แค่ Storytelling ไม่พอแล้วสำหรับ Cyber Grand Prix

ปีนี้ Cyber Grand Prix ตกเป็นของงาน 2 ชิ้น ซึ่งไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ เพราะระยะหลังๆ ผลงานที่เข้าประกวดในแคททริกอรี่นี้ มักมีผลงานที่น่าทึ่ง และใหม่สำหรับวงการโฆษณาจนบางปีมีงานได้กรังปรีซ์ 3 ชิ้นก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

ผลงานชิ้นแรกเป็นผลงานสร้างสสรค์ของ R/GA New York ดิจิตอลขาประจำของไนกี้ เป็นผลงานจากหมวด Other Interactive Digital Solutions category อธิบายกันก่อนว่า Nike+ Fuelband คืออะไร Fuelband เป็นดิจิตอล ริสแบนด์ใส่ข้อมือ ที่วัดแคลอรีที่ถูกเผาผลาญในแต่ล่ะวัน จากการดำเนินชีวิต และเมื่อเอาไปเชื่อมต่อกับแอพฯ ของไนกี้ ก็จะคำนวณและช่วยออกแบบการออกกำลังกายให้กับผู้ใส่ในแต่ล่ะวันได้ด้วย และแชร์ไปยังโซเชียล มีเดียเพื่ออวดเพื่อนได้ด้วยว่าวันนี้ออกกำลังกายไปมากแค่ไหนแล้ว ในช่วงต้นของแคมเปญ เน้นการใช้โซเชียล มีเดีย ขณะเดียวกันก็มีภาพยนตร์โฆษณาออกมาด้วย เช่น ภาพยนตร์โฆษณาชุด Counts ที่มี Key Message ว่ากิจกรรมทุกอย่างไมว่าจะเป็น การเดิน การเต้น การวิ่ง ก็เป็นการออกกำลังกายได้ทั้งนั้น เพื่อให้กำลังใจผู้คน 

Related News : Nike ฉีกกลยุทธ์การตลาดซ้ำซากรุกโลกดิจิตอล

 

ส่วนกรังปรีซ์อีกรางวัลคือ Curators of Sweden สร้างสรรค์โดย  Volontaire Stockholm ที่ทำให้กับ Swedish Institute/Visit Sweden มาจากหมวด Viral Advertising แคมเปญนี้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2011 ด้วยการตั้งทวิตเตอร์แอคเคานท์ของประเทศ @ Sweden อย่างเป็นทางการ ซึ่งประชากรของสวีเดนที่รับคัดเลือกจะมีสิทธิ์ที่จะเอาแอคเคานท์นี้ไปโพสต์อะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์ต่อประเทศ เพื่อส่งเสริมความหลากหลายและการท่องเที่ยว โดยต่อท้ายชื่อแอคเคานท์ด้วยชื่อของพวกเขา เช่น @Sweden/ Jack เป็นเวลา 1 อาทิตย์ แล้วก็จะเวียนไปให้คนอื่นโพสต์บ้างอีกอาทิตย์ไปเรื่อยๆ จึงถือว่าแอคเคานท์นี้เป็นทวิตเตอร์แอคเคานท์ที่เป็นประชาธิปไตยที่สุด เพราะมีคนหลากหลายได้รับคัดเลือกให้ดพสต์ ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน ครู พระ เลสเบี้ยน ซึ่งทำให้มีบทสนทนาเพิ่มขึ้น 500% กว่า จนเป็นที่มาของการที่ประเทศอื่นตั้งแอคเคานท์ในทวิตเตอร์บ้าง 

เหตุผลที่งานทั้งชิ้นนี้ได้รางวัลก็เพราะ เป็นผลงานที่ทำหน้าที่มากกว่าแค่ “พูด” แต่แสดงให้เห็นเลยว่าแบรนด์หรือโปรดักท์ “ทำ” อะไรได้บ้าง ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค “งานของ @Sweden ยิ่งเป็นงานที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อนเลย แต่กลับฉลาดและมีความกล้าหาญ ที่จะให้คนสวีเดนพูดถึงประเทศตัวเอง ขณะที่ Fuelband กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม มันเต็มไปด้วยความท้าทาย ประกอบด้วยงานวิจัย การทำงานอย่างหนัก การพัฒนาทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ แต่ก็ทำให้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม และเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระว่างตัวเองกับแบรนด์ไนกี้ ทำให้แบรนด์ไนกี้ไปไกลกว่าแค่ Stiorytelling แล้ว แต่ไปถึงพฤติกรรมของคนเลย บรรยากาศในห้องตัดสินเต็มไปด้วยการถกเถียงมากมาย ถึงเกมส์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปีนี้” Iain Tait ประธานกรรมการตัดสินกล่าว