เรื่องโกลาหล ของ e-Commerce, Social Commerce และนัก Shop Online ในปี 2011

ผมว่าเกือบทุกคนที่อ่าน POSITIONING มาถึงเล่มนี้ และมาถึงบทความนี้คงได้มีโอกาสเห็นและรู้จัก Deal สินค้าและบริการราคาพิเศษจาก Social Commerce หลายรายทั้งในไทยหรือต่างประเทศ ที่กำลังโฆษณา Deal สุดพิเศษผ่านทางหน้า Facebook และช่องทางต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ผู้ให้บริการรายนั้นๆ อาทิ Email, Facebook หรือ Twitter

นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของความตื่นตาตื่นใจที่ทำให้บรรดาสาวกนัก Shop ที่อยู่บนโลกออนไลน์ สนใจที่จะเริ่มจับจ่ายใช้สอยกับบริการ Deal สุดพิเศษกันมากขึ้น เป็นแม่เหล็กที่จะดึงดูดคนOnline ที่อาจไม่เคยใช้บริการ e-Commerce มาก่อน เริ่มเปลี่ยนตัวเองมาเป็นนัก Shop Online กันมากขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะความดึงดูดใจของราคาที่หาไม่ได้จากโลก Offlineและสินค้าต่างๆ ต่างก็แย่งกันเข้ามาขายของ เสนอดีลราคาลดกระหน่ำ กับผู้ให้บริการกันอย่างไม่เว้นแต่ละวัน หวัง Volume สูงในการขายสินค้าและโปรโมตธุรกิจให้เป็นที่รู้จักผ่านฐานสมาชิกที่มีอยู่มากมายในผู้ให้บริการแต่ละราย อย่างนี้จะมีหรือที่จะไม่มีสักดีลที่โดนใจคุณ จนต้องควักกระเป๋าจ่ายในที่สุด

Social Commerce มาและตลาดโต

ข่าวที่น่าสนใจในเดือนธันวาคมที่ผ่าน ซึ่งกลายเป็นที่จับตาของบรรดานักวิเคราะห์และนักการตลาดออนไลน์ คือข่าวการยื่นข้อเสนอของGoogle เข้าเสนอซื้อบริษัท Social Commerceรายใหญ่ที่สุดของโลกคือ “Groupon” ด้วยสนนราคาที่ก้อนโตถึง 6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งโตขึ้นมากเมื่อย้อนกลับไปดูการประเมินในช่วงเวลาไม่นานก่อนหน้านี้ มูลค่าของ Grouponและการเข้าเสนอซื้อของ Googleและ Yahoo เป็นนัยที่กำลังบอกว่า Social Commerce และธุรกิจออนไลน์ที่สามารถเข้าถึง จับกลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่นนั้น กำลังเป็นตลาดที่กำลังโตและน่าจับตามอง แม้ว่าดีลนี้จะไม่สามารถคุยกันได้สำเร็จแต่ก็ทำให้นักวิเคราะห์และนักการตลาด เล็งเห็นและจับตามองโอกาสที่ดีในธุรกิจ Ecommerce ปีนี้

กระตุ้น Ecommerce ทั่วโลก

สำหรับในไทย ด้วยกระแสความสำเร็จของ Groupon ทำให้เกิดผู้เล่นสัญชาติไทยลงมาจับธุรกิจนี้กันหลายราย เนื่องด้วยเทคโนโลยีการก่อตั้งเว็บไซต์ตามต้นแบบอย่าง Groupon ไม่ได้ยุ่งยากและใช้เทคโนโลยีที่สูงนัก ทำให้การทำธุรกิจรูปแบบนี้เป็นไปได้ไม่ยาก ขอแค่มี Power ในการติดต่อดีลกับแบรนด์สินค้าและร้านค้าต่างๆ และฐานสมาชิกในระบบ ใครมีดีลที่ดีและมีกลุ่มผู้ซื้อฐานสมาชิกมากโอกาสสร้างกำไร Win Win ก็เป็นไปได้ง่ายๆ ครับ ซึ่งปีนี้เอง Ecommerce ในไทยจึงเป็นปีที่น่าจับตา

เห็นผมพูดเกี่ยวกับ Social Commerce เยอะขนาดนี้เป็นเพียงแค่แนะนำคร่าวๆ ให้เห็นภาพรวมที่สำคัญๆ ของแนวโน้มEcommerce ที่เกิดขึ้น แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระแสความโกลาหลที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ เพราะนักวิเคราะห์รวมถึงผมเองคาดการณ์ความสนุกที่จะเกิดขึ้นในการซื้อขายออนไลน์ จะมีอะไรๆ ที่ทำให้นักช้อปออนไลน์ จะกลายเป็นคนคลั่งช้อปสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ไปเลยครับ

5 Trend ที่จะกระตุ้นการซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ ในปี 2011

1. Group Deal (Social Commerce) ยังต้องยกให้เป็นอันดับหนึ่งของ e-Commerceปี2011 แต่ในปีนี้การทำธุรกิจในรูปแบบนี้จะกลายเป็น Mindset ใหม่ของผู้บริโภคออนไลน์ที่จะนึกเวลาที่ต้องการค้นหาบริการ สถานที่พัก ร้านอาหาร บริการต่างๆ ในราคาประหยัดมากกว่า 50% ก็จะเข้าไปยังเว็บไซต์เหล่านี้ Step ต่อไปที่จะเกิดขึ้น คือการแข่งขันกันในด้านกลยุทธ์ในการสร้างฐานลูกค้าเป็นอำนาจในการต่อรอง เพื่อคุยกับธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้ได้ Exclusive Deal ที่หาไม่ได้จากตามท้องถนน

และในปีนี้เองก็จะเริ่มเห็นการมาและจากไปกันบ้างจากผู้ให้บริการต่างๆ เนื่องจากรายใหญ่อย่าง Groupon ก็รุกตลาดทั่วโลกเช่นกัน สิ่งที่จะทำให้เกิดสีสันขึ้นมาได้บ้างในปีนี้คือ Deal ที่เป็นกลุ่มความ สนใจเฉพาะ อย่างเช่น เว็บไซต์ดีลราคาพิเศษสำหรับคนรักสัตว์ หรือนักดื่ม เป็นต้น สิ่งที่น่าจับตามากๆ คือความสนุกของผู้ให้บริการต่างๆ ที่จะต้องเข็นกลยุทธ์ในการสร้างฐานสมาชิกและกิจกรรมสร้าง Awareness ของตัวเองให้ผู้ใช้นึกถึงเป็นอันดับแรกๆ เมื่อนึกถึง สินค้าบริการราคาพิเศษ เพราะปัญหา หนึ่งที่จะพบในปีหน้าคือ ผู้ให้บริการที่กระโดดเขามาสู่ตลาดค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็นหน้าใหม่ หรือหน้า เก่าที่กระโดดเข้ามาร่วมวง ทำให้คนออนไลน์คงจะสับสนและเลือกซื้อบริการของใครดีในเมื่อสินค้าราคา พิเศษอาจจะเป็น Spa ร้านอาหารที่อาจไม่แตกต่างกันมากนัก มาดูกันครับว่าปีนี้เจ้าไหนจะขนดีลพิเศษๆ ถูกใจลูกค้าได้มากที่สุด

2. Local Discount with LBS (Location Base Service) ปีนี้เป็นปีของ Location Base Service เลยก็ว่าได้ครับ หลังจากปีที่ผ่านมากลายเป็นกระแสฮิตเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ที่ไม่กว้างมากนักสำหรับผู้ให้บริการหลารายอย่างที่คนไทยน่าจะรู้จักมากพอสมควรอย่างFoursquare ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้ทะลุหลัก 5 ล้านคนไปเมื่อไม่นานมานี้หรือGowalla เองก็ตามก็ยังมีผู้ใช้จำนวนยังไม่หวือหวามากนัก แต่หลังจาก Facebook ปล่อย Facebook Place ลงสู่ตลาด พร้อมกับจำนวนผู้ใช้ที่มีฐานผู้ใช้งาน เข้าถึงFacebook ผ่านมือถือถึง 200 ล้านคน นั่นจะทำให้เทคโนโลยี LBS เข้าสู่กระแสหลักโลกดิจิตอลไปโดยปริยาย

การทำการตลาดโดยใช้ LBS มาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางการตลาดดูจะง่ายขึ้น เพราะผู้ใช้งาน Smart Phone โดยส่วนมากหากเป็นสมาชิกเว็บ Social Network อยู่แล้วก็ใช้งาน Social Network ผ่าน ทาง Smart Phone รุ่นต่าง และที่มี Application ที่เกี่ยวกับ Social Network อยู่ในเครื่อง โดยเฉพาะ Applicationยอดฮิตอย่าง Facebook และ Twitter

Location Base Serviceนี้ จะกลายเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นยอดขายให้กับธุรกิจท้องถิ่นและแบรนด์ต่างๆ ได้ จะเห็นได้มากขึ้นในปีนี้ ผ่านการร่วมมือกันระหว่างแบรนด์สินค้า ธุรกิจต่างๆ กับผู้ให้บริการด้าน LBS แน่นอนว่าสิ่งที่จะเห็นมากขึ้นในปีนี้คือ Facebook Deals การเช็กอินร้านค้าต่างๆ ผ่าน Facebook App บนมือถือเพื่อรับสิทธิพิเศษจากร้านค้าจะมีให้เห็นมากขึ้นก็จะเป็นการโฆษณาสนุกกับเทคโนโลยีและการ Shoppingกันได้เลยครับ

3. Ecommerce on Facebook ถึงเวลาของRetail และแบรนด์สินค้าแล้ว ช่วงเวลาขาขึ้นของ Facebook อะไรๆ ก็ดูหอมหวานไปหมด เมื่อผู้ใช้มากกว่า 500 ล้านใช้เวลาอยู่บน Facebook จะเป็นอะไรไปถ้าจะเจียดเวลาแค่ไม่กี่นาทีมา Shopping ผ่าน Facebook กันตรงนั้นเลย

มีหลายๆ สินค้ามีหน้า Facebook ที่มีแฟนๆ ติดตามอยู่จำนวนมาก การนำสินค้าเข้าไปขายบรรดาแฟนๆ ที่รู้สึกดีอยู่แล้วกับแบรนด์ หรือเป็นลูกค้าอยู่แล้วคงไม่ใช่เรื่องยากที่จะดึงเงินในกระเป๋าออกมาจับจ่ายบนFacebook ได้ทันที นี่เป็น Step ถัดไปขายการสร้างเม็ดเงินผ่าน Facebook ได้ไม่เพียงเป็นแค่เป็นช่องทางที่ติดต่อกับลูกค้าเท่านั้นเมื่อถึงจุดที่แบรนด์ต่างๆ สามารถสร้างฐาน แฟนๆ บน Social Network ได้เป็นจำนวนมากๆ เป้าหมายถัดไปจะดีกว่ามั้ยถ้าสามารถสร้างรายได้ได้

Applicationเป็นช่องทางที่พัฒนาขึ้นมาให้ยืดหยุ่นสำหรับสร้างโปรแกรม หรือความสามารถเพิ่มเติมนอกเหนือจากระบบที่มีอยู่ ช่องทางนี้เลยสามารถทำให้ Facebook สามารถเชื่อมระบบการจ่ายเงิน หรือดึงร้านค้าขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของ Facebookได้อย่างไร้ข้อจำกัด

ก่อนหน้านี้ทางดิสนีย์ในช่วงก่อนจะถึงกำหนดฉาย และช่วงที่มีการฉายภาพยนตร์ ToyStory3 มีการเปิดให้จองตั๋วหนังล่วงหน้าได้ผ่านหน้า Facebook ของ ToyStory โดยเชื่อมระบบ Fandangoเว็บให้บริการในจองตั๋วภาพยนตร์รายใหญ่ โดย Gimmick ของ Application คือสามารถชวนเพื่อนที่เป็นเพื่อนกันอยู่บน Facebook อยู่แล้ว ไปดูหนัง ToyStory3 กันได้ และสามารถเชื่อม สร้างเป็นกิจกรรมRSVP ชวนเพื่อนๆ มาดูหนังโพสต์ผ่านหน้า Wall กระจายออกไปได้ทันที ทำให้เกิดการรู้จักอย่างรวดเร็ว และเกิดการซื้อสินค้ากันเป็นกลุ่มๆ เพื่อนซื้อเราก็มีโอกาสซื้อตามเพื่อนๆ ได้เหมือนกัน หรือล่าสุดครับกับ Case การเปิดตัวShop บน Facebook อย่างเป็นทางการของ JCPenneyถือเป็น Facebook e-Commerce Application รายแรกที่ทำเต็มรูปแบบเฉพาะสำหรับ Facebook ที่สมบูรณ์ที่สุด ดึงสินค้ากว่า 11 ประเภทขึ้นมาให้แฟนๆ บน Facebook ได้เข้าไป Shopping และ Share สินค้าที่อยากได้ไปยังเพื่อนๆ หรือซื้อของได้ทันทีเช่นกันครับ

4. Digital Campaign Best Deal ทำใมต้องขายสินค้าราคาดีลสุดพิเศษผ่านทางเว็บไซต์ดีลเท่านั้น ในเมื่อแบรนด์สามารถกำหนดราคาและสร้างกิจกรรมออนไลน์ด้วยตัวเองได้ เรื่องของ Digital Campaign เองได้ ในกิจกรรรม ออนไลน์ การดึงคนเข้ามาร่วมกิจกรรมเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของนักการตลาดดิจิตอลที่จะทำยังไงถึงสามารถดึงกลุ่มเป้าหมาย เข้ามาเล่นกิจกรรมให้ได้มากที่สุด และเกิดส่วนร่วม (Participation) กับ Campaign ให้มากที่สุด

ส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา คือการใช้รางวัลจูงใจ หรือ การให้ Benefit บางอย่างกับ ลูกค้า (Deliver Real Benefit) เพราะถ้าเขาได้ประโยชน์มากๆ ผู้บริโภคจะมีแรงงจูงใจให้มีส่วนร่วมทางการตลาด ในทางกลับ กัน ผู้บริโภคเองก็จะไม่ร่วมถ้ากิจกรรมที่ไม่ค่อยได้ประโยชน์ การจะเอาสินค้าแบรนด์เข้าไปแทรกเป็นดีล ประจำวันต้องผ่านขั้นตอนการคัดเลือกหลายอย่าง ทำไมแบรนด์ใหญ่ๆ ถึงต้องไปง้อ ผู้ให้บริการ Social Commerce ในเมื่อมีทั้งงบและสินค้าเป็นต้นทุนที่ได้เปรียบกว่า

ส่วนหนึ่งของ Digital Campaign ในปีนี้จะมีการเอาดีลสุดพิเศษมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางการตลาดออนไลน์เกาะกระแส Social Commerce ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง Campaign ส่งท้ายปีของ Property Perfect ที่ให้ราคาซื้อบ้านราคาพิเศษในเวลาที่จำกัดบนเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเฉพาะเทศกาลส่งท้ายปี

5. Flash Sales มาถึงความน่าสนใจของเทรนด์ตัวสุดท้าย สำหรับตัวนี้ ไม่แตกต่างจากระบบของการซื้อสินค้าในระบบของ Member Deal การลดราคาพิเศษ และ Group Deal เท่าไหร่นัก เพียงลักษณะของ Flash Deal เป็นการบอกดีลแบบ Real-time เป็น Event สั้นๆ ที่ไม่บอกช่วงเวลาที่ชัดเจนในการปล่อยสินค้าราคาพิเศษ ขอเพียงแค่เข้ามาในเว็บไซต์ช่วงเวลา ที่กำหนดเท่านั้นคุณถึงจะได้ดีลนั้นไป โดยการบอกเวลาจะไม่บอกล่วงหน้านานนักอาจจะบอก 5-30 นาทีก่อนการปล่อยสินค้าราคาสุดพิเศษไป ทำให้เกิดอาการที่ผู้บริโภคต้องเข้ามาเช็กความเคลื่อนไหวที่หน้าเว็บไซต์บ่อยๆ

เคสที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคือ Dell ในการปล่อยดีลพิเศษผ่านทางทวิตเตอร์เพื่อให้เข้าไปซื้อ สินค้าราคาพิเศษในช่วงเวลาสั้นๆ คนจำนวนมหาศาลเข้าไปสั่งซื้อสินค้ากันอย่างถล่มทลาย ส่งผลให้ยอด Follower ที่ติดตามทวิตเตอร์ของ Dell @DellOutlet เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเป็นที่แรกที่ Follower จะรู้ ความเคลื่อนไหวของดีลที่จะเกิดขึ้นได้เร็วที่สุด และได้สินค้าราคาพิเศษสุดเช่นกัน รวมถึงการติดตาม ข่าวสารของ Dell ปัจจุบัน จำนวน Follower ของ Dell มีมากกว่า 1 ล้านคน เช่นกันในเว็บไซต์ของ Retail ต่างๆ อย่าง Amazon เว็บ Fashion Shopping ต่างๆ ก็จะมีการใช้รูปแบบของ Flash Sales มากขึ้น เป็น กลยุทธ์ในการกระตุ้นการเข้าเว็บไซต์ให้สูงขึ้น เพราะลูกค้าจะเฝ้ารอหน้าจอ เพื่อรอเวลาที่จะได้สินค้า ราคาสุดพิเศษ