ในขณะที่ผู้ผลิตกล้องรายอื่นๆ กำลังพยายามเจาะหรือเปิดตลาดใหม่ๆ ทางด้านซัมซุงก็ใช้ช่วงเวลานี้ก้าวขึ้นมาเป็นหมายเลข 1 ของตลาดกล้องคอมแพคอย่างเต็มตัว
รัชตะ สุทธาพัฒน์ธานนท์ ผู้จัดการอาวุโสธุรกิจดิจิตอล อิมแมจจิ้ง บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ บอกว่า กล้องคอมแพคของซัมซุงมีอัตราการเติบโตที่ 23-25% มูลค่าประมาณ 1,400 ล้านบาท ทำให้ซัมซุงมีส่วนแบ่งในตลาดดิจิตอลคอมแพคราว 21-22% และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีส่วนแบ่งเป็น 24% และขึ้นเป็นผู้นำตลาดกล้องดิจิตอลคอมแพค
ซัมซุงถือเป็นค่ายที่ทำกล้องคอมแพคออกมาในตลาดอย่างต่อเนื่อง และมีกลยุทธ์เรื่องราคาเป็นหลัก ตลาดหลักในกล้องคอมแพคของซัมซุงอยู่ที่ราคาต่ำกว่า 5,000 บาท ซึ่งมีสัดส่วนถึง 70% ส่วนที่เหลือเป็กล้องระดับกลางและพรีเมียม
ซัมซุงยังมองตลาดกล้องคอมแพคว่าน่าสนใจ แม้ว่ากำไรต่อหน่วยจะต่ำ แต่เมื่อมองยอดขายโดยรวมแล้ว ซัมซุงยังต้องการยึดครองตลาดนี้อย่างเหนียวแน่นอยู่ต่อไป
ในตลาดกล้อง Mirrorless เองซัมซุงก็มีออกมาแข่งกับรายอื่นเช่นกันในรุ่น NX100 ซึ่งเปิดตัวมาตั้งปี 2553 ซึ่งทำออกมาเพียงรุ่นเดียว และมีเลนส์ให้ใช้ 2 รุ่น แต่ไม่เน้นกิจกรรมการตลาดมากนัก เปิดตัวมาแล้วก็เงียบหายไป ต่างจากค่ายคู่แข่งอย่างโอลิมปัส พานาโซนิค และโซนี่ ที่ออกสินค้าอย่างต่อเนื่องและขยายตลาดอย่างกว้างขวาง
ส่วนรายได้ของกล้อง Mirrorless อยู่ที่ 10% ในขณะที่กล้องคอมแพคอยู่ที่ 90%
ซัมซุงคงตัดสินใจแล้วว่าจะเอาดี เอาดังทางกล้องคอมแพคเพียงอย่างเดียว
รัชตะบอกว่า สิ้นปีนี้คาดว่าจะขายกล้องคอมแพคได้ประมาณ 450,000 ตัว เฉพาะไตรมาส3 ที่ผ่านมาขายไปแล้ว 280,000 ตัว และไตรมาสสุดท้ายจะมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างสูงจากเป็นช่วงเทศกาล
แต่ซัมซุงก็พยายามปกป้องตลาดคอมแพคของตัวเองอย่างหนักเช่นกัน ด้วยการเปิดกล้องตัวกล้อง Samsung Multiview MV800 ที่ใช้ นิชคุณ หรเวชกุล มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ และคาดว่าสิ้นปีนี้จะมียอดขายประมาณ 20,000 เครื่อง
การวางเป้ายอดขายไว้สูงเช่นนี้ เพราะว่ากล้องรุ่นใหม่มีความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดคือ หน้าจอขนาด 3 นิ้ว สามารถปรับให้เป็น Flip-Out Display และสั่งงานด้วยการสัมผัสหน้าจอด้วย
แน่นอนว่ากล้องรุ่นนี้ใช้นิชคุณมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ก็ต้องมองกลุ่มลูกค้าหลักที่เป็นผู้หญิง ด้วยชื่อเสียงของนิชคุณเองก็สมารถดึงลุกค้ากลุ่มนี้ได้จำนวนมากอยู่แล้ว
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ราคา
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>สัดส่วน
(%)
บาท
บาท
บาทขึ้นไป