จากบทสรุปของแบบสอบถามเราพบคำตอบที่เด่นชัดคือ 4 ใน 10 อันดับมีจุดร่วมที่เหมือนกันคือการทำธุรกิจของตนเอง โดยอันดับ 1 คือ Entrepreneur กินขอบเขตกว้างโดยไม่ระบุว่าเป็นธุรกิจประเภทใด ขณะที่อีก 3 อันดับคือ Coffee Shop Owner, Restaurant Owner และ Boutique Hotel Owner ซึ่งเป็นเสมือนความฝันของคนรุ่นใหม่และมนุษย์เงินเดือนหลายๆ คนที่ต้องการปลดปล่อยตัวเองจากพันธนาการของลูกจ้างสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะในยุคที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงในอาชีพการงานเช่นนี้
คนเหล่านี้สั่งสมความรู้จากการทำงานมาแล้วสักระยะหนึ่ง มีทุนรอนมากพอที่จะทำธุรกิจเป็นของตัวเองได้ ยิ่งในขณะที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งโหมโปรโมตสินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอี ยิ่งก่อเกิดผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น
ขณะที่อันดับอื่นๆ เป็นเรื่องของวิชาชีพ ทั้งนักวางแผนการตลาด (อันดับ2) อาจารย์ (อันดับ4) นักวางแผนกลยุทธ์ (อันดับ5) นักเขียน (8) แพทย์ (อันดับ9) และวิศวกร (อันดับ 10)
10 อาชีพในฝันของผู้ที่ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้อาจไม่ได้หมายถึงอาชีพที่ดีที่สุด มีรายได้สูงสุด แต่เป็นอาชีพที่สามารถทำให้พวกเขามีความสุขกับการทำงาน ขณะเดียวกันก็สามารถตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ส่วนตัวได้อย่างลงตัว
โดยข้อมูลจากK-SME Start-Up Solutions Performance ณ กุมภาพันธ์ 2010 รายงานว่า
ลักษณะสมาชิกของK-SME ที่กำลังจะมีกิจการในอนาคต เป็นพนักงานบริษัทในสัดส่วนที่สูงถึง 57.19% และเพิ่งสำเร็จการศึกษา 5.47% แสดงให้เห็นว่ามีความต้องการที่จะประกอบธุรกิจเองสูง
โดยลักษณะธุรกิจในอนาคตแบ่งเป็น 68.93% ต้องการทำธุรกิจที่ก่อตั้งเอง 24.98% ธุรกิจแฟรนไชส์ 6.09%ธุรกิจวิชาชีพ ซึ่งหากพิจารณาจากข้อมูลนี้จะพบว่า ส่วนใหญ่ต้องการที่จะก่อร่างสร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยไอเดียของตนเอง
Coffee Shop Owner (อันดับ3)
หลายคนต้องการเติมเต็มความฝันอยากมีร้านกาแฟที่ประสบความสำเร็จแบบ STARBUCKS แม้จะดูเป็นความฝันที่ห่างไกลแต่ก็เป็นเชื้อไฟชั้นดีที่ทำให้เกิดร้านกาแฟดีไซน์สวย และใส่ใจกับคุณภาพของเมล็ดกาแฟ มากมายทั่วทั้งเมืองแบบนี้
การเกิดขึ้นของร้านกาแฟดีไซน์สวยทั่วทุกตรอกซอยของกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ดังกล่าว สะท้อนถึงความต้องการสร้างอาชีพของคนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคนี้ที่นิยมใช้ชีวิตที่ร้านกาแฟและเลือกร้านกาแฟสวยๆ เป็นหนึ่งในDestinationของการเดินทางท่องเที่ยว ยิ่งทำให้ดีมานด์กับซัพพลายไปด้วยกันได้เป็นอย่างดี
การเปิดตัวของเลอ กอ ดอง เบลอ ที่ร่วมมือกับดุสิตธานีในไทย ก็เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชั้นดีที่ตอบรับต่อกระแสคนอยากมีร้านกาแฟ ที่มีเบเกอรี่อร่อยๆ เช่นเดียวกับเจ้าของร้าน An’Sweet ร้านกาแฟและเบเกอรี่เล็กๆ ขนาดคูหาเดียวบนถนนพระอาทิตย์ ของแอน ที่เคยทำงากับLAVAZZAและลาออกมาเพื่อทำธุรกิจของตัวเองจนประสบความสำเร็จ ร้านของเธอถูกบอกเล่าแบบปากต่อปาก
นอกจากนี้ ทรู คอฟฟี่ ใช้ความฝันของคนเหล่านี้เพื่อขยายธุรกิจ ล่าสุดกับการจัดเรียลลิตี้ “Coffee Master” เกมโชว์ร้านกาแฟ 24 ชั่วโมง โดยเปิดบริการในรูปแบบPop-up Store ที่บริเวณด้านข้างศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลตำรวจตลอดระยะเวลา8 สัปดาห์ (4 เมษายน-30 พฤษภาคม) โดยมีผู้เข้าแข่งขัน 12 คนจะชิง รางวัล 1 ล้าน พร้อมรับสิทธิบริหารร้านทรู คอฟฟี่ เป็นเวลา 3 ปี
อาชีพในฝันนี้จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความนิยมและแนวคิดของคนในยุคสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี
Restaurant Owner (อันดับ 5)
กิจการร้านอาหารรูปแบบแปลกๆ ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย หลายแห่งหลายแบรนด์เกิดจากคนไทยรุ่นใหม่ที่มีติดตามเทรนด์โลกจากการเดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงทายาทเจ้าของธุรกิจที่มักใช้ร้านอาหารเป็นที่เรียนรู้การบริหารงานบริษัทแบบครบวงจร
aFter you ร้านDessert Cafeสไตล์ญี่ปุ่น ที่เกิดจากความรักในขนมหวานของ เม-กุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณ ซึ่งจบการศึกษาบริหารธุรกิจภาคภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นต่อยอดสู่การเป็นนักเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการทำขนมจนประสบความสำเร็จอีกต่อหนึ่ง
จากสาขาแรกที่เจ อะเวนิว ทองหล่อ ปัจจุบันaFter You มีอีก 2 สาขาคือลา วิลล่า พหลโยธิน และเซ็นทรัลเวิลด์
ความนิยมในการรับประทานอาหารนอกบ้านในร้านอาหารมีสไตล์ของคนไทยรุ่นใหม่ เพื่อแสดงออกถึงไลฟ์สไตล์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารยังคงเติบโตและแตกแขนงออกไปในเชิงลึก เฉพาะประเภทมากขึ้น และนั่นหมายถึงโอกาสยังคงรอคนที่มีความฝันนี้อยู่
Boutique Hotel Owner (อันดับ 5) ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของอาชีพในฝัน โดยส่วนหนึ่งของคนที่เปิดโรงแรมบูติกเล็กๆ จะมีไลฟ์สไตล์ที่คล้ายคลึงกันคือ รักการท่องเที่ยวและมองหาที่พักในรูปแบบใหม่ ไม่ต้องใหญ่หรือหรูหรามากแต่ดีไซน์เด่นและชัดเจนในคอนเซ็ปต์ สามารถตั้งอยู่ได้กลางเมืองและในรูปแบบของเมืองท่องเที่ยวสไตล์รีสอร์ตแต่จะตั้งอยู่ในทำเลดี และต้องหาพันธมิตรที่เชี่ยวชาญมาช่วยในการบริหาร
Astudo Hotel& Resort Group ผู้รับบริหารบูติกโฮเต็ล อย่าง X2บอกว่าในปีที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงปีแม้เศรษฐกิจจะถดถอยแต่บูติกโฮเต็ลกลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
เมื่อเทรนด์มา โอกาสจึงมีเหลือเฝือสำหรับคนที่มีใจรัก (และแน่นอนว่าต้องมีทุนรอน) กับการปั้นอาชีพในฝันนี้ให้เป็นจริง
โดยนิยามของคำว่าBoutique Hotelคือ สถาปัตยกรรมและดีไซน์ต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่วนใหญ่จะมีจำนวนห้องน้อยและตกแต่งด้วยธีมที่แตกต่างกัน จับกลุ่มเป้าหมายอายุ 20กว่าปีขึ้นไปจนถึงช่วงวัย 50 ปี มีรายได้ระดับปานกลางถึงสูง ที่ต้องการประสบการณ์แปลกใหม่ และความอบอุ่นจากการดูแลใกล้ชิดของพนักงาน
ส่วนใหญ่จะไม่ได้เป็นการสร้างใหม่แต่เป็นการใช้อาคารเก่ามาดัดแปลง โดยจะได้มนตร์เสน่ห์ของประวัติศาสตร์แลถสถานที่นั้นๆ มาเป็นจุดขายด้วย
Boutique Hotel ในกรุงเทพฯ ที่ขึ้นชื่อหลายแห่งก็ดัดแปลงมาจากบ้านเก่า เช่น วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ เจ้าของสามเสน 5 ลอดจ์ แบงคอก และสถาปนิก บริษัท SuperGreen Studio จำกัด ที่มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนบ้านเก่าเป็นBoutique Hotel จำนวนมาก โดยสามเสนฯ ได้รับการโหวตให้เป็นที่พักประเภท Bed & Breakfast อันดับ 8 จาก Tripadvisor.com
เดอะ ภูธร (the Bhuthorn) มีขนาดเพียง 3 ห้องสไตลโคโลเนียล ดัดแปลงมาจากตึกแถวเก่าในย่านแพร่งภูธร ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2440 ได้รับการโหวตให้เป็นที่พักประเภท Bed & Breakfast อันดับ 6 จาก Tripadvisor.com
ส่วนบ้านดินสอ (Baan Dinsor) ขนาด 10 ห้อง ดัดแปลงมาจากบ้านเก่าที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2460 และได้รับการโหวตให้เป็นที่พักประเภท Hostelling International อันดับ 1 ของโลก จากนักท่องเที่ยวทั่วโลก
และ โอลด์ แบงคอก อินน์ (Old Bangkok Inn) จากตึกแถวยุคเฉลิมไทยเฟื่องฟูที่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.24 60 แม้มีเพียง 6 ห้องก็ได้รับการโหวตให้เป็นที่พักประเภท Bed & Breakfast อันดับ 9 จาก Tripadvisor.com ด้วย
Top 10อาชีพใฝ่ฝัน
ลำดับ รายชื่ออาชีพในฝัน คะแนนรวม
1 ผู้ประกอบการ 35
2 นักวางแผนการตลาด 25
3 เจ้าของร้านกาแฟ 14
3 อาจารย์ นักวิชาการ 14
5 เจ้าของโรงแรมแบบบูติกโฮเต็ล 8
5 เจ้าของร้านอาหาร 8
5 นักวางแผนโฆษณา 8
8 นักเขียน 8
9 หมอ 7
10 วิศวกร 6
หญิง และชายมีความใฝ่ฝันเป็นเจ้าของกิจการ นักวางแผนการตลาด ส่วนชายอยากเป็นอาจารย์และนักวิชาการ พอๆ กับหญิงที่ต้องการเป็นเจ้าของร้านกาแฟ
Top 10 ผู้ตอบหญิง (136 คน)
1. ผู้ประกอบการ 23 คน คิดเป็น 17%
2. การตลาด Planner 15 คน คิดเป็น 11%
3. เจ้าของร้านกาแฟ 14 คน คิดเป็น 10%
4. อาจารย์ นักวิชาการ 8 คน คิดเป็น 6%
5. นักเขียน 6 คน คิดเป็น 4%
Top 10 ผู้ตอบชาย (100 คน)
1. ผู้ประกอบการ 12 คน คิดเป็น 12%
2. การตลาด Planner 10 คน คิดเป็น 10%
3. อาจารย์ นักวิชาการ 6 คน คิดเป็น 6%
4. วิศวกร 6 คน คิดเป็น 6%
5. เท่ากัน 4 คน คิดเป็น 4% ระหว่าง หมอ, Freelance, Programmer, เจ้าของร้านอาหาร, และนักวางแผนโฆษณา
Top 10 ผู้ตอบอายุ 18 – 30 ปี
1. ผู้ประกอบการ 17 คน คิดเป็น 23%
2. การตลาด Planer 15 คน คิดเป็น 20%
3. อาจารย์ นักวิชาการ 9 คน คิดเป็น 12%
4. เจ้าของร้านกาแฟ 8 คน คิดเป็น 11%
5. นักวางแผนโฆษณา 7 คน คิดเป็น 9%
6. นักเขียน 5 คน คิดเป็น 7%
7. เจ้าของโรงแรมแบบบูติกโฮเต็ล 4 คน คิดเป็น 5%
8. หมอ 4 คน คิดเป็น 5%
9. นักออกแบบผลิตภัณฑ์ 3 คน คิดเป็น 4%
10. Freelance 3 คน คิดเป็น 4%
Top 10 ผู้ตอบอายุ 31 – 40 ปี
1. ผู้ประกอบการ 17 คน คิดเป็น 35%
2. การตลาด Planer 7 คน คิดเป็น 16%
3. เจ้าของร้านกาแฟ 6 คน คิดเป็น 13%
4. อาจารย์ นักวิชาการ 3 คน คิดเป็น 6%
5. วิศวกร 3 คน คิดเป็น 6%
6. หมอ3 คน คิดเป็น 6%
7. นักเขียน3 คน คิดเป็น 6%
8. Columnist 2 คน คิดเป็น 4%
9. เจ้าของโรงแรมแบบบูติกโฮเต็ล 2 คน คิดเป็น 4%
10. เจ้าของร้านอาหาร 2 คน คิดเป็น 4%
Top 10 ผู้ตอบอายุ 41 – 50 ปี
1. เจ้าของร้านอาหาร 3 คน คิดเป็น 20%
2. เจ้าของโรงแรมแบบบูติกโฮเต็ล 2 คน คิดเป็น 13%
3. อาจารย์ นักวิชาการ 2 คน คิดเป็น 13%
4. ประชาสัมพันธ์ 2คน คิดเป็น 13%
5. การตลาด,เจ้าของร้านกาแฟ, วิศวกร, ผู้ประกอบการ และฟรีแลนซ์ เท่ากัน 6 คน คิดเป็น 6%
Top 10 ผู้ตอบจบปริญญาตรี
ผู้ประกอบการ 22 คน คิดเป็น 28%
นักวางแผนการตลาด 15 คน คิดเป็น 19%
เจ้าของร้านกาแฟ 10 คน คิดเป็น 14%
อาจารย์ นักวิชาการ7 คน คิดเป็น 9%
เจ้าของร้านอาหาร 7 คน คิดเป็น 9%
Freelance 4 คน คิดเป็น 5%
นักออกแบบสวน 4 คน คิดเป็น 5%
นักเขียน 4 คน คิดเป็น 5%
เจ้าของโรงแรมแบบบูติกโฮเต็ล 3 คน คิดเป็น 3%
นักวางแผนโฆษณา 3 คน คิดเป็น 3%
Top 10 ผู้ตอบจบปริญญาโท
ผู้ประกอบการ 11 คน คิดเป็น 23%
นักวางแผนการตลาด 9 คน คิดเป็น 19%
นักวางแผนโฆษณา 5 คน คิดเป็น 11%
เจ้าของโรงแรมแบบบูติกโฮเต็ล 5 คน คิดเป็น 11%
นักเขียน 4 คน คิดเป็น 8%
อาจารย์ นักวิชาการ 4 คน คิดเป็น 8%
หมอ 3 คน คิดเป็น 6%
เจ้าของร้านกาแฟ 3 คน คิดเป็น 6%
นักชิมอาหาร 2 คน คิดเป็น4%
การเงิน 2 คน คิดเป็น 4%