เร่งเครื่อง “สินเชื่อบุคคล” โตหลังวิกฤต KTC ลุยบัตรกดเงินสด เสริมรายได้เเทนดอกเบี้ยลด

ในปี 2563 แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัวจาก COVID-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนให้ระมัดระวังการใช้จ่าย ต้องประหยัด เเละเน้นเก็บเงินไว้เป็นสภาพคล่องมากขึ้น 

หลังมาตรการคลายล็อกดาวน์ ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ห้างร้านเเละภาคธุรกิจ ทยอยกลับมาให้บริการอีกครั้ง มีเเววจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง จากความหวังว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 มาเเล้ว เป็นอีกหนึ่งโอกาสของกลุ่มธุรกิจ Non-Bank ที่จะเร่งเครื่องธุรกิจ “สินเชื่อบุคคล” มากขึ้น

ช่วงเดือนเม.. ถึงพ..ที่ผ่านมา เราได้เห็นสัญญาณการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น จนในเดือนมิ..ถึงเดือนก.. ตัวเลขการผิดนัดชำระกลับมาสู่ระดับปกติแล้วพิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจสินเชื่อบุคคล บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด หรือ KTC กล่าว

ในช่วงที่วิกฤต COVID-19 ทวีความรุนเเรงขึ้น KTC ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า เช่น การลดขั้นต่ำการผ่อนชำระ ลดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ขณะที่การปรับลดเพดานดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กำหนดให้สินเชื่อบัตรเครดิตที่ลดจาก 18% เหลือ 16% สินเชื่อบุคคลลดจาก 28% เหลือ 25% ส่งผลกระทบต่อรายได้ธุรกิจ Non-Bank โดยตรง

โดย KTC ประเมินว่า การปรับเพดานดอกเบี้ยดังกล่าว จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยหายไปราว 100 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งจะต้องเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น อย่างการควบคุมความเสี่ยงเเละปรับเกณฑ์ด้านสายงานลูกค้าในการพิจารณาสินเชื่อ เช่น สายงานลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง อย่างสายการบิน โรงแรม ทัวร์เเละการท่องเที่ยว

ปัจจุบันยอดปฏิเสธบัตรใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 75% จากช่วงก่อน COVID-19 จะอยู่ที่ราว 70%”

ผู้บริหาร KTC มองว่า เเม้ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เเม้สถานการณ์เริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยง เพราะถ้าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้า อย่างไรผู้คนก็จะระมัดระวังการใช้จ่ายและรักษาสภาพคล่องเงินสดมากขึ้น อีกทั้งต้องรอดูว่าภาครัฐทุ่มงบประมาณเพื่ออัดฉีดเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหรือไม่ ดังนั้นภาพรวมในช่วงต่อไปจึงต้องมีการประเมินอีกที

ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิ.. 2563 ทาง KTC มีโครงสร้างลูกหนี้ เเบ่งเป็นบัตรเครดิต 63.8% เเละสินเชื่อส่วนบุคคล 36.2% เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม (ยอดลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล) อยู่ที่ 30,244 ล้านบาท ส่วนหนี้เสีย (NPL) ในหมวดของสินเชื่อบุคคลที่ถูกคำนวณตามมาตรฐานใหม่ TFRS9 อยู่ที่ 8.5% ต่างจากในมาตรฐานเดิม ณ ปี 2562 NPL อยู่ที่ 0.8% เท่านั้น 

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในยามนี้ เราจึงจะได้เห็นบรรดาบัตรเครดิต มีการออกแคมเปญ “ผ่อน 0%” กันมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย โดยเฉพาะในสินค้าที่มีวงเงินค่อนข้างสูง เช่น โรงพยาบาล ความงาม และรถยนต์ นับเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงนี้

ตั้งแต่ช่วงมาตรการล็อกดาวน์จนถึงปัจจุบัน พบว่ายอดการกดเงินลดลงประมาณ 1-2% จากการระมัดระวังการใช้จ่ายของลูกค้า เเละปกติมียอดใช้จ่ายเฉลี่ยทั้งหมดคนละ 1 หมื่นบาทต่อเดือน

ด้านการกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจช่วงครึ่งปีหลังของ KTC จะมุ่งไปที่การทำให้รายได้ดอกเบี้ยที่ลดลงสามารถทยอยกลับคืนมาได้ ซึ่งมีกลยุทธ์หลักๆ อย่างการขายบริการสู่ธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกัน เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถพี่เบิ้ม” เเละล่าสุดกับการเปิดตัวบัตรกดเงินสด KTC PROUD-UNIONPAY โดยตั้งเป้าผู้ใช้ถึงแสนใบ ภายในสิ้นปีนี้

โดย KTC PROUD-UNIONPAY จะมี 4 ฟังก์ชันหลัก กดโอนรูดผ่อน ซึ่งในเดือนก..นี้ จะสามารถโอนเงินเข้าบัญชีทุกธนาคารแบบเรียลไทม์ผ่านแอปฯ KTC Mobile ได้ทันที ขณะที่กลุ่มลูกค้าหลักที่ต้องการจะเจาะยังเป็นกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรับฐานเงินเดือนตั้งเเต่ 12,000 บาทในส่วนของผู้ที่มีรายได้ประจำ แต่หากเป็นเจ้าของธุรกิจเริ่ม 20,000 บาทต่อเดือน

เราหันมาขยายฐานบัตรสินเชื่อกดเงินสด เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในสถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ได้มากกว่า

โดยในปีนี้ KTC ตั้งเป้าสินเชื่อใหม่ว่าจะเติบโตราว 10% และคาดว่าจะมีสมาชิกมีบัตรใหม่เพิ่มขึ้น 1.6-1.8 แสนคน จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 891,875 บัญชี และมีส่วนแบ่งทางการตลาด 5.4% ของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งตลาด