นับเป็นงานมอเตอร์ เอ็กซ์โปที่ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่ต้องปรับตัวมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะด้วยบรรยากาศ เศรษฐกิจ และตัวของผู้ผลิตรถยนต์เองก็ยังย่ำแย่อยู่ ทั้งๆ ที่ช่วงเวลานี้คือนาทีทองของการขายประจำปี
งานมอเตอร์ เอ็กซ์โปครั้งนี้จึงกลายเป็นเวทีของการรักษา Brand ของค่ายรถใหญ่ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม โดยเฉพาะค่ายฮอนด้าที่เปลี่ยนสถานะเป็นผู้ประสบภัยตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤต
โรงงานประกอบรถยนต์ของฮอนด้าที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะกลายเป็นทะเลสาบรถยนต์ รถที่ประกอบเสร็จจำนวนมากจมอยู่ใต้น้ำ แม้ว่าบางส่วนจะย้ายออกมาได้บ้างแต่ความเชื่อมั่นของผู้ซื้อรถตั้งคำถามตั้งแต่วันแรกแล้วว่า รถที่จมน้ำจะถูกนำมาซ่อมและขายให้ลูกค้าอีกครั้งหรือไม่ แน่นอนว่าซื้อรถป้ายแดงย่อมต้องการรถใหม่ ไม่ใช่รถจมน้ำ
โรงงานถูกน้ำท่วมเสียหายว่าแย่แล้ว การที่ลูกค้าตั้งข้อสงสัยกลับสาหัสกว่า จนสุดท้ายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร รองประธานอาวุโสบริษัทฮอนด้า ออโต โมบิล ประเทศไทย ก็ออกมาชี้แจงอย่างชัดเจนว่า รถที่จมน้ำทั้งหมด จะนำไปทำลาย เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของผู้ซื้อกลับมา และจะจัดงานทำลายรถน้ำท่วมอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง
ฮอนด้าต้องรีบออกมาแก้ไขความเชื่อในด้านลบของลูกค้า ที่กำลังลุกลามจนผู้ซื้อรถหลายราย มีท่าทีว่าจะยกเลิกการซื้อรถยนต์ฮอนด้า
รถยนต์จมน้ำได้ แต่ Brand ฮอนด้า ต้องไม่จมน้ำ
ในขณะที่เจ้าตลาดอย่างโตโยต้าถึงแม้จะไม่ถูกน้ำท่วมโรงงาน แต่ซัพพลายเออร์ส่วนหนึ่งจมไปกับสายน้ำ ทำให้การผลิตรถต้องล่าช้าไปบ้าง มอเตอร์ เอ็กซ์โปครั้งนี้โตโยต้าจึงประกาศชัดจนไม่รับจองรถ เพราะจะทำให้การส่งมอบให้ลูกค้าล่าช้าเกินไป
เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งของโตโยต้าที่พลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพราะรู้แน่ชัดว่ายอดจองรถในงานนี้ไม่น้อยกว่า 5,000 คัน รวมกับยอดค้างส่งมอบในมือแล้ว น่าจะสร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้าแน่นอน
ยุติการรับจอง เร่งส่งมอบรถ และหันมาจัดเป็นกิจกรรมฟื้นฟูที่ถูกน้ำท่วมน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในช่วงนี้
บูธโตโยต้าปีนี้จึงมีรถแค่จัดแสดง ไม่มีการรับจอง และมีพื้นที่อบรมแนะนำ ฟื้นฟูรถที่ถูกน้ำท่วมอย่างเป็นเรื่องเป็นราว
ทั้ง 2 ค่ายไม่ได้ห่วงเรื่องคุณภาพของรถที่ผลิตออกมา เพราะไม่ต่างกันมาก แต่เป็นห่วงเรื่องภาพลักษณ์ของแบรนด์ตัวเอง ที่ไม่ต้องการให้ลอยไปกับมวลน้ำก้อนใหญ่เท่านั้นเอง
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
Motor Show ปี 2011
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>อันดับ
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>รถยนต์
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>จำนวน
( คัน)
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>สัดส่วน
(%)
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>1.
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>2.
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>3.
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>4.
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>5.
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>6.
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>7.
style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>8.