ส่องเทรนด์การท่องเที่ยวหลังโควิด คนไทย ‘มองบวก’ พร้อมออกเดินทางเที่ยวในประเทศ กว่า 1 ใน 3 มีแผนออกเที่ยวภายใน 2 เดือนแรกหลังปลดล็อก เน้นตามหาสถานที่ใหม่ๆ สนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น ชอบเเพ็กเกจรวมหลายกิจกรรมสุดคุ้ม
Agoda (อโกด้า) แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการท่องเที่ยว เปิดเผยถึงผลการสำรวจในหัวข้อ เทรนด์การท่องเที่ยวเมื่อการเดินทางกลับมาอีกครั้ง ปี 2021
โดยทำการสำรวจใน 4 ประเทศคือ กลุ่มคนไทย 2,072 คน ระหว่าง 26-30 สิงหาคม 2564 คน ประเทศฟิลิปปินส์ 1,102 คน ระหว่าง 10-14 มิถุนายน 2564 คนมาเลเซีย 1,107 คน ระหว่าง 20-24 พฤษภาคม 2564 และเวียดนาม 1,103 คน ระหว่าง 15-19 กรกฎาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์
คนไทยพร้อมเที่ยว
“คนไทยเพศชาย (50%) มีแนวโน้มที่จะท่องเที่ยวภายในประเทศภายใน 6 เดือนข้างหน้า มากกว่าคนไทยเพศหญิง (45%) เล็กน้อย”
โดยผู้ตอบแบบสำรวจเพศชาย (22%) มีความคิดอยากออกเดินทางทันทีเมื่อข้อจำกัดด้านการท่องเที่ยวถูกยกเลิก มากกว่าผู้ตอบแบบสำรวจเพศหญิง (19%)
- Standard Chartered มอง ‘ท่องเที่ยวไทย’ ใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีถึงจะฟื้น ฉุดเศรษฐกิจอ่อนเเอ
- ออกทริปเลย! “คนรุ่นใหม่” ครึ่งหนึ่งพร้อมเดินทางทันที “เชียงใหม่” จุดหมายยอดฮิต
Gen X อยากเที่ยวมากสุด
ภายในกรอบระยะเวลาเดียวกัน พบว่า คนไทย Gen X (1965-1980) มีความอยากท่องเที่ยวมากที่สุด 51% ตามมาด้วย millennial หรือ Gen Y (1981-1996) มีสัดส่วน 49%, baby boomer (1946-1964) สัดส่วน 47% และ Gen Z (1997-2009) สัดส่วน 41%
คนไทยส่วนใหญ่ มองว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเป็นไปในแง่ดี โดย 3 ใน 5 คาดหวังว่าจะสามารถท่องเที่ยวได้อีกครั้ง ซึ่ง 38% ของคนกลุ่มนี้คาดหวังว่าจะท่องเที่ยวแบบไม่มีข้อจำกัดได้
ส่วนอีก 23% คาดหวังว่าจะท่องเที่ยวได้ แต่คงยังมีข้อจำกัด หรือต้องท่องเที่ยวผ่านแทรเวลบับเบิล (travel bubble) หรือแทรเวลคอริดอร์ (travel corridor) เท่านั้น
ตามหาสถานที่ใหม่ ๆ เช่าโรงเเรมท้องถิ่น
ด้านพฤติกรรมนั้นพบว่า ตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 คนไทยไปท่องเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ บอกว่า การไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ รองลงมาคือ การไปเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักแทนสถานที่ท่องเที่ยวหลัก และการไปเที่ยวสถานที่ที่เคยไปแล้ว โดยมองในมุมใหม่
นอกจากประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวใหม่ ๆ แล้ว ยังมองเรื่องการสนับสนุนโรงแรมอิสระ รวมถึงธุรกิจในท้องถิ่น และการจองแพ็กเกจท่องเที่ยวพิเศษ ที่มีอาหารและเครื่องดื่ม โปรโมชันสปา หรือการอัพเกรดห้องพักรวมอยู่ด้วย
ผลการสำรวจดังกล่าว ยังแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านประเภทของสถานที่ท่องเที่ยวด้วย โดยอาการเบื่อบ้าน รวมถึงการต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้คนไทยหันไปสนใจการไปท่องเที่ยวชมทิวทัศน์ป่าไม้/ภูเขาและชนบท มากกว่าการไปท่องเที่ยวในเมือง/ชานเมือง