5 ไมโครเทรนด์ ปี 2020

อีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 2020 คนไทยจะมีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน หรือ 17% ของประชากรทั้งหมด คนโสด และคู่แต่งงานที่ไม่มีบุตรจะเพิ่มขึ้น นี่คือโครงสร้างประชากรไทยใหม่ที่ทำให้การบริโภคของคนไทยเปลี่ยนแปลง และจากผลวิจัยล่าสุดของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ บ่งบอกชัดเจนว่าถึงเวลาที่แบรนด์และเจ้าของสินค้าต้องเตรียมตัวเพื่อทำความรู้จักกับ “ลูกค้าตัวจริง” ในอนาคต

ผู้สูงวัยเพิ่ม 60%
โครงสร้างประชากรของไทยจะเปลี่ยนแปลงไป จากรูปแบบพีระมิดในปี 1994 ไปเป็นรูปทรงเหยือกในปี 2007-2020 โดยปี 1994 กลุ่มอายุ 10-24 ปี เป็นกลุ่มที่มีมากที่สุดของประเทศ แต่ในปี 2020 กลุ่มอายุ 45-59 คือกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด สัดส่วนกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จะเหลือ 17% จากเดิมมี 22% ของประชากรทั้งหมด ส่วนผู้สูงวัยหรือ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจาก 11% เป็น 17% หรือมี 12 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่า 60% จากปี 1994 โดยผู้สูงวัยหญิงจะมากกว่าชายถึง 1.5 ล้านคน

นอกจากนี้อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีของประชากรวัยทำงาน หรือช่วง 15-60 ปี จะลดลงจากปีละ 1% เหลือ 0.5% ในช่วงปี 2007-2020 ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจับตา เพราะปกติถ้าวัยทำงานเพิ่มขึ้นเร็ว อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมักเติบโตรวดเร็วด้วย และคาดว่าปี 2020 จะมีผู้สูงวัย 27 คน ต่อวัยทำงาน 100 คน หรือเพิ่มขึ้น 50% จากปี 2007

4 รูปแบบใหม่ของชีวิต
นอกจากนี้วัฎจักรชีวิตของคนไทยยังเปลี่ยนแปลง คือ
1.แต่งงานช้าลง
กลุ่มอายุ 20-29 ปี แต่งงานลดลงจากประมาณ 55% ในปี 1994 จาก 50% ในปี 2007 เหลือ 45% ในปี 2020

2.ผู้หญิงทำงานมากขึ้น
77% ของผู้หญิงอายุ 20-29 ปี ทำงานในปี 2020 เทียบกับปี 1994 มี 74%
7 แสนคน หรือ 8% ของผู้หญิงอายุ 30-49 ปี ในปี 2020 ไม่ได้ทำงาน น้อยกว่าปี 1994 ที่มีมากกว่า 20%

3.การหย่าร้างเพิ่มสูงขึ้น
7% ของคนอายุ 40-49 ปีหย่า หรือแยกกันอยู่ เพิ่มขึ้นจากปี 1994 ที่มี 3% และปี 2007 มี 6% หรือ หย่า 10 ต่อ 100 ของการจดทะเบียนสมรสในปี 1994 และ 30 ต่อ 100ในปี 2007

4.การมีบุตรลดลง
9 ล้านคน เป็นคู่สมรสที่ไม่มีบุตรในปี 2020 เทียบกับปี 2007 มี 6 ล้านคน เพราะคนแต่งงานช้าลง มีการทำงานทั้งสามีและภรรยา และถึงมีบุตร ก็มีการแยกไปอยู่เองมากขึ้น เฉลี่ย 40%

Mid-High end เพิ่มขึ้น
ปี 2020 มีจำนวนครัวเรือนจำนวนมากที่ยกระดับรายได้เพิ่มขึ้น โดยระดับปานกลางเพิ่มขึ้นจาก 14% เป็น 30% และระดับสูงจาก 4% เป็น 11%

โครงสร้างรายได้ (% ของจำนวนผู้มีรายได้ทั้งหมด)
รายได้บาทต่อเดือน ปี 2007 ปี 2020
น้อยกว่า 15,000 82 59
15,000-35,000 14 30
มากกว่า 35,000 บาท 4 11

5 ไมโครเทรนด์มาแรงปี 2020
1.ผู้หญิงตัวคนเดียว (ม่าย) มี 5.6 ล้านคน
จากอัตรการหย่า แยกกันอยู่เพิ่ม หญิงอายุยืนขึ้น ผู้ชายเสียชีวิตเร็วกว่า และมีแนวโน้มแต่งงานใหม่ ผู้ชายเป็นม่ายน้อยกว่า จึงทำให้มีผู้หญิงที่อยู่คนเดียว 5.6 ล้านคน แบ่งเป็น 3.8 ล้านคนเป็นม่าย และ 1.8 ล้านคนม่ายเพราะหย่าร้าง

2.เจ้านายผู้หญิง ไม่มีตัวเลขระบุจำนวนว่าจะมีผู้หญิงที่เป็นหัวหน้างานมากเท่าไหร่ แต่ที่แน่ๆ คือมีมากขึ้นเพราะมีแรงงานผู้หญิงมากขึ้น และการศึกษาดีขึ้น โดยจากข้อมูลของมหาวิทยาลัย 10 แห่งของไทย มีนักศึกษาหญิงมากกว่าชายถึง 9 คณะจาก 10 คณะ ในปี 2547 เป็นคณะหลักสายวิทยาศาสตร์ 5 คณะ และสังคมศาสตร์ 5 คณะจากปี 2517 มีแค่ 2 คณะจาก 10 คณะ

3.ครัวเรือนที่เกิดจากการแต่งงานใหม่
ผู้ชายที่หย่าร้างมักแต่งงานใหม่กับหญิงที่ยังไม่เคยแต่งงานมาก่อน โดยทุกช่วงอายุ สัดส่วนผู้ชายที่หย่าร้างต่อจำนวนประชากรชายในแต่ละช่วงอายุต่ำกว่าผู้หญิงหย่าร้าง เช่น อายุ 40-49 ปี ผู้ชายหย่ามี 4% ขณะที่ผู้หญิงหย่า 7% เมื่อผู้ชายแต่งงานใหม่กับผุ้หญิงโสดมากกว่าผู้หญิงที่หย่าร้าง

4.ครอบครัวคู่สมรสที่ไม่มีบุตร เพราะแต่งงานโดยไม่มีบุตร ซึ่งกว่า 60% มีอายุมากกว่า 40 ปี จึงมีโอกาสน้อยที่จะมีบุตร และ 40% มีบุตร แต่บุตรได้แยกครอบครัวไปแล้ว

5.ครอบครัวที่ไม่ใช่ครัวเรือนเดี่ยว จากคู่สมรสที่หย่าร้าง ไม่มีบุตร ส่งผลให้เกิดลักษณะครัวเรือนแบบใหม่ หลากหลาย เช่น ครอบครัวสมรสไม่มีบุตรแต่อยู่กับหลาน หรืออยู่กับญาติ

โอกาสของธุรกิจ
สำหรับผู้สูงวัย
1.ธุรกิจโรงพยาบาล โอกาสดีกว่าโรงเรียน เพราะคนแก่เพิ่ม เด็กลด
2.อุปกรณ์ที่คุณสมบัติเรียบง่าย ไมซับซ้อน ใช้งานง่าย
3.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติมากขึ้น รูปทรงเล็กลง

สำหรับครัวเรือนที่เปลี่ยนไป
1.ครัวเรือนที่แต่งงานมันใช้จ่ายสำหรับการคมนาคม
2.คนที่อยู่คนเดียวและคู่สมรสไม่มีบุตร ใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย (อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมีเนียม) และสันทนามากกว่า