ส่อง ‘6 วิธี’ ปรับธุรกิจออนไลน์ให้เข้ากับสถานการณ์ ‘COVID-19’

ในขณะนี้มีการปรับตัวมากมายเกิดขึ้นเพื่อให้อยู่รอดจากผลกระทบที่เกิดเพราะ COVID-19 และใครที่มี ธุรกิจออนไลน์ ถือว่าเป็นกลุ่มที่โชคดีมาก เพราะไม่ใช่แค่กลายเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภค แต่สิ่งที่ยอดเยี่ยมของธุรกิจออนไลน์ คือ ความสามารถในการปรับและเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพราะถึงแม้จะเป็นทางเลือกหลัก แต่ธุรกิจก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น ดังนั้น เราได้รวบรวมแนวทางการปรับการดำเนินงานในช่วง COVID-19 ที่จะช่วยจุดประกายความคิดใหม่ ๆ ให้นำไปประยุกต์ใช้ได้

text CHANGED BUSINESS HOURS written on blackboard with hand holding piece of chalk

1.ใช้โค้ดส่วนลดเป็นวิธีสื่อสารกับลูกค้า

รหัสส่วนลดที่มีธีมเกี่ยวกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ หากแต่ถ้าทำอย่างถูกต้องจะช่วยให้บริษัทได้สื่อสารกับผู้บริโภค และอาทำให้ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นได้ ช่วยแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าคุณเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันและต้องการรักษาหรือให้รางวัลลูกค้าในช่วงเวลานี้ เช่น โมเต็ลขนาดเล็กในเบอร์ลินผู้ ที่จะมอบส่วนลด 20% ของเบียร์และกาแฟไนโตรด้วยรหัส STAYINGHOME แทนที่จะเลือกใช้โค้ดอย่าง COVID19 พวกเขาไปเพื่อสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าของพวกเขาดังก้องมากขึ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่แยกตัวเองในปัจจุบัน

2.จัดส่งฟรี

ยิ่งช่วงต้องอยู่แต่บ้านและลูกค้าพยายามจะเซฟเงิน การจูงใจด้วยโปรโมชั่นส่งฟรีจะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น หรือซื้อได้มากขึ้นโดยการสร้างขั้นต่ำของตะกร้า ซึ่งการจัดส่งฟรีเป็นวิธีง่าย ๆ ในการให้โบนัสแก่ลูกค้า และร้านอาจจะดึงดูดง่าย ๆ โดยทำแบนเนอร์ในหน้าแรกหรือบนหน้าผลิตภัณฑ์ของคุณ

3.สินค้า Limited หรือชุดสินค้าที่เข้ากับสถานการณ์

ในอเมริกามีการทำชุดผลิตภัณฑ์หรือชุดผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น ‘Emergency TACO Kit’ ที่เป็นเมนูสำหรับส่ง Delivery โดยเฉพาะของร้าน guerrilla tacos ที่ขายในราคา 150 เหรียญ หรือประมาณ (4,950 บาท) ที่ไม่ได้ขายแต่ Taco ชุดใหญ่ไว้ทำกินเองได้หลายมื้อ แต่ยังรวมไข่ กระดาษทิชชู และของอื่น ๆ ที่ผู้บริโภคต้องการ ช่วยให้ขายได้ในราคาสูง แทยที่จะสั่งเมนูละไม่กี่สิบเหรียญ ขณะที่ค่าส่งอาจจะแพงกว่า ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคไม่อยากสั่งเพราะกลัวไม่คุ้ม

4.การมุ่งเน้นชุมชนท้องถิ่น

พ่อค้าจำนวนมากก็เริ่มให้การสนับสนุนท้องถิ่น นี่เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการยกระดับผู้อื่น และแสดงให้เห็นว่าคุณห่วงใยชุมชนของคุณมากแค่ไหน อย่างในไทยก็มีร้าน ‘หมูทอดเจ๊จง’ ที่ให้คนสามารถเอา ‘ข้าวกล่อง’ ไปขายก่อน ขายได้ค่อยเอาเงินมาให้ โดยเจ๊จงจะแบ่งกำไร 3 บาท ส่วนผู้ขายได้กำไร 7 บาท ซึ่งวิธีนี้ไม่เพียงแค่ช่วยให้คนในชุมชนมีรายได้ แต่ยังช่วยให้เจ๊จงมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่ง Win ทั้ง 2 ฝ่าย

5.มุ่งเน้นการกุศล

ไม่ใช่แค่ช่วยคนในชุมชน แต่การบริจาครายได้สู่การกุศลก็ช่วยสร้างแบรนด์ในวิกฤตินี้ได้ อาทิ เพจ GroundControl ที่ขายขายหน้ากากผ้ารุ่น Limited COVID Edition ที่ออกแบบโดยนักออกแบบ 19 คน ที่ได้แรงบันดาลใจจากเพลงของ 19 ศิลปิน เพื่อนำรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งก็ถูกจองหมดอย่างรวดเร็ว

6.การสื่อสารแบบ Real เหมาะกับช่วงนี้ที่สุด

อาจเป็นวิธีที่ร้านค้าที่ตรงไปตรงมาที่สุด ในการปรับให้เข้ากับช่วงเวลาเหล่านี้ เพียงแค่ยอมรับสถานการณ์บนโซเชียลมีเดีย โดยสร้างเนื้อหาทำให้ลูกค้ารู้ว่ามีมนุษย์จริงอยู่เบื้องหลังแบรนด์ อย่างโรงเบียร์ Motel ได้พูดคุยเกี่ยวกับความบ้าคลั่งของการใช้ชีวิตในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ในขณะเดียวกันก็อ้างอิงผลิตภัณฑ์ของพวกเขาในหน้าโซเชียลมีเดีย พวกเขายังใช้โอกาสเตือนผู้ติดตามเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กด้วยการใช้แฮชแท็ก

หลายตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจออนไลน์ขนาดกลางและเล็ก สามารถเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าได้ดีมากขึ้นกว่าช่วงปกติด้วยซ้ำ ถือเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสอย่างแท้จริง

Source