สรุปเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค Gen Y และ Gen Z ที่แบรนด์ต้องรู้

ประเทศไทยกลับมาเปิดตลาดอีกครั้ง และหลายธุรกิจก็กำลังแข่งขันกันด้วยโปรโมชันต่าง ๆ สำหรับเทศกาลวันหยุด และ การเตรียมการสำหรับปีใหม่นี้ ผู้บริหาร นักการตลาด และ เจ้าของแบรนด์จะต้องเร่งค้นคว้าและหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคอีกครั้ง สำหรับการวางแผนการตลาดสำหรับปี 2565

ปัจจุบัน กลุ่มคนมิลเลนเนียล (Gen Y) เป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก ซึ่งมีประชากรถึง 1,800 ล้านคนทั่วโลก คิดเป็น 23% ของประชากรทั้งหมด โดยทวีปปเอเชียเป็น 1 ใน 4 ของประชากรกลุ่มมิลเลนเนียลของโลก เนื่องจาก Gen Z และ Gen Y ตอนปลาย เป็นกลุ่มคนหนุ่มสาวยุคดิจิทัล บางครั้งจึงมีความเชื่อผิดๆ อย่างแพร่หลายว่าคนสองรุ่นนี้มีความคล้ายคลึงกันแทบจะทั้งหมด

ประชากรแต่ละรุ่นมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน การพัฒนาของโลกดิจิทัลมีอิทธิพลต่อพวกเขามาก ดังนั้นการทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินและทำความเข้าใจพฤติกรรมและอะไรคือแรงจูงใจที่สนับสนุนพฤติกรรมของผู้ซื้อ แบรนด์นาว เอเชีย ได้ทำการวิจัยเบื้องต้น และได้ข้อสรุป ดังนี้

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคนรุ่นก่อนๆ คือคนรุ่นมิลเลนเนียล (Gen Y) เติบโตขึ้นมาในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู และ Gen Z เติบโตขึ้นในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภคของคนรุ่นต่อไป

  • คน Gen Y ให้ความสำคัญกับการค้นหาหรือลองประสบการณ์ใหม่ๆ ยอมจ่ายแพงกว่าถ้าได้รับการบริการลูกค้าระดับพรีเมียม
  • Gen Z ให้ความสำคัญกับการประหยัดเงินและค้นหาข้อเสนอที่ดีที่สุด
  • Gen Y มักจะชอบทำงานเป็นกลุ่ม สนุกกับการเข้าสังคม รักครอบครัว และต้องการการตอบสนองความของพ่อแม่
  • ด้าน Gen Z มีความสามารถเฉพาะตัว รักอิสระมากขึ้นเนื่องจากชอบการแข่งขัน พวกเขาต้องการจัดการและควบคุมสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวพวกเขาได้
  • ทั้งสองรุ่นมีความแตกต่างกันในที่ทำงาน คน Gen Y มีแรงจูงใจจากเสรีภาพ ความยืดหยุ่น และโอกาสในการทำงานมากกว่ารุ่นพ่อแม่ของพวกเขา
  • Gen Z ต้องการความมั่นคงในการทำงาน และตั้งเป้าหมายได้รับเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งสองเจนมีลักษณะที่เหมือนกันหลายๆ อย่าง ทั้ง Gen Y และ Gen Z มีกรอบความคิดของผู้ประกอบการ ซึ่งหมายความว่าพวกเขามีความคิดสร้างสรรค์ มีการสื่อสาร และมีแรงขับเคลื่อนสูง ในขณะที่อีกด้านยังเปิดรับความเสี่ยง และยอมรับความล้มเหลวได้ นอกจากนี้ทั้งสองรุ่นยังมีความปรารถนาที่สร้างธุรกิจของตัวเอง ในฐานะที่เป็นตัวแทนยุคดิจิทัล ทั้งสองกลุ่มมีความสามารถในการทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้พร้อม ๆ กัน

กลุ่มประชากร Gen Y และ Gen Z พวกเขารู้สึกว่าแบรนด์ควรให้ความสำคัญในความยั่งยืนมากกว่ามุ่งเน้นการขาย และควรส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์และจริยธรรมให้มากขึ้น รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร แบรนด์ที่มีความสอดคล้องกับค่านิยมเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้นในการดึงดูดทั้งสองกลุ่มนี้