ส่อง 7 พฤติกรรม ‘New Normal’ ของการช้อปปิ้งที่เกิดจาก ‘COVID-19’

มีการศึกษาว่าหากใช้เวลาทำอะไรซ้ำ ๆ ตั้งแต่สามสัปดาห์ถึงสองเดือนขึ้นไปจะเกิดเป็นนิสัยใหม่ ซึ่งจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เราไม่สามารถไปพบปะผู้คนได้อย่างปกติเป็นเวลานับเดือน ดังนั้นเราอาจกำลังเริ่มนิสัยใหม่จากวิกฤตินี้ ทั้งการทำงานและเรียนจากระยะไกล การใช้วิดีโอคอลคุยกับเพื่อนและครอบครัว การช้อปปิ้งออนไลน์ และออกกำลังกายผ่านแอป และในทางกลับกันผู้ค้าปลีกจะต้องปรับตัวให้รวดเร็ว โดยต้องจับถึงพฤติกรรมที่พวกเขาทำเพื่อให้รู้สึกปลอดภัย

Big Red Rooster บริษัทด้านการสร้างประสบการณ์สำหรับแบรนด์ ได้เผยถึง 7 พฤติกรรมสำคัญของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเพราะ Covid-19 โดย เอมิลี่ มิลเลอร์ รองประธานฝ่ายกลยุทธ์และข้อมูลเชิงลึกของ Big Red Rooster ย้ำว่า “เราไม่สามารถยกเลิกประสบการณ์หรือนิสัยใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่นี้ได้”

(Photo by Luis Ascui/Getty Images)

1. ดูแต่ตา มืออย่าต้อง

การศึกษาพบว่าไวรัส Covid-19 สามารถอยู่ได้นานถึงสามวันบนพลาสติกกับสแตนเลส และสามารถอยู่นานถึง 24 ชั่วโมงบนกระดาษแข็ง แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะสามารถใช้วัสดุ เช่น เสื้อผ้าได้นานเท่าใด ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว ส่งผลให้ผู้บริโภคที่ไปจับจ่ายด้วยตัวเองจะ ระมัดระวังในการหยิบ ไม่ว่าจะเป็นสินค้า, ตะกร้าสินค้าและกดปุ่มบนเครื่องอ่านบัตรเครดิต ดังนั้นจะเริ่มเห็นว่าผู้ให้บริการหลายรายพยายามผลักดันการใช้จ่ายผ่านมือถือ และมีเจลแอลกอฮอลล์คอยให้บริการทำความสะอาด

2. เว้นระยะห่างกับผู้คน

เช่นเดียวกับการหลีกเลี่ยงสิ่งที่สัมผัส เพราะเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้วที่เราถูกขอให้เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 6 ฟุต (ราว 2 เมตร) ดังนั้น เมื่อผู้บริโภคออกไปข้างนอกพื้นที่ หรือไปอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด ส่งผลให้ศูนย์การค้าแบบเปิดโล่งจะเป็นที่ต้องการมากกว่าห้างสรรพสินค้าที่ปิด ขณะที่จำนวนผู้ที่เข้าพื้นที่ควรถูกจำกัด เพื่อให้ไม่แออัดเกินไป อย่างร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า Best Buy จะไม่ให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้า ต้องนัดหมายล่วงหน้าก่อนเท่านั้น

3. ร้านค้าในท้องถิ่นจะยิ่งได้รับความนิยม

การระบาดใหญ่ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากให้ความสนใจในการจับจ่ายซื้อของในท้องถิ่นมากขึ้น ผู้คนต้องการที่จะสนับสนุนร้านท้องถิ่นที่พวกเขาชื่นชอบเพื่อที่พวกเขาจะไม่เลิกทำธุรกิจ

4. ใช้จ่ายแต่สิ่งจำเป็น

การซื้อของแบบ ตามอำเภอใจ มีอัตราลดลง การระบาดใหญ่ทำให้หลายคนมุ่งเน้นไปที่การหาซื้อของชำและของใช้ในครัวเรือนในขณะที่ลดการใช้จ่ายในเครื่องแต่งกายและสิ่งอื่น ๆ ที่เราไม่ต้องการทันที อย่างในสหรัฐอเมริกามียอดค้าปลีกลดลง 8.7% ซึ่งลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่รัฐบาลเริ่มติดตามยอดขายในปี 2535 โดยผู้บริโภคจะมองหาสินค้าราคาถูกสักพักหนึ่งและจะคิดสองครั้งก่อนที่จะซื้อรองเท้าคู่ใหม่ ดังนั้น ผู้ค้าปลีกที่ขายพวกเสื้อผ้าเครื่องประดับและอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ จะต้องปรับตัว

(Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

5. ทุกอย่างไป virtual

การซื้อสินค้าออนไลน์กำลังเฟื่องฟู ดังนั้นร้านค้าปลีกจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ที่มากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตได้สะดวกยิ่งขึ้น ร้านที่มีหน้าร้านจะต้องหาวิธีที่ดีกว่าในการจัดแสดงสินค้า เพื่อแข่งกับออนไลน์และเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ซื้อรู้ว่าจะซื้อเสื้อผ้าและรองเท้าขนาดใด ดังนั้นจะเห็นว่ามีบางแบรนด์ใช้เทคโนโลยี virtual มาใช้กับการลองชุด หรือแม้กระทั่งใช้สำหรับการออกกำลังกายออนไลน์

Virtual Sales Gallery ชมห้องตัวอย่าง 360 องศา ของแสนสิริ

6. เลือกแบรนด์ที่ใส่ใจในสังคมและความปลอดภัย

ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่อ่อนไหวต่อวิกฤตรวมถึงสุขภาพและความปลอดภัยของแต่ละบุคคล เมื่อบริษัทเหล่านี้ทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจ ก็จะส่งผลให้เขาตัดสินใจซื้อของได้ดีขึ้น อย่าง Nike เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ได้เปิดตัวโฆษณา Play inside, play for the world เพื่อสนับสนุนให้ผู้คนอยู่ในบ้านในช่วงที่มีการระบาด เพื่อลดการแพร่กระจายของ Covid-19 และอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคจำนวนมากกำลังมองหา คือ การเน้นความสะอาดในร้านค้าและวิธีการที่แบรนด์ปฏิบัติต่อพนักงาน

(Photo by Spencer Platt/Getty Images)

7. แบรนด์ต้องโปร่งใสถึงที่มาสินค้า

ผู้คนทั่วโลกกำลังมีประสบการณ์ร่วมกัน เพราะผลกระทบนี้ไม่ได้เกิดแค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ดังนั้น เราจึงได้เห็นผู้คนในหลายประเทศที่มีประสบการณ์แบบเดียวกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้บริโภคจะรับรู้ถึงแหล่งที่มาของสินค้าและผลิตในโลก ดังนั้น ผู้ค้าปลีกจะต้องมีความโปร่งใสมากขึ้นเกี่ยวกับ Supply Chain ทั่วโลกของพวกเขา

Source