ถึงแม้ว่าโรงงานผลิตโออิชิจะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม การผลิตยังทำไม่ได้เต็มที่ ส่วนโรงงานอิชิตันยังไม่เริ่มเดินเครื่อง และยังไม่ถึงฤดูการขายของเครื่องดื่มก็ตาม แต่เมื่อการแข่งขันไม่รอใคร ทั้งโออิชิและอิชิตันจึงต้องงัดอาวุธออกรบกันตั้งแต่ต้นปี
การที่ตัน ภาสกรนที ตัดสินใจฝ่าด่านอรหนต์ด้วยการจับมือกับค่าย “บุญรอด บริวเวอรี่” ผู้ผลิตเบียร์สิงห์ ซึ่งรู้กันดีว่าเป็นคู่แข่งตลอดกาลของค่ายไทยเบฟเวอเรจ ให้มาเป็นผู้จัดจำหน่ายชาเขียว “อิชิตัน” เพิ่มขึ้นอีกราย จากเดิมที่มีแค่ “ดีล์ทแฮม” เป็นผู้จัดจำหน่ายเพียงรายเดียว ยิ่งทำให้สถานการณ์คู่แข่งคู่แค้นอิชิตันและโออิชิยิ่งรุนแรงขึ้นอีกขั้น
การได้ค่ายสิงห์มาเป็นช่องทางจำหน่าย จะทำให้อิชิตันใช้ฐานเอเย่นต์และยี่ปั๊วของสิงห์ช่วยกระจายชาเขียวอิชิตันไปยังร้านอาหาร ร้านค้า ตลอดจนโรงแรม ส่วนดีทแฮล์มจะเน้นช่องทางโมเดิร์นเทรด และเทรดดิชันแนลบางส่วน และบริษัทจะเน้นจำหน่ายตามงานอีเวนต์ต่างๆ
“ค่ายสิงห์แข็งแกร่งช่องทางยี่ปั๊วที่เป็นเอเย่นต์เหล้า ร้านอาหาร และโรงแรม ส่วนดีทแฮล์มเขาก็แข็งแกร่งยี่ปั๋วที่เป็นร้านค้า ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการค้าขาย เมื่อเราโดนบล็อกจากอีกฝ่าย เราก็ต้องไปหาอีกเจ้าที่เขาแข็งแรงเท่ากันมาช่วย” ตันให้เหตุผล
ตันรู้ดีว่าช่องทางจัดจำหน่ายเทรดดิชันแนลเทรดยังมีจุดอ่อน หากปล่อยไว้ก็อาจตกที่นั่งลำบากมากขึ้น เพราะนอกจากโออิชิจะมีช่องทางจำหน่ายของไทยเบฟเวอเรจในการกระจายสินค้าไปยังยี่ปั๊ว เอเย่นต์ต่างๆ แล้ว โออิชิยังมี “เสริมสุข” ที่ “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” ได้ซื้อกิจมาเมื่อปีที่แล้ว เป็นทัพใหญ่กระจายสินค้าอีกทาง ซึ่งต่างก็รู้ดีว่า ช่องทางจัดจำหน่ายของเสริมสุขนั้นแข็งแกร่งเพียงใด โดยเฉพาะช่องทางร้านโชวห่วยและตู้แช่
ถึงแม้ว่าเวลานี้ แบรนด์ “ตัน” จะมัดใจผู้บริโภคได้แล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่า ชาเขียวเป็นสินค้าทดแทนกันได้ หากกระจายสินค้าไม่ดีพอ ผู้บริโภคย่อมหันไปซื้อของคู่แข่งได้เช่นกัน
ทางด้านโออิชิเองก็ไม่ประมาท เพราะค่ายสิงห์เองก็มีเขียวเล็บพอตัว และที่ผ่านมาก็เคยทวงส่วนแบ่งตลาดจากเบียร์ช้างกลับคืนมาเป็นเบอร์ 1 ในตลาด อนิรุทธิ์ มหธร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บมจ.โออิชิ กรุ๊ป บอกว่า “ถึงแม้โออิชิจะมีทั้งเครือข่ายช่องทางทั้งไทยเบฟฯ และเสริมสุข แต่เราก็ประมาทไม่ได้ เพราะชาเขียวเป็นสินค้าทดแทนกันได้ ช่องทางขายสำคัญมาก ต้องมีสินค้าถึงมือผู้บริโภคทุกที่ ทุกเวลา” อนิรุธสะท้อน
นอกจากการออกแพ็กเกจจิ้ง ขนาด และรูปแบบใหม่ๆ แล้ว มีนาคมปีนี้โออิชิจึงต้องเตรียมสร้างสีสันตลาดด้วยการแต่งตัวให้กับขวด PET อีกครั้ง อนิรุทธิ์บอกว่า โออิชิเปิดตัวมาครบ 8 ปีแล้ว กลยุทธ์สำคัญของโออิชิตลอดปีนี้ คือ Rejuvenation Marketing ชุบชีวิตให้แบรนด์สดใส และทันสมัยขึ้น ผ่านดีไซน์ขวด รวมถึงการสื่อสารการตลาดให้เข้ายุคสมัย
ศึกนี้ไม่มีฤดูกาล
แคมเปญการตลาดก็เช่นกัน จากเดิมที่จะคึกคักเฉพาะช่วงหน้าร้อน แต่สำหรับปีนี้ ซีซันนอลแคมเปญ จะมีขึ้น 4 ครั้ง โดยรูปแบบแคมเปญจะมาจากการสนองตอบคอนซูเมอร์อินไซท์ ดูว่าผู้บริโภคชอบการลุ้นรางวัล ทริปท่องเที่ยว หรืออื่นๆ แคมเปญก็จะปรับไปตามคอนซูเมอร์อินไซท์ในแต่ละช่วง ส่วนแคมเปญใหญ่ในเดือนมีนาคม ปีนี้โออิชิยังเดินหน้า และพร้อมออกแคมเปญใหญ่ประจำปีอีกครั้งแน่นอน
ส่วนตันเอง ถึงเวลาที่เขาจะต้องล้างภาพ “ตัน โออิชิ” ที่เรียกกันติดปาก หันมาสร้างแบรนด์ “อิชิตัน” ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ด้วยการนำแบรนด์ลูก รวมถึงบริษัทลูกทั้งหมด มาอยู่ภายใต้แบรนด์ “อิชิตัน”เพียงแบรนด์เดียว เพื่อไม่ให้สับสนและง่ายต่อการจดจำของผู้บริโภค
การเดินสายเยี่ยมสื่อมวลชนที่ “ตัน” ทำเป็นประจำทุกปี เสื้อยืดที่เขาสวมใส่สำหรับปีนี้สกรีนคำว่า “ตัน=อิชิตัน” เพื่อตอกย้ำแบรนด์ “อิชิตัน” ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
แน่นอนว่าหลังช่วงมีนาคมนี้ โรงงานผลิตของทั้งโออิชิ และอิชิตัน จะเริ่มกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้ง อุณหภูมิการแข่งขันชาเขียวสำเร็จรูปจะร้อนแรงขึ้น
โออิชิคาดหมายว่าปีนี้ตลาดชาเขียวโดยรวมจะเติบโตมีมูลค่ามากกว่า 11,000 ล้านบาท โตขึ้นจากปี 54 ไม่น้อยกว่า 20 % ส่วนโออิชิคาดว่าจะเติบโต 25% จากปีที่ผ่านมา ที่มียอดขายประมาณ 6,300 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 65%
ส่วนตันคาดว่า ตลาดชาเขียวปีนี้คาดว่าจะเติบโตอีก 30% จากปีที่แล้วเติบโต 21% เป็นที่สองรองจากตลาดน้ำดื่ม หากคิดเป็นกำลังการผลิตรวมกันทั้งตลาด มีมูลค่า 20,000 ล้านบาท บาทต่อปี
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
11,000 ล้านบาท เติบโต 20%
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>แบรนด์
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ส่วนแบ่งตลาด
(%)
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
ร้านอาหาร
และเทรดดิชันแนลบางส่วน