‘บางกอกแอร์เวย์ส’ ลุยฟื้นธุรกิจ เพิ่มเส้นทางบิน-หารายได้เสริม น้ำมันเเพงยังไม่ขึ้นค่าตั๋ว 

ธุรกิจสายการบินเริ่มฟื้นตัว ข้อจำกัดการเดินทางเริ่มลดลง ดันดีมานด์นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น เเต่ยังมีความเสี่ยงจากวิกฤตรัสเซียยูเครน ที่ผลกระทบต่อราคาน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้น

บางกอกแอร์เวย์ส’ (Bangkok Airways) หนึ่งในสายการบินรายใหญ่ของไทย ประเมินว่า ในปี 2565 ภาพรวมธุรกิจของบริษัทจะฟื้นตัวได้ 40% เมื่อเทียบกับปี 2562 จากอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น เเละการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาด เเละหวังว่าในปี 2566 จะพลิกกลับมาทำกำไรได้ จากการฟื้นตัว 80-90% เเละในปี 2567 จะฟื้นตัว 100% เเละกลับมามียอดผู้โดยสารเกือบเเตะ 6 ล้านคนเท่าช่วงก่อนโควิด-19

ทยอยเปิดเส้นทางบิน ดึงผู้โดยสาร 2.6 ล้านคน 

พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA เปิดเผยว่า แนวโน้มการเดินทางของผู้โดยสารสายการบินบางกอกแอร์เวย์สในช่วงเดือนพ.. 2564 ที่มีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ส่งผลให้ภาพรวมการเดินทางลดลงอย่างเห็นได้ชัด

เเละต่อมาเมื่อมีนโยบายเปิดประเทศของรัฐอย่างภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์และสมุยพลัสายการบินฯ ได้เปิดให้บริการเส้นทาง sealed route ซึ่งจำนวนผู้โดยสารได้ทยอยเพิ่มขึ้นมาในเดือนพ.

เส้นทางสมุยยังคงเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ 63% ของรายได้ผู้โดยสารทั้งหมด

ส่วนเส้นทางภายในประเทศอื่นๆ มีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ราว 35% และกลุ่มประเทศ CLMV ได้เเก่ กรุงเทพฯพนมเปญ ที่ได้เปิดปฏิบัติการบินเมื่อเดือนธ.. มีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ 2% ของรายได้ผู้โดยสารทั้งหมดในปี 2564

สำหรับในปี 2565 จะมีเส้นทางบินที่จะเปิดเพิ่มเติมเพื่อรองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบิน อย่างกรุงเทพฯกระบี่ ซึ่งจะเปิดให้บริการในวันที่ 27 มี..2565 

ส่วนในไตรมาสที่ 3 มีเเผนจะเปิดเส้นทางการบินสมุยเชียงใหม่ สมุยฮ่องกง กรุงเทพฯเสียมราฐ เเละไตรมาสที่ 4 จะเปิดเส้นทางบิน เชียงใหม่กระบี่ (เที่ยวเดียว) เชียงใหม่ภูเก็ต (เที่ยวเดียว) สมุยกระบี่ กรุงเทพฯดานัง กรุงเทพฯหลวงพระบาง กรุงเทพฯย่างกุ้ง และ กรุงเทพฯมัลดีฟส์

ทั้งนี้ การกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางบินต่างๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยว มาตรการการเดินทางของแต่ละประเทศ และการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ที่อาจยังไม่คลี่คลาย

ในปีนี้เราตั้งเป้าจำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ 2.6 ล้านคน แบ่งเป็นผู้โดยสารเส้นทางระหว่างประเทศ 30-40% และเส้นทางในประเทศ 60-70% ตั้งเป้ารายได้ผู้โดยสาร ราว 8,175 ล้านบาท รวมเที่ยวบิน 3.4 หมื่นเที่ยวบิน มีอัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 65% และราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ 3,100 บาทต่อเที่ยว

ลดจำนวนฝูงบิน คุมค่าใช้จ่าย 

ปัจจุบัน บางกอกแอร์เวย์ส มีเครื่องบินจำนวน 37 ลำ โดยมีแผนการจะลดจำนวนฝูงบินลง เหลือ 30 ลำภายในสิ้นปีนี้ เพื่อควบคุมต้นทุนเเละบางเส้นทางยังไม่สามารถบินได้อย่างเต็มที่

โดยจะทยอยคืน Airbus A320 จำนวน 5 ลำ ซึ่งครบกำหนดสัญญาแล้ว รวมถึงจำหน่ายเครื่องบิน ATR72-500 อีกจำนวน 2 ลำ

นอกจากนี้ จะมีการนำเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้งานมารุกตลาดบริการเช่าเหมาลำ’ มากขึ้นด้วย เเละจะปรับเส้นทางบินให้ตรงกับความต้องการในการเดินทาง โดยเน้นเส้นทางบินที่เชื่อมต่อสนามบินสมุย

พร้อมปรับลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน การจัดการด้านบุคลากรให้เหมาะสมการรักษาสภาพคล่องทางการเงินการรักษาประสิทธิภาพยานพาหนะ เพื่อลดค่าใช้จ่ายเช่นการบำรุงรักษา ตลอดจนการได้รับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ อาทิ ในด้านภาษี

ทั้งนี้ ในปี 2564 บริษัทฯ มีรายได้รวมเท่ากับ 5,668.5 ล้านบาท ลดลง 44.5% เมื่อเทียบกับปี 2563 ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 8,145.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 45.4% ผลขาดทุนสุทธิของบริษัทฯ ในปี 2564 เท่ากับ 8,599.8 ล้านบาท โดยมีรายการขาดทุนสุทธิจากการยกเลิกสัญญาเช่ากองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย จำนวน 5,434,7 ล้านบาท

ขณะที่ผลขาดทุนจากการดำเนินงานในปี 2564 เท่ากับ 2,532.5 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 22.2% เมื่อเทียบกับปี 2563

ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน ในปี 2564 บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ มีรายได้อยู่ที่ 119.5 ล้านบาท ลดลง 61% เนื่องจากมีจำนวนเที่ยวบินที่สนามบินสุวรรรณภูมิและสนามบินภูเก็ตลดลง เเละบริษัท ภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไลด์ไฟล์ทเซอร์วิส จำกัด มีรายได้ 1,122.1 ล้านบาท ลดลง 18%  เเต่จากการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย ทำให้มีกำไรอยู่ที่ 237 ล้านบาท

สำหรับบริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด มีรายได้ในปี 2564 อยู่ที่ 2,140.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยได้รับอานิสงส์จากการใช้บริการคลังสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงโควิด-19

มุ่งปั้นรายได้เสริม เข้าถึงลูกค้าผ่านซูเปอร์เเอปฯ

ด้านกลยุทธ์การตลาดของบางกอกแอร์เวย์สในปีนี้ จะเน้นไปที่ ตลาดต่างประเทศควบคู่กับการให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศ การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย และออกกลยุทธ์ด้านราคา การพัฒนาระบบต่างๆ รวมถึงความสำคัญของระบบการจ่ายเงิน การบริการ การสื่อสารการตลาดและการมีส่วนรวมของลูกค้า

โดยจะให้ความสำคัญด้าน ‘รายได้เสริม’ อย่างบัตรสมาชิกโดยสารแบบพิเศษ อย่าง Flyer Pass เเละ Elite Card ที่เจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง

ช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศ ยังคงเป็นช่องทางหลักที่ลูกค้าในประเทศใช้ คือ website/mobile และ Customer Care Centre 1771 ส่วนตลาดต่างประเทศจะจัดจำหน่ายผ่าน Billing and Settlement Plan Agents หรือ BSP agents ในตลาดหลัก เช่น ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน แอฟริกาใต้ และอีกกว่า 20 ตลาดทั่วโลก รวมถึงการขายผ่านเครือข่ายสายการบินพันธมิตรทั่วโลก เเละเชื่อมต่อกับเเพลตฟอร์ม OTA ยอดนิยม

พร้อมมุ่งเน้นช่องทาง API ผ่านโครงข่าย NDC และ metasearch เป็นหลัก ขยายไปยังแอปพลิเคชัน เเละซูเปอร์เเอปฯ ต่างๆ ซึ่งตอนนี้กำลังเชื่อมต่อกับเเอปพลิเคชัน ‘Robinhood’ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคในชีวิตประจำวันมากขึ้น

ต้นทุนน้ำมัน ยังไม่กระทบค่าตั๋ว (ณ ตอนนี้)

ขณะที่ความกังวลเรื่อง ‘ราคาน้ำมัน’ ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากวิกฤตความขัดเเย้งในรัสเซียเเละยูเครน ซึ่งได้กดดันการฟื้นตัวของของธุรกิจสายการบินต่างๆ นั้น ในช่วงนี้โดยทั่วไปต้นทุนน้ำมันปรับสูงขึ้นราว 40-50% จากปีที่แล้วที่ราคาน้ำมันอยู่ระดับ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และมีแนวโน้มพุ่งสูงกว่าระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หากสงครามยังยืดเยื้อ

ในส่วนของ ‘บางกอกแอร์เวย์ส’ พบว่า ราคาน้ำมันยังไม่มีผลกับต้นทุนบริการการบินมากนัก โดยตอนนี้ต้นทุนน้ำมัน ยังอยู่ที่ราว 15% ของต้นทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วนเพียง 10% น้อยกว่าช่วงก่อนโควิดที่จะอยู่ที่ 30-35% ขณะที่ปีที่เเล้ว ‘ต้นทุนเครื่องบิน’ จะสูงกว่าด้วยสัดส่วนถึง 25% ของต้นทุนทั้งหมด จากภาระค่าเช่าเเละการที่ต้องหยุดบินในหลายเส้นทาง อีกทั้งยังใช้เครื่องบินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

โดยผู้บริหาร บมจ. การบินกรุงเทพ ยืนยันว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในตอนนี้ ยังไม่ใช่ปัจจัยในการปรับขึ้นราคาตั๋วเครื่องบิน 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 มื.ค. สมาคมสายการบินในประเทศ ซึ่งมีนายพุฒิพงศ์ ปราสาทมองโอสถ เป็นนายกสมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) เพื่อขอหารือในการพิจารณาให้สายการบินกลับมาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมน้ำมัน หรือ Fuel Surcharge ในการคิดค่าโดยสาร เหมือนกับที่เคยใช้มาในอดีต เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับสูงขึ้นอย่างมาก