คนไทยเห็นต่าง! ทำงานแค่ 4 วันไม่โดนใจ เท่าเลือกเวลาทำงานที่สะดวกเอง

Photo : Shutterstock
สัปดาห์การทำงานที่สั้นลงทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานที่ยาวขึ้น ความไม่พอใจของลูกค้า และประสิทธิผลการดำเนินงานของบริษัทที่อาจลดลง

ในขณะที่แนวคิดการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวิจัยใหม่ของ Qualtrics เปิดเผยว่า 60% ของพนักงานเต็มเวลาในภูมิภาคนี้เลือกความยืดหยุ่นในการทำงานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการมากกว่าเลือกวันทำงานที่น้อยลงหนึ่งวัน (37%)

ในไทยคนทำงานต้องการความยืดหยุ่นมากกว่า โดยมีถึง 68% ที่เลือกความยืดหยุ่นมากกว่าการลดวันทำงานต่อสัปดาห์ ความยืดหยุ่นยังช่วยให้คนทำงานที่เก่านานขึ้นด้วย (66%) มากกว่าการทำงานสี่วันต่อสัปดาห์ (50%) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากการที่องค์กรต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคยังคงปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ต้องทำงานจากระยะไกลนานถึงสองปี และธุรกิจต่างๆ ในไทยต่างก็โต้เถียงกันในเรื่องของความเป็นไปได้ที่จะลดวันทำงานให้เหลือสี่วันต่อสัปดาห์ ผลการวิจัยของ Qualtrics ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการจัดโปรแกรมที่กำลังนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของพนักงานให้ประสบความสำเร็จ

ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยามความยืดหยุ่นว่าคือ

  • 33% การที่เลือกชั่วโมงการทำงานที่ตนต้องการได้
  • 24% การที่ทำงานจากสถานที่ใดก็ได้
  • 19% การที่เลือกวันที่ตนทำงานได้ หรือการวัดผลงานจากประสิทธิภาพแทนชั่วโมงทำงาน
  • 18% ผู้ตอบแบบสอบถามในไทยคิดต่างออกไปเล็กน้อย ในขณะที่พนักงานในไทยมองว่าการที่สามารถควบคุมชั่วโมงทำงานของตนได้นั้นตรงกับคำนี้ที่สุด 33%

แต่โดยส่วนมากมักมองว่าความยืดหยุ่นคือการวัดผลงานจากประสิทธิภาพ มากกว่าวันทำงาน และสถานที่ที่ทำงาน

พนักงานเปิดใจรับการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ด้วยความกังวล

ในขณะที่พนักงานส่วนมากต้องการความยืดหยุ่นหากเลือกได้ แต่ 86% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคนี้สนับสนุนให้นายจ้างเปลี่ยนการทำงานเป็นแบบสี่วันต่อสัปดาห์แทน โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลเรื่องสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากรวมถึงผู้ตอบในไทยเชื่อว่าการทำงานสี่วันต่อสัปดาห์จะทำให้สมดุลการทำงาน และการใช้ชีวิต (86%) และสุขภาวะทางจิต (82%) และผลิตภาพ (83%) ดีขึ้น 60% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเต็มใจที่จะถูกลดค่าจ้างเพื่อทำงานน้อยลงหนึ่งวันต่อสัปดาห์อีกด้วย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามในไทยเต็มใจกับวิธีนี้มากกว่าปกติ (68%)

Photo : Shutterstock

แม้ว่าการทำงานสี่วันต่อสัปดาห์จะมีตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว เช่น ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในไอซ์แลนด์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น ผู้ตอบแบบสอบถามหลายคนเชื่อว่าก็ต้องมีข้อเสียเช่นกัน ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนสามในสี่ (72%) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่าพวกเขาคาดว่าต้องทำงานนานขึ้น ในขณะที่ 58% กล่าวว่าลูกค้าจะไม่พึงพอใจ และผลการดำเนินงานของบริษัทจะลดลง ในไทยผู้ตอบแบบสอบบอกว่าเรื่องที่กังวลที่สุดคือการที่ต้องทำงานต่อวันนานขึ้น (70%) ผลการดำเนินงานของบริษัท (65%) และการมีคนอู้งาน (59%)

การวัดประสิทธิภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีในการทำงานรูปแบบใหม่

ในขณะที่นายจ้างต่างก็ต้องปรับตัวกับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนอยู่เสมอ มีสองเรื่องสำคัญที่จะทำให้การทำงานแบบใหม่ที่ใครๆ ก็กำลังจะเริ่มใช้ประสบความสำเร็จ ซึ่งก็คือการจัดลำดับความสำคัญของสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และการรับประกันว่าพนักงานสามารถประสบความสำเร็จทั้งตอนทำงานในออฟฟิศและทำงานจากระยะไกล

เรื่องนี้สอดคล้องกับ 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เปิดเผยว่างานของตนเป็นสาเหตุหลักของความท้าทายทางสุขภาพจิต ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในปริมาณที่คล้ายกันจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่าการทำงานจากระยะไกลมีผลกระทบทั้งด้านบวก (25%) และด้านลบ (25%) ต่อสุขภาพจิตของตน ซึ่งแตกต่างจากผู้ตอบแบบสอบถามในไทย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามในไทยหลายคนพูดถึงผลกระทบด้านลบ (ด้านลบ 34% เมื่อเทียบกับด้านบวก 22%)

สองในสาม (67%) ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคนี้รู้สึกว่าความก้าวหน้าในอาชีพของตนจะได้รับผลกระทบด้านลบหากตนทำงานในเวลาที่ยืดหยุ่นได้ ข้อมูลเหล่านี้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจความต้องการส่วนบุคคลของพนักงานเพื่อให้นายจ้างรู้ชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไม่มีพนักงานคนใดตกหล่น

วิธีหนึ่งที่น่าจะจัดการกับความท้าทายที่เกิดจากการทำงานรูปแบบใหม่ก็คือการวัดประสิทธิภาพของพนักงานด้วยผลลัพธ์แทนจำนวนชั่วโมงหรือจำนวนวันที่ทำงาน โดยมี 89% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นด้วยกับวิธีนี้ ที่น่าสนใจคือ ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โน้มน้าวว่าประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น การมุ่งเน้น และการยอมรับคือเหตุผลหลักในการทำเช่นนั้น ในขณะที่มี 26% คาดว่าจะทำงานน้อยลง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยินดีให้นายจ้างเพิ่มวันหยุดแบบจ่ายค่าแรงเพื่อสุขภาพจิตที่ดี โดย 94% กล่าวว่าวันหยุดแบบนี้จะแก้ไขปัญหาระยะยาวได้ดีเพื่อรับประกันว่าจะมีสุขภาพจิตที่ดีในการทำงาน

Photo : Shutterstock

สำหรับองค์กรต่างๆ ที่กำลังคิดทบทวนวิธีการทำงานแบบเดิมๆ งานวิจัยของ Qualtrics ได้เปิดเผยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่กำลังมีการพิจารณาและกำลังนำไปปรับใช้ การพร้อมรับมือเพื่อทำความเข้าใจว่าพนักงานต้องการทำงานอย่างไร และทำความเข้าใจผลประโยชน์และข้อเสียที่เกี่ยวข้องจากการทำเช่นนั้น จะช่วยให้นายจ้างสามารถทำการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการทำงานใหม่ๆ ที่นำมาปรับใช้สอดคล้องกับความต้องการที่หลากหลายของบุคลากรทั้งหมด สิ่งนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ต้นเหตุ เช่น ความท้าทายด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในปัจจุบัน

Lauren Huntington, Employee Experience Solution Strategist ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Qualtrics กล่าวว่า “ท่ามกลางกระแสข่าวลือเกี่ยวกับการทำงานรูปแบบใหม่ นายจ้างจะต้องไม่ลืมข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่พนักงานต้องการและคุ้นเคยจริงๆ ก็คือความยืดหยุ่นในการปลับเปลี่ยนตารางการทำงานของตนให้เหมาะกับความต้องการในชีวิต” “เรากำลังเห็นผู้คนตัดสินใจเรื่องอาชีพและค้นพบการบรรลุเป้าหมายในงานของตนมากขึ้นโดยการทำงานให้กับองค์กรที่เข้าใจและตอบสนองต่อความต้องการของตนได้อย่างแท้จริง และทำงานในที่ที่รู้สึกว่าเหมาะกับตนเอง นั้นคือเหตุผลว่าทำไมส่วนที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะทำงานแบบใดก็ตาม จึงไม่ใช่เพียงแค่จำนวนชั่วโมงหรือจำนวนวันที่ทำงาน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำความเข้าใจและส่งมอบสิ่งที่ผู้คนต้องการและคาดหวังอย่างมีความหมายเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคน ซึ่งรวมถึงลูกค้า จะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงที่กำลังดำเนินอยู่”

เกี่ยวกับการวิจัย

การวิจัยของ Qualtrics ทำขึ้นในเดือนพฤษภาคมปี 2022 และมีผู้ตอบแบบสอบถาม 3,415 คนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทำงานเต็มเวลาหรือนอกเวลาในอุตสาหกรรมต่างๆ ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ มีการตอบคำถามเกี่ยวกับการทำงานสี่วันต่อสัปดาห์จากพนักงานที่ทำงานเต็มเวลาเท่านั้น จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 2,846 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามที่มาจากไทย 612 คน