แกรมมี่ เขย่าจอ ทรูวิชั่นส์

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กำลังเกิดขึ้นในธุรกิจทีวีบอกรับสมาชิก ที่มีรายใหญ่อย่างทรูวิชั่นส์ผูกขาดเป็นเจ้าตลาดมานาน ด้วยความพร้อมของเครือข่ายและเนื้อหาอย่างกีฬา บันเทิง แต่จากนี้ไปคู่แข่งอย่างน้อย 2 รายที่จะขอเข้ามาเปลี่ยนตลาด

แกรมมี่ มากับเงิน 3,000  ล้านบาท ที่พร้อมจะซื้อลิขสิทธิ์กีฬารายการใหญ่จากทั่วโลก และเพลง ละคร ดีเจ ของตัวเอง มาสร้างเครือข่ายใหม่ที่สามารถดึงบรรดาทีวีดาวเทียม  ผู้ผลิตจานดาวเทียมมาร่วมแล้วมากกว่า 150 ช่อง  

 

— แกรมมี่พร้อมแล้วกับธุรกิจทีวี —

ผู้ผลิตจานดาวเทียมรายใหญ่อย่าง PSI ก็เปลี่ยนตัวเองมาเป็นเจ้าของสถานี และกลายเป็นศูนย์กลางของทีวีดาวเทียม ก็เดินสายโปรโมตจานดาวเทียมทั่วประเทศตลอดปี เพื่อขยายสมาชิกให้มากที่สุด ด้วยจุดขาย ติดจานเดียวดูฟรีตลอดชีวิต

เคเบิลท้องถิ่นก็เริ่มรวมตัวกันติด จับมือกันทำเคเบิลทีวีราคาต่ำเดือนละ 300 บาท ทั่วประเทศ และลงทุนซื้อลิขสิทธิ์กีฬา รายการจากต่างประเทศ รวมพัฒนาระบบการส่งสัญญาณให้ครอบคลุมมากขึ้น

ทรูวิชั่นส์ขยับตัวหนีด้วยการเปลี่ยนการออกอากาศรายการเป็น HD ทุกช่องภายใน 1 ปี และลงทุนเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณใหม่ให้สมาชิกฟรี 5 แสนกล่อง รักษาลูกค้าระดับ “ครีม” ในมือ 

ต่อไปสมาชิกเคเบิลทีวีต้องฝึกความจำไว้ดีๆ ต้องจำช่องรายการให้ได้ เพราะทีวีอาจมีถึง 500 ช่อง 

 

— ทรูวิชั่นส์เสียลูกค้าอีกไม่ได้แล้ว —

เป็นความเคลื่อนไหวอีกครั้งสำหรับทรูวิชั่นส์ ที่ครองตลาดเคเบิลทีวีในเขตกรุงเทพฯ มายาวนาน และผูกตลาดนี้ด้วยเนื้อหาด้านกีฬา บันเทิง จนคู่แข่งรายอื่นๆ ต้องเข้ามาร่วมแชร์เนื้อหาบางส่วนที่ผู้บริโภคเคเบิลทีวีต้องการดู

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน)  ยอมรับว่า ในช่วงหลังการเติบโตของยอดสมาชิกกลุ่มพรีเมียมของทรูวิชั่นส์ มีอัตราการเติบโตน้อยมาก เฉลี่ยปีละ 1-2% เท่านั้น แต่ตลาดที่เติบโตคือกลุ่มระดับแมสที่ซื้อจานและกล่องรับสัญญาณของทรูไปติดตั้งเอง และจ่ายค่าบริการรายเดือนในอัตราที่ต่ำ อัตราการเติบโตปีละ 20% 

“เราไม่ได้สูญเสียลูกค้าส่วนนี้ไป แต่ยอดสมาชิกไม่เติบโตขึ้น” 

สัญญาณที่ส่งออกมาทำให้ทรูวิชั่นส์มองเห็นแล้วว่า อัตราการเติบโตของสมาชิกกลุ่มพรีเมียมที่จ่ายค่าสมาชิกรายเดือนระดับเกือบ 1,000 บาท ต้องเร่งสร้าง จะไปเน้นตลาดขายจานและกล่องอย่างเดียวไม่เพียงพอกับการขยายตัว

การปรับตัวครั้งใหญ่ของทรูวิชั่นส์จึงเกิดขึ้น เพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้า ไม่เช่นนั้นการเติบโตของผู้ประกอบการรายอื่นจะเข้ามาแย่งตลาดของทรูวิชั่นส์มากขึ้นเรื่อยๆ 

ศุภชัย บอกว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคด้านเคเบิลทีวีเปลี่ยนไป ความต้องการเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการรับชมภาพในระดับไฮ-เดฟินิชั่น

“คาดว่าขณะนี้มีอย่างน้อย 5 ล้านครัวเรือนที่เปลี่ยนเครื่องรับโทรทัศน์ใหม่เป็นระบบ HD แล้ว” 

ความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคครั้งนี้มาจากปัจจัยเรื่องราคาของเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ในระบบ HD มีราคาต่ำลง  ระดับราคาไม่ถึง 10,000 บาท ในบางรุ่น และผู้ผลิตเครื่องรับโทรทัศน์เองก็มีกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง และรุนแรงที่เร่งเร้าให้ผู้บริโภคเปลี่ยนโทรทัศน์รุ่นใหม่เข้าไปแทนที่รุ่นเก่า 

ความเร็วของอินเทอร์เน็ตก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจการรับชมในระบบ HD มากขึ้น เพราะทีวีอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์บางส่วนออกอากาศในระบบ HD ด้วย

ศุภชัยบอกว่า ทรูวิชั่นส์ลงทุนอีก 2,000 ล้านบาทเพื่อเปลี่ยนระบบมาเป็น HD  และประเมินว่าภายใน 5-10 ปีข้างหน้านี้  สัญญาณโทรทัศน์บ้านเราจะเป็น HD ทั้งหมด ซึ่ง

ทรูเองช่วงแรกจะปรับเปลี่ยนตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป  

ผลพลอยได้จากการเปลี่ยนกล่องครั้งนี้ สามารถแก้ปัญหาเรื่องกล่องเถื่อนที่ลักลอบดึงสัญญาณของทรูวิชั่นส์ไปดูได้อีกทางหนึ่งด้วย 

โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ระบบเคเบิลใยแก้วนำแสง สามารถรับชมช่อง HD จำนวน 11 ฃ่อง ส่วนระบบจานแดง รับชมได้จำนวน 3 ช่อง และภายใน 1 ปีจะรับชมได้ครบ 11 ช่อง

งานนี้ต้องเห็นผลเร็ว ทรูลงทุนเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณ HD ให้กับลูกค้าทุกรายที่เป็นสมาชิกจำนวน 500,000 ราย โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และจะเริ่มทยอยเปลี่ยนไปจนครบ กรณีของผู้ที่ซื้อจานแดงแบบขายขาด และไมได้ซื้อแพ็กเกจสมาชิก ก็ต้องจ่ายเงินเปลี่ยนกล่องเอง ส่วนผู้ที่สมัครสมาชิกใหม่ก็ได้รับกล่องใหม่ ในราคาเท่าเดิม 

“การเปลี่ยนกล่องให้มาเป็น HD จะทำให้ยอดสมาชิกเพิ่มขึ้นปีละ 20%” ศุภชัยมั่นใจกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของทรู วิชั่นส์ 

 

— กล่อง สร้างรายได้เสริม —

เหตุผลหลักของการปรับเปลี่ยนระบบใหม่ของทรูวิชั่นส์ นอกจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป การขยายฐานลูกค้า ต้องมองถึงโมเดลการสร้างรายได้เสริมจากฐานสมาชิก 500,000 รายที่มีอยู่ด้วย เพราะนั่นคือกลุ่มผู้บริโภคที่ชัดเจน มีตัวตน และเข้าถึงได้

“จากนี้ไปจะเข้าสู่ยุคของทีวี อีคอมเมิร์ซ การขายสินค้าหลายๆ ชนิดไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบเดิมอีก ต่อไปการขายสินค้าบนทีวีสามารถใช้รีโมตเลือกซื้อได้ ทีวี อีคอม เมิร์ซจะขยายตัวกว่าโฮมช้อปปิ้งด้วย” ศุภชัยให้เหตุผลเพิ่มเติมของการลงทุนเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณ”

เขาอธิบายภาพของการขายสินค้าที่จะเกิดขึ้นจากกล่องรับสัญญาณใหม่นี้ว่า จะเป็นการเข้าถึงเฉพาะตัวลูกค้าแต่ละคน เพราะสามารถจัดหมวดหมู่ความสนใจ และรูปแบบที่สมาชิกสนใจ การขายสินค้าที่เจาะจงเป็นรายบุคคลจะเกิดขึ้น สมาชิกแต่ละคนจะได้รับการเสนอขายสินค้าที่ต่างกัน 

การสั่งซื้อสินค้าผ่านหน้าจอโทรทัศน์จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการสั่งซื้ออาหารจากร้านต่างๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งเฟสแรกของการสั่งซื้ออาหารจะเริ่มต้นจากไก่ทอด KFC เป็นรายแรก

โมเดลนี้ทำให้ทรูวิชั่นส์สามารถมีรายได้เสริมจากการโฆษณาสินค้าต่างๆ มากขึ้น และเป็นการโฆษณาอีกรูปแบบหนึ่ง จากเดิมที่เป็นสปอตโฆษณาธรรมดา   

ด้วยความที่เป็นกล่องรับสัญญาณรุ่นใหม่ ทรูวิชั่นส์จึงผนึกรวมเข้ากับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งเป็นฐานลูกค้าของทรูออนไลน์ สามารถใช้กล่องนี้รับชมทีวีอินเทอร์เน็ตได้ ตามแพลตฟอร์มของเครื่องรับโทรทัศน์ที่ผลิตออกมาเป็นทีวีอินเทอร์เน็ต ที่มีทั้งโซนี่ แอลจี และซัมซุง  

ทรูวิชั่นส์สามารถขายแพ็กเกจทีวีอินเทอร์เน็ตให้กับกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตตามบ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งจะเป็นรายได้เสริมอีกช่องทางหนึ่งของกลุ่มทรูทั้งหมด

สำหรับกล่องรับสัญญาณรุ่นใหม่นี้ ผู้ผลิตกล่องให้คือบริษัทซัมซุง ที่มีแพลตฟอร์มทีวีอินเทอร์เน็ตเป็นของตัวเอง และมีการผลิตกล่องรับสัญญาณเป็นพื้ยฐานเดิมอยู่แล้ว 

การที่ทรูวิชั่นส์ตัดสินใจเปลี่ยนระบบผ่านกล่องรับสัญญาณใหม่นี้ น่าจะเป็นการวางแผนรองรับการขยายตัวของทรู วิชั่นส์เอง ที่ศุภชัยยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ทรูวิชั่นส์พร้อมที่จะยื่นขอใบอนุญาตทุกประเภททั้งทีวีอินเทอร์เน็ต ทีวีดาวเทียม ตามกฎหมายใหม่ที่เปิดช่อง เพื่อให้มีช่องทางการเผยแพร่ที่ครอบคลุมมากขึ้น

 

— GMM ถึงเวลาเป็นเจ้าของช่อง —

ตลอดระยะเวลากว่า 28 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทแกรมมี่  ยักษ์ใหญ่แห่งวงการบันเทิงไทยรายนี้ สร้างรายได้จากการเป็น Content Provider สร้างสรรค์ผลงานเพลง ละคร ภาพยนตร์ การ์ตูน และโชว์บิซ เพื่อถ่ายทอดผ่านเจ้าของสื่อรายอื่นหรือที่ อากู๋-ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เรียกว่า “การเช่าบ้านคนอื่น”

สุดท้ายแกรมมี่ก็ต้องรุกสู่ธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม โดยใช้พื้นฐานคอนเทนต์กับทาเลนต์ที่มีอยู่ในมืออยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แกรมมี่สร้างแพลตฟอร์มของการเป็นเจ้าของช่องขึ้นมาเองในชื่อ 1 Sky ด้วยงบประมาณ 3,000 ล้านบาท ภายในระยะวลา 3 ปี ปรับตัวจากการเป็น Content Provider สู่การเป็น Platform Operator 

แกรมมี่ใช้วิธีการสร้างบ้านหลังใหญ่ขึ้นมาเพื่อรวบรวมเอาช่องต่างๆ ของตัวเองไว้ในที่เดียวกัน ในชื่อ 1Sky ซึ่งใช้เป็นแบรนด์ช่องและกล่องทีวีดาวเทียม (Set-Top-Box) ของแกรมมี่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เยอะดี น่าดู” นั่นเป็นการสะท้อนถึงวิถีทางการต่อสู้ว่าแกรมมี่จะนำเสนอคอนเทนต์ที่หลากหลาย 

สิ่งที่แกรมมี่ทำก็คือ ใช้ช่องของตัวเองที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักอย่าง กรีน แชนแนล ที่มีดีเจพี่ฉอด ดีเจพี่อ้อย ศิรานีตัวแม่ของยุคนี้ รวมกับละครของเอ็กซ์แซกท์ และการทุ่มซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอล กีฬาต่างประเทศด้วยเงินถึง 2,000 ล้านบาท เพื่อดึงบรรดาสถานีทีวีดาวเทียม ผู้ผลิตจานเข้ามาอยู่ร่วมกัน 

ขณะนี้ทำให้แกรมมี่มีเครือข่ายที่มีคอนเทนต์ภาษาไทยมีมากถึง 140 ช่อง บวกกับภาษาต่างประเทศอีก 20 กว่าช่อง ทำให้เมื่อรวมกันแล้วมีครองส่วนแบ่งตลาด 50-60% แล้วนำเอาช่องของพันธมิตรทั้งหมดมาจัดเรียงให้เป็นระบบ โดยอิงกับพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งแกรมมี่ทำวิจัยแล้วพบว่า ผู้ชมจะจดจำช่องทีวีได้ไม่เกิน 7 ช่อง แถมเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมทั้งหลายยังต้องแย่งผู้ชมจากฟรีทีวีที่ยังไงผู้บริโภคก็จำแม่นฝั่งใจอยู่ก่อนแล้ว  

ปัญหาใหญ่ของช่องทีวีดาวเทียมอยู่ที่การเรียงช่องไม่เป็นหมวดหมู่ หากต้องการมีช่องประจำต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อล็อกเบอร์ช่องสัญญาณให้กับเจ้าของจานดาวเทียม PSI ในราคา 7 หลัก ต่อเดือน ต่อช่อง แกรมมี่แก้ปัญหาด้วยการเอาช่องฟรีทีวีอยู่ใน 10 อันดับแรก ตามด้วยช่องที่ Mass ติดตาม เช่น หนัง เพลง วาไรตี้ ข่าว สารคดี ส่วนช่องที่มีกลุ่มคนดูเฉพาะอย่าง กีฬา การ์ตูน สารคดี ศาสนา จะอยู่อันดับท้ายๆ เพราะช่องเหล่านี้คนที่ดูประจำสามารถจดจำเลขช่องได้อยู่แล้ว โดยใช้วิธีการเรียงตามลำดับตัวอักษรทำให้ผู้บริโภคจดจำง่ายที่สุด 

ผู้ผลิตเนื้อหารายการที่น่าเชื่อถือเท่านั้น จะเข้ามาอยู่ในลิสต์ 150 ช่องแรก ส่วนรายการที่มีเนื้อหาอีกระดับหนึ่งจะถูกกำหนดให้อยู่อันดับช่องที่ 150 ขึ้นไปเท่านั้น โดยการเรียงลำดับเช่นนี้จะยังคงเหมาะสมกับตลาดและคลื่นสัญญาณที่เหลือในตลาดโทรทัศน์เมืองไทยไปอีกอย่างน้อย 2 ปี  

 

— เสียบแล้วเล่น เปลี่ยนตลาด–

แกรมมี่ใช้กล่องรับสัญญาณ 1 Sky มีให้เลือก 3 ราคาเริ่มตั้งแต่ 500 บาท, 1,500 บาท และราคา 2,500 บาท แบ่งแยกตามความคมชัดของสัญญาณภาพ ที่ราคาสูงสุดออกอากาศในระบบไฮ-เดฟินิชั่นชนกับทรูวิชั่นส์ 

 1 Sky มีช่องให้ดูฟรี 3 ช่อง หยิบเอาไฮไลต์กีฬาดังกับภาพยนตร์มาเรียกน้ำย่อย ดึงดูดผู้ชมให้ติดตั้งกล่องรับสัญญาณของแกรมมี่ และกระตุ้นให้ผู้ชมที่อยากดูคอนเทนต์นั่นอย่างเต็มที่ การสมัครสมาชิกของ 1 Sky ซึ่งมีทั้งแบบแพ็กเกจสำหรับคนที่ชอบด้านเอนเตอร์เทนแมนต์ แพ็กเกจกีฬา หรือจะจ่ายแบบ Pay per View ก็ได้ 

แกรมมี่เปลี่ยนการขายกล่องรับสัญญาณของ 1 Sky มาเป็นแบบ Plug& Play เพื่อลดปัญหาเรื่องการหาช่างติดตั้ง และเป็นการขยายช่องทางการขายผ่านร้านค้าต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

วิธีทำตลาดของแกรมมี่ยังไม่ทิ้งกลุ่มผู้ติดตั้งจานดาวเทียม ซึ่งแกรมมี่ได้รายใหญ่อย่างสามารถ คอร์ปอเรชั่น เข้ามาเป็น Official Dealer และยังมีการทำ Below the line กับร้านค้าเหล่านี้ด้วยการติดตั้งสื่อประชาสัมพันธ์ฟรีที่ร้าน นอกจากนี้ยังมีการทำ Co-Promotion ร่วมกับแบรนด์โทรทัศน์ ซึ่งแบรนด์แรกคือ LG หมายความว่า ดีลเลอร์ที่ขายทีวีให้กับ LG ก็สามารถขายกล่องรับสัญญาณดาวเทียมไปพร้อมกัน ถือเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก 

ส่วนการประชาสมพันธ์ระดับ Mass เป็นเรื่องที่แกรมมี่ถนัดอยู่แล้ว ด้วยต้นทุนเดิมที่มีศิลปินในมือ บวกกับสื่อทั้งทีวี คลื่นวิทยุ และแมกกาซีน ภาพของดาราดังเหล่านี้ก็จะกลายเป็นสื่อโปรโมต 1 Sky ปิดท้ายด้วยหน่วยรถ 1 Sky Van ที่มุ่งหวังเข้าหาผู้บริโภคที่อยู่ในอำเภอย่อยลงไป และต้องการคำอธิบายเรื่องโปรดักต์อย่างใกล้ชิด 

 

— กีฬา ลอกกันไม่ได้ —

“Sport Content คือ Exclusive Content เป็นสิ่งที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร แต่หนังหรือละคร อาจจะมีคล้ายกันได้บ้าง การที่แกรมมี่หันมาทำ Sport Content ก็เชื่อว่าจะช่วยไดรฟ์การขายกล่องดาวเทียมได้มากขึ้น และก็จะสร้างรายได้โฆษณา” นี่คือเหตุผลที่อากู๋-ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บมจ.จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ กล่าวไว้ในวันแถลงข่าวความร่วมมือระหว่างแกรมมี่กับทีมสโมสรฟุตบอลที่มีแฟนคลับมากที่สุดทีมหนึ่งของประเทศไทย และแกรมมี่ใช้เงินในส่วนของกีฬาสูงถึง1,500 ล้านบาท

โมเดลการใช้กีฬามาเป็นคอนเทนต์เพื่อแสวงหารายได้ของแกรมมี่เริ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อแกรมมี่ซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลยูโร 2011 เข้ามาถ่ายทอดสด ซึ่งถือเป็นรายการกีฬาในประเทศไทยที่มีผู้ติดตามชมเป็นรองเพียงแค่ฟุตบอลโลกเท่านั้น 

“ธุรกิจกีฬามี 3 ขา อย่างแรก คือ Broadcasting ซึ่งเป็นงานหลักของแกรมมี่ ส่วนเรื่องการจัดทัวร์นาเมนต์กับทำอะคาเดมี่ คงต้องอาศัยความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ของเรา ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการจัดแมตช์การแข่งขันมากกว่า ส่วนอะคาเดมี่ เราเคยใช้ทักษะปั้นนักร้องมาแล้ว การสร้างนักฟุตบอลก็คงต้องมีการเอาประสบการณ์ตรงนี้เข้าไปช่วย เพราะการสร้างนักกีฬาคนหนึ่งนอกจากเล่นกีฬาเก่งแล้ว ต้องมีความเป็นไอดอลด้วย” 

นอกจากนี้ระดับความร่วมมือของแกรมมี่กับทีมฉลามชล อาจแน่นแฟ้นมากขึ้นด้วยโปรเจกต์ “ชลบุรี ชาร์ค อารีน่า” สนามฟุตบอลแห่งใหม่ของทีม ให้มีความจุ 25,000 คนต่อแมตช์ ด้วยงบประมาณ 300 ล้านบาท อีกทั้งยังมีโครงการสร้างโรงแรมขนาด 100 ห้องติดริมหาดบางแสน 

สำหรับแกรมมี่ 1 Sky น่าจะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ติดอันดับ Top3 รองจาก เพลง และรายการทีวี ภายในปี 2556 และช่วยสร้างการเติบโตให้กับแกรมมี่ปีละ 12% สำหรับวงการโฆษณา 1 Sky จะพลิกโฉมวงการสื่อของไทยได้มากขนาดนั้นหรือไม่ และผู้เล่นรายอื่นจะปรับตัวอย่างไร นักการตลาดและโฆษณาต้องติดตามอย่างใกล้ชิด 

— จุดแข็ง GMM —

  • มีคอนเทนต์เองอยู่แล้ว 10 ช่อง และมีสื่อกับศิลปินระดับ Mass สำหรับใช้โปรโมต 1 Sky 
  • เครือข่ายพันธมิตรทั้งกลุ่มผู้ประกอบการจานดาวเทียม และผู้ผลิตคอนเทนต์
  • งบประมาณลงทุน 3 พันล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี 
  • ช่องว่างทางการตลาดใหม่ๆ เช่น การร่วมมือกับแบรนด์โทรทัศน์

— ความท้าทาย —

  • การทำความเข้าใจกับผู้บริโภคเรื่องประโยชน์ของการติดตั้งกล่องสัญญาณ 1 Sky และเรื่องการจัดเรียงช่องสัญญาณตามประเภทรายการ 
  • เป้าหมายรายได้ 2,500 ล้านบาท จากการขายกล่องสัญญาณ 1.5 ล้านกล่อง ภายในปี 2555
  • การปรับตัวของผู้ประกอบการรายเดิม  

— 1 Sky ฟ้าใหม่และฝันครั้งใหม่ของอากู๋ —

นอกจากเรื่องการลงทุนแล้ว แกรมมี่ยังมีการปรับระบบภายในเพื่อผลักดัน 1 Sky โดยให้ ฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม ลูกชายคนโตของไพบูลย์มาดูแลเรื่องของการบริหารจัดการบุคลากร รองรับการขยายงานในส่วนนี้ ส่วน ระฟ้า ลูกชายคนที่ 2 ก็มาดูแลเรื่องของธุรกิจใหม่ทั้งฝั่งดิจิตอล คอนเทนต์กับช่อง 1 Sky ส่วนตัวของไพบูลย์เอง ก็ให้ความสำคัญกับธุรกิจใหม่นี้เป็นอย่างมาก จึงลงมาดูแลคัดเลือกช่องที่จะมาอยู่ในลิสต์การเรียงช่องด้วยตัวเอง เรียกได้ว่ารายการที่อยู่ในลิสต์ 150 ช่องของ 1Sky อากู๋รู้จักทั้งหมด  

1 Sky เป็นการร่วมทุนระหว่างสามารถ คอร์ปอเรชั่นกับแกรมมี่ ถือหุ้นคนล่ะ 50% ต่อมาแกรมมี่ก็ซื้อหุ้นมาจากสามารถแล้วดำเนินงานเองทั้งหมด เพราะในธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ (คอนเทนต์) เป็นตัวตัดสิน ความรวดเร็วในการตัดสินใจมีผลอย่างยิ่ง ส่วนสามารถก็ยังคงเป็น Official Dealer ที่ช่วยสนับสนุนเรื่องการขายและติดตั้ง รวมทั้งดูแลเรื่องบริการหลังการขาย ซึ่งสามารถมีเครือข่ายร้านที่รับติดตั้งจานดาวเทียมกับกล่องรับสัญญาณอยู่ทั่วประเทศ 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

rowspan=”1″>การลงทุนธุรกิจทีวีของแกรมมี่ งบลงทุนรวม      3,000 ล้านบาท ลงทุนระบบและสตูดิโอ 300 ล้านบาท ประชาสัมพันธ์ 200 ล้านบาท ซื้อลิขสิทธิ์รายการต่างประเทศ 2,150 ล้านบาท ประมาณรายได้ (ปี 2555) 2,500 ล้านบาท

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

รายได้จากเคเบิลและดาวเทียมของแกรมมี่
(ครึ่งปีแรก) 2554 ครึ่งปีแรกของปี
2554 รายได้รวมของแกรมมี่
4,911.877 ล้านบาท – รายได้เติบโต 26 % – กำไรเติบโต 114 % กลุ่มธุรกิจโทรทัศน์และโทรทัศน์ดาวเทียมมีรายได้ 750.6 ล้านบาท – เติบโต 33 %

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>กล่องรับสัญญาณ HD
ของทรูวิชั่นส์  จำนวนกล่องที่ต้องเปลี่ยน
: 500,000 ชุด ระยะเวลา : 1 ต.ค. 2554

rowspan=”2″>จำนวนช่อง HD :

  • เคเบิล 11 ช่อง
  • ดาวเทียม 3 ช่อง
ผู้ผลิตกล่องรับสัญญาณ
: บ.ซัมซุง งบประมาณลงทุน : 2,000 ล้านบาท

rowspan=”5″>เป้าหมาย :

  • เพิ่มยอดสมาชิกปีละ 20%
  • ทำโฆษณาขายตรงใก้กับสมาชิก
  • สั่งซื้ออาหาร และรายการได้โดยตรง
  • ปรับเข้าสู่ทีวี อีคอมเมิร์ซ
  • รองรับการทำทีวีแบบ Free to Air

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>สภาพการตลาดการแข่งขันปัจจุบัน Antenna (เสาแบบก้างปลา) 5,683,000 ครัวเรือน Satellite 9,200,000 ครัวเรือน Local Cable 4,500,000 ครัวเรือน True 2,000,000 ครัวเรือน

align=”left”>

* ข้อมูลจาก
ผู้ประกอบการเคเบิล/ DTV/ PSI ตัวเลขประมาณการในเดือนมีนาคม 2554

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>อัตราการเปิดรับสื่อต่างๆ ในปี 2554 ประเภท ครัวเรือน
(%) อัตราการเติบโต
(%) ฟรีทีวี 91 + 0 เคเบิลทีวี 36 + 8 อินเทอร์เน็ต 16 + 1 หนังสือพิมพ์ 17 – 25 วิทยุ 12 – 37

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

สัดส่วนงบโฆษณาทางโทรทัศน์
ปี 2554 ฟรีทีวี 60,000 เคเบิลและทีวีดาวเทียม 5,000