CJ WORX เปิด 5 เทรนด์โฆษณาในปี 2020 ที่นักการตลาด และผู้บริโภคไม่ควรพลาด ปีที่ขึ้นชื่อว่าเป็นการเผาจริง ปีที่เจอกับความท้าทายต่างๆ มากมายรอบด้าน โดยที่ Data ยังคงเป็นสิ่งสำคัญมาเป็นอันดับต้นๆ อยู่
ในช่วงปลายปี 2019 หลายคนคงได้เห็นสัญญาณด้านเศรษฐกิจต่างๆ มากมาย และในปี 2020 สัญญาณล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยจากเดิม 3.3% เหลือ 2.8% ในขณะที่ปีนี้เหลือเพียง 2.5% สะท้อนให้เห็นว่า การแข่งขันเพื่อการอยู่รอดจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นอะไรที่ไม่ใช่ตัวจริง อาจต้องโบกมือบ๊ายบายแน่
โดยที่ จิณณ์ เผ่าประไพ Chairman And Founder บริษัท CJ WORX ให้ข้อมูลเทรนด์วงการโฆษณาและธุรกิจที่น่าจับตามองไว้ดังนี้…
-
DATA ที่ทรงพลังต้องคู่กับ CREATIVTY
ในไทยหลักๆ DATA ที่ได้ยินกันบ่อยๆ จะเป็นเรื่อง Big DATA แต่ส่วนใหญ่เป็นแค่การใช้ Media DATA เพื่อนำมายิงโฆษณาแบบ Retargeting ในช่องทางต่างๆ ผลที่ตามมาคือ ผู้บริโภครู้สึกไม่ดีกับแบรนด์ เพราะไปขัดขวางความสนใจในการเสพคอนเทนต์ ดังนั้นทิศทางในการโฆษณาจึงจำเป็นต้องนำ DATA ที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคเฉพาะราย มานำเสนอให้สอดคล้องกับโฆษณามากขึ้น
เมื่อมีการใช้ถังรวบรวมข้อมูลทั้งหลายอย่าง DMP (DATA Management Platform) เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อยู่ในโลกออนไลน์ จะสามารถนำมาคาดการณ์และปรับการสื่อสารให้กับเข้าผู้บริโภครายนั้นๆ เพื่อให้เกิดการต้องการสินค้าและซื้อในที่สุด
“DMP ที่ฉลาด ขาดไม่ได้คือคนมีประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบชิ้นงานโฆษณา เพื่อรองรับพฤติกรรมของคนได้แบบเรียลไทม์ ทำให้เกิด Hyper-Personalization ไม่ใช่การคาดการณ์พฤติกรรมแบบเป็นกลุ่ม แต่เป็นการลงลึกในรายบุคคล”
- New Era Chatbot ไม่ทำให้หงุดหงิดเพราะใช้จิตวิทยาเข้าช่วย
ที่ผ่านมา CJ WORX มีการใช้หลักจิตวิทยาในด้านการออกแบบเว็บไซต์ UX, UI เพื่อให้รู้สึกเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน และตอบสนองต่อพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงเร็วบนโลกออนไลน์ได้แค่ปลายนิ้วคลิก แต่ปี 2020 นับว่าจะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของ Chatbot เพราะ CJ WORX จะมีการใช้จิตวิทยาเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบคำถามและคำตอบ
เพื่อให้เกิดความเป็นมิตรกับลูกค้าและรู้สึกดี แทนที่ความรู้สึกไม่ประทับใจจากการคุยกับหุ่นยนต์ การนำจิตวิทยาเข้ามามีส่วนในยุคใหม่ของ Chatbot นี้ เน้นการลงลึกในรายละเอียดคำถามและคำตอบให้เกิดความชัดเจนมากกว่าความหมายกว้างๆ ขณะเดียวกันภาษาที่ใช้ ก็มีความเข้าใจง่ายและเป็นมิตร เหมือนคุยกับพนักงานที่เป็นคนจริงๆ
3. ผนึกพลังหลาก Channel หลาย Message ส่งต่อแบรนด์ปัง
ที่ผ่านมาคงเคยได้ยินว่าในต่างประเทศมีการใช้สื่อในการโฆษณาที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม อย่าง Omni Channel ที่เป็นการทำโฆษณาหลากหลายช่องทาง และมี Message ที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการเพิ่มความถี่ในการรับรู้ถึงแบรนด์ซ้ำๆ แต่ทุกช่องทางจะมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ วกกลับไปที่แบรนด์หรือโปรดักต์นั่นเอง
อินไซต์พฤติกรรมของผู้บริโภคคือ ไม่ดูซ้ำรอบที่สอง ประกอบกับความรู้ความเข้าใจใน Omni Channel ยังไม่มากนักเท่ากับต่างประเทศ ส่วนใหญ่ก็จะทำแคมเปญกับคลิป VDO และ SOCIAL CAMPAIGN แต่เชื่อว่าในปี 2020 จะเป็นเทรนด์ที่จะกระตุกให้ผู้บริโภคหันมาสนใจในแบรนด์ได้อย่างอยู่หมัด คือ หลาย Message หลาย Channel
อย่างปรากฏการณ์ ฮาวทูทิ้งในช่วงนี้ ที่มีการทำคอนเทนต์ที่หลากหลายนอกเหนือจากการโปรโมตภาพยนตร์ ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ แต่ยังแตกไปหลายประเด็นและ Message ไปหลากหลายตีโจทย์ไปเรื่องการทิ้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม และประเด็นอื่นๆ ที่แตกต่างกันไปตามไอเดียสร้างสรรค์
- เมิน Hard Sale เน้นสร้างภาพจำผ่าน Brand Experience
การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ที่ไม่เน้นการสร้างยอดขายโปรดักต์ของแบรนด์ แต่เน้นการสร้างประสบการณ์ร่วม สร้างภาพจำกับแบรนด์ ว่าอยากให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์อย่างไร โดยใช้ช่องทางการโฆษณาในรูปแบบต่างๆ สื่อสารออกไป ให้ภาพลักษณ์โดยรวมขององค์กรดีขึ้น
ในต่างประเทศมีมาสักพักแล้ว แต่ในไทยยังไม่เห็นมากนัก ส่วนใหญ่จะเน้นการสร้างภาพยนตร์โฆษณา แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาใช้รูปแบบโฆษณาที่แปลกๆ และหลากหลายมากยิ่งขึ้น อย่างงานล่าสุดของ AP Thai ที่มีแคมเปญ #รูปนี้แม่ถ่าย #รูปนี้พ่อถ่าย เป็นการแบ่งปันประสบการณ์ที่แบรนด์เชื่อมั่นว่า บ้านไม่ใช่แค่สถานที่ให้อยู่อาศัย แต่เป็นที่ไหนก็ได้ที่สมาชิกในบ้านได้ใช้เวลาร่วมกัน เราจึงอยากให้พ่อแม่และลูกกลับมาใกล้ชิดกัน โดยพาพวกท่านออกไปถ่ายรูปตามวิถีคนรุ่นใหม่ และสร้างประสบการณ์ร่วมกัน นี่คือสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำแบรนด์ได้ดี
- ธุรกิจแนวใหม่จาก Product Channel ยิ่งแปลกยิ่งแตกต่าง
การพัฒนาจาก Media Channel กลายเป็น Product Channel ที่มีช่องทางการสื่อสารและมีผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเอง อาทิ Line , Grab Food , Uber Eat ฯลฯ แม้ว่าสองรายหลังนี้ เป็นสายเดลิเวอรีอาหาร แต่ถือว่าเป็น Product Channel เป็นศูนย์กลางหรือ Hub ที่มีหลายๆ แบรนด์ (Multi Brand) รวมอยู่ในช่องทางนี้ สร้างโอกาสทางธุรกิจเนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากแบรนด์ต่างๆ รวมอยู่ในที่เดียว
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Grab Restaurant ในต่างประเทศ ที่มีการปรับปรุงห้องแถว 1 ห้องให้กลายเป็นภัตตาคารตามสไตล์ต่างๆ ที่สำคัญคือไม่มีครัว แต่ลูกค้าสามารถสั่งอาหารอะไรก็ได้ นับร้อยและพันเมนูจากร้านดังในออนไลน์ที่ร่วมมือกันให้ปรุงอาหารและมาส่งให้ที่ภัตตาคารแห่งนี้
จึงนับว่าเป็นธุรกิจแบบใหม่ ประเภท Product Channel ที่ไม่ใช่การโฆษณา โดยฮับนี้มีหลากหลายแบรนด์ ผสมผสานทางกายภาพและเรื่องออนไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้ประสบการณ์จากการสัมผัสจริงๆ แต่มีวิธีของการออนไลน์เข้ามาเชื่อมต่อกัน