FINNOMENA แพลตฟอร์มการลงทุนในกองทุนรวม ได้เปิดเผย 5 เทรนด์การลงทุนของนักลงทุนไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 หลังจากที่ตลาดการเงินทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ หรือตราสารหนี้นั้นประสบกับความผันผวนอย่างหนัก ขณะเดียวกันบริษัทก็ได้เปิดตัวพอร์ตการลงทุนตามกูรูชื่อดังเพิ่มเติมด้วย
กสิณ สุธรรมนัส CEO & Co-Founder บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ได้กล่าวถึงสภาวะการลงทุนในช่วงนี้ว่า ในปี 2022 ถือเป็นปีที่ท้
ขณะเดียวกัน CEO & Co-Founder ของ FINNOMENA ยังได้เปิดเผยถึงเทรนด์การลงทุนของนักลงทุนไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 ซึ่งมีดังต่อไปนี้
- โฟกัสในการลงทุนมากขึ้น กสิณได้กล่าวว่าพฤติกรรมของนักลงทุนเริ่มกลับมาโฟกัสที่ Valuation หรือหามูลค่าที่แท้จริง และไม่กลัวถ้าหากพลาดการลงทุนไป (ไม่กลัวตกรถ)
- วินัยการลงทุน ขณะเดียวกันนักลงทุนหน้าเก่าหรือใหม่มีวินัยในการลงทุนมากขึ้น โดยนักลงทุนได้ใช้วิธีการลงทุนแบบ Dollar-Cost Averaging หรือ DCA ซึ่งเป็นวิธีการลงทุนรูปแบบหนึ่ง แบ่งเฉลี่ยเงินลงทุนในแต่ละเดือนเท่าๆ กัน กสิณได้กล่าวว่าปัจจุบันเม็ดเงินที่นำมา DCA ผ่านแพลตฟอร์มของ FINNOMENA นั้นสูงถึง 100 ล้านบาทต่อเดือน
- นักลงทุนลงทุนด้วยตัวเองมากขึ้น กสิณได้กล่าวว่าปัจจุบันนักลงทุนจับจังหวะการลงทุนด้วยคำแนะนำของ FINNOMENA แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ลงทุนด้วยตัวเองมากขึ้น
- บริษัทต่างๆ หาช่องทางการลงทุนตราสารหนี้คุณภาพดีมากขึ้น ในครึ่งปีแรกของปี 2022 กสิณกล่าวว่าบริษัทต่างๆ ที่มีเงินสดเหลือ เริ่มหาโอกาสการลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี มีความเสี่ยงต่ำเพิ่มมากขึ้น
- นักลงทุนอายุน้อยเริ่มมีสัดส่วนมากขึ้น โดยนักลงทุนที่ใช้แพลตฟอร์มของ FINNOMENA ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี นั้นมีมากถึง 40% ของลูกค้าบริษัท ขณะเดียวกันกลุ่มมนุษย์เงินเดือนเองก็หาช่องทางการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
ด้วยสภาวะตลาดผันผวน Co-Founder ของ FINNOMENA เองได้กล่าวว่าบริษัทได้ร่วมมือกับกูรูด้านการลงทุน อย่าง Deepscope, BottomLiner และ MacroView นำแนวคิดที่โดดเด่นของแต่ละกูรู
- Growth Momentum AI (GMAI) โดย Deepscope: พอร์ตลงทุนที่เน้นการลงทุนในกองทุนที่ NAV เติบโตเร็วด้วย momentum ผ่านการคัดเลือกโดย AI จาก Deepscope ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนา AI สำหรับการลงทุน
- Optimal Megatrend Opportunities (OMO) โดย BottomLiner: ลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นธีม เมกะเทรนด์ โดยปรับระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ ในระดับที่ควบคุมได้
- MRI โดย MacroView: ลงทุนผ่านแนวทางการสแกนกองทุนด้วยปัจจัยเชิง Macro ความเสี่ยง (Risk) และการวิเคราะห์แบบ Induction (MRI)
นอกจากนี้ยังรวมถึงพอร์ตการลงทุนทางเลือกจาก แอนดรูว์ สต๊อทซ์ นักวิเคราะห์และนักวิจัย ผู้มีประสบการณ์ในแวดวงการเงินและการลงทุนมากว่า 20 ปี ที่เตรียมนำพอร์ตการลงทุน All-Weather Alpha Focus มาให้บริการกับลูกค้าของ FINNOMENA ด้วย
สำหรับผลการดำเนินงานของ FINNOMENA นั้นในปี 2021 มีรายได้ 466.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 159.33 ล้านบาทในปี 2020 ขณะที่กำไรของบริษัทอยู่ที่ 29.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่าในปี 2020 ที่ 4.69 ล้านบาท