การใช้เสื้อยืดเพื่อสื่อสารข้อความ และเป็นการบอกถึงเอกลักษณ์ของตัวเองนั้น อิเกียนำมาใช้กับการเปิดสาขาในประเทศเป็นแห่งที่สอง โดยแห่งแรกคือสาขาสิงคโปร์
เสื้อยืดบ่งบอกความเป็นอิเกีย ทำออกมาตามงานกิจกรรมที่ออกมาในแต่ละช่วง โดยเริ่มต้นจากงาน Roof Capping ที่สื่อสารออกมาชัดเจนในงานนี้ว่า เป็นการเปิดตัวอย่างเป็นทางการให้ซัพพลายเออร์ คู่ค้า และสื่อมวลชนได้เห็นความใหญ่โตของอิเกีย
แนวคิดสำคัญของเสื้อยืดงานนี้คือ กำหนดเปิดสาขาอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พ.ย. 2554 ที่เป็นข้อความสื่อสารหลักของกิจกรรมครั้งนี้
เสื้อยืดตัวที่ 2 ที่ถูกผลิตขึ้นมาก็คือ งานรับพนักงานครั้งแรก และครั้งใหญ่ของอิเกีย โดยใช้พื้นที่ห้องประชุมของอาคารบางนาทาวเวอร์จัดงานเพื่อรองรับผู้มาสมัครจำนวน 5,000 คน เพื่อคัดเลือกพนักงานประมาณ 400 คน เข้าประจำในตำแหน่งต่างๆ
แนวคิดของเสื้อยืดตัวที่สอง คือการเชิญชวนให้มาเป็นเพื่อนร่วมงานอิเกีย และเป็นการเปิดรับพนักในรูปแบบใหม่
เสื้อยืดตัวที่ 3 ที่ถูกนำเสนอคือ กิจกรรมวันแจกแค็ตตาล็อก 1 ล้านเล่มที่สยามสแควร์ งานนี้ข้อความคือการย้ำถึงแค็ตตาล็อก 1 ล้านเล่มที่จะถูกกระจายไปทั่วกรุงเทพฯ งานวันนั้นทั้งถุงอิเกีย แค็ตตาล็อก และเสื้อยืดของพนักงาน มีให้เห็นเต็มพื้นที่สยามสแควร์
เสื้อยืดตัวที่ 4 คือเสื้อยืดในงานวัน Family Day ของอิเกีย ซึ่งเป็นงานที่สมาชิก 800 คนแรกของอิเกียพร้อมแขกรับเชิญอีก 4 คน จะมาเยี่ยมชมสาขาและซื้อสินค้าเป็นกลุ่มแรก
เสื้อยืดตัวที่ 5 คืองานเปิดสาขารองสื่อมวลชน ก่อนที่จะเปิดอย่างเป็นทางการ ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการเปิดสาขาให้เยี่ยมชมเพื่อออกข่าวก่อนถึงวันเปิดจริงในอีก 2 วันต่อมา
เสื้อยืดตัวที่ 6 ในวันเปิดสาขาอย่างเป็นทางการ ทางผู้บริหารของอิเกียบอกว่าจะเป็นเสื้อฟอร์มของอิเกียอย่างเป็นทางการ และเป็นเสื้อที่ใช้ใส่กันประจำของพนักงานอิเกีย