วิเคราะห์ 4 เหตุผลที่ ‘ค้าปลีก’ ใน ‘อเมริกา’ จะไม่กลับมาสดใสเหมือน ‘จีน’

อุตสาหกรรมค้าปลีกทั่วโลกได้รับผลอย่างหนักจากมาตรการ ‘ล็อกดาวน์’ ที่ออกมาเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างไรก็ตาม ประเทศจีน ได้ทยอยปลดมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ค้าปลีกเริ่มฟื้นตัว โดยหลายประเทศรวมถึง ‘อเมริกา’ เริ่มสนใจถึงแนวทางจากจีน เพื่อที่จะได้ ‘ฟื้นตัว’ เช่นเดียวกับประเทศจีน แต่นักวิเคราะห์กลับมองว่ามี 4 ปัจจัย ที่จะส่งผลให้ค้าปลีกในอเมริกาไม่มีทางฟื้นตัวได้เหมือนจีน

Photo : Shutterstock

ความต้องการตกค้างจาก ‘ตรุษจีน’

ตอนนี้ที่ประเทศจีนเริ่มมีผู้บริโภคสวมหน้ากากเข้าแถวเพื่อเข้าร้านค้า ทั้งเครื่องสำอางและเสื้อผ้าแฟชั่น เสมือนเป็นความหวังว่าจะเกิดขึ้นรูปแบบเดียวกันในอเมริกา แต่…กิจกรรมการใช้จ่ายหลังการระบาดในจีนมีสาเหตุหลักมาจากความจริงที่ว่า ผู้บริโภคจำนวนมากได้รับผลประโยชน์จาก ‘อั่งเปา’ ที่เป็นขวัญในช่วงเทศกาลตรุษจีน แต่เพราะการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้การปิดตัวของหลาย ๆ เมืองทั่วประเทศจีน ส่งผลใหเผู้บริโภคชาวจีนจำนวนมากต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านพร้อมเงิน ซึ่งไม่ใช่อเมริกา เพราะคนในประเทศเผชิญกับปัญหาการว่างงาน

“ประเทศจีนตระหนักดีว่ามีความต้องการตกค้าง เพราะหลายคนไม่เคยสัมผัสกับวันตรุษจีน และนั่นเป็นหนึ่งในช่วงที่ใช้จ่ายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับจีน” สตีฟ บาร์รอง หัวหน้าฝ่ายค้าปลีกและผู้บริโภคของ PwC กล่าว

Photo : Shutterstock

นักท่องเที่ยวที่หายไป

ที่ประเทศจีน เครือ LVMH เจ้าของ Louis Vuitton ได้กล่าวว่า ผู้ซื้อแห่กันไปที่ร้านค้าในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อมีการเปิดสาขา โดยยอดขายในประเทศจีนสำหรับแบรนด์อย่าง เช่น Dior และ Fendi กลับมาเป็นบวกกว่า 50% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

แต่ที่อเมริกา ร้านแบรนด์เนมส่วนใหญ่ถูกช้อปโดยนักท่องเที่ยว ขณะที่กลุ่มหลักก็คือ ‘ชาวจีน’ อย่างในภาวะเศรษฐกิจปกติ นักท่องเที่ยวชาวจีนมักจะมีปริมาณการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายสูงสุด ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าจนถึงร้านอัญมณีระดับสูง Tiffany & Co. ที่มีสัดส่วนยอดขายจากชาวต่างชาติเป็นเปอร์เซ็นสองหลัก โดยเฉพาะที่เมืองสำคัญๆ แต่เมื่อมีการหยุดเดินทางระหว่างประเทศ ร้านเหล่านี้จะยิ่งได้รับผลกระทบ ดังนั้นการฟื้นตัวของอเมริกาอาจใช้เวลานานกว่าจีน เพราะตอนนี้นักท่องเที่ยวชาวจีน ‘ไม่ไปไหนเลย’

การปิดที่ลากยาวอาจทำให้ชินกับออนไลน์

การค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาได้ถูกปิดนานกว่าประเทศจีน รวมถึงการปิดถาวรมากขึ้น และนั่นอาจมีผลกระทบยาวนาน และผู้บริโภคเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น เพราะอย่างจีนการปิดร้านค้าใช้เวลาเพียง 4 สัปดาห์ในบางพื้นที่ของประเทศจีน ขณะที่อเมริกาเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 เข้าไปแล้ว และเมื่อเปิดได้อาจจะมีคำถามที่ว่า “เร็วเกินไปที่ห้างจะเปิดใหม่หรือไม่” “ผู้คนสามารถกลับไปที่ร้านกาแฟได้อย่างปลอดภัยหรือยัง?” ขณะที่บางคนคิดว่ามันเร็วเกินไปโดยไม่มีการทดสอบที่เพียงพอ

Coresight ประเมินว่า ร้านค้าจำนวนมากจะยังคงปิดในสหรัฐอเมริกาจนถึงวันที่ 10 พฤษภาคมเป็นอย่างน้อย ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าอุตสาหกรรมค้าปลีกส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในช่วงมืดมนจนถึงเดือนมิถุนายน

Thought provoking message on the giant advertising boards at Piccadilly Circus almost deserted due to the Covid-19 outbreak and social distancing on what would normally be a busy, bustling day with hoards of people out to shop and socialise on 22nd March 2020 in London, England, United Kingdom. Coronavirus or Covid-19 is a new respiratory illness that has not previously been seen in humans. While much or Europe has been placed into lockdown, the UK government has announced more stringent rules as part of their long term strategy, and in particular ‘social distancing’. (photo by Mike Kemp/In PIctures via Getty Images)

การว่างงานที่เพิ่มขึ้น

ยอดค้าปลีกในเดือนมีนาคมของอเมริกาลดลง 8.7% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่รัฐบาลเริ่มติดตามผลในปี 1992 และคาดว่าเดือนเมษายนอาจแย่ลงกว่านี้ ขณะที่ช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมามีชาวอเมริกัน 26.45 ล้านคนยื่นเรื่องว่างงาน ดังนั้นผู้บริโภคจำนวนมากจะลังเลที่จะไปยังห้างสรรพสินค้ามากขึ้น ตัดภาพมาที่ประเทศจีน ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2020 มีคนประมาณ 5 ล้านคนที่ตกงานเท่านั้น

BROOKLYN, NY – APRIL 23: Local residents line up outside the food pantry Bed Stuy Campaign Against Hunger to receive free food during the COVID-19 pandemic on April 23, 2020 in the Bedford-Stuyvesant neighborhood of Brooklyn, New York. Due to increased levels of unemployment, the lines at the daily food pantry have been getting longer. (Photo by Andrew Lichtenstein/Corbis via Getty Images)

หากดูจากบทวิเคราะห์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นอัตราการว่างงานที่อาจส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค, ร้านแบรนด์เนมที่ต้องพึ่งพานักท่องเที่ยว ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่า ‘ประเทศไทย’ มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ไม่เร็วเท่าจีนนัก แต่หากดูจากสถานการณ์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ อาจมีแนวโน้มที่จะมีการปลดล็อกมาตรการล็อกดาวน์ในเร็ววันนี้ ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้

Source