ลูกค้าทีวีดิจิทัลหาย 7 ช่อง โครงข่าย MUX สูญ 300 ล้านต่อปี ชง กสทช.เยียวยา

หลังจากทีวีดิจิทัล 7 ช่อง แจ้งคืนใบอนุญาตต่อ กสทชได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ให้บริการโครงข่ายส่งสัญญาณระบบดิจิทัล (MUX) ที่จะขาดรายได้ จากลูกค้าทีวีดิจิทัล ยุติสัญญาก่อนกำหนดเหลือ 15 ช่อง ทำให้โครงข่าย MUX รายได้หายไปปีละ 300 ล้านบาท   

สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ ชมรมผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ชคท.) ที่ประกอบด้วย 4 หน่วยงานผู้ให้บริการโครงข่ายฯ คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก กรมประชาสัมพันธ์ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชนได้ประชุมหารือเพื่อเสนอให้ กสทช. เยียวยาผลกระทบโครงข่ายฯ จากลูกค้าทีวีดิจิทัลลดลง 

เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานชมรมผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิตอล กล่าวว่าจากการประชุมชมรมฯ ได้ส่งหนังสือถึง กสทชเสนอมาตรการชดเชยและเยียวยาโครงข่ายฯภายในเดือนพ.นี้ พร้อมขอความชัดเจนใน 2 ประเด็น คือ 

1. กรณีผู้ประกอบการโครงข่ายยังเปิดให้บริการครบทุกราย จะมีความชัดเจนระยะเวลาเยียวยาผู้ให้บริการโครงข่ายฯ เริ่มเมื่อไร และการเยียวยาชดเชยให้กับโครงข่ายฯ จะเยียวยาอย่างไร 

2. ในกรณีที่มีผู้ใช้บริการโครงข่ายฯ ลดลง จะเยียวยาให้กับโครงข่ายเฉพาะที่มีผู้ประกอบการดิจิทัลเหลืออยู่ 15 ราย หรือ กสทช. จะพิจารณาตามสัญญาที่ผู้ให้บริการโครงข่ายฯ ทำกับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเมื่อปี 2561 ซึ่ง กสทช. ให้การสนับสนุนเงินช่วยเหลือถึง 50% หรือ 100% ซึ่งหากผู้ให้บริการโครงข่ายฯ ไม่ได้รับการช่วยเหลือในส่วนนี้ จะประสบปัญหาขาดทุนจำนวนมากต่อเนื่อง

3. กรณีที่ผู้ให้บริการโครงข่ายฯ ขอคืนใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่าย 1 โครงข่าย เพื่อเปิดทางให้ กสทช. นำคลื่นความถี่ 700MHz ย้ายไปพัฒนาเทคโนโลยี 5G ทาง กสทช. จะมีแนวทางเยียวยาและหลักเกณฑ์การคำนวณวงเงินเป็นอย่างไร เพราะหลังจากผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลคืนใบอนุญาต 7 ช่อง ส่งผลให้ผู้ให้บริการทุก โครงข่าย ฯ สูญเสียรายได้ทันที 300 ล้านบาทต่อปี

เนื่องจากมีช่องสัญญาณเหลืออยู่ ชมรมจึงมีแนวคิดที่จะเสนอให้ กสทช. เพิ่มคุณภาพช่องสัญญาณจากช่อง SD ให้เป็น Super SD เพื่อให้ได้คุณภาพสัญญาณที่ดีขึ้น โดย กสทช. คงยังให้สนับสนุนช่วยเหลือ แต่ช่อง SD ที่ประกอบกิจการอยู่อาจจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ กสทช. ตามคุณภาพสัญญาณที่ดีขึ้น เมื่อภาพคมชัดขึ้น ช่อง SD มีรายได้เพิ่มขึ้นจากค่าโฆษณา ส่งผลให้ กสทช. ได้รับรายได้ ค่าธรรมเนียมรายปีเพิ่มขึ้นอีกด้วย 

ที่ผ่านมาทั้ง 5 โครงข่ายซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้ใช้เงินลงทุนไปแล้วกว่า 5,000 ล้านบาท การที่ทีวีดิจิทัลเลิกกิจการก่อนอายุสัญญา 15 ปี จึงส่งผลกระทบกับโครงข่าย ฯ จึงต้องการให้ กสทชพิจารณาแนวทางเยียวยาโครงข่าย ฯ หลังจากช่วยเหลือทีวีดิจิทัลมาแล้ว

ผู้ประกอบการโครงข่าย MUX

  • กรมประชาสัมพันธ์ MUX1 ผู้เช่า เอ็นบีที (ช่อง 11)
  • กองทัพบก MUX2 ผู้เช่า ทีเอ็นเอ็น, เวิร์คพอยท์, ทรูโฟร์ยู, ช่อง 7, ช่องวัน และ ช่อง
  • อสมท MUX3 ผู้เช่า ทีวีรัฐสภา, ไทยรัฐทีวี, MCOT HD (ผู้เช่าคืนใบอนุญาต MCOT Family, สปริงนิวส์และ วอยซ์ทีวี)
  • ไทยพีบีเอส MUX4 ผู้เช่า ช่อง 8, ช่อง 3 HD, ไทยพีบีเอส (ผู้เช่าคืนใบอนุญาต ช่อง 3 Family, ช่อง 3 SD, โลก้าและไทยทีวี)
  • กองทัพบก MUX5 ผู้เช่า นิวทีวีเนชั่นทีวีจีเอ็มเอ็ม 25, โมโน 29, อมรินทร์ทีวี และพีพีทีวี (ผู้เช่าคืนใบอนุญาต ไบรท์ทีวี และ สปริง 26)