เปิด 4 แนวทางพยุงตัวเองให้รอด ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยจาก COVID-19

ปี 2563 ถือเป็นปีที่ท้าทาย โดยเฉพาะการระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เกิด ‘ภาวะถดถอยทั่วโลก’ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ถูกทำลายลง เพราะคนไม่จับจ่าย ธุรกิจล้มละลาย, ผู้คนตกงาน, งานที่หายากยิ่งขึ้น, ค่าจ้างลดลง, ต้องย้ายที่อยู่เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าที่, การลงทุนทางธุรกิจลดลงและยากที่จะเริ่มต้นธุรกิจ ขณะที่คนส่วนใหญ่ต้องยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต ดังนั้น อะไรเป็นสิ่งที่เราจะสามารถทำเพื่อเอาตัวรอดในวิกฤตินี้ได้บ้าง

1.จัดสรรเงินและพยายามลดค่าใช้จ่าย

อาจจะเริ่มจากการสร้างงบประมาณรายเดือน โดยใช้กฎ 50/30/20 ซึ่ง 50% ใช้สำหรับเรื่องจำเป็น เช่น ที่อยู่อาศัย, ร้านขายของชำ, สาธารณูปโภคและประกันสุขภาพ 30% ใช้สำหรับความต้องการ เช่น ช้อปปิ้งและงานอดิเรก อีก 20% สำหรับการออมเช่นการออมฉุกเฉิน, กองทุนวิทยาลัยหรือแผนการเกษียณอายุ เมื่อจัดสรรเงินแล้วให้ทำงบประมาณเป็นประจำและหาวิธีลดค่าใช้จ่าย โดยเป้าหมาย คือ ลดการซื้อที่ไม่จำเป็นเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น

2.ชำระหนี้

สิ่งสำคัญคือ การชำระหนี้ให้มากที่สุดและเร็วที่สุด ควรจัดลำดับความสำคัญของหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง เช่น บัตรเครดิต จากนั้นค่อยไปจัดการกับหนี้ประเภทอื่น เช่น การจำนองหรือสินเชื่อรถยนต์ ด้วยวิธีนี้คุณจ่ายดอกเบี้ยโดยรวมน้อยลง ซึ่งการชำระหนี้ก็เป็นแนวทางปฏิบัติทางการเงินที่ดี ขณะที่ในช่วงวิกฤตินี้มีนโยบายจากหลายธนาคารที่ช่วยผ่อนปรน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

อ่าน >>> 14 ธนาคาร ‘พักหนี้’

3.ปรับปรุงการศึกษาและทักษะ

หากคุณสูญเสียงาน นอกจากการตัดค่าใช้จ่ายแล้ว จะต้องหาวิธีเพิ่มรายได้ด้วย แต่ในช่วงที่การงานอาจจะหายาก ดังนั้นควรเริ่มเตรียมความพร้อมก่อน ซึ่งปัจจุบันมีหลักสูตรออนไลน์ให้เรียนฟรีมากมาย หรือลองฝึกตาม YouTube ก็มีเรื่องให้เรียนเยอะแยะ

อ่าน >>> รวมคอร์สเรียนออนไลน์ช่วงกักตัว

4.หารายได้เสริม

วิธีที่ดีที่สุดในการทนต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย คือ การหาเงินได้มากขึ้น แม้ในวิกฤติแบบนี้การงานจะหายาก แต่งานพาร์ตไทม์หรืออย่างการส่งของส่งอาหารก็กำลังขาดแคลน หรืออาจจะมาลองเป็นฟรีแลนซ์หางานออนไลน์ดูก็ได้ เช่น เป็นบล็อกเกอร์ เป็นต้น

หากพิจารณาการติดเชื้อ COVID-19 ของไทยล่าสุด (20 เม.ย.2563) ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 27 ราย มีผู้ติดเชื้อสะสม 2,792 ราย รักษาหาย 1,999 ราย รวมผู้เสียชีวิต 47 ราย จะเห็นว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะจบลงเมื่อใด แต่ในระหว่างนี้ที่ต้องอยู่แต่ในที่พัก ก็ถือว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายและเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อที่จะใช้ต่อยอดหลังวิกฤติจบลง

Source