (Nakameguro) ย่านที่กำลังอินเทรนด์
“คิดการใหญ่ ก็จะมี impact ตอนนี้ Starbuck เซี่ยงไฮ้ถูกชิงแชมป์ความใหญ่ที่สุดในโลก โดยโตเกียว ที่เพิ่งเปิดที่ Nakameguro ที่เป็น area ที่กำลังมา ขนาดแท็กซี่ยังไม่ค่อยรู้จัก เพิ่งเปิด 28 ก.พ. มีค่าเข้า 4,200 เยน ได้แวะไปแต่คิวยาวมาก ทั้งรอด้านนอก และรอสั่งด้านในเลยไม่ได้เข้า”
ความพิเศษของสาขานี้ สตาร์บัคส์ได้วางคอนเซ็ปต์ให้แตกต่าง ด้วยการมีเครื่องดื่มกาแฟและชา มากกว่า 100 รายการ และสินค้าที่หาซื้อได้เฉพาะที่สาขานี้เท่านั้น และมี Teavana™ Bar ขนาดใหญ่ และอิตาเลียนเบเกอรี่แบรนด์ Princi ™ ที่แรกในญี่ปุ่น
รวมถึงการเปิดตัวเลานจ์ AMU Inspiration Lounge เต็มรูปแบบ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมของชุมชน และวางแผนที่จะเป็นสถานฝึกอบรมกาแฟ หรือ Specialty Coffee Association แห่งแรกของสตาร์บัคส์ในญี่ปุ่น
ส่วนการออกแบบ สตาร์บัคส์ ได้ร่วมมือกับสถาปนิกท้องถิ่นชาวญี่ปุ่นชื่อดัง Kengo Kuma ทำงานร่วมกับนักออกแบบจากทั้ง 5 Roastery ทั่วโลก โดยเน้นการทำงานของช่างฝีมือและผู้หญิงท้องถิ่นผสมผสานการออกแบบแบบดั้งเดิมและทันสมัยเข้าด้วยกัน
ภายในร้าน บรรจุถังกาแฟสตาร์บัคส์ Roastery สูงกว่า 55 ฟุต เคลือบด้วยทองแดงบลัชออน ประดับด้วยดอกซากุระทองแดงที่ทำด้วยมือ ซึ่งเปลี่ยนเฉดสีตลอดทั้งวัน และดูสมดุลกับไม้เนื้ออ่อนซึ่งอยู่ภายในอาคาร เพื่อให้ร้านมีความสว่างตามแบบสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม
งานนี้ขึ้นอยู่กับความชอบ และมุมมองทางธุรกิจของแต่ละคนจริงๆ